ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความวิตกกังวล เป็นสภาวะอารมณ์ที่ทุกคนเคยประสบมาไม่มากก็น้อย มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะรู้สึกเครียดก่อนช่วงสอบไล่ ก่อนขึ้นแสดงบนเวที หรือในช่วงที่มีภารกิจและสิ่งรุมเร้ามากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังมักรุนแรงกว่าความเครียดทั่วไป ทั้งนี้ หากคุณพบว่าตนเองมักวิตกกังวลเรื้อรัง และไม่สามารถกำจัดมันให้พ้นไปได้ การไปเข้ารับการตรวจวิเคราะห์ทางจิตอาจจะเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างไรก็ดี คำแนะนำด้านล่างนี้ ก็สามารถช่วยให้คุณคลายความวิตกกังวลได้แบบเฉพาะหน้า หรืออาจช่วยป้องกันปัญหาในระยะยาวได้อีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กำจัดอาหารเครื่องดื่มที่กระตุ้นความกังวลของคุณ. เรื่องนี้อาจฟังดูเรียบง่าย แต่การเปลี่ยนแปลงโภชนาการในแต่ละวัน สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีอย่างมหาศาลต่อระดับอาการวิตกกังวลของคุณ พยายามยั้งใจก่อนที่จะบริโภคอาหารกระตุ้นความกังวลเหล่านี้:

  2. พยายามรักษาสุขภาพด้วยการบริโภคอาหารที่มีโภชนาการสมดุล จะช่วยให้อารมณ์คุณสมดุลขึ้นตามด้วย หากคุณได้โภชนาการที่ถูกต้องเมือไร ร่างกายของคุณจะได้กำจัดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังให้ลดลงด้วย
  3. ลองออกกำลังกายแบบที่ช่วยลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง. ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการหวาดระแวงและภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังในชีวิตประจำวันได้ มันยังช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ทันตาเห็น และสดชื่นสะสมต่อเนื่องออกไปอีกหลายชั่วโมง
    • การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง ปั่นตักรยาน และยกน้ำหนัก รวมถึงการการออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อแบบอื่นๆ ก็มีส่วนช่วยในการลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง
    • ลองฝึกโยคะ บรรยากาศอันเงียบสงบในห้องเทรนโยคะ บวกกับโอกาสแห่งการสงบใจและดึงสติมาไว้กับตัวได้ยาวนานเป็นชั่วโมง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้การออกกำลังกายประเภทนี้ ลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังของคุณได้
    • หากคุณกลัวหรือกังวลในการออกกำลังกาย พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังบ่อยๆ คุณไม่จำเป็นต้องไปร่วมทีมกีฬา หรือไปฟิตเนสก็ได้ ขอแค่เดินออกกำลังแถวบ้านเป็นระยะทางไกลๆ ทุกวัน เพื่อเสริมให้อารมณ์ดีขึ้นก็ได้เหมือนกัน [4]
  4. การหายใจอย่างทั่วท้องแบบช้าๆ ส่งผลต่อภาวะอารมณ์ของคุณได้ทันที หลายคนเลือกฝึกการหายใจตื้นๆ เข้ามาบริเวณหน้าอกหรือปอด และผ่อนออกอย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการคลายเครียด แต่เวลาที่คนเราเครียด ร่างกายเรามักจะเร่งสูดลมหายใจอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว ซึ่งกลับยิ่งให้เครียดหนักเข้าไปใหญ่ ดังนั้น คุณควรฝึกหายใจแบบทั่วท้อง หรือสูดเข้าไปให้ลึกถึงกระบังลม ซึ่งจะช่วยให้ความดันลดลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้จิตใจคุณสงบลง
    • พยายามมีสติจดจ่อกับลมหายใจ แม้ว่าคุณไม่ได้กำลังมีภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังอยู่ก็ตาม การหายใจลึกย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพกายและจิต ไม่ว่าคุณจะมีความเครียดหรือไม่ก็ตาม
    • ลองฝึกหายใจเข้าโดยนับไปประมาณ 4 วินาที และเก็บลมหายใจเอาไว้ประมาณ 3 วินาที และหายใจออกอีก 4 วินาที พยายามทำเช่นนี้ประมาณ 8 รอบหรือน้อยกว่านั้นภายในหนึ่งนาที จะช่วยคุณลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังได้ทันที
  5. บ่อยครั้งที่ความเครียดสะสมมาจากการที่คุณไม่ได้สะสางหรือปลดปล่อยปัญหาในชีวิตประวัน คุณควรหาเวลาสักสิบนาทีระหว่างวัน ในการทำสิ่งที่คุณสนใจและทำให้จิตใจผ่อนคลายสงบลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าวกีฬา เล่นหรือฟังดนตรี ศิลปะ หรืออะไรก็ได้ การหาช่องทางระบายขยะทางอารมณ์ออก จะช่วยคุณลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังได้ทันที และส่งผลดีในระยะยาวด้วย
    • ลองเข้าคอร์สเรียนในสาขาวิชาที่คุณสนใจ หากคุณชอบเรื่องอัญมณี ก็ลองไปเข้าคอร์สการออกแบบอัญมณีดู หากคุณอยากเรียนภาษาใหม่ๆ ก็ลองไปสมัครเรียนกับติวเตอร์ หรือลงคอร์สปรับพื้นฐานตามสถานที่ๆ คุณสะดวกดู
    • ระหว่างช่วงเวลาที่คุณทำสิ่งที่ชอบนั้น พยายามตั้งใจจดจ่อ อย่าไปคิดถึงสิ่งที่กระตุ้นความเครียดใดๆ การกำจัดมันออกไปจากระบบความคิด จะช่วยให้คุณมีความสุขกับกิจกรรมตรงหน้ามากขึ้น และช่วยป้องกันความกังวลเกี่ยวกับอนาคต
  6. เวลาอยู่บ้าน คุณควรมีช่วงเวลาที่เป็นอิสระจากความกังวล บ้านควรเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของคุณ เมื่อคุณมีความวิตกกังวลหลายอย่างในแต่ละวัน จงหาเวลาผ่อนคลายอยู่บ้าน เช่น อาบน้ำอุ่น ฟังเพลงเบาสบายๆ และหลีกเลี่ยงเรื่องใดๆ ทีอาจกระตุ้นภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังของคุณได้ พยายามจัดสรรเวลาเพื่อกิจกรรมดังกล่าวในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ให้มากพอ
  7. หากคุณจัดตารางกิจวัตรจนยุ่งเหยิง เอางานกลับมาทำที่บ้าน และพยายามทำรายงานการบ้านให้ออกมาสมบูรณ์แบบ จะเป็นการกดดันตัวเองให้เครียดมากเกินไปโดยไม่จำเป็น พยายามลดให้เหลือแต่กิจกรรมหรือธุระที่จำเป็น และตัดกิจกรรมบางอย่างออกไปบ้าง การแบ่งเวลาส่วนตัวเพื่อรับมือกับภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังให้ตัวเองบ้าง จะช่วยให้ภาวะดังกล่าวค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ
    • แม้ว่าการสังสรรค์กับเพื่อนฝูงบ่อยๆ จะเป็นเรื่องดี การทำเช่นนั้นบ่อยเกินไป อาจทำให้คุณเกิดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง จากสาเหตุที่ว่าคุณอาจทำให้พวกเขาผิดหวัง แถมยังไม่มีเวลาให้กับตนเองด้วย พยายามแบ่งเวลาจากการสังสรรค์กับเพื่อนๆ มาให้ตัวเองบ้าง
    • รู้จักปฏิเสธคำขอบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตกปากรับคำกับผู้อื่น หรือการเอางานจากคนอื่นมากองทับถมไว้ที่ตัวเองจนดินพอกหางหมู การปฏิเสธผู้อื่นเสียบ้างก็ย่อมทำได้ในบางครั้ง
  8. การอดนอนจะส่งผลให้ร่างกายคุณสะสมคอติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นมา ซึ่งเมื่อสะสมมากเกินไป จะทำให้เกิดความเครียดและภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง ดังนั้น พยายามนอนหลับให้ได้ประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อคืน [5]
    • พยายามเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวัน ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายมีช่วงเวลาการนอนที่สมดุลและสม่ำเสมอ ซึ่งก็จะส่งผลให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก
    • หากคุณมีอาการนอนหลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท ลองหาอาหารเสริมประเภทเมลาโทนินมาทานดู เพราะเมลาโทนินเป็นฮอรฺโมนที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อช่วยให้คุณนอนหลับ โดยคุณสามารถหาซื้อแบบที่มีปริมาณยาต่ำๆ และบรรจุเป็นเม็ดได้ตามร้านขายยาหรือร้านวิตามินทั่วไป
    • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ แท็บเล็ต ฯลฯ ในช่วงหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน สิ่งเหล้านั้นมักเป็นสาเหตุของภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังในระหว่างวัน แถมยังทำให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินไม่เต็มที่ เพราะมีแสงสว่างรบกวน อย่าลืมปิดให้หมด [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การใช้เทคนิคทางจิตคลายความกังวลลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายสถานการณ์ที่นำไปสู่ภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง ดังนั้น มันจึงเป็นประโยชน์มาก หากคุณสามารถระบุที่มาของความทุกข์ดังกล่าวได้ และพยายามแก้ไขอย่างจุด อย่างเช่น หากคุณจัดการเรื่องภาษีไม่ทันกำหนดเส้นตาย คุณอาจจะรู้สึกได้ถึงอาการขมวดเกร็งบริเวณบ่า ซึ่งส่งผลให้คุณเครียด จนกว่าคุณจะทำงานดังกล่าวเสร็จสิ้นลง เป็นต้น
    • จดบันทึกลงในสมุดส่วนตัว เพื่อค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อารมณ์คุณแย่ลงบ้าง การเขียนออกมาในลักษณะนี้ มักช่วยให้คุณเห็นภาพหรือสาเหตุของความเครียดได้ ในมุมที่คุณไม่เคยตระหนักมาก่อน
    • แม้ว่าสาเหตุบางอย่าง อาจดูเหมือนอยู่เหนือการควบคุมของคุณ แต่คุณอาจทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงมันได้ ไม่มากก็น้อย เช่น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับช่วงเทศกาลหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง เพราะคุณต้องจัดแจงไปพบหน้าคนในครอบครัวในอีกไม่กี่วันนี้แล้ว คุณก็อาจมองหาวิธีรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวให้ต่างออกไป เช่น จัดงานเลี้ยงและเชิญคนในครอบครัวของคุณมามาเยี่ยมที่บ้าน แทนที่จะเป็นฝ่ายเดินทางไปหาพวกเขา หรืออาจจะหาร้านอาหารที่ทั้งสองฝ่ายไปจัดเลี้ยงร่วมกัน คุณจะได้ไม่ต้องเตรียมการอะไรมากนัก พยายามหาจุดประนีประนอมยืดหยุ่นในแต่ละปัญหาให้ได้
  2. หลีกเลี่ยงสาเหตุของความกังวลที่คุณควบคุมไม่ได้. หากสถานการณ์ใดมักจะทำให้คุณเกิดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะหลีกเลี่ยงเสีย หากคุณกลัวการขึ้นเครื่องบิน และความกลัวดังกล่าวไม่มีท่าว่าจะหายไป คุณก็เลือกไปทางรถแทนสิ พยายามรู้ขีดจำกัดของตัวเอง และเอาสวัสดิภาพของตัวเองมาก่อนเสมอ
    • หากบางคนในชีวิตคุณ ทำให้คุณมีภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง และรู้สึกอึดหรือไม่สามารถเผชิญหน้าพวกเขาได้ พยายามจัดวางสถานการณ์เพื่อที่จะไม่ต้องเจอพวกเขาบ่อยนัก
    • หากที่ทำงานหรือโรงเรียน ทำให้คุณเกิดความเครียด ก็หาเวลาระหว่างวันสักครู่ เพื่อปิดเครื่องมือสื่อสารต่างๆ หรือช่องทางการติดต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คุณเกิดความกังวล หากคุณเช็คอีเมล์แล้วพยายามเคลียร์งานจนหัวยุ่งหรือทำไม่ทัน และเกิดความกังวล ก็ปิดมันลงสักพัก
  3. การฝึกผ่อนคลายและทำสมาธิเป็นประจำทุกวัน เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการลดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง การทำสมาธิมีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น คุณจึงควรลองหลายๆ วิธีดูก่อน และค่อยตัดสินใจเอกวิธีที่เหมาะกับจริตของคุณ และทำไห้คุณผ่อนคลายความกังวลได้มากที่สุด
    • สมาธิแบบมีสื่อนำก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของผู้ฝึกใหม่ สมาธิแบบดังกล่าวสามารถฝึกได้ด้วยการมีคนมาคอยนำเข้าสมาธิให้ แต่คุณควรจะใช้วิธีเปิดซีดีหรือดูทางยูทูปมากกว่า ซึ่งคุณจะได้รับการถ่ายทอดเทคนิคสงบจิตใจลงแบบเฉพาะหน้า เวลาที่หัวใจเต้นเร็วถี่ หรือเวลาที่ความคิดคุณฟุ้งซ่านกระเจิงไปหมด จนคุมไม่อยู่
    • การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ เป็นการเน้นจดจ่อไปที่สภาวะที่เกิดขึ้นของรูปแบบความคิดบางอย่าง ที่อาจทำให้คุณเกิดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง โดยเฝ้าสังเกตดูพฤติทางจิตดังกล่าว จนกว่ามันจะคลี่คลายและสงบลงเอง การทำสมาธิแนวนี้เรียบง่ายและสามารถทำได้เพียงแค่เริ่มด้วยการหามุมที่เงียบสงบๆ ในเช้าของแต่ละวัน และมันก็ยังเป็นเทคนิคที่มายาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้านหากคุณต้องการพัฒนาทางจิตต่อไปเรื่อยๆ โดยคุณอาจเริ่มฝึกด้วยขั้นตอนต่อไปนี้:
      • หาที่นั่งสบายๆ และหลับตาลง
      • ใช้เวลาช่วง 5 นาทีแรก ในการสังเกตลมหายใจเข้าออกของตัวเอง คุณจะเห็นได้ว่า การฝึกมีสติจดจ่อกับลมหายใจ เป็นบาทฐานที่สำคัญของการฝึกสมาธิแบบเจริญสตินั่นเอง
      • ต่อไป ปล่อยให้อารมณ์ต่างๆ ไหลบ่าออกมา ไม่ว่าจะเป็นความกังวล ความซึมเศร้า ความเหงา ความเจ็บปวด หรือความโกรธเคืองใครก็ตาม โอบอุ้มอารมณ์เหล่านั้นไว้ในห้วงจิตของคุณ ด้วยความตระหนักรู้อยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เกิดความคิดปรุงแต่ง นั่งสังเกตมันในลักษณะเดียวกับที่คุณนั่งทอดหุ่ยโดยมีเพื่อนๆ อยู่รายล้อม
      • ทำตัวให้เป็นเพียงผู้รู้ผู้ดู สังเกตการณ์อารมณ์แต่ละอย่างที่ผุดขึ้นมา ปล่อยให้มันเป็นอยู่อย่างนั้น โดยคุณอาจพูดกับมันในใจว่า “ฉันจะอยู่ที่นี่ตรงนี้ อยู่กับพวกเธอเท่าที่เธอต้องการ”
      • ปล่อยให้แต่ละอารมณ์สำแดงลักษณะของตัวมันเองออกมา สังเกตอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมัน หากคุณใช้สติจดจ่อดูพวกมันเหมือนเป็นมิตรสหายคนนึง ไม่นานนักอารมณ์แต่ละอย่างจะคลี่คลายลง หรือเปรรูปไปเอง เหลือเพียงความสงบนิ่งและผ่อนคลายทางจิต
      • ลองอ่านบทความเรื่อง ฝึกสมาธิ ของเราดู เพื่อเรียนรู้เทคนิคเพิ่มเติมได้
  4. โดยรวมแล้ว มันคือกระบวนการทำจิตใจให้ปลอดโปร่งจากบรรดาขยะความคิดและภาพที่ทำให้คุณเกิดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง โดยให้แทนที่พวกมันด้วยความคิดและภาพที่ทำให้คุณรู้สึกสงบล้ำลึก ขณะที่จินตภาพดังกล่าวเกิดขึ้น พยายามสัมผัสถึงรายละเอียดต่างๆ ให้แจ่มชัดที่สุดในทุกๆ ผัสสะ การตั้งใจดึงตัวเองออกมาจากความเครียดกังวลชั่วคราวเช่นนี้ จะช่วยให้จิตและกายคุณสงบลง และมีพลังเตรียมพร้อมรับมือกับตัวกระตุ้นภาวะอาการวิตกกังวลของคุณในอนาคต
  5. สำหรับบางคน ขอแค่ได้พูดคุยระบายเกี่ยวเรื่องที่ทำให้เกิดภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง ก็ถือว่าโล่งอกขึ้นมากแล้ว หากคุณต้องการทำเช่นนั้นบ้าง ลองเข้าหาเพื่อน แฟน หรือคนในครอบครัวของคุณดู เพื่อพูดคุยระบายและขอคำปรึกษาพวกเขา บางครั้งการพูดออกมาก็สามารถช่วยให้ความเครียดลดลงไปได้เยอะแล้ว
    • หากคุณเอาแต่ระบายกับคนๆ เดียว มันอาจจะเป็นการโยนภาระทางอารมณ์ไปให้เขาหรือเธอ ดังนั้น หากคุณมีปัญหาภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรัง คุณอาจจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัด ซึ่งเปิดโอกาสให้คุณได้ระบายปัญหาออกมาอย่าอิสระเต็มที่ และใช้ความรู้ความชำนาญที่พวกเขามีช่วยเหลือคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังด้วยการใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมุนไพร ใบชา และอาหารเสริมบางอย่าง อาจมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาความวิตกกังวล คุณอาจลองหาตัวเลือกเหล่านี้มาใช้ดู:
    • ดอกคาโมไมล์ ซึ่งโบราณมักนำใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล เครียด และท้องไส้ปั่นป่วนได้ด้วย มันมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับยาต้านอาการซึมเศร้า โดยมีทั้งแบบชงเป็นชาหรือทานเป็นเม็ดยาก็ได้
    • โสม ก็เป็นอีกสมุนไพรหนึ่ง ที่กล่าวกันว่าช่วยลดความเครียดได้ดี คุณอาจทานโสมสกัดวันละเม็ดเพื่อลองดูประสิทธิภาพในการต่อสู้กับภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังของคุณเอง
    • สมุนไพรสกัดจากต้นคาวาคาวา (Kava kava) ก็เป็นพืชอีกประเภทหนึ่งที่กล่าวกันว่า มีผลคล้ายยาสลบแบบอ่อน ทำให้สมองเซื่องซึมและรู้สึกปลอดโปร่ง ปราศจากความกังวล ส่วนใหญ่แล้วร้านขายยาและวิตามินทั่วไปไม่ค่อยมีวางขาย แต่สามารถหาซื้อได้ทางร้านค้าออนไลน์
    • สมุนไพรสกัดจากรากวาเลอเรียน (Valerian root) ก็เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยม และมีคุณสมบัติคล้ายๆ คาวาคาวา ดังนั้น คุณสามารถทานเพื่อช่วยรับมือในยามที่เกิดความเครียดและกังวลรุมเร้า จนคุณอาจรับไม่ไหว
  2. คุณควรรู้ขีดจำกัดตนเอง และรู้ว่าเมื่อไรควรจะต้องไปพบแพทย์หรือนักบำบัด หากคุณมีภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังยาวนาน แถมด้วยอาการหวาดวิตกผิดปกติ ก็ควรไปพบนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด เพราะอาการดังกล่าวยากที่จะรักษาด้วยตนเอง และยิ่งคุณไปพบแพทย์เร็วเท่าไร ก็ยิ่งรักษาให้หายได้เร็วขึ้นเท่านั้น
  3. หากคุณอยู่ในภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังและรุนแรง อันส่งผลต่อการนอนหลับและการใช้ชีวิตประจำวันมาระยะหนึ่งแล้ว ก็ถึงเวลาที่ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อขอยาแผนปัจจุบันซึ่งสามารถบรรเทาได้ทั้งอาการหวาดระแวง โรคหวาดกลัวผู้คน และอาการขั้นรุนแรงอื่นๆ ด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จงตระหนักว่า ภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังไม่มีทางหายได้ในชั่วข้ามคืน การที่ร่างกายและจิตใจของคุณจะปรับตัวรับมือกับภาวะดังกล่าวได้ ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง
  • จงอ่อนโยนต่อตนเอง ภาวะความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ตามธรรมชาติ คุณไม่จำเป็นต้องต่อสู้กับมันลำพัง
  • อย่าเก็บงำอาการวิตกกังวลจากคนรอบข้าง พยายามพูดคุยระบายกับคนที่คุณวางใจ และร่วมกันหาทางแก้ไขไป
  • ที่สำคัญที่สุด จำไว้ว่า ความวิตกกังวลล้วนแต่เกิดขึ้นในหัวคุณเองทั้งนั้น จงเป็นตัวของตัวเอง อย่าไปแคร์ความคิดของใครที่มีต่อคุณ เมื่อคุณมีความมั่นใจ เดี๋ยวพวกเขาก็จะตาสว่างในไม่ช้า
  • การเป่าฟองสบู่ก็ช่วยได้ ขอเพียงคุณจดจ่อกับลมหายใจในขณะที่เป่า จะช่วยให้คุณสงบลงได้ในเวลาที่ความหวาดวิตกเข้าเล่นงานกะทันหัน
โฆษณา

คำเตือน

  • ภาวะอาการวิตกกังวลเรื้อรังหรือขั้นรุนแรง และอาการซึมเศร้านั้น ควรได้รับการรักษาทางการแพทย์ คุณควรไปปรึกษาคุณหมอที่สถานพยาบาล หากเริ่มกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเอง
  • อย่าทานยาสมุนไพรใดๆ จนกว่าจะถามความเห็นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้งก่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,202 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา