ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเพิ่งย้อมผมเสร็จ สีเข้มเงางามซะอย่างกับขนนกกาน้ำ แต่สีย้อมดันติดมือแน่นทนนานด้วยนี่สิ! ปกติยาย้อมผมล้างออกได้ง่ายๆ ด้วยน้ำกับสบู่ แค่ต้องล้างทันทีที่เลอะ แต่ถ้ากว่าคุณจะสังเกตเห็นสีก็แห้งเกาะมือเกาะเล็บไปแล้วล่ะ? อย่าเพิ่งเครียดไป เรามีหลายวิธีสำหรับล้างยาย้อมผมที่เกาะติดผิวมาฝากกัน แต่สำรวจสุขภาพผิวของคุณก่อนเลือกใช้บางวิธีนะ เพราะถ้าคุณแพ้ง่ายก็ต้องเบามือใช้อะไรที่เจือจางหน่อย แต่ถ้าผิวแข็งแรงดีหรือคราบติดแน่นทนนานก็คงต้องเพิ่มดีกรีให้เห็นผล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ล้างยาย้อมผมอย่างอ่อนโยน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กว่าสีจะติดแน่นทนนานคุณยังพอมีเวลาประมาณ 2-3 นาที แต่ถึงสีจะเริ่มแห้งติดแล้ว แต่ถ้ายิ่งล้างเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งล้างออกง่ายขึ้นเท่านั้น
    • ผิวหนังคุณมีหลายชั้น ยิ่งสีซึมลงไปก็จะยิ่งล้างออกยาก ถ้าสีติดมือแล้วไม่รีบล้างก็จะซึมลึกลงไปในชั้นผิว ลึก ลงไปเรื่อยๆ
    • ถ้าคุณปล่อยทิ้งไว้จนซึมลึกถึงผิวหนังชั้นล่างๆ ทีนี้ก็ต้องล้างกันแบบแรงๆ ซึ่งอาจทำผิวคุณระคายเคืองได้
  2. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ยาสีฟันมีสารขัด (abrasive agents) ที่ช่วยขัดฟันคุณให้สะอาด ซึ่งตอนนี้จะช่วยขัดมือ ผลัดเซลล์ผิวที่แห้งและตายแล้วให้คุณ เหลือแต่ผิวใหม่ใสกิ๊งข้างใต้ที่ไร้รอยเลอะ [1]
    • ขัดๆ ถูๆ ไปประมาณ 30 วินาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่น
    • ถ้าคราบยังติดมือ ให้ลองขัดถูดูอีกรอบ แต่คราวนี้ผสมเบกกิ้งโซดา 1 หยิบมือลงไปด้วย
  3. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ทาเบบี้ออยล์ น้ำมันมะกอก หรือปิโตรเลียมเจลลี่ แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน. สูตรนี้เหมาะมากๆ สำหรับคนขี้แพ้ เพราะน้ำมันจะค่อยๆ ละลายทำให้สีหลุดลอก แถมช่วยให้ผิวคุณนุ่มชุ่มชื้นในเวลาเดียวกัน [2]
    • ใช้สำลีก้อนชุบน้ำมันมาทาถูที่มือ หรือจะใช้ผ้าขนหนูหมาดๆ แทนก็ได้
    • ถ้าน้ำมันโดนผ้าปูที่นอนละก็เละแน่ เพราะงั้นก่อนนอนให้ใส่ถุงมือไว้ หรือใช้ถุงเท้าสะอาดๆ แทนก็ได้
    • เช้ามาให้ใช้สำลีก้อนซับน้ำมันออก จากนั้นล้างมือด้วยน้ำอุ่น
  4. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ผสมน้ำยาล้างจานกับเบกกิ้งโซดาแล้วใช้ล้างมือ. น้ำยาล้างจานจะทำให้สีหลุดลอก ส่วนเบกกิ้งโซดาช่วยผลัดเซลล์ผิว พอล้างมือด้วยน้ำอุ่นเบกกิ้งโซดาก็จะกลายเป็นฟอง ช่วยจับคราบสีให้หลุดออกไปตอนล้าง [3]
    • ให้เลือกน้ำยาล้างจานสูตรถนอมผิว ไม่ทำให้มือแห้งจนเกินไป (หรือจะเจือจางเองก็ได้)
  5. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ปกติก็ใช้สำหรับล้างเครื่องสำอางที่หน้าเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหายห่วงเรื่องความอ่อนโยน ถ้าคราบไม่ฝังลึกเกินไป เม็ดสีก็น่าจะละลายหลุดลอกออกมาได้ในไม่นาน [4]
    • เอาผ้าขนหนูหรือสำลีก้อนไปชุบเมคอัพรีมูฟเวอร์ แล้วเอามาทาถูที่คราบ รอ 5 นาทีขึ้นไปแล้วค่อยล้างออก [5]
    • ถ้ามีแผ่นเช็ดเครื่องสำอางก็ใช้ได้เลย เส้นใยในแผ่นจะช่วยขัดเซลล์ผิวที่ตาย ส่วนตัวเมคอัพรีมูฟเวอร์จะชะล้างให้เม็ดสีหลุดลอกออกมา
  6. ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับสารพัดวิธีแบบบ้านๆ ก็ซื้อน้ำยาล้างสีผมจริงๆ มาใช้ซะเลย หาซื้อได้ตาม Boots, Watsons และห้างสรรพสินค้าทั่วไป เลือกที่ใช้กับผิวโดยเฉพาะหรือสูตรที่อ่อนโยนหน่อยก็ดี เดี๋ยวนี้มีทั้งแบบน้ำยาขวดๆ และแบบแผ่นใช้ง่าย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ล้างยาย้อมผมขั้นเด็ดขาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    สเปรย์ฉีดผมอาจช่วยแยกสีย้อมจากผิวของคุณได้ ทำให้ล้างออกง่ายในภายหลัง [6] แต่แอลกอฮอล์ในสเปรย์ก็อาจทำผิวคุณแห้งได้เหมือนกัน
    • ฉีดสเปรย์ใส่สำลีก้อนแล้วเอาไปถูคราบที่มือ จะได้ยิ่งเห็นผล เพราะถ้าไม่ได้ฉีดอย่างเดียวแต่ถูไถด้วย จะทำให้สเปรย์ยิ่งลงลึกและเส้นใยของสำลียังช่วยผลัดเซลล์ผิวด้วย
    • เสร็จแล้วล้างสเปรย์ออกด้วยน้ำอุ่น
  2. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ผสมผงซักฟอกกับเบกกิ้งโซดา แล้วใช้ขัดถูที่คราบ. ผงซักฟอกอาจระคายเคืองผิวได้ แต่ช่วยล้างคราบได้ดีแถมเร็ว [7] ส่วนเบกกิ้งโซดามีสารขัด ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
    • ให้ผสมผงซักฟอกกับเบกกิ้งโซดาในอัตราส่วน 1:1 (คือผงซักฟอก 1 ช้อนชา กับเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาเท่ากัน)
    • เอาส่วนผสมที่ได้มาทาถูที่คราบ 30 - 60 วินาที
    • เสร็จแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  3. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    เรารู้ว่าฟังดูน่าขนลุก แต่เป็นสูตรเก่าสูตรแก่ที่เห็นผลจริงๆ นะเออ แต่ต้องเป็นขี้บุหรี่ที่ดับสนิทแล้วนะ ส่วนข้อควรระวังก็คือสูตรนี้อาจไม่เหมาะกับคนแพ้ง่ายเท่าไหร่ [8]
    • เอาขี้บุหรี่ผสมน้ำอุ่นในถ้วยเล็กให้เหนียวข้น แล้วเอาสำลีก้อนมาป้ายไปทาที่คราบ
    • รอสัก 15 นาที ถึงตอนนี้คราบก็น่าจะจางลงแล้วล่ะ [9]
    • เสร็จแล้วฟอกสบู่ล้างมือให้สะอาด
  4. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    สาร acetone ในน้ำยาล้างเล็บจะไปละลายคราบสี พอสีกลับมาเหลวแล้วก็จะล้างออกง่ายกว่าตอนที่ยังแห้งเยอะเลย แต่ก็อย่างที่เรารู้ว่าน้ำยาล้างเล็บน่ะ แรง ขนาดไหน เพราะฉะนั้นก็ต้องระวังว่าผิวคุณอาจแห้งหรือระคายเคืองได้ ที่สำคัญคือห้ามใช้แถวๆ ตาเด็ดขาด [10]
    • เอาสำลีก้อนไปชุบน้ำยาล้างเล็บ แล้วเอามาทาถูที่คราบ ระวังอย่าถูแรงเกินไป
    • ถ้าแตะผิวแล้วรู้สึกแสบร้อนให้หยุดใช้ทันที แล้วรีบไปล้างออกด้วยน้ำอุ่น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ล้างคราบที่เล็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    แล้วใช้ล้างคราบที่เล็บทันทีหลังกำจัดคราบที่มือเสร็จ สีจะได้ไม่ซึมลึกเกินไป
    • เนื้อเยื่อรองเล็บ หรือ nail bed นี่แหละเต็มไปด้วยเซลล์ผิวตายที่ซับสีย้อมได้อย่างดี ถ้าคุณไม่ได้ขัดผลัดเซลล์ผิวด้วย ก็อาจจะล้างคราบสีออกได้ยากหน่อย
    • เอาสำลีก้อนมาถูไถที่เล็บ แค่นี้คราบก็น่าจะเริ่มหลุดลอกออกมาให้เห็นแล้วล่ะ
  2. ถ้าจมูกเล็บหรือหนังแข็งๆ รอบๆ เล็บพลอยเลอะไปด้วย ก็ให้เล็มออกด้วยกรรไกรตัดหนังอย่างระมัดระวัง จะได้ล้างเฉพาะเล็บ ไม่ต้องเอาน้ำยาล้างเล็บมาโดนผิว
  3. Watermark wikiHow to ล้างยาย้อมผมที่ติดมือ
    ถ้าสีแห้งกรังตามซอกเล็บ ให้ใช้แปรงสีฟันสะอาดๆ หรือแปรงทาเล็บมาขัดออกเบาๆ
    • เอาแปรงชุบน้ำสบู่ให้ชุ่มก่อนขัด จะได้ล้างสีออกง่ายขึ้น
  4. ถ้าทำทุกวิถีทางแล้วสีย้อมยังไม่หลุดจากเล็บ ไม้ตายสุดท้ายก็คือใช้ยาทาเล็บทาทับ เปลี่ยนเล็บด่างเป็นเล็บ (สวย) เด่นซะเลย!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทาปิโตรเลียมเจลลี่ที่มือกับกรอบหน้าก่อนย้อมผม จะช่วยกันไม่ให้สีของยาย้อมผมเลอะติดเป็นคราบได้
  • ตอนย้อมผมให้ใส่ถุงมือ จะได้ไม่เสี่ยงเลอะมือ
  • ทายาสีฟันตรงคราบ แล้วลองฟอกมือด้วยครีมอาบน้ำดูสักพัก
โฆษณา

คำเตือน

  • ผ้าขนหนูที่เอามาเช็ดถูคราบยาย้อมผมจะเปื้อนไปเลย เพราะฉะนั้นพวกผ้าผืนโปรดนี่ไม่ต้องเลย! เอาผ้าขี้ริ้วหรืออะไรที่เหลือใช้แทนดีกว่า
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ล้างยาย้อมผมอย่างอ่อนโยน

  • สำลีก้อน หรือผ้าขนหนู
  • ยาสีฟัน
  • เบบี้ออยล์ น้ำมันมะกอก หรือปิโตรเลียมเจลลี่
  • เมคอัพรีมูฟเวอร์
  • น้ำยาล้างสีผมโดยเฉพาะ

ล้างยาย้อมผมขั้นเด็ดขาด

  • สำลีก้อน
  • สเปรย์ฉีดผม
  • ผงซักฟอก
  • เบกกิ้งโซดา
  • น้ำอุ่น
  • ขี้บุหรี่
  • น้ำยาล้างเล็บ

ล้างคราบที่เล็บ

  • สำลีก้อน
  • น้ำยาล้างเล็บ
  • แปรงทาเล็บ หรือแปรงสีฟัน
  • ยาทาเล็บ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 189,436 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา