ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาวะกรดเกิน มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งอาการแสบร้อนกลางอก โรคเกิร์ด และโรคกรดไหลย้อน ทั้งหมดนี้มีปัญหาเดียวกันและต่างกันตรงที่มีภาวะกรดเกินเป็นบางเวลา (เช่น หลังกินอาหารเยอะๆ) กับเป็นแบบเรื้อรังหรือระยะยาว ไม่ว่าจะใช้ชื่อใด มันก็เป็นปัญหาที่ชวนอึดอัด แต่สามารถรักษาได้ค่อนข้างง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกินยาสมุนไพร โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

วิธีรักษาที่ใช้ได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นสาเหตุ. คุณอาจจะอยากหาว่าอาหารหรือเครื่องดื่มชนิดใดที่ทำให้คุณมีปัญหา ลองจดรายการอาหารที่คุณกินและดูว่ารู้สึกอย่างไรหลังจากกินเสร็จไปหนึ่งชั่วโมง ถ้าสิ่งที่กินไปทำให้คุณมีอาการไม่ดีก็ควรเลิกกิน [1] ของกินที่พบว่าทำให้เกิดภาวะกรดเกิน มีดังนี้
    • ผลไม้รสเปรี้ยว
    • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
    • ช็อกโกแลต
    • มะเขือเทศ
    • กระเทียมและหัวหอม
    • แอลกอฮอล์
    • หมายเหตุ: อาหารพวกนี้ส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาเพียงพอที่จะยืนยันได้แน่นอน [2] ที่สำคัญคุณควรจะหาว่าอะไรที่ทำให้คุณมีอาการ มากกว่าที่จะหลีกเลี่ยงอาหารตามรายการดังกล่าว
  2. ปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นหากมีอาการขณะนอนหลับ. ถ้าเตียงคุณปรับได้ ให้ปรับหัวเตียงสูงขึ้นประมาณ 6-8 นิ้ว แรงโน้มถ่วงจะช่วยให้กรดอยู่ในกระเพาะอาหาร อย่าใช้แค่วิธีหนุนหมอนซ้อนกันสูงๆ เพราะมันจะทำให้คอและลำตัวคุณงอซึ่งจะเพิ่มแรงกดทับ และจะทำให้ภาวะกรดเกินยิ่งแย่ลง [3] [4]
  3. การลดน้ำหนักอาจช่วยลดแรงกดดันในกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ช่วยไม่ให้กรดในกระเพาะไหลผ่านได้ [5] [6]
  4. กินอาหารน้อยลงโดยลดปริมาณอาหารที่กินแต่ละมื้อ. วิธีนี้อาจช่วยลดแรงกดและแรงดันในกระเพาะอาหารได้ [7] [8]
  5. วิธีนี้จะช่วยให้กระเพาะคุณย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ทำให้เหลืออาหารในกระเพาะที่จะเพิ่มแรงกดให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารน้อยลง [9] [10]
  6. แรงกดจะยิ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากขึ้นจากภาวะกรดเกิน การมีแรงดันเกินจะเกิดได้เมื่อเป็นโรคไส้เลื่อนกะบังลม (การที่กระเพาะอาหารส่วนบนยื่นเข้าไปในกะบังลม) หรือเมื่อตั้งครรภ์ ท้องผูก หรือมีน้ำหนักเกิน [11]
    • อย่าสวมใส่เสื้อผ้าที่บีบรัดบริเวณท้อง [12]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

วิธีรักษาที่อาจใช้ได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนที่มีอาการกรดเกินในกระเพาะสามารถดีขึ้นได้ด้วยการกินแอปเปิล การกินแอปเปิลเป็นวิธีที่ปลอดภัย แล้วทำไมเราจะไม่ลองใช้วิธีที่หลายคนพูดถึงนี้ดูหน่อยล่ะ [13] แต่นี่เป็นเพียงหลักฐานจากคำบอกเล่าเท่านั้น และคำกล่าวอ้างที่ว่าแอปเปิลมีคุณสมบัติช่วยลดกรดไม่เป็นความจริง [14]
  2. แม้จะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าขิงช่วยรักษาอาการกรดเกินได้ แต่มันก็ดูจะช่วยบรรเทาอาการได้จริง [15] เตรียมชาขิงแบบถุง หรือถ้าจะให้ดี ใช้ขิงสดหั่นประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเติมน้ำร้อนลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที และดื่มเวลาไหนก็ได้ระหว่างวัน แต่ควรเป็นก่อนอาหารประมาณ 20-30 นาที
    • ขิงยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วย ชาขิงปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ [16]
  3. แม้จะไม่มีหลักฐานที่แน่นอน แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการกินอาหารดึกๆ จะทำให้อาการแย่ลงได้ [17] งดกินอาหาร 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อลดความเสี่ยงในการที่อาหารจะไปเพิ่มแรงกดบริเวณหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายขณะคุณหลับ
  4. พยายามอย่าเครียด . จากงานวิจัยที่เคยมี ความเครียดจะทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลงสำหรับบางคน แต่ไม่ได้เป็นโดยทั่วไป [18] [19] ลองคิดดูว่าสถานการณ์ใดที่จะทำให้คุณเครียดและเหน็ดเหนื่อย และลองหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านั้น หรือเตรียมรับมือมันด้วยวิธีการที่ไม่ทำให้เครียด
    • ลองเริ่ม ฝึกสมาธิ เล่นโยคะ หรือแค่งีบธรรมดาทุกๆ วัน คุณอาจจะลองฝึก หายใจลึกๆ ฝังเข็ม นวด แช่น้ำอุ่น หรือแค่พูดอะไรก็ได้หน้ากระจก
  5. นี่เป็นวิธีรักษาที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ถ้าอาการกรดเกินของคุณเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีหลักฐานเล็กน้อยว่าวิธีนี้จะช่วยได้ แต่อย่าใช้เป็นวิธีหลักๆ
  6. โปรไบโอติกเป็นพวกแบคทีเรียชนิดดีที่มักจะพบในลำไส้ของเรา อาจรวมถึงเชื้อยีสต์ แซคคาโรไมซีส บูลาได หรือแลคโตบาซิลลัส และ/หรือไบฟิโดแบคทีเรียม ทั้งหมดนี้อยู่ในลำไส้เราตามธรรมชาติ การศึกษาวิจัยพบว่ามันทำให้สุขภาพลำไส้โดยทั่วไปดีขึ้น แต่ยังไม่มีการยืนยันที่เฉพาะเจาะจงไปกว่านั้น [23]
    • วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะได้รับโปรไบโอติกคือการกินนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ความเชื่อที่ผิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจก่อนว่าการสูบบุหรี่ไม่ได้ทำให้อาการแย่ลง. บุหรี่เคยถูกมองว่าเป็นต้นเหตุให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยสามชิ้นชี้ว่าเมื่อผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ก็ไม่ได้มีอาการดีขึ้น [24]
  2. การบำบัดด้วยท่ากายบริหารแบบเขย่งปลายเท้า เป็นเทคนิคด้านการจัดกระดูกซึ่งไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีหลักฐานว่าการออกกำลังกายในบางรูปแบบที่ต้องมีการเคลื่อนไหวและแรงกระแทกอาจทำให้กรดไหลย้อนได้ วิธีนี้จึงอาจจะยิ่งทำให้แย่ลงมากกว่าจะช่วยให้หาย [25]
  3. ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่ามัสตาร์ดจะช่วยแก้อาการนี้ได้
  4. แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ [26]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าใจและรักษาภาวะกรดเกินด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะทำการรักษาภาวะกรดเกิน ควรแน่ใจก่อนว่าคุณกำลังเป็นอะไรกันแน่ อาการของภาวะกรดเกินมีดังนี้ [27]
    • แสบร้อนกลางอก
    • มีรสเปรี้ยวๆ ในปาก
    • ท้องอืด
    • อุจจาระสีเข้มหรือสีดำ (จากการมีเลือดออกภายใน)
    • เรอหรือสะอึกไม่หยุด
    • คลื่นไส้
    • ไอแห้ง
    • กลืนลำบาก (การที่หลอดอาหารบีบตัวทำให้รู้สึกเหมือนมีอาหารติดคอ)
  2. ถ้าคุณมีอาการภาวะกรดเกินเรื้อรัง กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีความกังวลใดๆ ควรไปพบแพทย์ ถ้าคุณลองใช้วิธีรักษาแบบธรรมชาติแล้วแต่ไม่รู้สึกดีขึ้น คุณอาจต้องใช้ยารักษา ยาจะช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารได้ ภาวะกรดเกินที่ไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ เลือดออกในหลอดอาหาร เป็นแผล และเกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า Barrett’s esophagus ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
    • ถ้าคุณกำลังใช้ยาที่อาจทำให้เกิดภาวะกรดเกิน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณในการใช้ หรือการเปลี่ยนยา
  3. มันช่วยปรับสภาพกรดให้เป็นกลาง และหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาลดกรดจะช่วยบรรเทาอาการได้ในระยะสั้น ถ้าคุณยังต้องการใช้ยาลดกรดหลังผ่านไปสองสัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการใช้ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อสมดุลของแร่ธาตุ กระทบต่อไต และทำให้ท้องร่วงได้
    • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ และอย่าใช้ยาเกินขนาด แม้จะเป็นยาลดกรด แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจมีปัญหาได้
  4. ใช้ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2 blockers). มันจะช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาไซเมทิดีน (Tagamet), ยาฟาโมทิดีน (Pepcid) และยารานิทิดีน (Zantac) มีจำหน่ายตามร้านขายยาในแบบปริมาณน้อย หรือให้แพทย์สั่งจ่ายแบบที่ปริมาณมากขึ้นได้ ถ้าคุณซื้อยากลุ่มนี้กินเอง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ ผลข้างเคียงของยากลุ่ม H2 blockers ได้แก่ [28]
    • ท้องผูก
    • ท้องร่วง
    • เวียนศีรษะ
    • ปวดศีรษะ
    • เป็นลมพิษ
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ
  5. มันจะช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยาอีโซเมพราโซล (Nexium), ยาแลนโซพราโซล (Prevacid), ยาโอเมพราโซล (Prilosec), ยาแพนโทพราโซล (Protonix), ยาราบีพราโซล (Aciphex), ยาเด็กซ์แลนโซพราโซล (Dexilant) และยาโอเมพราโซล โซเดียมไบคาร์บอเนต (Zegerid) [29] ถ้าคุณใช้ยากลุ่ม PPIs ที่ซื้อเอง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่
    • ปวดศีรษะ
    • ท้องผูก
    • ท้องร่วง
    • ปวดท้อง
    • ผื่นคัน
    • คลื่นไส้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มันมียาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายแข็งแรงขึ้น เช่น ยาเบทานีคอล (Urecholine) และ ยาเมโทโคลพราไมด์ (Reglan) ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาเหล่านี้
โฆษณา

คำเตือน

  • ภาวะกรดเกินที่ไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกในหลอดอาหาร เป็นแผล และเกิดภาวะที่เรียกว่า Barrett’s esophagus ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
  • การใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด PPIs เป็นเวลานาน อาจทำให้มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคกระดูกพรุนบริเวณสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง [30]
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/news/20030523/eating-food-too-fast-speeds-heartburn
  2. http://www.uptodate.com/contents/acid-reflux-gastroesophageal-reflux-disease-in-adults-beyond-the-basics?view=print
  3. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/gerd.html
  4. http://www.gerd-diet.com/
  5. http://www.exreflux.com/apples-for-acid-reflux.html
  6. http://www.refluxmd.com/learn/resources/2012-12-05/851/alternative-treatment-gerd
  7. http://www.babycentre.co.uk/a549306/heartburn-natural-remedies
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2886414/
  9. http://www.jpsychores.com/article/S0022-3999%2805%2900208-4/abstract
  10. http://europepmc.org/abstract/med/8420248
  11. http://www.getingethealthy.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=hq0ushrk24s92nd700akhlbd34su9lub&DocID=bottomline-fennel
  12. http://www.getingethealthy.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=hq0ushrk24s92nd700akhlbd34su9lub&DocID=bottomline-slipperyelm
  13. http://www.getingethealthy.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=hq0ushrk24s92nd700akhlbd34su9lub&DocID=bottomline-licorice
  14. https://nccih.nih.gov/health/providers/digest/IBS-science
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2886414/
  16. http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=377776&resultclick=1
  17. http://depts.washington.edu/uwcoe/healthtopics/heartburn.html
  18. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/guide/reflux-disease-gerd-1?page=3
  19. http://www.medicinenet.com/proton-pump_inhibitors/article.htm
  20. http://www.medicinenet.com/proton-pump_inhibitors/article.htm
  21. http://www.medicinenet.com/proton-pump_inhibitors/article.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,576 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา