ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Electrostatic discharge (ESD) ฟังดูยากๆ แต่จริงๆ ก็คือ "ไฟฟ้าสถิต (static electricity)" นั่นแหละ เวลาคุณสปาร์คกับลูกบิดประตูอาจจะแค่จิ๊บๆ แต่บอกเลยว่ากระแสไฟที่เท่ากันจะทำชิ้นส่วนคอมคุณเจ๊งได้เลย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เปิดเคสคอมเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนไหนของคอม ต้องระวังและรู้จักป้องกันไฟฟ้าสถิตให้ดี ไม่ว่าจะด้วยการสวม wristband เฉพาะ ใช้ discharger สลับสายไฟ หรือเปลี่ยนเสื้อผ้าก็ตาม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวก่อนลงมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาจะจัดการกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ต้องทำบนพื้นผิวสะอาด ราบ แข็ง เพื่อลดไฟฟ้าสถิต เช่น บนโต๊ะ เคาน์เตอร์ หรือบนไม้กระดาน
  2. พรมกับถุงเท้านี่ห้ามเด็ดขาด ให้ยืนเท้าเปล่าบนพื้นไม้ กระเบื้อง หรือพื้นราบแข็งๆ อื่นๆ [1]
    • หรือใส่รองเท้าแตะยางเพื่อไม่ให้เท้าคุณแตะพื้นโดยตรงก็ได้ แต่ถ้าแค่จะซ่อมแซมคอมในบ้าน ก็ไม่ต้องทำขนาดนั้น
  3. พวกขนสัตว์กับใยสังเคราะห์บางชนิดนี่เกิดไฟฟ้าสถิตง่ายมาก ถ้าเป็นผ้า cotton (ฝ้าย) จะปลอดภัยสุด
  4. ไฟฟ้าสถิตเกิดง่ายและอันตรายในสภาพอากาศแห้งๆ ให้ใช้เครื่องทำความชื้นถ้ามี แต่ถ้าไม่มีก็อย่าไปซื้อให้เปลืองเงิน แค่ทำวิธีอื่นที่เราบอกไปก็เพียงพอแล้ว [2]
    • หรือสร้างอากาศชื้นง่ายๆ โดยแขวนผ้าเปียกหมาดๆ ไว้หน้าพัดลม
  5. ใส่ทุกชิ้นส่วนไว้ในถุงป้องกันไฟฟ้าสถิต (antistatic bag). คุณควรเก็บชิ้นส่วนใหม่เอี่ยมของคอมไว้ใน antistatic bag หรือถุงป้องกันไฟฟ้าสถิต จนถึงเวลาที่จะนำออกมาใช้งาน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

Ground ตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องเป็นโลหะเปลือยที่ไม่ได้เคลือบสี และต่อสายดินแล้ว เช่น เคสคอม ถือเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด หลายคนทำแค่นี้แล้วไม่ต้องลำบากใช้วิธีอื่นเลย แต่ถ้าไม่แน่ใจ กลัวว่าแค่นี้ไม่พอ จะป้องกันเพิ่มเติมก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าคุณซ่อมแซมแค่เล็กๆ น้อยๆ แถมชิ้นส่วนไม่แพงหรือไม่สำคัญมาก ก็ขั้นตอนเดียวจบ
  2. ground ตัวเองโดยสวมแถบรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต (anti-static wristband). เป็นอุปกรณ์ราคาย่อมเยา มีขายทั้งในเน็ตและร้านคอมหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้คุณใส่ wristband รัดแนบไปกับข้อมือ แล้วหนีบสายยาวๆ ไว้ที่อะไรที่เป็นโลหะ (แบบต่อสายดินแล้ว) หลายคนก็หนีบสายไว้กับเคสคอมนั่นแหละ แบบนี้ถือว่าปลอดภัยถ้าชิ้นส่วนของคุณไฟฟ้าครบวงจรดี แต่ยังไงก็อ่านวิธีใช้แล้วทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตให้ครบถ้วนจะดีที่สุด
    • อย่าใช้ wristband แบบไร้สาย เพราะไม่ได้ช่วยอะไร [3]
    • ถ้าใช้ wristband แบบมีห่วง (แทนคลิปหนีบ) ระวังจะลื่นหลุดจากน็อตกลางผนังเพลตได้ ปกติแค่นี้ก็ ground ได้แล้ว (อย่างที่ใช้กันในอเมริกา) แต่จะเช็คให้ชัวร์ด้วย multimeter อีกทีก็ได้ [4]
    • คลิปของ wristband ต้องหนีบอยู่กับพื้นผิวที่นำไฟฟ้า ถ้าเคลือบสีไว้จะหน่วงหรือไม่นำไฟฟ้า
  3. ขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นถ้าคุณ ground ตัวเองแล้ว แต่ถ้าใครใช้วิธีแตะเคสคอมก็ต้องระวัง คือต้องต่อสายดินให้คอมก่อนตามขั้นตอนข้างล่างโดยปิดเครื่อง ไฟจะได้ไม่ไหลเข้าเครื่องโดยบังเอิญ [5]
    • เสียบปลั๊ก surge protector (เครื่องป้องกันไฟกระชาก) แล้วปิดเครื่อง จากนั้นเสียบ PSU (power supply unit) เข้า surge protector อีกทีผ่านสาย ground (3 ขา)
    • หนีบเคสส่วนที่เป็นเหล็กเปลือยกับอะไรที่ต่อสายดินแล้วโดยใช้สาย ground
    • ถ้ามีสวิตช์หลัง PSU ให้สับไปที่ off แล้วเสียบปลั๊ก PSU
    • ใครใช้ระบบไฟแบบอังกฤษ ให้ไขน็อตของแผงปลั๊ก ground ใกล้ๆ รูเสียบ แล้วถอดฟิวส์ไม่ให้ไฟไหลได้ แล้วค่อยเสียบปลั๊ก PSU
  4. ใครแค่ซ่อมแซมคอมที่บ้านก็ไม่จำเป็น แต่จะใช้ก็ได้ถ้ากลัวเป็นพิเศษ ง่ายๆ แค่วางชิ้นส่วนคอมบน ESD mat แล้วซ่อมแซมหรือใช้งานไปตามปกติ บางแบบจะมีที่ให้หนีบ wristband ด้วย
    • หรือจะใช้แบบแผ่นยาง (vinyl ESD mat) ก็ได้ แต่แพงกว่าก็เลยไม่จำเป็น จุดสำคัญคือต้องเขียนว่า "conductive" (นำไฟฟ้า) หรือ "dissipative" (กระจายไฟฟ้าสถิต) ไม่ใช่ "insulative" (กันความร้อน) [6]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาจัดการกับ CPU ให้จับแค่ตรงขอบๆ อย่าแตะต้อง pin แผงวงจร หรือส่วนที่เป็นโลหะด้านบน เว้นแต่จำเป็นจริงๆ [7]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงคุณจะไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตระหว่างทำงาน แต่จริงๆ แล้วแค่นิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนคอมคุณเสียหายหรือลดอายุการใช้งานได้ [8] ในกรณีที่เลวร้าย (และหายาก) ที่สุด คือถ้าไฟฟ้าสถิตสปาร์คแรงๆ อาจทำเมนบอร์ดคุณเจ๊งไปเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,083 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา