ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โอ๊ย! คุณเพิ่งสัมผัสถูกของร้อนจนเกิดตุ่มพองบนนิ้วมือใช่หรือไม่? ตุ่มพองและรอยแดงบนผิวเป็นอาการแสดงของแผลไหม้ระดับที่สองที่สามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดและนำไปสู่โรคแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [1] คุณสามารถรักษาแผลไหม้พุพองบนนิ้วมือได้ง่ายๆ โดยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยทันทีหลังได้รับบาดเจ็บ รวมถึงหมั่นทำความสะอาดและดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสมและส่งเสริมการฟื้นฟูของแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำการปฐมพยาบาลเบื้อต้นโดยทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการสัมผัสถูกของร้อน ให้เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแผลไหม้บนนิ้วนาน 10-15 นาที นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นแล้วห่อนิ้วไว้นานในระยะเวลาเท่ากันหรือจุ่มนิ้วลงไปในน้ำเย็นแทนได้เช่นกันหากคุณไม่สะดวกใช้วิธีเปิดน้ำให้ไหลผ่าน [2] การทำให้แผลเย็นลงด้วยน้ำเย็นจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ลดอาการบวม และป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย [3]
    • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเย็นจัด น้ำอุ่น หรือน้ำแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้แผลไหม้และตุ่มพองมีอาการแย่ลง [4]
    • น้ำเย็นจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อน ลดอาการบวม และทำให้แผลหายดีเร็วยิ่งขึ้นโดยแทบไม่หลงเหลือรอยแผลเป็น
  2. ถอดเครื่องประดับออกในขณะที่เปิดน้ำเย็นไหลผ่าน. เนื่องจากความเย็นสามารถช่วยลดอาการบวมได้ ดังนั้นในขณะที่คุณกำลังทำให้แผลเย็นลงด้วยน้ำเย็นหรือผ้าชุบน้ำ ให้ถอดแหวนหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่พันรอบนิ้วออกอย่างรวดเร็วและเบามือให้มากที่สุดก่อนที่บริเวณที่เกิดแผลจะเริ่มบวมยิ่งขึ้น วิธีนี้จะทำให้คุณรู้สึกเจ็บน้อยลงเมื่อถอดเครื่องประดับ อีกทั้งยังช่วยให้แผลไหม้ฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น [5]
  3. คุณอาจสังเกตเห็นตุ่มพองขนาดเล็กเกิดขึ้นมาทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บ พยายามปล่อยตุ่มพองทิ้งไว้โดยไม่ต้องเจาะให้แตกเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเกิดการติดเชื้อ แต่หากตุ่มพองเกิดแตกออก ให้คุณทำความสะอาดเบาๆ ด้วยน้ำเปล่าและสบู่สูตรอ่อนโยน จากนั้นทายาต้านเชื้อแบคทีเรียและพันแผลด้วยผ้าก๊อซให้เรียบร้อย [6]
    • ไปพบแพทย์ทันทีหากตุ่มพองมีขนาดใหญ่ ซึ่งแพทย์ของคุณอาจจำเป็นต้องเจาะตุ่มพองให้แตกเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ตุ่มพองแตกออกเองหรือนำไปสู่การติดเชื้อ
  4. ในบางกรณีแผลไหม้ที่มีตุ่มพองอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ ควรรีบไปโรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านโดยทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้: [7]
    • ตุ่มพองใหญ่ผิดปกติ
    • มีอาการเจ็บอย่างรุนแรงหรือไม่มีอาการเจ็บเลย
    • แผลไหม้ลุกลามไปทั่วทั้งนิ้วหรือไปถึงนิ้วอื่นๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำความสะอาดและดูแลบาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างทำความสะอาดตรงบริเวณที่เกิดแผลไหม้และตุ่มพอง. ทำความสะอาดตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำเปล่าและสบู่สูตรอ่อนโยน [8] โดยพยายามขัดถูเบาๆ อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตุ่มพองแตกออก การล้างทำความสะอาดแผลไหม้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อได้ [9]
    • ค่อยๆ ล้างทำความสะอาดนิ้วมือที่ได้รับบาดเจ็บไปทีละนิ้ว
  2. แผลไหม้จะเริ่มมีอาการแย่ลงภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังสัมผัสถูกของร้อน และการใช้ผ้าขนหนูซับตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอาจทำให้อาการเจ็บปวดแย่ลงมากยิ่งขึ้น [10] คุณจึงควรใช้วิธีผึ่งลมให้นิ้วมือแห้งสนิทก่อนเริ่มทายาและปิดด้วยผ้าก๊อซ ขั้นตอนนี้จะช่วยดูดความร้อนจากแผล ลดโอกาสการเกิดตุ่มพอง และบรรเทาอาการเจ็บปวด [11]
  3. ก่อนเริ่มทายา ให้คุณรอจนอาการแสบร้อนจากแผลไหม้เย็นลงเสียก่อน ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซชนิดปลอดเชื้อหลวมๆ เพื่อให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเย็นลงและป้องกันบาดแผลจากเชื้อแบคทีเรีย [12] และเปลี่ยนผ้าก๊อซเมื่อตุ่มพองแตกออกหรือมีของเหลวไหลซึมออกมา นอกจากนี้การดูแลบาดแผลให้แห้งและสะอาดยังสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย
  4. หลังผ่านไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง ให้คุณทายาที่มีคุณสมบัติในการรักษาแผลไหม้และป้องกันการติดเชื้อ [13] อย่างไรก็ตาม ให้ใช้ยากับตุ่มพองที่ยังไม่แตกออกหรือผิวหนังที่ยังไม่ฉีกขาดออกเท่านั้น [14] ทาบางๆ ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและเกิดตุ่มพองโดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้: [15]
    • ยาทาต้านเชื้อแบคทีเรีย
    • มอยเจอร์ไรเซอร์ชนิดปราศจากน้ำหอมและแอลกอฮอล์
    • น้ำผึ้ง
    • ยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน
    • เจลหรือครีมว่านหางจระเข้
  5. หลายคนอาจเคยได้ยินว่าเนยสดสามารถนำมาใช้ในการรักษาแผลไหม้ได้ แต่แท้จริงแล้วเนยสดมีคุณสมบัติในการกักความร้อนและเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ [16] เพื่อป้องกันไม่ให้แผลไหม้ของคุณเกิดการกักความร้อนและการติดเชื้อ ให้หลีกเลี่ยงการทาแผลด้วยเนยสดหรือวัสดุในครัวเรือนอื่นๆ เช่น: [17]
    • ยาสีฟัน
    • น้ำมัน
    • มูลโค [18]
    • ขี้ผึ้ง
    • ไขมันหมี
    • ไข่
    • มันหมู
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ส่งเสริมการฟื้นฟูของแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลไหม้พุพองสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและอาการบวมเป็นอย่างมาก และการทานยาแก้ปวดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรืออะเซตามีโนเฟนนั้นจะช่วยลดความทรมานจากอาการเจ็บปวดและอาการบวมของแผลไหม้ได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำและข้อห้ามในการใช้ยาตามที่แพทย์หรือฉลากยาระบุไว้ [19]
  2. เปลี่ยนพลาสเตอร์อย่างน้อยวันละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าพลาสเตอร์สะอาดและแห้งอยู่เสมอ และหากคุณสังเกตเห็นว่ามีของเหลวไหลซึมออกมาหรือเปียกน้ำ ให้เปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ทันที การหมั่นเปลี่ยนพลาสเตอร์ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอจะช่วยปกป้องบาดแผลจากสิ่งแปลกปลอมและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ [20]
    • หากพลาสเตอร์ติดแผลแน่นจนดึงไม่ออก ให้คุณแช่นิ้วในน้ำเย็นหรือน้ำเกลือเพื่อให้ลอกออกง่ายยิ่งขึ้น [21]
  3. หลีกเลี่ยงการเสียดสีและการรับแรงกดบนบาดแผล. การกระแทกและการสัมผัสถูกสิ่งต่างๆ รวมถึงการเสียดสีและการรับแรงกดบนนิ้วของคุณอาจทำให้ตุ่มพองแตกออกได้ และตุ่มพองที่แตกออกนั้นจะทำให้การฟื้นฟูของบาดแผลช้าลงและนำไปสู่การติดเชื้อได้ พยายามใช้มืออีกข้างหนึ่งหรือนิ้วอื่นๆ ในการทำกิจกรรมต่างๆ และหลีกเลี่ยงการสวมเครื่องประดับที่รัดแน่นตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ [22]
  4. แผลไหม้พุพองมีความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อต่างๆ อย่างเช่นบาดทะยักได้ หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักในระยะเวลา 10 ปีนี้ ลองสอบถามแพทย์ของคุณเกี่ยวกับฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักเพื่อช่วยป้องกันการเกิดบาดทะยักจากแผลไหม้ของคุณ [23]
  5. แผลไหม้ของคุณอาจใช้เวลานานเล็กน้อยในการฟื้นฟู แต่ในบางครั้งคุณอาจสังเกตเห็นว่ามีอาการติดเชื้อเกิดขึ้น เนื่องจากแผลไหม้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอาการติดเชื้อนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่รุนแรงมากขึ้นอย่างการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวนิ้วมือ คุณจึงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อต่างๆ ดังนี้: [24]
    • มีหนองไหลซึมออกมา
    • มีอาการเจ็บ แดง และบวมเพิ่มขึ้น
    • มีไข้ [25]
    โฆษณา

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • น้ำเย็น
  • ผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์
  • เทปแต่งแผล
  • ยาทา
  • ยาแก้ปวด

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 39,763 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา