ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในอเมริกา เขาคาดการณ์กันว่ามีผู้ชายหัวล้านจากกรรมพันธุ์ (male pattern baldness หรือ androgenic alopecia) มากถึง 50 ล้านคนกันเลยทีเดียว ส่วนบ้านเราแค่เดินออกไปยังไม่ถึงปากซอยก็เห็นลุงๆ ทั้งหลายหัวล้าน (แต่ไม่รู้ขี้ใจน้อยไหม) กันเป็นแถว ส่วนใหญ่จะเริ่มผมร่วงผมบางจากเหนือขมับ จนกลายเป็นตัว "M" พอนานๆ เข้าก็ล้านลามมากลางกระหม่อม บางทีก็ยาวไปถึงด้านข้างและด้านหลังด้วย จนจบที่หัวโล้นกันเลยทีเดียว ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังกลุ้มใจเพราะผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์จนเสียความมั่นใจ บทความวิกิฮาวนี้ก็มีวิธีแก้ไขมาฝากกัน [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สำรวจตัวเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงผมร่วงจากกรรมพันธุ์จะเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) แต่จริงๆ แล้วสาเหตุยังไม่ชัดเจน [2]
    • ที่ผู้ชายบางคนหัวล้านเพราะกรรมพันธุ์นั้น เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ และแอนโดรเจนหลักที่เชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับผมร่วงผมบาง ก็คือ dihydrotestosterone (DHT) [3]
    • ถ้าระดับ DHT ในรากผมเพิ่มขึ้น เชื่อกันว่าจะทำให้วงจรชีวิตของผมนั้นสั้นลง ผมใหม่งอกไม่ทัน [4]
    • นานๆ ไป ต่อมรากผมจะไม่มีผมงอกใหม่อีก แต่ต่อมรากผมยังไม่ตาย แปลว่าถ้ารักษาดีๆ ผมก็งอกใหม่ได้ [5]
  2. Minoxidil เป็นยาที่ FDA (องค์การอาหารและยาของอเมริกา) รับรองว่าใช้ภายนอกเพื่อรักษาผมร่วงผมบางเพราะกรรมพันธุ์ในผู้ชายได้ เป็นน้ำยาที่เอาไว้กระตุ้นต่อมรากผมให้มีผมงอกใหม่ ใช้ทาที่หนังศีรษะโดยตรง [6]
    • Minoxidil จะไปชะลอผมร่วงผมบาง ผู้ชายบางคนใช้แล้วก็ว่าผมใหม่งอกขึ้นมา แต่มักกลับมาผมร่วงอีกหลังหยุดยา เพราะงั้นก็ต้องใช้ minoxidil ต่อไปถึงจะเห็นผล
    • ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ของ Minoxidil ก็เช่น ผื่น คัน สิว แสบร้อน อักเสบ และบวม [7]
    • ผลข้างเคียงร้ายแรงที่บอกว่ายาดูดซึมเข้าร่างกายมากไปก็คือ ตาพร่ามัว เจ็บแน่นหน้าอก วิงเวียน เป็นลม และหัวใจเต้นผิดจังหวะ [8]
  3. Finasteride (ยี่ห้อ Propecia และ Proscar) เป็นยากินที่ต้องให้คุณหมอสั่ง ใช้แล้วเห็นผลกว่า minoxidil นิดหน่อย โดยจะไปจับเอนไซม์ที่ปกติจะแปลง free testosterone เป็น DHT [9]
    • Finasteride ช่วยชะลอผมร่วงผมบาง แต่ต้องใช้ต่อเนื่อง ถ้าหยุดเมื่อไหร่ จะกลับมาผมร่วงอีกในปีเดียวกัน [10]
    • ผลข้างเคียงของ finasteride คือหนาวสั่น เหงื่อออกตัวเย็น สับสนมึนงง วิงเวียน ลมพิษ แขน ขา หน้าบวม ชา นกเขาไม่ขัน ความต้องการทางเพศลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น [11]
  4. ขั้นตอนคือผ่าตัดย้ายรากผมสุขภาพดีจากหนังหัวส่วนที่มีผมกระจุกหนา มาปลูกถ่ายบริเวณที่ผมบาง ปกติต้องทำหลายครั้ง ราคาก็ค่อนข้างสูง แต่เห็นผลดีและถาวร [12]
    • ก่อนทำการรักษา คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะหนังหัวส่วนนั้น
    • ระหว่างทำการรักษา หนังหัวส่วนเล็กๆ ที่มีผมจะถูกผ่าตัดย้ายออกมา (donor area) แล้วเย็บปิด จากนั้นนำมาปลูกถ่ายบริเวณที่ผมบาง [13]
    • ใน 1 ครั้ง จะปลูกถ่ายผมได้เป็นหลายพันเส้น
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายผมอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดหรือเกิดแผลเป็นได้ รวมถึงเสี่ยงติดเชื้อ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดูแลสุขภาพผม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่ที่ผมร่วงเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ถ้ากินแต่อาหารแย่ๆ ก็เกิดภาวะขาดธาตุอาหารหลัก (macronutrient) คือโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต กับธาตุอาหารรอง (micronutrient) คือวิตามินและแร่ธาตุได้ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง จนผมร่วงผมบาง ถ้าอยากให้เส้นผมและสุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรง ก็ต้องเพิ่มอาหารบางอย่างต่อไปนี้หรือทั้งหมด ในเมนูประจำวันของคุณ [14]
    • เน้นผักผลไม้สีแดง เหลือง และส้ม (เช่น แครอท มันหวาน พริก และแคนตาลูป) พวกนี้อุดมวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) บางงานวิจัยชี้ว่าวิตามินเอช่วยกระตุ้นการสร้างและดูแลเซลล์ รวมถึงรากผมด้วย [15]
    • ผมจะสลวยสวยเก๋ถ้ากินปลาที่ไขมันสูง (เช่น แซลมอน กับซาร์ดีน) พวกนี้มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เยอะ [16]
    • กินโยเกิร์ตและอาหารอื่นๆ ที่วิตามินบี 5 สูง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังหนังศีรษะ เลยทำให้ผมงอก [17]
    • กินสลัดที่มีปวยเล้ง เพราะอุดมวิตามินเอ ธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินซี ทั้งหมดนี้ช่วยให้สุขภาพผมและหนังศีรษะแข็งแรง [18]
    • ร่างกายต้องได้รับโปรตีนเพียงพอ โดยกินเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ (เช่น ไก่ หรือไก่งวง) ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย และผักโปรตีนสูง (เช่น ถั่วต่างๆ) อย่าลืมว่าผมประกอบด้วยโมเลกุลโปรตีนอย่างเคราติน เลยต้องได้รับโปรตีนที่เพียงพอเพื่อไปบำรุงเส้นผม [19]
    • กินอาหารที่มีวิตามินบี 7 (หรือไบโอติน) จะได้กระตุ้นการงอกของเส้นผม อาหารที่ว่าก็เช่น ไข่ ซีเรียลเสริมวิตามิน ผลิตภัณฑ์นม และไก่ [20]
    • กินอาหารที่อุดมแร่ธาตุสังกะสี (zinc) เช่น หอยนางรม กุ้งล็อบสเตอร์ และซีเรียลเสริมวิตามิน ถ้าเกิดภาวะพร่องสังกะสี จะทำให้ผมร่วงได้ เพราะงั้นอาหารประจำวันต้องรวมแร่ธาตุที่จำเป็นไว้ด้วย [21]
  2. ถ้าร่างกายขาดน้ำ เซลล์ผิวและผมจะไม่ได้รับการบำรุง ไม่ค่อยงอก ถ้าอยากให้สุขภาพผมแข็งแรง ยาวสลวย ก็ต้องดื่มน้ำเยอะๆ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ [22]
    • พยายามดื่มให้ได้อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน ถ้าวันไหนอากาศร้อนหรือออกกำลังกาย ก็ต้องดื่มมากกว่านั้น
    • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม) จะทำให้ร่างกายขาดน้ำหรือน้ำในร่างกายไม่สมดุล ทางที่ดีให้ดื่มน้ำเปล่าหรือชา/น้ำผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนแต่พอประมาณ ไม่เกิน 1 - 2 แก้วต่อวัน
  3. ถึงผมร่วงจากกรรมพันธุ์จะไม่มีหลักฐานว่าเกิดจากความเครียด แต่ที่แน่ๆ คือเครียดแล้วทำให้ผมร่วงได้ ถ้าอยากรักษาสุขภาพผม ก็ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละวัน ผมร่วงเพราะความเครียดมี 3 แบบคือ [23]
  4. โรคหรืออาการบางอย่างก็ทำให้ผมร่วงได้ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับผมร่วงเพราะกรรมพันธุ์แต่อย่างใด ถ้าผมร่วงเมื่อไหร่ให้รีบไปหาหมอตรวจร่างกายหาสาเหตุ เผื่อจะเจอโรคอื่น [28]
    • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงหรือไม่สมดุล (เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอด หรือวัยหมดประจำเดือน) และโรคไทรอยด์ ก็ทำให้ผมร่วงชั่วคราวได้
    • หนังศีรษะติดเชื้อ เช่น กลาก ก็ทำให้หนังศีรษะเป็นเกล็ดหนา ผมร่วงได้ แต่ถ้ารักษาอาการติดเชื้อแล้ว ปกติผมจะงอกกลับมา
    • โรคอื่นๆ เช่น lichen planus คือผิวหนังอักเสบเรื้อรัง lupus คือโรคแพ้ภูมิตัวเองบางชนิด และ sarcoidosis คืออวัยวะอักเสบจากภูมิคุ้มกัน ทำให้ผมร่วงถาวรได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาตร์มารับรอง แต่เขาก็ว่าน้ำหัวหอมช่วยกระตุ้นให้ผมงอกได้ในคนที่ผมร่วงเป็นหย่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ จากการทดลองย่อมๆ พบว่าผู้เข้าร่วม 20 จาก 23 คน ใช้น้ำหัวหอมทาหนังศีรษะวันละ 2 ครั้ง แล้วผมงอกกลับมาใน 6 อาทิตย์ [29]
    • ถึงจะทดลองในกลุ่มคนที่ผมร่วงเป็นหย่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ แต่ลองเอาไปใช้แก้ผมร่วงผมบางเพราะกรรมพันธุ์ดูก็ไม่เสียหาย
    • ให้คั้นน้ำหัวหอมโดยเอาไปขูดกับตะแกรงก่อน
    • ใช้ทาที่หนังศีรษะวันละ 2 ครั้ง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วล้างออก ทดลองใช้อย่างน้อย 6 อาทิตย์ ว่าเห็นผลไหม
  2. เพราะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังรากผม ทำให้หนังศีรษะและรากผมแข็งแรง แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับ ว่าช่วยลดหรือป้องกันผมร่วงได้จริง
    • ใช้น้ำมันมะพร้าวหรืออัลมอนด์สำหรับบำรุงผม หรือน้ำมันอื่นๆ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง หรือน้ำมันมะขามป้อม นอกจากนี้อาจจะหยดน้ำมันโรสแมรี่หรือน้ำมันลาเวนเดอร์ 2 - 3 หยดด้วยก็ได้
    • ลงน้ำมันโดยนวดเบาๆ ให้ซึมลงในเส้นผมและหนังศีรษะ ถ้าใช้น้ำมันมะพร้าว อย่าเอาไปอุ่นให้ละลายในไมโครเวฟ แต่วอร์มด้วยมือแทน เพราะเป็นน้ำมันที่ละลายง่าย ไม่ต้องใช้ความร้อนสูง ให้นวดซ้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือน ถึงจะเห็นผล
  3. Fenugreek (หรือ methi) คือลูกซัด เมล็ดจะมีส่วนผสมที่กระตุ้นการงอกของเส้นผม และเสริมสร้างการซ่อมแซมต่อมรากผม
    • ให้เอาเมล็ดลูกซัด 1 ถ้วยตวงแช่น้ำไว้ แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน
    • บดให้เหนียวข้นเป็น paste ใช้หมักผมได้
    • จะใช้ถุงพลาสติกหรือหมวกอาบน้ำคลุมผมไว้ก็ได้ หมักไว้ 40 นาที จากนั้นล้างออก ให้ทำซ้ำทุกเช้าเป็นเวลา 1 เดือน
    • วิธีนี้ก็เหมือนวิธีธรรมชาติอื่นๆ ที่ใช้สมุนไพร คือยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับ ว่าช่วยแก้หรือป้องกันผมร่วงได้จริง บางทีอาจไม่ได้ผลสำหรับคุณ
  4. มีอีกหลายวิธีและสมุนไพรอีกหลายตัวที่น่าลอง แต่ก็ย้ำกันอีกทีว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับ บางทีอาจจะไม่ได้ผล ยังไงปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้ก็ดี ถ้าสงสัยหรือกังวลตรงไหน
    • ลองใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ น่าจะช่วยปรับค่า pH (ความเป็นกรดด่าง) ของหนังศีรษะ และกระตุ้นให้ผมกลับมางอกอีกครั้งได้ โดยใช้วุ้นว่านหางจระเข้นวดหนังศีรษะ แล้วทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงค่อยล้างออก ทำซ้ำ 3 - 4 ครั้งต่ออาทิตย์
    • ลองใช้ paste จากรากชะเอมเทศ เพราะมีสรรพคุณบรรเทาอาการระคายเคืองของหนังศีรษะ ให้บดรากชะเอมเทศ (1 ช้อนโต๊ะ) หญ้าฝรั่น (1/4 ช้อนชา) กับนม 1 ถ้วยตวงเข้าด้วยกัน แล้วใช้พอกบริเวณที่ผมร่วงผมบาง คลุมผม แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน ตอนเช้าให้ล้างออก ทำซ้ำ 1 - 2 ครั้งต่ออาทิตย์
    • ลองใช้ดอกชบา เพราะช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม แก้รังแค และทำให้ผมหนาขึ้น โดยผสมดอกชบากับน้ำมันมะพร้าว อุ่นจนไหม้ แล้วกรองเอาแต่น้ำมัน นำไปพอกหนังศีรษะแล้วเข้านอน ตื่นมาก็สระผม ทำซ้ำได้ 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์
    • สมุนไพรอื่นๆ ที่น่าลองก็เช่น บีทรูท เมล็ดแฟลกซ์ (ลินิน) และกะทิ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากให้ minoxidil ยิ่งได้ผลดี ต้องย้อมผมหลังรักษาไปได้ 2 - 3 เดือน เพราะ Minoxidil จะทำให้ผมเส้นเล็กมากในตอนแรก ถ้าย้อมผมจะทำให้เกิดความต่างระหว่างผมกับหนังศีรษะชัดเจน บริเวณที่ผมงอกใหม่จะดูหนาขึ้น เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่โฆษณาแบบ before/after ชอบใช้กัน
  • หัวล้านผมบางมีหลายแบบแตกต่างกันไป เพราะเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ยังไงควรปรึกษาคุณหมอให้แน่ใจก่อนเริ่มรักษาด้วยตัวเอง
  • อาจจะลองใส่ toupee หรือแฮร์พีซดู คือเป็นวิกเล็กๆ หรือผมเทียมที่ใช้ปิดส่วนที่ผมบาง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงแพ้แค่ส่วนผสมเดียวในสูตรไหนของบทความนี้ ก็ไม่ควรใช้เด็ดขาด
  • ถ้าจะใช้ยาตัวไหนที่กล่าวถึง ต้องศึกษาวิธีการให้ดีๆ และระวังเรื่องผลข้างเคียง
โฆษณา
  1. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001177.htm
  2. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/finasteride-oral-route/side-effects/drg-20063819
  3. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001177.htm
  4. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007205.htm
  5. http://drlwilson.com/ARTICLES/HAIR%20LOSS.htm
  6. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  7. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  8. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  9. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  10. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  11. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  12. http://www.webmd.com/beauty/hair-nails/ss/slideshow-foods-healthy-hair
  13. http://www.mensfitness.com/nutrition/what-to-eat/foods-that-prevent-hair-loss/slide/6
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/expert-answers/stress-and-hair-loss/faq-20057820
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/expert-answers/stress-and-hair-loss/faq-20057820
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/expert-answers/stress-and-hair-loss/faq-20057820
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/expert-answers/stress-and-hair-loss/faq-20057820
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/expert-answers/stress-and-hair-loss/faq-20057820
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hair-loss/basics/causes/con-20027666
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12126069

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,864 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา