ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยประสบอุบัติเหตุในระหว่างการขี่รถจักรยานยนต์ ขี่จักรยาน เล่นสเก็ตบอร์ด หรือเล่นสเก็ต จนผิวหนังครูดไปกับพื้นถนนหรือไม่ ถ้าใช่ คุณคงได้รับแผลถลอกที่เรียกว่า road rash ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดได้ แต่มีวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและทำให้บาดแผลเริ่มทำการฟื้นฟู

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ประเมินขอบเขตของการบาดเจ็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนบริเวณที่อันตราย เช่น กลางถนน คุณควรย้ายไปยังบริเวณที่ปลอดภัยกว่า (ออกมาจากถนน) ถ้าสามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
  2. ยึดตรึงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต. ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณ (หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ) สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระ และไม่มีบริเวณใดที่มีกระดูกหัก หากพบว่ามีกรณีใดกรณีหนึ่ง ให้หยุดเคลื่อนไหวทันทีและโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นให้โทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินให้คุณ [1]
    • หากได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ให้ตรวจดูว่าสมองได้รับการกระทบกระเทือนหรือไม่ และไปพบแพทย์โดยทันที
  3. ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหากคุณตรวจดูบาดแผลได้ไม่ถนัด และโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินหากมีอาการบาดเจ็บต่อไปนี้ [2]
    • บาดแผลลึกจนมองเห็นชั้นไขมัน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก
    • บาดแผลมีเลือดพุ่งทะลัก หากพบอาการนี้ ให้ใช้มือ ผ้า หรือวัสดุอื่นๆ กดลงไปบนบาดแผลในขณะที่รอการช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้เลือดไหลช้าลง
    • ขอบแผลขรุขระและเปิดออกกว้าง
  4. ในบางครั้งอาการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นใต้ผิวหนังในบริเวณที่คุณไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หากคุณหมดสติ รู้สึกสับสน เคลื่อนไหวได้จำกัด หรือรูสึกเจ็บอย่างรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการช่วยเหลือทางการแพทย์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รักษาบาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [3] คุณคงไม่ต้องการให้เกิดการติดเชื้อในระหว่างการดูแลแผลแน่ๆ ดังนั้น จึงควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นก่อนเริ่มทำแผล หากต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ คุณสามารถสวมถุงมือก่อนเริ่มทำความสะอาดแผลได้เช่นกัน
  2. หากมีเลือดไหลออกจากบาดแผล ให้ห้ามเลือดโดยการกดลงไปบนแผล
  3. เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแผลหรือราดน้ำลงบนแผล และขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหากแผลอยู่ในบริเวณที่คุณมองไม่เห็นหรือเอื้อมไม่ถึง ควรชำระล้างแผลให้นานพอ เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำไหลผ่านทั่วบาดแผล และสิ่งสกปรกและ/หรือสิ่งแปลกปลอมถูกล้างออกจนหมด [7] [8]
  4. ทำความสะอาดรอบๆ บาดแผลด้วยสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียและน้ำเปล่า แค่ควรระวังอย่าให้สบู่ถูกบาดแผลโดยตรง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ [9] [10] การทำเช่นนี้จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย และป้องกันการติดเชื้อได้
  5. หากมีสิ่งใดๆ ติดอยู่ในบาดแผล เช่น สิ่งสกปรก ทราย เศษต่างๆ เป็นต้น ให้ใช้แหนบหนีบออกมาอย่างระมัดระวัง ก่อนอื่นให้นำแหนบไปทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคก่อน โดยเช็ดด้วยสำลีก้อนหรือผ้าก๊อซที่จุ่มลงในไอโซโพพิลแอลกอฮอล์ [15] [16] หลังจากนำสิ่งแปลกปลอมออกมาจนหมดแล้ว ให้ชำระล้างแผลด้วยน้ำเย็น
  6. หลังจากชำระล้างและทำความสะอาดบาดแผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ผ้าหรือผ้าขนหนูสะอาดซับเบาๆ ให้แห้ง ใช้วิธีการซับแทนการถูอย่างรุนแรงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
  7. ทายาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบาดแผลสกปรก. การทายาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้บาดแผลหายดีขึ้น [18] [19]
    • ยาทาปฏิชีวนะมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีสารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกัน (เช่น แบซิทราซิน นีโอมัยซิน และโพลีไมซิน) [20] ควรทำตามคำแนะนำบนฉลากอยู่เสมอทั้งปริมาณที่เหมาะสมและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
    • ยาทาที่ประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด เช่น นีโอสปอริน จะมีส่วนประกอบของนีโอมัยซินที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้บนผิวหนังได้ หากคุณสังเกตเห็นรอยแดง อาการคัน การบวม หรืออาการอื่นๆ หลังจากใช้ยา ให้หยุดใช้และเปลี่ยนไปใช้ยาทาที่มีส่วนประกอบของโพลีไมซินหรือแบซิทราซินแทน
    • หากคุณไม่สามารถใช้ยาทาปฏิชีวนะไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ให้ทาปิโตรเลียมเจลลี่หรือ Aquaphor แทน ซึ่งจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้บาดแผลได้
  8. ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล เพื่อป้องกันบาดแผลจากสิ่งสกปรก การติดเชื้อ และการระคายเคืองจากเสื้อผ้าในช่วงที่บาดแผลกำลังฟื้นฟู ควรใช้ผ้าพันแผลชนิดที่ไม่ติดผิว หรือใช้ผ้าก๊อซแล้วปิดทับด้วยเทปหรือรัดด้วยหนังยาง [21] [22]
  9. การยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจหรือสูงกว่าให้มากที่สุดจะช่วยลดการบวมและความเจ็บปวดได้ วิธีนี้จะได้ผลเป็นอย่างดีใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการเกิดอุบัติเหตุ และสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากบาดแผลมีอาการรุนแรงหรือเกิดการติดเชื้อ [23]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ดูแลบาดแผลในระหว่างการฟื้นฟู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวัน หรือบ่อยมากขึ้นหากผ้าพันแผลเริ่มแฉะหรือสกปรก [24] [25] ก่อนเปลี่ยนผ้าพันแผล ให้ล้างสิ่งสกปรกออกโดยใช้น้ำเปล่าและสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  2. [26] ทายาทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนผ้าพันแผล แม้ว่าการทายาเพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ช่วยให้บาดแผลฟื้นฟูเร็วขึ้น แต่ก็สามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ ทั้งยังป้องกันไม่ให้แผลขาดความชุ่มชื้นอีกด้วย เนื่องจากความแห้งสามารถก่อให้เกิดสะเก็ดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้ [27]
  3. การยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจหรือสูงกว่าให้มากที่สุดจะช่วยลดการบวมและความเจ็บปวดได้ วิธีนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งหากบาดแผลมีอาการรุนแรงหรือเกิดการติดเชื้อ [28]
  4. ทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออาซีตะมิโนเฟน เมื่อคุณมีอาการเจ็บปวดจากบาดแผล หากแพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายยาชนิดอื่นให้คุณ [29]
    • ไอบูโพรเฟนยังมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ซึ่งสามารถช่วยลดการบวมได้
    • หากผิวหนังบริเวณบาดแผลเริ่มแห้งหรือมีอาการคัน ให้ทามอยส์เจอร์ไรซิ่งโลชั่นเพื่อบรรเทาอาการ
    • สวมเสื้อผ้าที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณบาดแผล. หากเป็นไปได้ ควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่เสียดสีกับแผลถลอกในระหว่างการฟื้นฟู ตัวอย่างเช่น สวมเสื้อแขนสั้นหากบาดแผลอยู่บนแขน หรือหากบาดแผลอยู่บนขา ให้สวมกางเกงขาสั้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้น
  5. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ (ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะน้ำเปล่า) และทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในระหว่างการฟื้นฟู การดื่มน้ำอย่างเพียงพอและทานอาหารที่บำรุงร่างกายจะช่วยให้บาดแผลฟื้นฟูได้รวดเร็วขึ้น [30]
  6. หยุดการเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการฟื้นฟู ตัวอย่างเช่น หากคุณได้รับบาดเจ็บที่ขา ให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เช่น การวิ่งและการปีนเขา การหลีกเลี่ยงการออกแรงมากในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะช่วยให้บาดแผลฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
  7. โดยทั่วไปบาดแผลจะหายดีภายใน 2 สัปดาห์หากคุณคอยดูแลรักษาอย่างดี [31]
    • ความเร็วในการฟื้นฟูของบาดแผลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ โภชนาการ การสูบบุหรี่ ระดับความเครียด อาการเจ็บป่วยอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยาทาปฏิชีวนะจะช่วยเพียงแค่การลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยให้บาดแผลหายดีเร็วขึ้น หากบาดแผลของคุณดูเหมือนจะหายช้าจนผิดปกติ ให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการที่รุนแรง เช่น อาการป่วยต่างๆ [32]
  8. ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง หรือบาดแผลเริ่มติดเชื้อ. คุณจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้ [33] [34] [35] [36]
    • หากมีสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในแผลที่ไม่สามารถนำออกได้
    • หากรอบๆ บาดแผลเริ่มแดง บวม ร้อน หรือเจ็บปวด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อได้
    • หากมีรอยแดงเป็นริ้วๆ รอบบาดแผล
    • หากแผลมีน้ำหนองไหลออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีกลิ่นเหม็น
    • หากมีอาการป่วยเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ (มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น)
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ป้องกันไม่ให้เกิดแผลถลอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันร่างกาย เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เพื่อช่วยป้องกันผิวหนังไม่ให้เกิดแผลถลอก หากคุณทำกิจกรรมใดๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บ ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ [37] [38]
    • ตัวอย่างเช่น สวมสนับศอก สนับข้อมือ และสนับเข่า เมื่อเล่นกีฬาอย่างสเก็ตบอร์ดหรือสเก็ต
    • การสวมหมวกกันน็อกจะช่วยป้องกันศีรษะไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากกีฬาเหล่านี้และกิจกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การขี่จักรยานหรือรถจักรยานยนต์
  2. เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสมในกิจกรรมที่คุณทำ เช่น รถจักรยานยนต์ จักรยาน เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการเล่นโลดโผนที่อันตรายและการกระทำโดยประมาทอื่นๆ การระมัดระวังตัวเมื่ออยู่บนถนนเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลถลอกได้
  3. มั่นใจว่าได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักอย่างต่อเนื่อง. บาดแผลถลอกโดยส่วนมากมักมีสิ่งสกปรกเข้าไปข้างใน และในบางทีก็อาจมีโลหะหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เข้าไปได้เช่นกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคบาดทะยักได้ ผู้ใหญ่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักหลังการฉีดวัคซีนครั้งล่าสุดผ่านมาแล้วเกิน 5 ปีและเมื่อบาดแผลสกปรก หากคุณได้รับแผลถลอก ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อฉีดวัคซีน [39]
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  2. http://www.med.wisc.edu/news-events/hydrogen-peroxide-provides-clues-to-immunity-wound-healing-tumor-biology/32917
  3. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  4. https://www.amherst.edu/alumni/learn/bookclub/pastfeatures/dontcrossyoureyes/excerpt
  5. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  6. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  7. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  8. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  9. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  10. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  11. http://umm.edu/health/medical/drug-notes/notes/antibacterial-combination-on-the-skin
  12. http://www.rice.edu/~jenky/sports/bikesafety.html
  13. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  14. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/WoundCare.pdf
  15. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  16. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  17. http://studentaffairs.centralstate.edu/documents/Student_Self-Care_Guide_001.pdf
  18. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/WoundCare.pdf
  19. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/WoundCare.pdf
  20. http://www.uwhealth.org/healthfacts/trauma/6820.pdf
  21. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  22. http://www.uwhealth.org/healthfacts/trauma/6820.pdf
  23. http://goaskalice.columbia.edu/how-do-wounds-cuts-scrapes-lacerations-heal
  24. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  25. http://health.williams.edu/files/StudentOnline/SkinInjuries_SO.html
  26. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  27. http://www.uwhealth.org/healthfacts/trauma/6820.pdf
  28. http://www.rice.edu/~jenky/sports/bikesafety.html
  29. http://www.wakehealth.edu/Health-Central/NMR/Motorcycle-Safety/
  30. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 168,472 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา