PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

จมูกเป็นอวัยวะของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก ดังนั้นแม้แต่บาดแผลที่เล็กสุดๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องซับซ้อนที่จะรักษามันได้และบางครั้งก็อาจจะทำให้เจ็บปวด การดูแลแผลในจมูกให้เหมาะสมนั้นจะทำให้แผลหายและป้องกันการติดเชื้ออันไม่พึงประสงค์ ไปพบแพทย์ถ้าเลือดที่แผลไม่หยุดไหล แผลไม่สมานกัน หรือคุณมีอาการติดเชื้อ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ล้างแผล

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอให้แน่ใจว่ามือของคุณสะอาดเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลเปิดในจมูกติดเชื้อแบคทีเรียที่มือ [1] ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและใช้สบู่ถูมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที (ร้องเพลง "สุขสันต์วันเกิด" สองรอบ) [2] จากนั้นล้างมือและใช้ผ้าขนหนูสะอาดเช็ดมือให้แห้ง
  2. ถ้าบาดแผลนั้นมีเลือดออกและมันอยู่ใกล้ๆ กับริมจมูก ค่อยๆ ใช้สิ่งของที่สะอาดประคบจนกว่าเลือดจะหยุดไหล อย่ากดเลือดจนหายใจไม่ออกและอย่ากดที่รูจมูก [3]
    • ถ้าแผลนั้นมองเห็นไม่ค่อยชัดหรือไม่ได้อยู่ตรงริมรูจมูก ให้ใช้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อหยุดเลือด [4]
    • นั่งหลังตรงจากนั้นก้มไปข้างหน้าเล็กน้อย การนั่งในตำแหน่งลักษณะนี้จะช่วยลดความดันในเส้นเลือดที่อยู่ในจมูกและป้องกันไม่ให้คุณกลืนเลือดเข้าไป
    • ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบจมูกและบีบไว้เป็นเวลา 10 นาที ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก หลังจากผ่านไป 10 นาทีแล้ว ให้คลายนิ้วที่บีบออก
    • ถ้าจมูกยังมีเลือดออกอยู่ ให้ทำขั้นตอนนี้ซ้ำ ถ้าเลือดยังออกอยู่แม้ว่าจะผ่านไป 20 นาทีแล้ว ให้ไปรับการรักษา เพราะอาการบาดเจ็บอาจจะรุนแรงเกินกว่าการปฐมพยาบาลจะช่วยได้
    • ในระหว่างขั้นตอนนี้ ให้ผู้ที่มีแผลในจมูกรู้สึกเย็นที่สุดโดยการใช้ผ้าเย็นหรืออมเม็ดอมเย็นๆ [5]
  3. ค่อยๆ เอาผิวตรงแผลที่หลุดออกมาด้วยความระมัดระวัง. เพื่อลดการติดเชื้อและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ให้ใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อแล้วดึงเอาผิวหนังตรงแผลที่หลุดออกมา [6]
  4. ถ้าคุณคิดว่ามีบางสิ่งที่ติดแน่นอยู่ตรงแผลหรือคุณต้องการที่จะนำเศษผิวหนัง เนื้อเยื่อ หรือลิ่มเลือด ออกมาจากจมูก ให้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่คุณจะใช้ ถ้าคุณไม่สามารถนำอุปกรณ์ไปฆ่าเชื้อได้ ขอให้แน่ใจว่ามันสะอาดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ [7]
  5. นำอุปกรณ์ที่คุณต้องการใช้ไปฆ่าเชื้อ [8]
    • ใช้สบู่และน้ำล้างมือให้สะอาด
    • ล้างเครื่องมือ เช่น แหนบ ด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด จากนั้นล้างสบู่ออกให้หมด
    • เอาอุปกรณ์ที่ใช้ไปใส่ในหม้อหรือกระทะ เติมน้ำให้ท่วมอุปกรณ์ทุกชิ้นอย่างพอดีๆ
    • ใช้ฝาหม้อปิดกระทะไว้และนำไปต้ม ต้มเป็นเวลา 15 นาทีโดยปิดฝาเอาไว้อย่างนั้น
    • ยกกระทะออก ปิดฝามันไว้อย่างนั้น และปล่อยให้มันเย็นลงจนมีอุณหภูมิห้อง
    • เทน้ำออกจากกระทะโดยไม่สัมผัสอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะใช้อุปกรณ์นั้น ให้วางมันไว้ในหม้อหรือกระทะที่เทน้ำออกแล้วและเปิดฝาไว้
    • ค่อยๆ นำอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วออกมาเมื่อคุณจะใช้ โดยนำออกมาอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการจับอุปกรณ์ตรงที่มันจะต้องสัมผัสกับบาดแผล ให้จับที่ด้ามเท่านั้น
  6. ไปขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ถ้าแผลอยู่ลึกจนเข้าถึงยาก. ถ้าคุณมองเห็นแผลไม่ชัด หรือมันอยู่ลึกเกินไปจนไม่สามารถเข้าถึงได้ คุณอาจจะมีปัญหาในการรักษาแผลบริเวณนั้นให้เหมาะสม คุณอาจจะทำให้มันยิ่งเสียหายหรือทำให้มันติดเชื้อแบคทีเรียถ้าแผลอยู่ลึกในจมูก [9]
  7. ปกติแล้ว สบู่และน้ำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำความสะอาดบาดแผล แผลจากของมีคม และแผลเล็กๆ น้อยๆ ที่ผิวหนัง แต่บางส่วนของร่างกายที่บอบบางและไวต่อความรู้สึก มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำยาทำความสะอาดและเป็นสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่แนะนำให้ใช้กับบริเวณนั้นโดยเฉพาะ [10]
    • ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ใช้กันทั่วไปโดยเป็นทั้งสบู่ในการทำความสะอาดและเป็นสารต้านการฆ่าเชื้อ โดยมีชื่อเรียกว่าคลอเฮกซิดีน (Chlorhexidine) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไป [11] คลอเฮกซิดีนนั้นจะเจือจางสูงเมื่อใช้บนเนื้อเยื่อเมือก (ภายในจมูก)
  8. อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ภายในจมูกได้
  9. เพื่อที่จะเข้าถึงบาดแผลและทำความสะอาดมันได้ คุณอาจจะต้องใช้คอตตอนบัดหรือเศษผ้าก๊อซในการทำความสะอาดมันด้วยความระมัดระวัง [12]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดูแลบาดแผล

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บาดแผลของคุณนั้นเป็นทางเข้าของแบคทีเรียที่จะเข้าไปในกระแสเลือดของคุณ [16]
  2. ครีมหรือขี้ผึ้งฆ่าเชื้อโรคและต้านการติดเชื้อนั้นผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับแผลตื้นๆ หรือรอยเกาตื้นๆ แต่อาจจะไม่เหมาะสมที่ใช้กับแผลที่รุนแรงกว่าที่อยู่ภายในจมูก ถามแพทย์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยที่จะใช้รักษาบาดแผลภายในจมูกหรือไม่ ผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป [17]
    • ถ้าแพทย์ยืนยันว่าใช้ได้ ให้ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งต้านการติดเชื้อในปริมาณน้อยๆ ทาที่ปลายคอตตอนบัดหรือที่ผ้าก๊อซชิ้นเล็กๆ ค่อยๆ ทายาที่ผิวรอบๆ บาดแผลด้วยความระมัดระวัง [18]
  3. ถ้าคุณจะต้องใช้นิ้วมือในการทายาจริงๆ ขอให้แน่ใจว่าได้ล้างมืออย่างสะอาดแล้ว [19]
  4. เมื่อคุณได้ทายาที่แผลแล้ว ให้ปล่อยผิวที่มีแผลไว้ อย่าใช้มือไปยุ่งกับบริเวณนั้นและอย่าดึงที่สะเก็ดแผล การดึงที่บริเวณนั้นจะทำให้แผลไม่หายและเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ [20]
    • ค่อยๆ ทำความสะอาดบริเวณนั้นและใช้ครีมที่ให้ความชุ่มชื้นที่ปลอดภัยสำหรับใช้ที่ผิวทาภายในจมูก นี่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีสะเก็ดแผลที่ใหญ่และไม่สบายจมูก ลองใช้ขี้ผึ้งต้านการติดเชื้อหรือปิโตรเลียมเจลลี่ในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้บริเวณนั้นชุ่มชื้น
    • นี่จะช่วยให้บาดแผลมีขนาดเล็กลงและสะเก็ดแผลจะอ่อนนุ่มขึ้น มันจะช่วยให้ผิวบริเวณนั้นสมานเอง
  5. ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบาดแผล ความยาว และความลึก คุณอาจจะต้องทายาซ้ำ ทุกวันหรือทุก 2-3 วัน ทำด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ติดเชื้อแบคทีเรีย [21]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการกับบาดแผลที่รุนแรง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีเลือดออกอย่างต่อเนื่องอาจจะบ่งบอกได้ว่ามีกระดูกหัก บาดแผลลึกภายในจมูก หรืออาการที่รุนแรงอื่นๆ ถ้ามีเลือดออกต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 15-20 นาที มันเป็นสัญญาณเตือนว่ามีบางอย่างที่รุนแรงเกิดขึ้น [22]
  2. บาดแผลบางอย่างที่เกิดขึ้นที่ภายในรูจมูกจะต้องไปรับการรักษาทางการแพทย์ จมูกเป็นบริเวณที่บอบบางและมีเส้นเลือดอยู่มาก มันมีของเหลว (อย่าง น้ำมูก) และของเสียที่ระบายจากโพรงไซนัส ทั้งหมดนี้ล้วนมีแบคทีเรีย แผลบางอย่างที่อยู่ภายในจมูกจะต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษาหรือแม้แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์หู คอ จมูก [23]
    • ในบางกรณี บาดแผลอาจจะดูเหมือนสมานดีแล้ว แต่จะกลับมาเป็นอีกภายใน 2-3 เดือนหรืออาทิตย์ นี่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ คุณอาจจะต้องถามแพทย์เกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อและการรักษาทางการแพทย์ที่จะป้องกันไม่ให้แผลกลับมาเป็นอีก [24]
  3. ไปหาแพทย์ถ้าบาดแผลนั้นเกี่ยวข้องกับสัตว์ด้วย. ถ้าบาดแผลของคุณเกิดจากสัตว์ หรือจากบางสิ่งที่สกปรกหรือขอบของบาดแผลที่ไม่เรียบ คุณจะต้องแน่ใจว่าได้ทำความสะอาดบริเวณนั้นและรักษาอย่างเหมาะสม ยิ่งคุณระบุอาการติดเชื้อได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาและควบคุมบาดแผลได้ง่ายขึ้น [25]
  4. ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้มีบาดแผล เมื่อมีอาการติดเชื้อควรที่จะรีบไปหาแพทย์ อาการติดเชื้อนั้นมีดังนี้ [27]
    • บริเวณนั้นไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหรือเริ่มที่จะแย่ลง
    • บริเวณนั้นบวมขึ้นและรู้สึกอุ่นๆ เมื่อสัมผัส
    • บาดแผลทำให้มีน้ำหนองหนาๆ และคุณสังเกตว่ามันมีกลิ่นออกมาจากบาดแผลหรือของเสียที่ระบายออกมา
    • คุณเริ่มที่จะมีไข้
  5. ในกรณีส่วนใหญ่ แพทย์จะเขียนใบจ่ายยาทั้งยาฆ่าเชื้อแบบทานและแบบใช้เฉพาะที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการรักษา แผลจะสมานภายใน 1-2 อาทิตย์เมื่อคุณเริ่มใช้ยาฆ่าเชื้อโรค [28]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บาดแผลที่อยู่นานกว่าหลายอาทิตย์หรือนานกว่านั้น อาจจะบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงกว่า และเป็นสัญญาณเตือนว่าต้องไปหาแพทย์
  • ปล่อยแผลเอาไว้อย่างนั้น การไปดึงที่แผลหรือรอยบาดภายในจมูกจะเป็นการขัดขวางการสมานของแผลและทำให้บริเวณนั้นอาจติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อ
  • ถ้าคุณสังเกตว่ามีอาการบาดเจ็บ บวม หรือมีรอยช้ำ นั่นแปลว่ากระดูกอาจจะหักได้และอาจจะไม่ใช่บาดแผล ไปพบแพทย์ถ้าคุณเริ่มมีอาการแบบนี้
  • อาการเลือดออกที่บริเวณนั้นที่เกิดขึ้นอีกหรือที่ยาวนาน อาจจะบ่งบอกว่าคุณจะต้องไปรับการรักษาทางการแพทย์ แผลนั้นอาจจะลึกมากหรือยาวมากกว่าที่คุณคิด
  • ถ้าบาดแผลนั้นอยู่ลึกมากในทางเดินหายใจจะไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายหรือเข้าถึงได้ง่าย ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
  • ทานผักและผลไม้มากๆ เพื่อให้แผลสมานเร็ว
  • ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักอย่างสม่ำเสมอ ผู้ใหญ่จะต้องฉีดวัคซีนนี้ทุกๆ 10 ปี
โฆษณา
  1. http://www.hartfordmedicalgroup.com/ed_instr_hibidens.php
  2. http://www.hartfordmedicalgroup.com/ed_instr_hibidens.php
  3. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  4. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  5. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  6. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  7. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  8. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  9. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  10. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  11. http://woundcaresociety.org/heal-cut-inside-nose
  12. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  13. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  14. http://woundcaresociety.org/heal-cut-inside-nose
  15. http://www.simple-remedies.com/home-remedies/ent-disorder/sores-in-nose-causes-treatment.html
  16. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  17. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  18. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804
  19. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02804

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 130,429 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา