PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตเราจะเป็นยังไงถ้าเราไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเลย? เราอาจจะกลายเป็นคนเยือกเย็นและน่าเบื่อไปเลยก็ได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยว่าอารมณ์รูปแบบต่างๆ นั้น ทำให้เรามีความสามารถที่จะรู้สึกใส่ใจกับบางสิ่งบางอย่าง โดยที่ไม่ใช่แค่การคิดถึงสิ่งนั้นแค่เฉยๆ เท่านั้น ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่า โดยตอนนี้วงการนักวิทยาศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมากจนเราสามารถเข้าใจได้แล้วว่าอารมณ์มีลักษณะเป็นอย่างไร และยังมีเอกสารยืนยันอีกว่าอารมณ์แบบต่างๆ ให้ความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจริงๆ ตอนนี้ก็ยังมีหลายสิ่งเกี่ยวกับหัวข้อนี้ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

วิเคราะห์ธรรมชาติของอารมณ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อารมณ์นั้นหมายถึง การตอบสนองที่ถูกกำหนดโดยวิวัฒนาการที่ทำให้เราปรับตัวให้เข้ากับสิ่งรอบๆ ตัวในวิถีที่เราเคยทำกันมาก่อนในอดีต และอาจจะจนถึงทุกวันนี้ด้วย เหล่าบรรพบุรุษของเราที่มีความสามารถในการสัมผัสกับอารมณ์อย่างเช่น อารมณ์กลัวเมื่ออยู่ตรงหน้าผา จะมีความระมัดระวังและมีแนวโน้มที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์ได้มากกว่าพวกที่ไม่มีความสามารถในการรับรู้ถึงความกลัว [1]
    • อารมณ์จะถูกแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งอารมณ์ในเชิงบวกนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเรากำลังได้รับประโยชน์จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลังจากที่เราได้รับประโยชน์นั้นมาแล้ว ส่วนอารมณ์ในเชิงลบนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเราตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่นำความเสียหายมาให้เรา [2]
  2. นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ลงความเห็นว่ามีกลุ่มชนิดของอารมณ์ที่เรียกว่า “อารมณ์พื้นฐาน” ที่มนุษย์ทุกคนมี ซึ่งเทียบได้กับส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่าง ตา ขา หรือแขน โดยในอารมณ์พื้นฐานก็จะประกอบไปด้วย ความโกรธ ความรังเกียจ ความกลัว ความสุข ความเศร้า และความประหลาดใจ
    • แต่ก็ยังมีนักวิจัยหลายคนที่ได้เพิ่มชนิดของอารมณ์ขึ้นมาอีก ซึ่งก็มีทั้ง ดูถูก ภูมิใจ อับอาย รัก และกังวล และอาจจะมีมากกว่านี้อีก แต่ขอบเขตของชนิดของอารมณ์ที่คนทั่วโลกมีเหมือนกันหรือในวัฒนธรรมเฉพาะบางที่นั้นยังต้องมีข้อถกเถียงกันต่อไป [3]
  3. อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างเหลือเชื่อต่อการอยู่รอด และความสามารถในการเจริญเติบโตต่อไป รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจที่ดี ซึ่งความคิดที่ว่าอารมณ์และเหตุผลนั้นไม่มีการเชื่อมโยงกันไม่เป็นความจริงแน่นอน [4] เราจะเห็นได้ว่าอารมณ์คือส่วนสำคัญในการมีชีวิตรอดจริงๆ ได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
    • ลองจินตนาการว่าวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมา แล้วคุณไม่รู้สึกอาย หรือไม่มีความละอายใจใดๆ หรือไม่มีความกังวลทางสังคมหลงเหลืออยู่ในตัว จนทำให้คุณไม่แคร์ว่าคุณจะทำตัวยังไงต่อหน้าคนอื่น สิ่งที่จะตามมาก็คือ คุณเสียเพื่อนไป เพราะคุณไม่แคร์ในสิ่งที่ตัวเองทำต่อหน้าพวกเขาเลย สิ่งนี่แสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่าอารมณ์รูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่บางอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ในเชิงลบ ล้วนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้ากับคนอื่นและใช้ชีวิตให้อยู่รอดต่อไปได้ [5]
  4. อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสามารถในการตัดสินใจของเราอย่างมาก เพราะอารมณ์จะเป็นตัวกำหนดคุณค่าหรือน้ำหนักของข้อมูลบางข้อมูล ทำให้เราให้น้ำหนักการตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่ง มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าคนที่มีบาดแผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้อารมณ์ มักจะมีการตัดสินใจที่แย่ และในบางกรณีอาจมีการแสดงออกถึงความบกพร่องทางจริยธรรมด้วย [6]
    • ซึ่งเคสที่ดังที่สุดก็น่าจะเป็นเคสของนายฟิเนียส์ เกจ (Phineas Gage) ที่ประสบอุบัติเหตุถูกแท่งเหล็กเสียบเข้าไปที่กะโลกศีรษะ ทำลายสมองส่วนที่ใช้ในการประมวลผลอารมณ์ แต่เขาก็รอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์ แม้ว่าเขาจะไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป บุคลิกของเขาเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการแสดงอารมณ์ออกมาในแบบที่ไม่เหมาะสม ตัดสินใจแย่ และชอบทำตัวยุ่งวุ่นวาย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ก็คือ สมองส่วนที่ใช้ประมวลผลทางอารมณ์ของเขาถูกทำลายนั่นเอง [7] [8]
    • กลุ่มที่มีปัญหาในสังคมอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิต ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะทำความผิดด้านอาชญากรรม โดยมีสิ่งหนึ่งที่วินิจฉัยได้จากคนกลุ่มนี้ก็คือ การขาดแคลนทางอารมณ์ของเขา ซึ่งเรียกอาการนี้ในภาษาอังกฤษได้ว่า callous-unemotional traits คนที่มีอาการนี้จะเป็นคนที่ไม่แคร์อะไรเลย และไม่รู้สึกถึงความผิดของตัวเอง และการที่พวกเขาไม่มีความรู้สึกเหล่านี้ ส่งผลให้พวกเขามีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าอารมณ์ความรู้สึก เป็นสิ่งสำคัญต่อศีลธรรมของคนเราอย่างมาก [9]
  5. ไม่ใช่แค่ไตหรือดวงตาของคุณที่จะสามารถมีความผิดปกติได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อารมณ์ของคุณก็สามารถผิดปกติได้เช่นกัน หากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติทางอารมณ์ คุณควรจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อเข้ารับการบำบัด ซึ่งความผิดปกติทางอารมณ์หรือความผิดปกติทางจิตที่ได้รับผลกระทบจากอารมณ์มีดังต่อไปนี้ [10]
  6. จดบันทึกเมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตัวเอง. เมื่อคุณสัมผัสได้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นและรับรู้ว่าอารมณ์เหล่านั้นเป็นแบบไหน คุณอาจจะจดบันทึกอารมณ์ของตัวเอง เพื่อทำความเข้าใจต่อไปว่าอารมณ์พวกนั้นเกี่ยวข้องยังไงกับตัวตนของคุณ และเพื่อที่จะเรียนรู้รูปแบบอารมณ์ที่มีความเฉพาะเจาะจงให้มากขึ้น รวมถึงเรียนรู้ว่าอะไรในชีวิตคุณที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เหล่านั้น คุณต้องคอยจดบันทึกเมื่อคุณสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตัวเอง รวมถึงบันทึกสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เหล่านั้นด้วย
    • ตัวอย่างเช่น บางทีคุณรู้สึกโกรธ แต่คุณสามารถรับรู้ถึงอารมณ์โกรธของตัวเองได้ก่อนที่คุณจะตระหนักว่า ตัวเองต้องยืนต่อแถวรอตั้ง 15 นาที เพื่อจะซื้อข้าวกลางวันและคุณก็เกลียดการยืนรอในแถวด้วย
    • โดยคุณสามารถใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ มาช่วยเพิ่มหรือลดอารมณ์ที่ต้องการหรือไม่ต้องการในชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้ว่าอะไรที่สามารถทำให้คุณโกรธได้ทั้งในรูปแบบทั่วไปและเฉพาะเจาะจง และคุณไม่ต้องการจะให้ตัวเองมีอารมณ์โกรธเยอะเท่ากับที่ตัวเองเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คุณอาจจะเริ่มต้นหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้คุณมีความโกรธ (เช่น ซื้อแค่ของเล็กๆ ที่ถือได้ด้วยมือเปล่าในซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อที่ตัวเองจะได้ใช้ช่องคิดเงินแบบด่วนได้)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รับรู้อารมณ์ของตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนทั่วไปบอกกันว่าอารมณ์แต่ละแบบจะให้ความรู้สึกแก่พวกเขาในแบบที่แตกต่างกัน ถ้าจะแยกความแตกต่างให้ชัดเจนก็คือ อารมณ์เชิงลบนั้นให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันมากเมื่อเอาไปเทียบกับอารมณ์เชิงบวก และอารมณ์เชิงลบแบบหนึ่งก็ให้ความรู้สึกแตกต่างจากอารมณ์เชิงลบอีกแบบหนึ่งเช่นกัน ซึ่งนั่นแสดงว่าความรู้สึกอายนั้นแตกต่างกับความรู้สึกเศร้าแน่นอน และความรู้สึกเศร้าก็แตกต่างจากความรู้สึกกลัวเช่นกัน
  2. อารมณ์โกรธเกิดขึ้นเมื่อมีใครบางคนมาทำร้ายเราในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งอารมณ์โกรธนี้จะทำหน้าที่ยับยั้งคนอื่นไม่ให้มาทำแบบนั้นกับเราอีกในอนาคต หากเราไม่มีความโกรธเลย คนอื่นอาจจะหาผลประโยชน์จากตัวเราได้ [15]
    • จุดเริ่มต้นของอารมณ์โกรธจะเริ่มที่ด้านหลังตรงระหว่างกระดูกสะบัก และเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบน ไปตามด้านหลังของลำคอและรอบๆ ด้านข้างของขากรรไกรและหัว เมื่อเรามีอารมณ์โกรธ เราอาจจะรู้สึกร้อนและลน [16] หากสังเกตว่าตัวเองรู้สึกตึง เจ็บ และรู้สึกถึงแรงกด ที่หลัง ลำคอ และขากรรไกร เป็นไปได้ว่าในขณะนั้นคุณรับอารมณ์โกรธเข้ามาในตัวแล้ว
  3. อารมณ์รังเกียจเป็นความรู้สึกต่อสิ่งที่ดูน่าสะอิดสะเอียน ที่ทำให้เรารู้สึกขยะแขยง ซึ่งอารมณ์ชนิดนี้ทำหน้าที่ป้องกันเราจากสิ่งที่สามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้อารมณ์ชนิดนี้ยังสามารถเกิดได้เมื่อเราเห็นบางสิ่งที่ดูเลวร้าย เช่น การละเมิดศีลธรรมบางอย่าง [17]
    • เมื่อเรามีรู้สึกรังเกียจอะไรบางอย่าง เราจะมีความรู้สึกที่ข้างในท้อง หน้าอก และบริเวณศีรษะของร่างกาย [18] และบางทีอาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือคลื่นไส้ จนต้องอุดจมูกตัวเองและอยู่ให้ห่างๆ จากสิ่งเร้าที่ดูน่าขยะแขยงพวกนั้น [19]
  4. อารมณ์กลัวคือความรู้สึกที่ตอบสนองต่ออันตรายรูปแบบต่างๆ เช่น ความกลัวต่อหมี ความสูง หรือปืน ซึ่งอารมณ์ชนิดนี้ช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นทั้งในตอนปัจจุบัน และช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงมันในอนาคตอีกด้วย [20] และแม้ว่าความกลัวจะเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ที่เกิดจากวิวัฒนาการของพวกเราเอง แต่หลายสิ่งที่เรากลัวกันนั้นก็ได้ให้บทเรียนกับเรา แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น พวกเรากลับมีความกลัวต่อสถานการณ์หรือสิ่งต่างๆ (เช่น งูหรือความสูง) ที่เกิดขึ้นบ่อยมากในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของมนุษย์ มากกว่าที่จะกลัวสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์เพิ่งจะสร้างขึ้นมาใหม่ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะอันตรายกว่ามาก (เช่น การขับรถ หรือการอยู่ใกล้ๆ กับที่เสียบหลอดไฟ) [21]
    • เมื่อมีความรู้สึกกลัว เราจะมีความรู้สึกที่บริเวณส่วนครึ่งบนของร่างกาย ยกเว้นว่ามันจะเป็นความกลัวเพราะความสูงที่จะไปเพิ่มความรู้สึกให้กับขาของเรา [22] นอกจากนี้หัวใจของเราอาจจะเต้นเร็วขึ้น และอาจจะหายใจถี่ขึ้น และอาจจะมีเหงื่อออกที่ฝ่ามือและรู้สึกร้อนเพราะส่วนหนึ่งของระบบประสาทของเราเริ่มทำงานหนัก ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกได้อีกอย่างว่า การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (fight or flight response) [23]
  5. ความสุขคือการตอบสนองต่อสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่รอด การเจริญเติบโต และการถ่ายทอดยีนจากรุ่นสู่รุ่น ตัวอย่างสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขก็อย่างเช่น การมีเซ็กซ์ มีลูก การประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่มีคุณค่าสำหรับเรา การได้รับการยกย่องจากคนอื่น และการได้อยู่ในที่ๆ คนรอบๆ ตัวยอมรับในตัวเรา [24]
    • ความสุขนั้นอาจจะเป็นหนึ่งในอารมณ์ความรู้สึกที่รับรู้ได้ง่ายที่สุด และเป็นอารมณ์ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นอารมณ์ที่จำกัดความได้ยาก มันอาจจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกอบอุ่นที่ส่งผ่านไปทั่วร่างกาย หรือเกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ หรือการได้รับความปลอดภัย หรืออาจจะเป็นการมีชีวิตที่ดีก็ได้ [25] [26]
  6. อารมณ์เศร้าเป็นการตอบสนองต่อการสูญเสียในสิ่งที่เราให้ความสำคัญ มันเป็นความรู้สึกเจ็บปวดที่อาจจะทำหน้าที่ช่วยเราให้หลีกเลี่ยงการสูญเสียในอนาคต หรือทำให้เราพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีเมื่อเราได้สิ่งที่สูญเสียไปกลับคืนมา (เช่น คนรักของเรา) [27]
    • ความรู้สึกเศร้ามักจะเริ่มต้นที่หน้าอก และเคลื่อนที่ขึ้นไปผ่านลำคอ และขึ้นไปจนถึงดวงตา ที่ๆ เราเห็นเป็นน้ำตาที่ไหลออกมา คุณอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “เธอเหมือนจะร้องไห้แล้ว” ซึ่งเป็นคำพูดที่เราได้ยินเมื่อเรามีอาการข้างต้น และการปล่อยให้ตัวเองได้ร้องไห้ออกมาอย่างเต็มที่นั้น สามารถทำให้เราปลดความเศร้าต่างๆ ออกไปได้ โดยให้คุณเทความสนใจไปที่ความรู้สึกในร่างกายบริเวณนี้ และปล่อยให้พลังงานในตัวเคลื่อนย้ายไป ซึ่งนี่จะช่วยทำให้เราเสียใจกับการสูญเสียของตัวเอง และหันมาใส่ใจกับความเจ็บปวดของคนอื่นมากขึ้น และคอยรักษาสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองไว้ [28] [29]
  7. อารมณ์ประหลาดใจเกิดขึ้นเมื่อเราพบเจอกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่คาดคิด เพียงแต่ว่าสิ่งที่ดูน่าประหลาดใจพวกนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อตัวเรา ซึ่งนี่เป็นชนิดของอารมณ์ที่น่าสนใจมาก เพราะมันค่อนข้างจะมีความเป็นกลางเมื่อเปรียบเทียบกับอารมณ์ชนิดอื่นๆ ที่เป็นไปในเชิงบวกหรือเชิงลบอย่างชัดเจน อารมณ์ประหลาดใจนั้นอาจจะทำหน้าที่ช่วยปรับทิศทางความสนใจของเราไปยังสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ [30]
    • เมื่อมีความประหลาดใจ ความรู้สึกของเราจะอยู่ที่ศีรษะและหน้าอก ซึ่งนี่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่คาดคิด และบางทีอาจจะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองถูกเขย่าตัวอยู่ก็ได้ [31] [32]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นนั้นเป็นสิ่งที่อยู่แค่ชั่วคราว แต่อารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงจะอยู่กับตัวเราเป็นระยะเวลานานกว่า ยกตัวอย่าง หากคุณรู้สึกว่าตัวเองหวาดกลัวบางอย่างอยู่ จำไว้ว่าไม่นานความกลัวนั้นก็จะหายไปเอง
  • จำไว้ว่าอารมณ์แบบต่างๆ แม้แต่อารมณ์ที่เป็นเชิงลบ มันคือการตอบสนองปกติของมนุษย์เราอยู่แล้ว และในหลายกรณีอารมณ์เหล่านี้ก็มีประโยชน์มากๆ ด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณพบเจอกับความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่รุนแรงและ/หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม หรือสังเกตเห็นว่าอารมณ์ของตัวเองเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ให้คุณปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตโดยด่วน
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mental-illness/basics/definition/con-20033813
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/basics/definition/con-20032977
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/basics/definition/con-20024562
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/schizophrenia/basics/symptoms/con-20021077
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/basics/definition/con-20027544
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201205/the-complete-guide-understanding-your-emotions
  7. http://www.pnas.org/content/111/2/646/F2.expansion.html
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19251631
  9. http://www.pnas.org/content/111/2/646/F2.expansion.html
  10. http://changingminds.org/explanations/emotions/disgust.htm
  11. https://www.psychologytoday.com/basics/fear
  12. https://www.paulekman.com/wp-content/uploads/2013/07/Basic-Emotions.pdf
  13. http://www.pnas.org/content/111/2/646/F2.expansion.html
  14. http://kidshealth.org/kid/feeling/emotion/afraid.html
  15. http://www-personal.umich.edu/~nesse/Articles/EvolExplanEmotions-HumNature-1990.pdf
  16. http://www.pnas.org/content/111/2/646.full
  17. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/happiness/what-happiness
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201205/the-complete-guide-understanding-your-emotions
  19. http://www.pnas.org/content/111/2/646.full
  20. https://www.psychologytoday.com/blog/emotional-freedom/201007/the-health-benefits-tears
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23317823
  22. https://www.psychologytoday.com/blog/the-author-speaks/201503/surprise
  23. http://www.pnas.org/content/111/2/646.full

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,746 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา