PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คำวิจารณ์มีลักษณะที่น่าประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ ถึงแม้เมื่อได้ยินแล้วจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเจ็บปวด แต่คำวิจารณ์นั้นกลับเป็นส่วนสำคัญสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาตนเอง การยอมรับคำวิจารณ์และแปรเปลี่ยนคำวิจารณ์นั้นให้เป็นอะไรที่สร้างสรรค์คือทักษะอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่ถนัดรับฟังคำวิจารณ์เอาเสียเลย ให้ลองฝึกดู เพราะการยอมรับคำวิจารณ์ได้ไม่เพียงช่วยเราพัฒนาการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้คำวิจารณ์นั้นมาปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น และเมื่อสามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ได้สำเร็จ เราก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดการกับความรู้สึกของตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นธรรมดาที่เราอยากจะอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเองเมื่อได้ฟังวิจารณ์ แต่การปล่อยให้ตนเองโมโหและแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ออกไปนั้นไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น จงระลึกอยู่เสมอว่าคนเราก็ต่างเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากความผิดพลาดของตนเองด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงคำวิจารณ์ได้ และถ้าสามารถรับมือกับคำวิจารณ์ได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เราก็อาจได้เรียนรู้อะไรที่มีค่าเป็นการตอบแทน ฉะนั้นพยายามสงบจิตใจไว้ก่อน ถึงแม้คนที่วิจารณ์เราอยู่นั้นพูดจารุนแรง เสียดแทงใจ อย่าไปปะทะคารมกับเขา เพราะจะกลายเป็นว่าเราไม่สามารถรับฟังคำวิจารณ์ได้ และการโต้เถียงจะขัดขวางไม่ให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากคำวิจารณ์นั้น [1]
    • สูดหายใจเข้าลึกๆ เมื่อกำลังรับฟังคำวิจารณ์อยู่ การจดจ่ออยู่กับลมหายใจจะช่วยรักษาจิตใจให้สงบได้ ลองนับหนึ่งถึงห้า (ในใจ) ขณะที่หายใจเข้า จากนั้นกลั้นลมหายใจ นับหนึ่งถึงห้า แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก
    • พยายามยิ้ม การยิ้มน้อยๆ สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้และอาจทำให้คนที่วิจารณ์เราอยู่ผ่อนคลายขึ้นด้วย [2]
  2. ก่อนที่จะตอบโต้และแม้แต่ก่อนจะคิดถึงคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้น ให้เวลาตนเองได้ใจเย็นลงก่อน ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบสัก 20 นาที เช่น ฟังเพลงโปรด อ่านหนังสือ หรือไปเดินเล่น การให้เวลาตนเองได้ใจเย็นลงหลังจากรับฟังคำวิจารณ์ที่เจ็บแสบจะช่วยให้เรารับมือกับคำวิจารณ์นั้นได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์แทนที่จะเอาแต่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบไปตามอารมณ์ [3]
  3. อย่าให้คำวิจารณ์มามีผลกระทบต่อความสามารถด้านอื่นๆ ของเรา. การรับฟังคำวิจารณ์ที่ดีต่อตัวเราคือ เราต้องไม่ถือเอาคำวิจารณ์นั้นมาเป็นทุกอย่างของเรา พยายามอย่าคิดว่าคำวิจารณ์นั้นมีเราคนเดียวที่ได้รับหรือคิดว่าเป็นการพูดเพื่อให้เราเสียหน้า ให้รับคำวิจารณ์ไว้และไม่ต้องคิดมากหรือสงสัยในความสามารถด้านอื่นๆ ของตนเอง [4]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ามีใครมาวิจารณ์ภาพวาดของเรา คำวิจารณ์นี้ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นจิตรกรที่แย่ งานของเราอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง หรือภาพนั้นเป็นภาพที่ไม่มีใครชอบ แต่เราก็สามารถเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ได้อยู่
  4. บางครั้งคำวิจารณ์ไม่ได้มีเจตนาจะช่วยเหลือเรา แต่มีเจตนาจะซ้ำเติมเรา ฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้น ให้ลองคิดถึงแรงจูงใจของการวิจารณ์นั้นด้วย ถามตนเองเพื่อจะได้ทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ถูกวิจารณ์แบบนั้น [5]
    • คำวิจารณ์ต่างๆ นั้นเป็นอะไรที่เราควบคุมได้ไหม ถ้าควบคุมไม่ได้ ทำไมถึงมีคำวิจารณ์นั้นออกมา
    • ความเห็นของผู้วิจารณ์คนนี้สำคัญต่อเราจริงๆ ไหม ทำไมถึงสำคัญและทำไมถึงไม่สำคัญ
    • คนที่วิจารณ์เราเป็นคู่แข่งของเราหรือเปล่า ถ้าใช่ คำวิจารณ์นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคู่แข่งไหม
    • รู้สึกเหมือนตนเองกำลังถูกข่มแหงรังแกหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ได้ขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหานี้แล้วหรือยัง (ถ้ารู้สึกเหมือนถูกข่มแหงที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน คุยกับใครสักคนที่สามารถช่วยเราได้ เช่น ครู หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
  5. ไม่ว่าคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้นมาจากความบกพร่องของเราเองหรือมีเจตนาสร้างความเจ็บปวดใจ เราควรได้พูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นมาบ้าง รอจนกระทั่งเราได้ปลีกตัวออกจากคนที่วิจารณ์เราและมาระบายกับคนที่เราไว้ใจ บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นและบอกว่าเรารู้สึกอย่างไร การพูดคุยถึงคำวิจารณ์ที่ได้รับกับเพื่อนที่ไว้ใจหรือคนในครอบครัวอาจช่วยให้เราเข้าใจคำวิจารณ์นั้นมากขึ้น และรู้ถึงเหตุผลว่าทำไมถึงถูกวิจารณ์แบบนั้น
  6. พอเราได้สงบจิตใจและเข้าใจคำวิจารณ์นั้นแล้ว เราก็จะต้องหันมาให้ความสนใจกับด้านดีของตนเองบ้าง ถ้าเอาแต่สนใจข้อบกพร่องที่เราต้องปรับปรุงมากเกินไป เราอาจเริ่มรู้สึกหดหู่และท้อแท้ ให้พยายามเขียนข้อดีของตัวเราที่นึกออก เพื่อสร้างความภาคภูมิใจขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนข้อดีของเราลงไปว่า “ทำอาหารเก่ง” “เป็นคนตลก” หรือ “เป็นนักอ่านตัวยง” เขียนข้อดีให้มากที่สุดเท่าที่เรานึกออก และอ่านข้อดีเหล่านั้นอีกครั้งเพื่อย้ำเตือนให้เห็นถึงความสามารถของตนเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตอบโต้คำวิจารณ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อมีคนกำลังวิจารณ์เราอยู่ ให้รับฟังดีๆ และตั้งใจฟัง มองผู้พูดและพยักหน้าเป็นบางครั้งเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังอยู่ การพยายามตั้งใจฟังคำวิจารณ์นั้นยาก แต่ก็ต้องตั้งใจฟัง เพราะถ้าไม่ฟัง เราอาจจะตอบโต้เขาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และการตอบโต้แบบนั้นจะยิ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น [6]
    • ถึงแม้คำแนะนำหรือคำวิจารณ์จะทำให้เราเจ็บปวดใจมากแค่ไหน ก็ต้องพยายามรับฟังไว้ ถ้าคนวิจารณ์แค่ส่งจดหมายสั้นๆ มา เราสามารถ “อ่าน” เมื่อพร้อมได้
  2. หลังจากฟังคำวิจารณ์จบแล้ว กล่าวย้ำคำวิจารณ์นั้นให้พวกเขาฟัง ทั้งเราและเขาจะได้เข้าใจตรงกันว่าต้องทำอะไร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราต้องการลดคำวิจารณ์ที่มาจากความเข้าใจผิดให้น้อยลง ไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำแบบคำต่อคำ แค่กล่าวโดยสรุปก็พอ [7]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเพิ่งถูกวิจารณ์เรื่องเก็บเอกสารบางอย่างไม่ถูกต้อง จึงทำให้เพื่อนร่วมงานมีปัญหาเวลาค้นหาเพื่อนำมาใช้งาน ให้เราพูดเรื่องนี้กับคนที่วิจารณ์เราใหม่อีกครั้งอย่างเช่นว่า “จากที่คุณพูด ฉันเข้าใจว่าฉันต้องเก็บเอกสารให้ถูกต้อง เพื่อนร่วมงานจะได้สะดวกในการใช้งาน ถูกต้องไหมคะ”
    • ถ้าเราไม่เข้าใจคำวิจารณ์นั้น ขอให้คนคนนั้นอธิบายหรือพูดในประเด็นที่เราไม่เข้าใจซ้ำอีกครั้ง ให้พูดอย่างเช่นว่า “ฉันต้องการเข้าใจให้ถูกต้อง จะได้แก้ปัญหาได้ ช่วยอธิบายให้ชัดเจนมากกว่านี้หน่อยได้ไหมคะ”
  3. คำวิจารณ์บางคำวิจารณ์อาจรุนแรงหรือซับซ้อนเกินไปที่จะตอบโต้ออกไปทันที ถ้าเป็นไปได้ รอให้ใจสงบ ควบคุมสติได้ และมีเวลาไตร่ตรองคำวิจารณ์นั้นก่อนที่จะตอบโต้ออกไป บางครั้งเราก็ต้องตอบโต้เลยทันที แต่จะดีกว่า ถ้าสามารถยับยั้งตนเองไว้ได้ เพราะการให้เวลาตนเองคิดหาวิธีตอบโต้ที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลดีตามมา [8]
    • ลองพูดอย่างเช่น “ฉันดีใจที่คุณอุตส่าห์ช่วยบอกจุดบกพร่องให้ ขอฉันกลับไปดูงานนี้อีกครั้งและแก้ไขดู พรุ่งนี้ตอนเช้าฉันขอมาปรึกษาคุณเรื่องงานส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้ไหม”
  4. เมื่อมีคนวิจารณ์เพราะเราทำผิดพลาด หรือไปทำอะไรให้คนอื่นเจ็บปวด เราต้องขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นทันที [9] การขอโทษแตกต่างจากการรับมือกับคำวิจารณ์ ฉะนั้นอย่ารู้สึกว่าการขอโทษเป็นการที่ฝ่ายเรายอมเปลี่ยนแปลงหรือยอมรับคำวิจารณ์ทั้งหมด
    • ในกรณีส่วนใหญ่เราต้องพูดขอโทษทันที เช่น “ฉันขอโทษจริงๆ ฉันไม่ตั้งใจให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ฉันจะกลับไปตรวจดูให้ดีอีกครั้งและจะทำทุกวิถีทางไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก”
  5. เมื่อเราพร้อมที่จะตอบโต้คำวิจารณ์นั้นแล้ว ให้เริ่มด้วยการยอมรับส่วนที่ผู้วิจารณ์พูดถูกก่อน เพราะการยอมรับว่าคำวิจารณ์นั้นมีส่วนถูกจะทำให้ผู้วิจารณ์รู้สึกดีขึ้น และทำให้พวกเขารู้ว่าเรานั้นเอาใจใส่กับสิ่งที่พวกเขาพูดจริงๆ [10]
    • พูดไปเลยว่า “คุณพูดถูก” จากนั้นค่อยเอ่ยต่อ เราไม่จำเป็นต้องพูดถึงเหตุผลให้ละเอียดมากมายว่าทำไมถึงเห็นด้วยกับคำวิจารณ์ แค่ยอมรับว่าเราเห็นด้วยกับคำกล่าวของพวกเขา นักวิจารณ์ก็จะรู้สึกเหมือนว่าเราเอาใจใส่กับสิ่งที่เขาพูด
    • คำวิจารณ์อาจผิดหมดเลยก็ได้ ในกรณีนั้นก็ให้หาส่วนที่คำวิจารณ์นั้นถูก (ตัวอย่างเช่น “ฉันจัดการเรื่องนี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร”) หรือขอบคุณที่พวกเขาบอกจุดบกพร่องให้เรารู้และปล่อยคำวิจารณ์นั้นไป ไม่ต้องนึกถึงอีก
  6. บอกผู้วิจารณ์ว่าเราจะเอาคำแนะนำไปใช้หรือจัดการกับปัญหาที่พวกเขาพูดถึงอย่างไร การบอกกล่าวให้ผู้วิจารณ์รับรู้ไว้จะทำให้พวกเขาเห็นว่าเราใส่ใจกับปัญหา การรับฟังคำวิจารณ์ การยอมรับคำวิจารณ์โดยไม่โต้แย้ง และการตอบโต้ไปอย่างเหมาะสมจะทำให้เราได้เติบโตขึ้น เมื่อเราใส่ใจปัญหาและลงมือแก้ไข ผู้คนก็จะเห็นใจเรามากขึ้นในอนาคต
    • เราอาจพูดอย่างเช่นว่า “คราวหน้าฉันจะมาหาคุณก่อนที่จะพูดคุยกับลูกค้าเพื่อฉันจะได้ตอบลูกค้าได้อย่างเหมาะสมตามที่เราสองคนเห็นตรงกัน”
  7. ถ้าผู้วิจารณ์ไม่เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าให้เรา ให้ขอคำแนะนำจากพวกเขา แต่ถ้าผู้วิจารณ์ให้คำแนะนำเราไปแล้ว เราก็อาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากพวกเขาได้อีก นอกจากเราจะได้เรียนรู้อะไรดีๆ จากคำแนะนำเหล่านั้น เรายังทำให้ผู้ให้คำแนะนำรู้สึกดีขึ้นด้วย
    • ให้ถามว่า “ทำอย่างไร” แทนที่จะถามว่า “ทำไม” การถามว่า “ทำอย่างไร” จะทำให้เราได้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากกว่า ขณะที่การถามว่า “ทำไม” จะทำให้สถานการณ์แย่ลงและทำให้ผู้วิจารณ์อ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเอง ตัวอย่างเช่น ควรถามว่า “คุณคิดว่าฉันควรทำอย่างไรดีคราวหน้า” อย่าถามอย่างเช่นว่า “ทำไมคุณถึงพูดแบบนี้กับฉัน” [11]
  8. ขอให้คนที่วิจารณ์เราให้เวลา ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจุดบกพร่องที่พวกเขาพูดได้ทันทีทันใด การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต้องใช้เวลา การขอเวลาให้ตนได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจะลดความเครียดของเราลงไปบ้างและนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างเราและคนที่วิจารณ์เรา นอกจากนี้การขอเวลาปรับปรุงตนเองยังเป็นการบอกคนคนนั้นด้วยว่าเราเอาใจใส่คำพูดของเขาอย่างจริงจัง [12]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้คำวิจารณ์นั้นปรับปรุงตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่จะรับมือกับคำวิจารณ์ได้ดีที่สุดคือเห็นคำวิจารณ์เป็นโอกาสในการถอยกลับมาประเมินการกระทำของตนเองและหาวิธีปรับปรุงตัว คำวิจารณ์เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้เราได้พัฒนาตนเองจนกระทั่งกลายเป็นคนเก่งขึ้นมากกว่าเดิม เมื่อเรามองเห็นด้านดีของการรับคำวิจารณ์ เราก็จะยอมรับคำวิจารณ์ได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เพียงสามารถรับคำวิจารณ์ได้ แต่ยังกล้าขอคำวิจารณ์จากผู้อื่นด้วย [13]
    • ถึงแม้จะมีคนที่วิจารณ์เราผิดไป แต่คำวิจารณ์นั้นก็ยังช่วยเราเห็นข้อบกพร่องที่สามารถนำมาปรับปรุงได้อยู่ บางที่ข้อบกพร่องที่คนอื่นเห็นว่าเป็นปัญหาอาจกำลังบอกเราว่ามีบางสิ่งที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่อีก ถึงแม้จะไม่ใช่ตรงจุดที่คนคนนั้นบอกก็ตาม
  2. รู้ว่าคำแนะนำไหนมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์. เมื่อฟังคำวิจารณ์ เราต้องรู้ว่าคำวิจารณ์นั้นควรรับฟังหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วถ้าคนวิจารณ์เอาแต่ต่อว่าโดยไม่ให้คำแนะนำเลยว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องอย่างไร ก็อย่าไปสนใจคำวิจารณ์นั้น บางคนแค่ให้คำวิจารณ์เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น และเราต้องระวังสถานการณ์แบบนั้น อย่าตอบโต้คำวิจารณ์ ถ้าไม่มีประโยชน์ การรับรู้และโต้เถียงกลับไปรังแต่จะทำให้ผู้วิจารณ์มีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น [14]
    • ถ้าคนที่วิจารณ์ไม่ได้ให้คำแนะนำดีๆ อะไรเลย เราก็จะรู้แล้วว่าคำวิจารณ์ของเขาไม่เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเขาพูดว่า “งานของคุณแย่มาก สีก็เพี้ยน การนำเสนอก็ไม่ได้เรื่อง” ให้ขอคำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าผู้วิจารณ์ยังพูดจาไม่ดีและไม่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ อย่าไปสนใจคำวิจารณ์นั้น และคราวหน้าก็อย่าไปรับฟังคำวิจารณ์เขามากนัก
    • คำวิจารณ์ที่ดีคือคำวิจารณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงข้อเสียและข้อดี รวมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงตนเอง ตัวอย่างเช่น “ฉันไม่ชอบสีแดง แต่ฉันชอบสีฟ้าอ่อนของเทือกเขา” คำวิจารณ์นี้เป็นประโยชน์และให้แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เราอาจจะใช้คำแนะนำนี้มาทำงานให้ดีขึ้นคราวหน้า
  3. ใคร่ครวญคำแนะนำที่เราได้รับ คนวิจารณ์บอกจุดบกพร่องที่เราควรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ลองคิดหาวิธีแก้ไขแบบต่างๆ ซึ่งให้ผลแบบเดียวกัน เราจะได้มีทางเลือกหลายทางให้ทดลองใช้และได้วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเรา เราควรลองคิดเพิ่มเติมว่ามีอะไรอื่นอีกไหมที่เราได้เรียนรู้จากคำวิจารณ์นั้น [15]
    • การเขียนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปทีละคำหลังจากได้รับคำแนะนำเรียบร้อยแล้วเป็นวิธีการที่ดี เพราะการจดบันทึกป้องกันไม่ให้ความทรงจำของเราบิดเบือนถ้อยคำเหล่านั้นภายหลังและนึกถึงแต่คำพูดที่ทำให้เจ็บช้ำใจ
  4. ตอนนี้เราได้ตัดสินใจไปแล้วว่าข้อแนะนำข้อไหนสำคัญสำหรับเรา ต่อไปเราจะต้องวางแผนเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ นั้นให้ดีขึ้น การมีแผนโดยเฉพาะถ้าสามารถเขียนออกมาได้จะทำให้เราทำตามคำแนะนำและปรับปรุงข้อบกพร่องได้ง่ายขึ้น เราจะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้สำเร็จมากขึ้นอีกด้วย [16]
    • เราต้องทำอะไรบ้างถึงสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ เขียนขั้นตอนลงไปทีละขั้นตอน เราจะได้เริ่มการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้เสียที
    • เป้าหมายของเราต้องวัดได้และเป็นสิ่งที่ทำได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถูกวิจารณ์เรื่องบทความที่เขียนส่งในห้องเรียน เป้าหมายที่วัดได้และเราสามารถทำได้ด้วยอาจเป็น “เมื่ออาจารย์สั่งเขียนบทความคราวหน้า ให้เริ่มเขียนโดยเร็ว” หรือ “ให้อาจารย์ดูงานและบอกจุดพร่องเพื่อจะได้แก้ไขก่อนวันกำหนดส่ง” อย่าตั้งเป้าหมายเช่น “เขียนให้ดีขึ้น” หรือ “ได้คะแนนเต็มในงานเขียนบทความคราวหน้า” เพราะเป้าหมายเหล่านี้วัดยากและทำให้สำเร็จได้ยาก
  5. 5
    พยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ. พยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติคำวิจารณ์จะเป็นแรงผลักดันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตนเองให้ต่างไปจากเดิมหรือเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราไปโดยสินเชิง ผลคือเราได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น การพัฒนาตนเองย่อมเจออุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา ฉะนั้นจงอย่าท้อแท้และพยายามต่อไปเรื่อยๆ
    • เราอาจมีจุดบกพร่องตามที่คนอื่นพูดจริงๆ และพยายามปรับปรุงแก้ไขอย่างสุดความสามารถแล้ว แต่ผลสุดท้ายก็กลับไปทำผิดพลาดซ้ำแบบเดิม จงอย่าคิดว่าเราไม่มีทางเปลี่ยนแปลงตนเองได้หรือคิดว่าเดี๋ยวตนเองก็กลับไปทำแบบเดิมอีก เมื่อเราได้เรียนรู้จุดบกพร่องของตนเอง มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น และหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นได้ในที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อถูกวิจารณ์ อย่าพยายามหาข้อแก้ตัว เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องแย่ไปกันใหญ่ และเมื่อถูกวิจารณ์อยู่ อย่าร้องไห้ ปฏิเสธ หรือโทษคนอื่น [17]
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ายอมให้ใครมาข่มแหงเรา ถ้าใครสักคนวิจารณ์เราอยู่ตลอดและทำให้เรารู้สึกแย่กับตนเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่สามารถช่วยเราได้


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,586 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา