ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะประหลาดใจที่ได้ยินว่า 40% ของชาวอเมริกันรู้สึกเหงา [1] ความเหงานั้นส่งผลกระทบทางสุขภาพจิต อารมณ์ และร่างกายโดยการไปกดระบบภูมิต้านทาน เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล และไปบิดเบือนประสาทการรับรู้ [2] คุณอาจรู้สึกเหงาถ้าอาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆ และไม่มีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน บางครั้งความเหงาอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตช่วงนั้น: เพิ่งย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ได้งานใหม่ หรือเข้าโรงเรียนใหม่ เวลาที่อยู่ในความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงอย่างนี้ ให้รับรู้ก่อนว่าคุณอาจรู้สึกเหงาช่วงระยะหนึ่ง ไม่ว่าความเหงาที่เจอจะเป็นแค่ระยะสั้นหรือเป็นเรื้อรัง มันก็มีหลายสิ่งที่คุณทำได้เพื่อรับมือและเอาชนะความรู้สึกเหงาให้ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รับมือกับความเหงา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยอมรับว่าความเหงานั้นไม่ใช่ความจริง แต่เป็นเพียงแค่ความรู้สึก. ความเหงาอาจกระตุ้นความรู้สึกของการถูกทอดทิ้ง ความเปล่าเปลี่ยว หรือสันโดษ จดจำเวลาที่อารมณ์เหล่านี้ถูกกระตุ้นขึ้นมา และจำไว้ว่าการมีความรู้สึกเช่นนี้ไม่จำเป็นเลยที่มันจะต้องเป็นความจริง คุณไม่ได้ถูกยึดให้ต้องรู้สึกเหงาเลย [3]
    • ความรู้สึกสามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วตามเหตุการณ์แวดล้อมและทัศนคติ คุณอาจรู้สึกเหงาครู่หนึ่ง แล้วนึกขึ้นได้ว่าคุณน่าจะอยู่กับตัวเองแทนที่จะไปอยู่กับเพื่อนฝูง หรือคุณอาจได้รับโทรศัพท์จากเพื่อน ทำให้ไม่รู้สึกเหงาแล้ว
  2. อย่าเพิกเฉยความรู้สึกของคุณ พวกมันเป็นสัญญาณสำคัญถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งด้านดีด้านแย่ของชีวิต ปล่อยให้ตัวเองได้รู้สึกเหงาเช่นเดียวกับความรู้สึกอื่นๆ ใส่ใจดูว่าคุณรู้สึกอย่างไรเวลารู้สึกเหงาขึ้นมา ร่างกายอาจรู้สึกหนักอึ้ง หรือคุณอาจอยากร้องไห้ออกมา ปล่อยให้ตัวเองได้รู้สึกถึงความเชื่อมโยงทั้งทางกายและใจและถ้าอยากร้องไห้ก็ร้องออกมา [4]
    • อย่าวิ่งหนีจากความเหงาตามสัญชาตญาณ หลายคนเลือกจะเบี่ยงเบนความสนใจจากความเหงาโดยการดูทีวี ทำงาน คิดโปรเจคท์ หรือหากิจกรรมอื่นมาทำ เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดของการอยู่โดดเดี่ยว ให้คุณอยู่รับรู้ความรู้สึก (และวิธีที่คุณรับมือ) และตัดสินใจที่จะเชิดชูร่างกายกับอารมณ์ของตัวเองดีกว่า [5]
  3. เวลาที่เจ้าความคิดที่ว่า “ฉันเหงา” หรือ “รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวเลย” เกิดขึ้นมาในใจ เป็นไปได้มากว่าคุณจะมีทัศนะเชิงลบเชื่อมโยงกับความรู้สึกเหล่านี้ และมันก็ง่ายมากที่จะดำดิ่งสู่ความคิดในแง่ร้ายนับจากตรงจุดนี้: กังขาในคุณค่าของตนเอง รู้สึกว่าด้อยค่าหรือรู้สึกเหนื่อยหน่ายไปหมดทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อนที่จะถลำลึกลงไปในหลุมดำนี้ ลองคิดที่จะเปลี่ยนทัศนคติของคุณดูก่อน แทนที่จะตีตราความรู้สึกว่าเป็น “อาการเหงา” ให้สร้างกรอบความคิดถึงการอยู่สันโดษ โอบกอดโอกาสที่จะได้อยู่อย่างสันโดษนี้ว่ามันคือความสงบและเป็นการฟื้นฟูตัวเอง [6] เวลาที่คุณเรียนรู้ที่จะถนอมความสันโดษนี้ คุณจะสามารถรับมือเวลาที่มีแต่คุณอยู่เพียงลำพังได้
    • ใช้เวลาในการทำความรู้จักตัวเองให้ดีขึ้น: เริ่มเขียนบันทึก ทำสมาธิ หรืออ่านหนังสือที่คุณสนใจ
    • บางครั้งการมีเวลาอยู่เพียงลำพังมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ เช่น ตอนย้ายไปอยู่เมืองหรือประเทศใหม่ จงโอบกอดช่วงเวลานี้ที่คุณได้พบความโดดเดี่ยว และรู้ว่ามันไม่มีทางจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป ถนอมเวลาที่คุณได้พบประสบการณ์ใหม่ๆ นี้
  4. เข้าใจให้ได้ว่าความเหงานั้นเป็นประสบการณ์ทั่วไปที่กระทบต่อทุกผู้คนไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ความเหงานั้นเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่มนุษย์ต้องเจอะเจอ [7] ลองนึกถึงเพื่อนที่บอกกับคุณว่าเธอรู้สึกเหงา คุณจะแสดงอาการกลับไปอย่างไร คุณจะตอบเธอไปว่ากระไร ใช้ความเห็นอกเห็นใจนี้กับตัวเอง ให้ตัวคุณได้ร้องขอกำลังใจจากคนอื่น
    • ความเหงาไม่ได้น่าละอายหรือน่าขายขี้หน้า มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทุกคน ไม่มีความจำเป็นจะต้องรู้สึกไม่ดีกับการรู้สึกเหงาเลย แสดงความเห็นอกเห็นใจตัวเอง และแสดงความเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ ที่อาจรู้สึกเหงารอบตัวคุณ
  5. ความเหงาอาจเป็นเครื่องมือที่แสดงให้คุณเห็นว่าอะไรที่ขาดหายไปหรืออะไรที่คุณอยากได้เพิ่มในชีวิต [8] คุณอาจมีเพื่อนฝูงล้อมรอบหรือมีงานสังคมบ่อยแต่กระนั้นก็ยังรู้สึกเหงาได้ ความเหงาอาจไม่ใช่การไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่เป็นการขาดความผูกพันลึกซึ้งต่างหาก [9] หาเวลาครุ่นคิดในสิ่งที่คุณอยากจะมีในชีวิต
    • บันทึกเวลายามที่คุณรู้สึกเหงา. บางทีคุณอาจรู้สึกเหงาที่สุดระหว่างอยู่ในงานสังคมใหญ่โตหรือเวลาที่อยู่บ้านคนเดียว จากนั้น คิดดูว่าอะไรที่อาจบรรเทาความรู้สึกเหงานี้ได้ บางทีอาจเป็นการมีเพื่อนไปงานสังคมร่วมกับคุณ หรือโทรหาน้องสาวมาดูหนังด้วยกันเวลารู้สึกเหงาที่บ้านให้หาทางแก้ที่ยืนอยู่บนความเป็นจริงที่คุณสามารถทำได้ (อย่าหาทางออกโดยการมีแฟนเพื่อจะแก้ปัญหาความเหงานี้ทั้งหมด)
  6. จำไว้ว่าไม่มีใครที่เกิดมาพร้อมด้วยทักษะการเข้าสังคมแต่กำเนิด และพวกมันนั้นเป็น ทักษะ ไม่ใช่พรสวรรค์ ความอายและความรู้สึกมั่นคงส่วนใหญ่นั้นมาจากความเชื่อผิดๆ หรือความกลัวการเข้าสังคม ความคิดที่ว่าคงมี่ใครชอบคุณหรอกหรือคุณนั้นเพี้ยนกว่าคนปกตินั้นไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเลย มันเป็นแค่การรับรู้ของคุณคนเดียว และจำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องเลิศเลอเพอร์เฟกต์ถึงจะมีคนมาชอบ เวลาที่คุณรู้สึกไม่มั่นใจในการเข้าสังคม ให้เริ่มใส่ใจในสภาพแวดล้อมรอบตัว แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับความคิดและความรู้สึกภายใน จงโฟกัสไปที่คนที่คุณกำลังสนทนาด้วย และสนใจในการทำความเข้าใจและฟังที่เขาพูดแทนที่จะคิดแต่ตัวเอง [10]
    • จำไว้ว่าถ้าจะมีข้อผิดพลาดในการเข้าสังคมบ้างมันก็ไม่เป็นไรหรอก ใครก็เป็นกันทั้งนั้น!
    • ผู้คนสนใจในความผิดพลาดของคุณน้อยกว่าที่คุณคิดนะ คนส่วนใหญ่ก็สนใจแต่ตัวเองเป็นหลักและกำลังต่อสู้กับความกลัวในการเข้าสังคมของตนเองจนไม่มารับรู้ในความไม่มั่นใจของคุณหรอก!
    • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ่านบทความเรื่องวิธีเลิกอายในวิกิฮาว
  7. บางครั้งการหลีกเลี่ยงที่จะเข้าสังคมมันรู้สึกปลอดภัยมากกว่าการต้องถูกปฏิเสธ ความกลัวการถูกปฏิเสธนั้นมีผลมาจากการไม่เชื่อใจคน [11] บางทีคุณอาจเคยถูกหักหลังมาในอดีตและตอนนี้กลัวการเชื่อใจคนหรือคิดจะผูกมิตรด้วย ถึงประสบการณ์แบบนี้จะน่าเจ็บปวด แต่ต้องจำไว้ว่าไม่ใช่มิตรภาพที่คุณมีทุกครั้งจะเป็นการหักหลังคุณเสมอไป ให้ลองดูเรื่อยๆ
    • ไม่ใช่การถูกปฏิเสธทุกครั้งที่คุณเจอจะสะท้อนการปฏิเสธคุณในฐานะบุคคลคนหนึ่ง บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจหรือไม่ยักรู้ว่าคุณมีไมตรีให้
    • จำไว้ว่าคุณไม่ได้ชอบคนที่เจอเสียทุกคนไป และใช่ว่าทุกคนที่พบคุณก็จะชมชอบคุณเหมือนกัน มันไม่เห็นเป็นไรเลย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ก้าวผ่านความเหงา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีที่คุณรู้สึกเหงาก็เพราะคุณไม่มีความมั่นใจในทักษะการเข้าสังคมของตนเอง ฝึกทักษะแบบนี้เช่นยิ้มให้ผู้อื่น เอ่ยคำชม และสนทนากับผู้คนที่คุณเจอะเจอตลอดทั้งวัน (พนักงานเก็บเงิน บาริสต้า เพื่อนร่วมงาน) [12]
    • ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ใหม่ต่อตัวเอง มองหาใครสักคนแล้วเริ่มเอ่ยปากชวนคุย พูดขึ้นมาว่า “ฉันไม่เคยมาที่นี่เลย คุณล่ะ? มันเป็นยังไงบ้าง?” คนผู้นั้นอาจช่วยเหลือคุณหรือไม่คุณก็อาจสบายใจขึ้นที่มีเพื่อนร่วมทำอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน
    • จำไว้ว่าต้องสื่อสารอย่างเปิดเผยผ่านทางภาษากาย การยืนก้มหน้าห่อไหล่ หลีกเลี่ยงจะสบสายตาใครต่อใครและยืนกอดอก ล้วนทำให้คุณดูไม่น่าเข้าไปทักทาย ให้ส่งยิ้ม มีท่วงท่าเปิดเผย (ไม่กอดอกหรือไขว่ห้าง) โน้มตัวเข้ามาและมองหน้าคนที่คุณคุยด้วย
    • มองหาสิ่งที่จะยืนยันในคำชมผู้อื่น อย่าชมใครเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอก ("ฉันชอบเสื้อของคุณจัง") แต่ให้พูดแบบนี้แทน "คุณช่างมีความพิถีพิถันในการเลือกเครื่องประดับมาใส่ได้อย่างลงตัวมากเลย" ถ้าคุณรู้จักเขาดีพอ ก็ควรเอ่ยชมน้ำใจหรือความฉลาดเฉลียวของเขา
    • เรียนรู้วิธีการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมให้เพิ่มขึ้นได้โดยอ่านบทความ วิธีการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม ของวิกิฮาว
  2. การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ใช่มีเพียงแค่รู้ว่าต้องพูดอะไร ขัดเกลาทักษะการฟังของคุณโดยการใส่ใจจดจ่อในสิ่งที่คนผู้หนึ่งกำลังพูด อย่าพยายามนึกคำตอบที่ดูดีหรือรอจะหาจังหวะพูดสอดแทรก นั่นจะเป็นการเพ่งเน้นที่ตัวเราแทนที่จะเป็นอีกฝ่ายที่กำลังพูด ควรกระตุ้นให้เขาพูดต่อและแสดงความสนใจในสิ่งที่เขาพูดออกมา [13]
    • สื่อสารทักษะการฟังของคุณแบบไม่ต้องใช้วาจาโดยการพยักหน้า สบตา และตอบกลับบ้างสั้นๆ เช่นพูดว่า “ฉันเข้าใจ” หรือ “อ่ะฮะ” [14]
    • สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมในการเสริมสร้างทักษะการฟัง โปรดดูบทความวิธีการเป็นผู้ฟังที่ดีของวิกิฮาว
  3. ค้นหาผู้คนที่มีความสนใจร่วมกันกับคุณและดูเข้ากับคุณได้ ถามคำถามที่จะให้รู้จักเขามากขึ้น (ถามเกี่ยวกับครอบครัว สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก เป็นต้น) และให้แน่ใจว่าเขาอยากรู้จักคุณกลับโดยการถามคำถามคุณด้วย [15]
    • พบผู้คนโดยการเป็นจิตอาสา ถ้าคุณรักสัตว์ อาสาสมัครทำงานในศูนย์สงเคราะห์สัตว์ดูสิ คุณจะได้เจอคนที่รักสัตว์และมีอะไรที่เชื่อมโยงกับคุณได้ทันทีเลยล่ะ
    • ค้นหากลุ่มที่มีความสนใจร่วมกันในละแวกบ้าน ถ้าคุณสนใจในการถักนิตติ้ง มีโอกาสที่จะมีคนแถวนั้นสนใจแบบนี้เหมือนกัน ค้นหาดูทางอินเทอร์เน็ตว่ามีกลุ่มที่คุณสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่
    • ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการหาเพื่อนหรือเปล่า โปรดดูวิธีการผูกมิตรในวิกิฮาว
  4. มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อนสนิทในเมืองที่คุณอยู่ มิตรภาพนั้นช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความเครียด และให้คุณได้รับกำลังใจตลอดชีวิต [16] มองหาเพื่อนที่คุณเชื่อใจได้ ที่ซื่อสัตย์และจะคอยกระตุ้นคุณ และต้องแน่ใจว่าคุณก็ได้ให้คุณค่าที่มองหาในตัวเพื่อนนั้นกลับแก่พวกเขาด้วย โดยการเป็นคนที่ไว้ใจได้ ซื่อสัตย์ และจะคอยพูดกระตุ้นเขาเป็นเพื่อนกันตลอดไป
    • เป็นตัวเองที่แท้จริง ถ้าคุณไม่สามารถ "เป็นตัวของตัวเอง" เมื่ออยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูง เป็นไปได้ว่าพวกเขาไม่ใช่เพื่อนแท้ของคุณหรอก เพื่อนจะพอใจในคุณที่เป็นคุณ ต่อให้จะพิลึกขนาดไหนก็ตาม ถ้าคุณต้องดิ้นรนเพื่อจะสนิทกับใครสักคนหรือรู้สึกว่ากำลังพยายามมากเกินไปล่ะ ให้หาเพื่อนใหม่เถอะ
    • ฝึกการเป็นเพื่อนที่คุณต้องการจะมี คิดถึงคุณสมบัติที่คุณต้องการในเพื่อนคนหนึ่ง แล้วทำอย่างนั้นกับคนอื่นๆ ในชีวิตคุณ
  5. การเลี้ยงหมาหรือแมว (หรือสัตว์ชนิดอื่น) จากศูนย์สงเคราะห์สัตว์อาจหมายถึงข้อดีต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวงสำหรับคุณ โดยเฉพาะการมีเพื่อนคู่กาย คนที่เลี้ยงหมามักจะมีระดับความซึมเศร้าต่ำกว่า สามารถรับมือกับความเครียดได้ดีกว่า และแสดงอาการวิตกกังวลน้อยกว่า [17]
    • ไปยังศูนย์สงเคราะห์สัตว์แล้วช่วยรับเลี้ยงหมาหรือแมวที่ถูกทอดทิ้งและต้องอยู่ตัวเดียว ถ้าเป็นไปได้ คุณอาจลองอ่านวิธีการเลี้ยงหมาถูกทิ้งให้แข็งแรงและมีความสุขในวิกิฮาว
    • แน่นอน การจะเลี้ยงหมาสักตัวถือว่าเป็นความรับผิดชอบใหญ่ ให้แน่ใจว่าคุณสามารถปรับตารางเวลาให้เข้ากับสัตว์เลี้ยงเพื่อจะได้ให้มันมีชีวิตที่มีความสุข
  6. บางครั้งความเจ็บปวดของความเหงานั้นมากเหลือคณา จนทำให้ชีวิตจะเดินหน้าไปเองได้ยากลำบาก นักบำบัดสามารถช่วยคุณผ่านความวิตกเรื่องสังคม ทำความเข้าใจความรู้สึกที่ถูกหักหลังหรือถูกไม่เชื่อใจในอดีต ช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคม และสนับสนุนให้เดินหน้าต่อไป การไปพบนักบำบัดสามารถเป็นก้าวแรกสู่การมีชีวิตอย่างที่คุณต้องการได้ [18]
    • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ่านวิธีการเลือกนักบำบัดในวิกิฮาว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองตรวจดูกิจกรรมตามห้องสมุดหรือศูนย์สันทนาการ หลายที่มีโปรแกรม การเสวนา และกิจกรรมที่คุณสามารถเข้าร่วมได้
  • สังเกตเวลาที่มีใครในละแวกบ้านต้องประสบเหตุการสูญเสีย เขียนข้อความส่งหาเขา หลังจากนั้นทำอาหารไปให้และฟังเรื่องราวของพวกเขา ตั้งใจฟังจริงๆ — ไม่ใช่เอาแต่พูดเรื่องของตนเอง
  • ทักทายผู้คนที่ไม่คาดว่าจะได้รับมันและส่งรอยยิ้มเป็นมิตรกับคำเสนาะหู: พนักงานเก็บค่าทางด่วน พนักงานร้านสะดวกซื้อ คนเฝ้าลานจอดรถ ถ้ามีเวลาก็เอ่ยถามดูว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการใช้เวลามากมายออนไลน์ ถึงมันจะดูเหมือนว่าคุณได้พบปะติดต่อกับคนจริงๆ แต่มันกลับเป็นประสบการณ์ที่จะยิ่งแยกตัวคุณให้โดดเดี่ยวเมื่อคนพวกนี้ไม่ได้อยู่ตรงนั้นกับคุณจริงๆ และคุณก็ไม่สามารถสนทนากับพวกเขาในแบบที่ความสัมพันธ์ของมนุษย์ปกติเขาเป็นกัน คือจะมีเพื่อนทางเน็ตน่ะไม่เป็นไรหรอก แต่อย่าใช้เวลามากจนทำเอาชีวิตตอนไม่ใช้เน็ตต้องเสียหาย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,702 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา