ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลในกระเพาะอาหารนั้นเป็นอาการเจ็บปวดที่รุนแรงและควรได้รับการดูแลทันที แบคทีเรียที่มีชื่อว่า H. pylori นั้นเชื่อว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารมากที่สุด ไม่ใช่อาหารรสจัด ความเครียด หรือกรด [1] แพทย์ของคุณจะจ่ายยาปฏิชีวนะเป็นชุดเพื่อรักษาแผลของคุณ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบรรเทาอาการและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นโดยการทานอาหารที่เหมาะสมและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทานอาหารที่จะช่วยให้แผลสมาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อนุมูลอิสระในกระเพาะอาหารนั้นจะย่อยเมือกเคลือบกระเพาะทำให้แผลในกระเพาะของคุณมีอาการแย่ลง [2] [3] สารต้านอนุมูลอิสระนั้นรู้จักกันว่าเป็นตัวดักจับอนุมูลอิสระ (free radical scavengers) มันจะทำลายอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณ ด้วยเหตุนี้ คุณควรทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งได้แก่ [4]
    • กาแฟ (โดยเฉพาะเอสเปรสโซ)
    • ไวน์แดง
    • น้ำทับทิม
    • น้ำองุ่น
    • ชาเขียว
    • บักวีต
    • บาร์เลย์
    • ถั่วฝักและถั่วเมล็ดแบน
    • ถั่วเปลือกแข็ง (วอลนัท พีนัท เฮเซลนัท อัลมอนด์ และอื่นๆ)
    • ช็อคโกแลต
    • เบอร์รี่ (บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น)
    • เครื่องเทศบางอย่าง (เช่น กานพลู ออลสไปซ์ อบเชย)
    • สมุนไพรบางอย่าง (เช่น สะระแหน่ ออริกาโน ไทม์ เสจ โรสแมรี่)
    • ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ (ซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศตากแห้ง)
  2. ฟลาโวนอยด์นั้นพบในพืชหลายชนิดและเป็นสารประกอบออแกนิกของรงควัตถุทางชีวภาพ ฟลาโวนอยด์นั้นจะจัดการกับอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายความว่ามันจะปกป้องสารเคลือบกระเพาะอาหารเหมือนสารต้านอนุมูลอิสระ [5] [6] อาหารที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์นั้นได้แก่
    • บลูเบอร์รี่
    • สตรอว์เบอร์รี่
    • พีช
    • แอปเปิ้ล
    • ส้ม
    • มะเขือเทศ
    • ขึ้นฉ่ายฝรั่ง
    • ถั่วดำ
    • ชาดำ ชาเขียว ชาอู่หลง
    • เบียร์
  3. แม้ว่ามันจะเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ค่อยพบกันทั่วไป น้ำคั้นจากหัวกะหล่ำปลีนั้นได้ผลอย่างยิ่งในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร กะหล่ำปลีนั้นอุดมด้วยแบคทีเรียที่จะผลิตกรดแลคติก แบคทีเรียเหล่านี้นั้นสำคัญต่อการต่อสู้และทำลายแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผล [7]
    • คุณควรดื่มน้ำหัวกะหล่ำปลี 50 มิลลิลิตร 2 ครั้งต่อวันเมื่อท้องว่าง
    • น้ำหัวกะหล่ำนั้นสามารถทำเองที่บ้านได้โดยใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้หรือจะซื้อมาจากตลาดหรือร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ
  4. [8] [9] เป็นที่รู้กันว่าแครนเบอร์รี่นั้นสามารถจัดการกับ H. pylori ได้ งานวิจัยแสดงผลว่าน้ำแครนเบอร์รี่นั้นใช้ได้ดีในการป้องกันแบคทีเรียที่ไม่ดีไม่ให้ไปที่สารเคลือบกระเพาะอาหาร
    • คุณสามารถดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ ทานแครนเบอร์รี่สด หรือทานอาหารเสริมจากแครนเบอร์รี่ (มีขายที่ร้านขายยาหรือร้านขายวิตามิน)
  5. งานวิจัยแสดงผลว่าสารที่ช่วยในการสมานแผลนั้นพบในมันเทศเนื้อขาว [10] การทานมันเทศเนื้อขาวจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะ คุณสามารถหามันเทศเนื้อขาวได้ที่ซูเปอร์มาเก็ตและนำมันมาทำอาหารได้หลายวิธี เช่น นำมานึ่งหรืออบ
  6. งานวิจัยและในสมัยโบราณนั้นอธิบายว่าน้ำผึ้งนั้นเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติที่ได้ผลยอดเยี่ยม ด้วยเหตุผลนี้ มันสามารถจัดการกับกับแบคทีเรีย H. pylori ที่ทำให้เกิดแผล [11] ลองทานน้ำผึ้ง 2-3 ช้อนต่อวันเพื่อให้แผลหาย
  7. [12] [13] รากชะเอมเทศนั้นมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย H. pylori ดังนั้น มันจึงช่วยทำให้แผลหาย สารสกัดจากชะเอมเทศนั้นมีขายในท้องตลาด ร้านขายยา และร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ
    • พูดคุยกับแพทย์ก่อนที่จะเริ่มทานอาหารเสริมจากรากชะเอมเทศและพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ยาอื่นๆ อาหารเสริมชะเอมเทศนั้นถ้าทานร่วมกัยยาขับปัสสาวะ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาอื่นๆ ที่ลดระดับโพแทสเซียมของร่างกายมันก็จะลดระดับของโพแทสเซียมจนถึงระดับที่เป็นอันตราย [14] ให้ใช้อาหารเสริมชะเอมเทศตามที่แพทย์ได้แนะนำ
  8. งานวิจัยชี้ว่าการทานกล้วยจะช่วยรักษาอาการของแผลในกระเพาะอาหารโดยจะช่วยปกป้องสารเคลือบกระเพาะ [15] แม้ว่านี่จะไม่ได้ช่วยสมานแผลที่เป็นอยู่แล้ว แต่การทานกล้วยจะช่วยรักษาอาการที่เกิดจากแผล
  9. หากปกติแล้วคุณใส่เนยลงไปในกระทะเพื่อใช้ทอดไข่หรือผัดผัก คุณควรเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะกอกแทน น้ำมันเหล่านี้มีไขมันที่มีประโยชน์ที่ย่อยได้ง่ายกว่าไขมันหนักๆ ที่พบในผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์อย่างเนย [17] [18]
    • คุณสามารถใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันข้าวแบรน น้ำมันงา และน้ำมันดอกคำฝอย ในการทำอาหาร
  10. การทานอาหารแบบแบลนด์ไดเอทนั้นจะเน้นไปที่อาหารที่ย่อยง่ายและมีไฟเบอร์ต่ำ นี่จะอ่อนต่อกระเพาะและจะทำให้แผลระคายได้น้อยกว่า [19] คุณควรพูดคุยกับแพทย์ก่อนว่าการทานอาหารแบบแบลนด์ไดเอทนั้นจะเป็นการรักษาที่ดีต่อแผลในกระเพาะอาหารของคุณหรือไม่และคุณควรทานเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ อาหารที่คุณควรทานเมื่อทานอาหารแบบแบลนด์ไดเอทได้แก่
    • ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ (นมและโยเกิร์ต เป็นต้น)
    • ผักที่สุกแล้ว ผักในกระป๋อง หรือผักแช่แข็ง ที่ไม่ได้ปรุง
    • น้ำผักหรือผลไม้
    • แอปเปิ้ลซอส
    • ซีเรียลที่ต้องนำไปต้มก่อน
    • เนื้อสัตว์ที่นุ่มและไม่ติดมัน เช่น ไก่ต้ม หรือปลาอบ ที่ไม่ปรุงรส
    • เนยถั่ว
    • เต้าหู้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่จะทำให้กระเพาะระคายเคือง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไวน์นั้นอาจจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่แอลกอฮอล์นั้นจะทำให้เมือกที่กระเพาะอาหารระคายเคือง เมื่อคุณมีแผลในกระเพาะที่เกิดจากแบคทีเรีย H. pylori แอลกอฮอล์จะทำให้อาการแย่ลง [20] [21] [22]
  2. [23] การดื่มนมจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บจากแผลได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะมันจะเคลือบกระเพาะไว้ ดังนั้น การดื่มนมจะยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะผลิตกรดมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้อาการแย่ลงในระยะยาว
  3. อาหารรสจัดจะทำให้แผลเจ็บกว่าเดิมถ้าคุณมีแผลอยู่แล้วแต่มันจะไม่ทำให้มีแผลใหม่ [24] [25] วิธีที่ดีที่สุดก็คือให้หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทุกชนิด (พริกไทย ซอสเผ็ด เป็นต้น) ถ้าคุณเป็นแผลอยู่แล้วหรือมีแนวโน้มที่จะเป็น
  4. [26] อาหารทอดน้ำมัน อาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารอื่นๆ ที่มีไขมันสูงนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ไขมันเหล่านี้นั้นย่อยยากและจะทำให้แผลระคายเคือง
  5. [27] [28] ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นควรหลีกเลี่ยงการทานกระเทียมเพราะมันจะทำให้แผลที่เป็นอยู่แล้วระคายเคืองและอาจจะทำให้เกิดแผลใหม่ด้วย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [29] [30] การสูบบุหรี่อย่างเป็นประจำนั้นพิสูจน์แล้วว่ามันจะทำให้กระบวนการที่แผลจะหายนั้นช้าลงหรือทำให้ไม่หาย หากคุณติดการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการรักษาที่จะช่วยให้คุณเลิกสูบบุหรี่เพื่อที่แผลในกระเพาะอาหารจะได้หาย
  2. [31] Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) นั้นได้แก่แอสไพริน นาพร็อกเซน และไอบูโพรเฟน ยาเหล่านี้ที่เป็นยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาลดการอักเสบ ซึ่งอาจจะทำให้บางคนนั้นเป็นแผลในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้เป็นเวลานานๆ หรือใช้ในปริมาณมาก หากคุณใช้ยาในกลุ่ม NSAID สำหรับรักษาอาการที่มีอยู่ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับยาอื่นๆ ที่คุณควรใช้แทน (เช่น อะเซตามิโนเฟน)
  3. [32] เชื่อกันว่าความเครียดนั้นจะทำให้แผลและอาการแย่ลง แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่าความเครียดไม่ได้ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ หากคุณกำลังเป็นแผล ให้หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยที่จะทำให้เครียดซึ่งมันก็จะทำให้คุณหายเร็วขึ้น การทำสมาธิและการบริหารการหายใจนั้นเป็นวิธีธรรมชาติที่ง่ายเพื่อบรรเทาความเครียดและรักษาแผลในกระเพาะ [33]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แพทย์ของคุณอาจจะจ่ายชุดยาปฏิชีวนะนอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อจัดการกับแบคทีเรีย H. pylori ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ [34] แพทย์อาจจะจ่ายยาอื่นๆ ที่จะลดการระคายเคืองของแผลในกระเพาะอาหาร
  • การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษามักจะมีระยะเวลา 2 อาทิตย์
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.cdc.gov/ulcer/consumer.htm
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15270379
  3. http://www.bjmbr.org/administrator/components/com_jresearch/files/publications/4375.pdf
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2841576/
  5. http://pubag.nal.usda.gov/pubag/downloadPDF.xhtml?id=9138&content=PDF
  6. http://www.ars.usda.gov/SP2UserFiles/Place/80400525/Articles/AICR06_flav.pdf
  7. Lee SY, Shin YW, Hahm KB. Phytoceuticals: mighty but ignored weapons against Helicobacter pylori infection. J Dig Dis. 2008 Aug;9(3):129-39. Review
  8. Burger O, Ofek I, Tabak M, Weiss EI, Sharon N, Neeman I. A high molecular mass constituent of cranberry juice inhibits helicobacter pylori adhesion to human gastric mucus. FEMS Immunol Med Microbiol. 2000 Dec;29(4):295-301
  9. http://www.doh.wa.gov/portals/1/documents/pubs/940-nondoh-fruitsvegetableslesson-cranberries-3.doc
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4293869/
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21479349
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3818629/
  4. https://nccih.nih.gov/health/licoriceroot
  5. https://nccih.nih.gov/health/licoriceroot
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11507732
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1987262/
  8. Fox M, Barr C, Nolan S, Lomer M, Anggiansah A, Wong T. The effects of dietary fat and calorie density on esophageal acid exposure and reflux symptoms. Clin Gastroenterol Hepatol. 2007;5(4):439-44
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2841576/
  10. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000068.htm
  11. Bujanda L. The effects of alcohol consumption upon the gastrointestinal tract. Am J Gastroenterol. 2000;95(12):3374-3382
  12. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Peptic_Ulcer_Disease
  13. http://www.nhs.uk/Conditions/Peptic-ulcer/Pages/Treatment.aspx
  14. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Peptic_Ulcer_Disease
  15. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Peptic_Ulcer_Disease
  16. http://www.nhs.uk/Conditions/Peptic-ulcer/Pages/Treatment.aspx
  17. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000380.htm
  18. http://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/garlic-fact-sheet
  19. Amagase H. Clarifying the real bioactive constituents of garlic. Journal of Nutrition 2006; 136(3 Suppl):716S–725S
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/peptic-ulcer/basics/treatment/con-20028643
  21. http://www.nhs.uk/Conditions/Peptic-ulcer/Pages/Treatment.aspx
  22. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Peptic_Ulcer_Disease
  23. http://www.nhs.uk/Conditions/Peptic-ulcer/Pages/Treatment.aspx
  24. http://www.nhs.uk/Conditions/Mouth-ulcer/Pages/Treatment.aspx
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/peptic-ulcer/basics/treatment/con-20028643

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา