PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความตื่นเต้นเป็นกังวลเกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่ออันตรายหรือต่อภัยคุกคามเพื่อที่จะเอาชีวิตรอด สารเคมีต่างๆ และพลังงานจำนวนมหาสารที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการตอบสนองนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายที่ทำให้เกิดความอึดอัดขึ้นกับร่างกาย แน่นอน ความตื่นเต้นเป็นกังวลประมาณหนึ่งที่เราควบคุมได้นั้นมีประโยชน์ ช่วยให้สมาธิดีขึ้นและพัฒนาสมรรถภาพของเราได้ผ่านความมีชีวิตชีวาและความกระตือรือร้นที่เพิ่มขึ้น แต่ความตื่นเต้นเป็นกังวลที่ควบคุมไม่ได้อาจไปกระทบการทำงานและโอกาสในการที่จะได้ทำสิ่งที่คุ้มค่าที่จะเสี่ยงในอนาคตได้ คุณสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับร่างกายเหล่านี้และจัดการกับความนึกคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นได้ ซึ่งมันจะช่วยให้คุณรู้สึกว่าตัวเองสามารถควบคุมสถานการณ์ชวนเครียดเหล่านั้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เตรียมรับมือสถานการณ์ชวนตื่นเต้นสุดๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อที่จะทราบว่าช่วยให้ตัวเองผ่านความตื่นกลัวนั้นได้อย่างดีที่สุด ให้ลองตรวจสอบอาการของตนเองดู วิธีนี้จะช่วยให้คุณจดจ่อกับวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยคลายความตื่นกลัวได้ อาการทั่วๆ ไป ได้แก่:
    • เหงื่อแตก
    • ปากแห้ง
    • ตัวสั่น/สั่นเทา
    • มวนท้อง
    • จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ยาก
    • พูดตะกุกตะกัก/เสียงสั่น
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • วิงเวียน
    • หายใจสั้น
    • กัดเล็บ/มืออยู่ไม่สุข
    • ภาษากายที่ดูไม่เปิดเผย (เช่น กอดอก และไขว้ขา)
  2. [1] เช่นเดียวกันกับเรื่องอื่นๆ เราพัฒนาความมั่นใจและความสามารถจากการฝึกฝนเพิ่มขึ้น พยายามจินตนาการคุณจะรู้สึกอย่างไรเวลาต้องเผชิญกับสิ่งที่คุณเป็นกังวล ให้มองภาพตัวเองบรรลุเป้าหมายด้วยความสำเร็จและมั่นใจ อย่าพยายามวางแผนทุกสิ่งอัน (มิฉะนั้นคุณจะลงเอยด้วยการยึดติดกับมัน) แม้ความตื่นเต้นเป็นกังวลอาจจะไม่หายไปหมด ระยะเวลาที่คุณจะรู้สึกเช่นนี้ในสถานการณ์หนึ่งๆ จะลดลงอย่างรวดเร็วตามประสบการณ์
  3. [2] ลองเรียนรู้การใช้ เทคนิค หายใจลึกๆ เพื่อผ่อนคลาย เทคนิคเหล่านี้จะช่วยในการเตรียมตัวก่อนถึงเวลาจริงและสามารถทำได้ในเวลาที่คุณกำลังตื่นเต้น เป็นกังวลสุดๆ ไม่ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะหายใจสั้นถี่ เป็นกังวลกับการหายใจ หรือหายใจเร็วเกินไป การหายใจลึกๆ จะช่วยให้คุณหายใจได้มีประสิทธิภาพขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายของคุณได้รับสิ่งที่จำเป็นต่อการก้าวผ่านช่วงเวลาที่คุณต้องใช้พลังงานมากๆ ได้ อีกทั้งการหายใจอย่างผ่อนคลายยังช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้ามากๆ ผ่อนคลายลงได้ด้วย [3]
  4. เปลี่ยนความตื่นเต้นให้เป็นคำพูดยืนยันหนักแน่น: ความตื่นเต้นเป็นกังวลเป็นเพียงการที่อะดรีนาลีนสูบฉีด – เป็นผลิตผลของพลังงาน ดังนั้น เมื่อเราตื่นเต้น กังวล ใจเราจะเต็มไปด้วยความคิดต่างๆ มากมายที่สัมพันธ์กับความรู้สึกที่ตึงเครียด เช่น “ฉันทำไม่ได้” หรือ “ฉันไม่ดีพอ” [4] แม้คุณอาจไม่สามารถหยุดความคิดที่แล่นไปมาในหัวได้ คุณสามารถแทนที่มันได้ด้วยคำพูดยืนยันหนักแน่น ซึ่งก็คือคำบรรยายดีๆ ถึงความสามารถของคุณที่เขียนโดยใข้สรรพนามบุรุษที่หนี่ง ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นประโยคที่คุณสามารถใช้เพื่อลบการมองตัวเองในทางไม่ดีและทำให้คุณเลิกเชื่อความคิดแง่ลบเหล่านั้น:
    • ”ฉันเป็นผู้สมัครที่เจ๋งที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้”
    • “ฉันมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะทำงานนี้และฉันจะทำมัน”
    • “ฉันจัดการเองได้”
    • “พวกเขาต้องการให้ฉันผ่านการทดสอบนี้และฉันจะทำให้ได้”.
  5. จินตนาการเวลาที่คุณอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้คุณตื่นเต้นเป็นกังวล คิดภาพตัวคุณที่ไม่ใช่แค่ได้ทำหน้าที่ลุล่วงด้วยดี แต่คุณยังประสบความสำเร็จกับงานนั้นอย่างสุดๆ ไปเลยด้วย นึกภาพตัวคุณที่เป็นคนมีเป้าหมายและมั่นใจ และมีใส่ใจกับรายละเอียดเล็กน้อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ และจินตนาการถึงตัวคุณที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่สำเร็จลุล่วงและดื่มด่ำความรู้สึกที่มากับความสำเร็จที่เกิดขึ้น เทคนิค นี้ใช้กันมากในหมู่นักกีฬาและได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการเพิ่มความมั่นใจก่อนการแข่งขัน [5]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณตื่นเต้นในการพูดคุยกับคนที่คุณแอบชอบ จินตนาการตัวคุณเริ่มบทสนทนาที่ตลกๆ และน่าสนใจ ที่ทุกคนต่างหัวเราะร่วมไปด้วยกันและคนที่คุณแอบชอบก็หันมามองคุณในมุมใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
  6. เพื่อที่จะมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่มากกว่าเป็นกังวลเรื่องตัวเอง คุณจะต้องยอมรับระดับความสามารถของตนเอง หากการพูดในที่สาธารณะไม่ใช่จุดแข็งของคุณ อย่าตัดสินว่าตัวเองแย่จนเกินไปหากมีความผิดพลาดเป็นครั้งคราวเกิดขึ้นหรือเกิดแพ้คู่แข่งขึ้นมา ความคาดหวังที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงโดยดูจากของระดับความสามารถของตัวเรา จะช่วยให้คุณเลิกนิสัยที่ชอบตัดสินตัวเองในทางไม่ดี ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเพราะความตื่นเต้นเป็นกังวล [6]
    • คิดให้ได้ว่าอะไรคือความคาดหวังและอะไรคือรางวัลที่เพิ่มเติมมา คุณอาจคาดหวังไว้สูงกว่าที่คิดไว้ บางทีคุณอาจต้องการแค่เกรด C เพื่อสอบวิชาเรขาคณิตให้ผ่าน แน่นอนว่าถ้าได้เกรด A ก็สุดยอดไปเลย แต่อย่าลืมว่าคุณ ต้องการ แค่เกรด C!
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าการพูดในที่สาธารณะไม่ใช่จุดแข็งของคุณ ก็อย่าตัดสินตัวเองกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ การคาดหวังแบบยึดติดกับความเป็นจริงโดยดูที่ระดับความสามารถนั้นยังช่วยให้คุณลดทัศนคติการตัดสินตัวเองที่มักทำให้เกิดความกังวลด้วย
    • อย่ากำหนดความคาดหวังที่ใหญ่โตเกินจริง ไปแข่งกีฬาหนแรกก็ยากจะคว้าถ้วยรางวัลมาได้ ดังนั้นการเพิ่มแรงกดดันให้ตนเองมีแต่จะทำให้คุณกระวนกระวายใจ การตั้งเป้าขอแค่แข่งจนจบดูจะเป็นสิ่งที่ยึดตามความจริงมากกว่า
    • ยอมรับความสามารถของตัวเองหมายความว่าคุณต้องเผชิญหน้ากับจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองอย่างจริงใจ เพื่อให้คุณสามารถมีความคาดหวังที่คุณเองสามารถจัดการได้ คุณสามารถเรียนรู้วิธียอมรับตัวเองได้ ที่นี่
  7. มันอาจดูผิดสัญชาตญาณไปนิดถ้าจะยอมรับและรู้สึกดีกับการกังวล ที่สุดแล้วมันก็คือคุณพยายามที่จะ ไม่ รู้สึกกังวลนั่นเอง! แต่การพยายามจะฝืนความรู้สึกทางธรรมชาติอาจทำให้มันแย่ลงกว่าเดิม
    • อนุญาตให้ตนเองรู้สึกไม่สบายใจ แต่รำลุกว่าแค่รู้สึกไม่สบายใจไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำอะไรไม่ได้
    • ยอมรับว่าคุณจะรู้สึกกังวลเป็นปกติในบางสถานการณ์...เหมือนกับที่คุณจะรู้สึกเศร้า มีความสุข หรือโกรธในบางสถานการณ์ แทนที่จะวิ่งหนีจากความรู้สึกนี้ ก็แค่ยอมรับมันในตอนนี้ แต่ไม่ให้มันคราบงำคุณ
    • การกังวลใจแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจ และถ้าคุณใส่ใจ คุณก็น่าจะทำมันได้ดีกว่าคนที่เขาไม่ใส่ใจ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จัดการกับความตื่นเต้นเป็นกังวลอย่างทันท่วงที

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นให้ดี.เตรียมตัวให้พร้อมเป็นพิเศษด้วยการหาจุดเริ่มต้นที่ดีและชัดเจน เพื่อที่จะช่วยนำคุณไปถึงเป้าหมายโดยตลอดรอดฝั่ง เช่น หากคุณกำลังจะไปสัมภาษณ์งาน ให้คุณเข้าสัมภาษณ์ด้วยการกล่าวชื่นชมบริษัทนั้นบ้างในแง่ใดแง่หนึ่ง
  2. คนที่มีแนวโน้มจะตื่นเต้นเป็นกังวลมักจะเป็นคนที่คิดเรื่องตัวเองมากกว่าสิ่งที่พวกเขาพยายามจะทำ [7] ความตื่นเต้นเป็นกังวลอาจเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อคุณมองสาเหตุ (การสัมภาษณ์ การสอบ) นั้นว่าเกินความสามารถของคุณ พยายามแทนที่ความคิดที่ว่าคุณจะประสบความสำเร็จอย่างไรและคนอื่นมองคุณยังไงด้วยการสนใจสาระสำคัญของสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบหรือท่อนดนตรีที่คุณจะต้องแสดง
  3. สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ล้วนเป็นสัญญาณบอกว่าเรากำลังตื่นเต้นเป็นกังวลหรือไม่ เมื่อคุณสังเกตเห็นรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้เวลาคุณอยู่ต่อหน้าคนอื่นๆ คุณสามารถสร้างระยะห่างที่จำเป็นต่อการปรับท่าทางและอิริยาบทต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจที่มากกว่าเดิม การเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เหล่านี้เท่ากับเป็นการสอนตัวเองให้ “แสดงให้ดูราวกับว่า” คุณไม่ได้ตื่นเต้นเป็นกังวลอะไร เมื่อร่างกายคุณเปลี่ยน ความคิดจิตใจก็จะเปลี่ยนตามโดยธรรมชาติ [8]
    • ภาษากายที่แสดงความตื่นเต้นกังวลบางอย่างที่คุณอาจต้องเปลี่ยน ได้แก่ อาการล่อกแล่ก ห่อตัว ท่าที่ดูไม่เปิดเผย จ้องตาคนน้อยมากหรือไม่มีเลย และการเอามือลูบหน้าและคอ [9]
  4. การเร่งรีบ ไม่ว่าจะกับสิ่งใดที่มักทำให้คุณตื่นเต้นเป็นกังวลมีแต่จะยิ่งทำให้คนอื่นสับสน และเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณตื่นเต้นแค่ไหน หากคุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่คุณจำเป็นต้องพูด (ซึ่งก็มักจะเป็นเช่นนั้น) จำไว้ว่าให้พูดด้วยเสียงต่ำและพูดช้าๆ การลดความเร็วในการพูดลงจะช่วยให้คนเข้าใจคุณกระจ่างขึ้นและการลดเสียงให้ต่ำลงแค่เพียงนิดเดียวจะช่วยละโอกาสที่จะเกิดอาการเสียงแหลมปรี๊ดจากความตื่นเต้นหรือเสียงแตกได้
  5. [10] จำไว้ว่าอย่าใช้พลังไปกับสิ่งเล็กสิ่งน้อย โดยมาก สิ่งที่เราเป็นกังวลกันมักจะไม่เกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดจริงก็มักจะไม่แย่อย่างที่เราคาดไว้ ไม่ว่าความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ จะสำคัญหรือไม่ ให้พยายามใส่ใจกับส่วนที่เป็นสาระหลักถึงแม้จะเป็นเรื่องของปีหน้าก็ตาม.
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกังวลเกี่ยวกับการต้องนำเสนองานต่อหน้าผู้ฟัง ให้เตือนตัวเองไว้ว่าการออกเสียงผิดหรือการต้องใช้บัตรคำ เป็นสิ่งที่แทบจะไม่มีใครจำได้เมื่อการนำเสนองานจบลง นอกจากนี้ แม้การนำเสนองานนั้นจะล้มเหลว แค่งานนี้งานเดียวไม่ได้เป็นตัวตัดสินคุณค่าของตัวคุณ มันก็เป็นแค่งานชิ้นหนึ่งเท่านั้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยอมให้ตัวเองรู้สึกตื่นเต้นเป็นกังวลจริงๆ จังๆ. [11] หากคุณมีความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ลองทำอะไรๆ ให้ช้าลง และปล่อยให้ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ขัดขืน อย่าไปจำกัดเวลากับความรู้สึก ให้คุณปล่อยให้ความตื่นเต้นเป็นกังวลทำสิ่งที่มันอยากจะทำไม่ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน คุณจะรู้สึกแย่อยู่สักหนึ่งนาที แล้วทันใดนั้น ความรู้สึกนั้นก็จะลดลงเอง สิ่งนี้เป็นแบบฝึกหัดที่สำคัญสำหรับคุณที่จะเรียนรู้ว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่จะอยู่กับคุณอย่างยาวนาน (เท่าที่เรามักจะคิดกันไปว่าเป็นเช่นนั้น)
  2. [12] คุณมีอาการล่อกแล่กหรือชอบสั่นขาเวลานั่งหรือไม่ พยายามสังเกตเองหรือถามใครสักคนให้ช่วยสังเกตพฤติกรรมและภาษากายที่แสดงถึงความเป็นกังวลของคุณ คุณสามารถหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ได้ด้วยความตั้งใจของคุณ สำรวจและเปลี่ยนพฤติกรรมขณะที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น หรือโดยการทำโทษตัวเองเบาๆ เมื่อคุณทำพฤติกรรมเหล่านั้น เช่น ดีดหนังยางบนข้อมือของคุณ การทำเช่นนี้จะช่วยลดความกระวนกระวายที่มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่กล่าวมา และเปลี่ยนวิธีที่คนรอบข้างมีปฏิสัมพันธ์กับคุณ วิธีแก้ทั้งสองวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในระยะยาวได้
  3. หลายๆ ครั้งที่การตื่นเต้นเป็นกังวลเกิดขึ้นเพราะเราให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบ และไม่สนใจสิ่งที่เราทำได้ดี และยังตัดสินตัวเองจากความผิดพลาดแรงๆ อีก [13] แม้คุณจะทำอะไรพลาดไป คิดง่ายๆ ว่าใครๆ ก็ทำพลาดทั้งนั้น นอกจากนี้ ไม่มีอะไรที่จะน่าประทับใจไปกว่าการลุกขึ้นยืนใหม่ด้วยความสง่างามและเดินหน้าต่อ
  4. รักษาวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงเป็นสิ่งสำคัญในการมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง วิ่งจ๊อกกิ้งหรือกิจกรรมแบบแอโรบิคอื่นๆ จะช่วยกำจัดอะดรีนาลีนและอาการตื่นเต้นเป็นกังวลทั้งหลายที่มากับฮอร์โมนนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้แต่ละวันของคุณสงบ ลดความตึงเครียดและแรงกดดัน และยังเพิ่มพลังงานให้คุณด้วย คุณอาจมองว่าสิ่งนี้เป็นมาตรการการป้องกันการต้องเผชิญกับเหตุการณ์สุดเครียดก็ได้
  5. แม้ว่าความตื่นเต้นเป็นกังวลจะรบกวนการนอนของคุณ พยายามนอนให้ได้ 7 หรือ 8 ชั่วโมงต่อคืน การขาดนอนและความเหนื่อยล้า เมื่อรวมกันเข้าจะทำให้ความสามารถในการรับมือสถานการณ์ชวนเครียดน้อยลง และคุณอาจพบว่าตัวเองหงุดหงิดและไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้ [14] ที่สำคัญพอๆ กับการนอนหลับสนิทและเพียงพอก่อนเผชิญกับเหตุการณ์ชวนตื่นเต้นก็คือว่า การนอนที่ดีจะช่วยลดความวิตกกังวลโดยรวมด้วย
  6. [15] แทนที่จะผ่อนคลายด้วยการนั่งดูโทรทัศน์หรือเล่นอินเทอร์เน็ต พยายามฝึกการผ่อนคลายอย่างจริงจังซึ่งมีผลกับสภาพจิตใจ เช่น การหายใจลึกๆ ช่วยผ่อนคลายประสาทหลักที่มาจากกระบังลมไปยังสมอง ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้ร่างกายทุกส่วนผ่อนคลาย การฝึกแบบนี้ค่อยข้างมีประโยชน์ในการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อรับมือสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากๆ ให้คุณลองทำตามวิธีที่ได้รับความนิยมต่อไปนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งการใช้ชีวิตที่ผ่อนคลายของคุณ: [16]
  7. [17] ยามที่สมองของคุณกลัวว่ามันจะลืมบางสิ่ง สมองจะคิดซ้ำไปซ้ำมา จิตใจของคุณอาจจะเป็นตัวนำความตื่นเต้นเป็นกังวลมาให้ โดยการทำให้คุณมัวสนใจกับความกังวลหรือความกลัวมากกว่าที่จำเป็น เวลาที่คุณเขียนความคิดของคุณออกมา โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในหัว คุณกำลังทำการปลดปล่อยตัวเองจากการต้องคอยเก็บความคิดนั้นไว้ในใจ การจดบันทึกสามารถใช้แทนถังขยะความคิดที่คุณไม่ต้องการให้มันวนเวียนในหัวตลอดเวลา อาทิ ความเชื่อและคำตัดสินต่างๆ นานาที่จะนำปัญหามาสู่ตัวคุณเอง
  8. [18] การมีคนที่พร้อมจะสนับสนุนที่คุณเองก็ไม่ลังเลที่จะเข้าหาสามารถช่วยคุณได้มากกว่าแค่เบี่ยงเบนความสนใจออกจากความตื่นเต้นเป็นกังวล เมื่อเล่าความรู้สึกของคุณให้คนอื่นฟังแล้ว คุณอาจพบว่าคนอื่นๆ เขาไม่ทราบว่าตอนนี้คุณมีอาการตื่นเต้นเป็นกังวลอย่างที่คุณคิดไปว่าพวกเขาจะมองออก มันยังเป็นประโยชน์อีกด้วยที่จะระลึกว่าคนอื่นๆ ก็ประสบปัญหาแบบคุณเหมือนกัน นี่หมายความว่า พวกเขาก็คาดไว้แล้วว่าตัวเองจะเจอความรู้สึกเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เราให้คุณค่า ให้ความสำคัญและเอาใจใส่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณคิดว่าคุณมีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีบำบัดที่สามารถช่วยให้คุณระบุต้นตอปัญหาความตื่นเต้นเป็นกังวลของคุณ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://speaking.io/deliver/nervousness/
  2. http://www2.wlv.ac.uk/careers/onlinedocs/dealingwithnerves.pdf
  3. http://www.calmclinic.com/anxiety/treatment/breathing-exercises
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201305/5-tips-reducing-public-speaking-nervousness
  5. http://www2.wlv.ac.uk/careers/onlinedocs/dealingwithnerves.pdf
  6. http://www.theseus.fi/bitstream/handle/10024/21719/Lofnes_Ingrid.pdf?sequence=1
  7. Blagden, J. Catherine, and Michelle G. Craske. "Effects of active and passive rumination and distraction: A pilot replication with anxious mood." Journal of Anxiety Disorders 10.4 (1996): 243-252.
  8. Riskind, John H., and Carolyn C. Gotay. "Physical posture: Could it have regulatory or feedback effects on motivation and emotion?." Motivation and Emotion 6.3 (1982): 273-298.
  9. http://www.improveyoursocialskills.com/body-language/discomfort-field-guide

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,772 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา