ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราทุกคนได้ยินมานับครั้งไม่ถ้วนว่าเราต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ คำแนะนำนี้เอาไว้บอกกับเด็กที่ต้องเตรียมตัวตื่นไปเรียน นักกีฬาที่ต้องเตรียมตัวกับศึกครั้งใหญ่ หรือผู้ใหญ่ที่ต้องต่อสู้กับความเครียดในชีวิตและปัญหาสุขภาพที่ถาโถม แล้วเท่าไหร่ล่ะถึงจะเรียกว่า “พักผ่อนเพียงพอ?" คำตอบต้องดูจากความหลากหลายในการใช้ชีวิตของคุณเองเท่านั้น เป็นเรื่องยากที่จะพักผ่อนให้เพียงพอได้หากคุณไม่กำหนดก่อนว่า คุณต้องนอนมากเพียงใดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฟังเสียงจากร่างกายของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งคืนเพื่อให้ได้ผลการทดสอบในครั้งนี้ [1]
    • โอกาสถัดไปที่คุณจะ “ตื่นสายได้” คือโอกาสของคุณที่จะทำแบบทดสอบนี้ คุณอาจต้องใช้เวลาสองสามคืนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
    • ขั้นแรกของแบบทดสอบคือนอนในเวลาที่เหมาะสม หากคุณกำลังมองหาเวลาที่คุณสามารถตื่นสายได้ ก็ควรจะเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดยาวที่คุณไม่ต้องไปทำงานหรือไปโรงเรียน เพื่อให้แบบทดสอบได้ผล คุณต้องพยายามไม่นอนดึกเกินเวลาปกติเพราะว่าคุณสามารถนอนตื่นสายได้ในวันถัดไป และเพื่อที่จะได้รับผลลัพธ์ที่แม่นยำด้วยการเข้านอนให้เป็นเวลา
    • ต่อไป ห้ามตั้งนาฬิกาปลุก นอนจนกว่าคุณจะตื่นเองโดยธรรมชาติ หากคุณเหมือนคนทั่วไป คุณจะนอนยาวนานมากในคืนแรก อาจประมาณ 16 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น เพราะว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่เรียกว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ
    • หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นอย่างมาก คุณอาจต้องเผชิญกับอาการเช่นนี้ก่อนที่คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการทดสอบนี้ หากคุณไม่ได้มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ให้ดำเนินการทดสอบได้เลย
    • หลังจากคืนแรกที่นอนหลับอย่างยาวนาน ให้ต่อด้วยการเข้านอนเวลาเดิม และไม่ตั้งนาฬิกาปลุก หลังจากสองสามวันคุณจะตื่นนอนในเวลาเดิมๆ ทุกๆ วันโดยธรรมชาติ และคุณก็จะรู้ร่างกายของคุณต้องการการนอนหลับกี่ชั่วโมงต่อคืน
    • หากคุณนอนหลับเพียงพอ คุณควรจะตื่นตัวและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยไม่รู้สึกง่วง
  2. การพักผ่อนไม่เพียงพอเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถนอนเท่าจำนวนที่ร่างกายต้องการได้ และมันจะสะสมไปเรื่อยๆ ตามเวลา [2]
    • คุณกำลังติดค้างหลายนาทีหรือหลายชั่วโมงกับร่างกายของคุณทุกครั้งที่คุณนอนน้อยลง เหตุการณ์นี้สามารถเกิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะหลายเดือน
    • คุณต้องตั้งนาฬิกาปลุกหากคุณอยู่ดึกเพื่อทำงานหรือเพื่ออ่านหนังสือ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้คือตัวทำให้คุณนอนหลับไม่เพียงพอ
    • นอนทดแทนที่นอนไม่พอด้วยการเพิ่มชั่วโมงนอนหลับต่อคืน และใช้โอกาสงีบหลับจนกว่าคุณจะนอนกลับทดแทนปริมาณที่ขาดไปได้
    • หมายความว่าคุณต้องคอยจำว่าคุณนอนขาดไปกี่ชั่วโมง เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าคุณต้องการการนอนหลับมากน้อยเพียงใด
  3. ให้วันหยุดกับตัวเองเมื่อขาดการนอนหลับในระยะยาว. การนอนหลับไม่เพียงพอในระยะยาวอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือมากกว่านั้นที่จะใช้คืนและกลับมาสู้สภาวะปกติ [3]
    • ใช้วันหยุดโดยไม่มีกำหนดการทำอะไรเลย หลังจากนั้นให้เข้านอนเวลาเดิมกับทุกคืนที่ผ่านมา และตื่นเช้าทุกวันจนกว่าคุณจะตื่นเองโดยธรรมชาติ
    • อย่าฝืนตัวเองเพื่อนอนหลับให้มากๆ ในวันหยุด แค่นอนเผื่อส่วนที่ขาดไปและกลับมาสู้สภาวะปกติก็เพียงพอแล้ว
    • เมื่อคุณนอนทดแทนส่วนที่ขาดไปแล้วและเข้านอนเวลาเดิมทุกครั้ง คุณจะถึงจุดที่คุณไม่ต้องการนาฬิกาปลุกอีกต่อไปในตอนเช้า ซึ่งหมายความว่าคุณเข้านอนเร็วมากเพียงพอที่จะทำให้ร่างกายของคุณพักผ่อนได้เพียงพอ
    • หากคุณเข้านอนเร็ว แต่ยังรู้สึกเหนื่อยและมีปัญหากับการตื่นนอนในตอนเช้าอยู่ ให้พยายามเข้านอนเร็วขึ้นอีก ไม่ใช่ทุกคนที่จะนอนเท่าคนปกติทั่วไป คุณอาจต้องการนอนมากกว่านั้น หากการเข้านอนเร็วไม่ได้ช่วย ปรึกษาแพทย์
    • หากคุณได้พยายามนอนหลับทดแทนส่วนที่ขาดไปแล้วแต่ยังรู้สึกง่วงแหละเหนื่อยในระหว่างวัน คุณอาจมีปัญหาทางด้านสุขภาพหรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ให้นัดพบแพทย์เพื่อประเมินความอ่อนเพลียเหนื่อยล้าของคุณ
  4. หลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ. การเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มอาการที่เชื่อมโยงกับการนอนหลับไม่เพียงพอคือวิธีที่ดีในการตระหนักรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ [4]
    • จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยชิคาโก้โดยกลุ่มอาสาสมัครในหกวัน ที่นอนหลับเพียงวันละ 4 ชั่วโมง
    • หลังจากหกวันที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้เข้ารับการทดลองมีความดันโลหิตสูง มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่มีผลต่อความเครียดเพิ่มขึ้น สร้างแอนติบอดี้ต่อต้านไข้หวัดได้เพียงครึ่งเดียว และมีสัญญาณที่จะต่อต้านอินซูลินซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวานแบบที่สอง
    • กลุ่มอาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ในกลุ่มผู้เข้ารับการทดสอบการนอนหลับไม่เพียงพอรวมถึงการไม่มีสมาธิ ตัดสินใจช้า สายตาแย่ลง ความสามารถในการขับขี่ลดลง หงุดหงิดง่าย และมีปัญหาเรื่องความจำ
    • นักวิจัยยังประเมินว่ากลุ่มอาการเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นเมื่อนอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ จะทำให้เกิด โรคอ้วน ต่อต้านอินซูลิน หลอดเลือดในสมองแตก สูญเสียความทรงจำ และโรคหัวใจ
  5. ตระหนักถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ความต้องการการนอนหลับของคุณเปลี่ยนแปลง. บางครั้งความเครียดและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะเปลี่ยนความต้องการการนอนหลับให้มากขึ้น [5]
    • การตั้งครรภ์คือหนึ่งตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ทำให้ต้องการการนอนหลับมากขึ้น อย่างนอนก็ในช่วงสามเดือนแรก
    • เหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดการเสพติดการนอนหลับคือ การป่วย การบาดเจ็บ การใช้งานร่างกายอย่างหนัก ตกอยุ่ในสถานการณ์ที่ลำบากใจทางอารมณ์ และงานที่ต้องใช้ความคิดความรู้สึกมาก
    • ปล่อยให้ตัวเองงีบหลับหรือนอนเพิ่มขึ้นในตอนกลางคืนเพื่อชดเชยความเครียดที่ได้เกิดขึ้น
  6. ผู้เชี่ยวชาญมากมายเปิดเผยปริมาณการนอนหลับที่ต้องการแบ่งตามอายุ [6]
    • เมื่อเราอายุมากขึ้น จำนวนชั่วโมงที่ต้องการในแต่ละคืนก็จะลดลง แต่หากเป็นเด็กแรกเกิดจะนอนทุกที่ประมาณ 11 – 19 ชั่วโมงต่อหนึ่งวันและ 14-17 ชั่วโมงเป็นค่าเฉลี่ย สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปี จะนอนประมาณ 5-9 ชั่วโมงต่อคืน ด้วยค่าเฉลี่ยนประมาณ 7-8 ชั่วโมง
    • จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือหลายที่ รวมถึง National Sleep Foundation , ให้คำแนะนำการนอนหลับโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุ ข้อมูลรวมถึงจำนวนชั่วโมงที่แนะนำ จำนวนชั่วโมงที่เหมาะสม และบอกถึงจำนวนชั่วโมงที่ไม่แนะนำให้พักผ่อน
    • ต้องเข้าใจว่าแต่ละคนมีความแตกต่างและมีสาเหตุที่อาจทำให้เขาหรือเธอไม่อยู่ในระดับที่กำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผิดปกติ เช่น บางคนอาจใช้ยาหรือมีโรคที่ทำให้พวกเขาต้องนอนมากกว่าคำแนะนำ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ควบคุมนิสัยการนอนหลับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้บริเวณที่คุณนอนหลับสบายและผ่อนคลายเท่าที่จะทำได้ [7]
    • เริ่มด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ทำให้ห้องนอนสบายและมีอุณหภูมิต่ำ
    • ใช้ที่นอนของคุณในการนอนหลับและการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนกับกิจกรรมอื่นๆ เช่นการเรียน การอ่าน การเล่นเกมส์ การใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าจอ และดูภาพยนต์ในตอนกลางคืน
    • ต้องมั่นใจว่าห้องนอนของคุณเงียบเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนหลับ และมืดเท่าที่จะทำได้ คุณอาจต้องใช้หน้าต่างที่ปิดด้วยที่บังแสง และใช้ที่อุดหูหรือพัดลมเพื่อกันเสียงจากข้างนอก
    • ต้องมั่นใจว่าพรมและหมอนสบายและน่านอน หากคุณใช้เตียงร่วมกับผู้อื่น ต้องมั่นใจว่าเตียงมีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ทั้งสองคนนอนหลับอย่างสบาย
    • พยายามหลีกเลี่ยงการให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงนอนในเตียงเดียวกัน
    • หากคุณทำงานในกะที่สองหรือสาม ให้ทำตามคำแนะนำ และพยายามนอนและตื่นตามตารางให้ได้มากที่สุด
  2. การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้ร่างกายของคุณทำงานได้ดีขึ้นในทุกด้านด้วยถึงการนอนหลับด้วย แต่ก็มีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อทำให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น [8]
    • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักตอนกลางคืนและก่อนนอน และหลีกเลี่ยงการเข้านอนโดยที่ท้องหิว
    • จำกัดเครื่องดื่มในตอนเย็น เพื่อป้องกันการตื่นนอนกลางดึกเพื่อไปห้องน้ำ
    • จำกัดจำนวนคาเฟอีนในระหว่างวัน และพยายามหยุดดื่มคาเฟอีนก่อนบ่ายสองของทุกวัน
    • หยุดสูบบุหรี่ก่อนนอน สารนิโคตินทำหน้าที่กระตุ้นและทำให้คุณนอนไม่หลับ
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้กับเวลานอน เพราะการตอบสนองแรกของร่างกายต่อแอลกอฮอล์คือจะง่วง แต่หลายชั่วโมงต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสารกระตุ้นแทน ที่จะทำให้คุณมีปัญหาการนอนหลับ
  3. รวมถึงทุกอย่างตั้งแต่การออกกำลังกายระหว่างวันไปถึงการออกไปรับแสงแดดธรรมชาติ [9]
    • ออกกำลังกายแอโรบิคตามคำแนะนำ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ รักษากิจวัตรการออกกำลังกายของคุณในตอนกลางวันหรือตอนเย็น หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนเข้านอน
    • ความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการนอนหลับถูกวิจัยมาอย่างดีแล้ว การวิจัยพบว่าการออกกำลังแบบแอโรบิค เช่น การเดิน สามารถลดเวลาของแต่ละคนก่อนที่จะหลับได้เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย [10]
    • ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างในตอนกลางวัน แสงอาทิตย์ช่วยให้ร่างกายผลิตวิตามินและช่วยเรื่องวงจรการตื่นและนอนหลับ จำกัดการถูกแสงสว่างก่อนเวลาเข้านอน
    • หากคุณต้องการงีบหลับ อย่างีบหลับใกล้กับเวลาเข้านอน และพยายามกำหนดเวลานอนหลับประมาณ 20-30 นาที ในช่วงตอนกลางวัน
  4. วิธีนี้รวมถึงกิจกรรมที่ทำให้จิตใจของคุณออกห่างจากความเครียดแต่ละวัน [11]
    • บางคนชอบอ่านหนังสือ บางคนชอบทำงานฝีมือเช่น ทักนิตติ้ง หรือวาดรูป ลองอาบน้ำอุ่น หรือฟังเพลงที่ผ่อนคลาย หรือเสียงธรรมชาติ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ดีต่อคุณก็ดีทั้งนั้น หากเป็นไปได้ให้ลดแสงลงระหว่างช่วงเวลาการผ่อนคลายของคุณ
    • พัฒนาสิ่งที่ดีต่อสุขภาพระหว่างวันเพื่อลดความเครียด ให้ตัวเองพักระหว่างวันเพื่อผ่อนคลาย พูดถึงเรื่องที่สนุกสนาน และมีความสุขกับการหัวเราะกับเพื่อนฝูง ด้วยการจัดการความเครียดระหว่างวัน คุณกำลังกำจัดสิ่งที่จะมารบกวนคุณในช่วงเวลาก่อนนอน
  5. เข้านอนในเวลาเดิมทุกวันและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกเช้า รวมถึงวันหยุดด้วย [12]
    • ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน ลองพยายามจัดเวลานอนดู หากคุณมีปัญหากับการนอนหลับยากหลายคืนแล้ว คุณอาจต้องปรับเวลานอนของคุณ
    • บางคำแนะนำจะบอกว่าคุณไม่ควรเข้านอนจนกว่าจะรู้สึกง่วงหรือเหนื่อย ในขณะที่บางที่อาจบอกให้คุณเข้านอนตรงตามเวลา หากคุณรักษาตารางการนอนหลับเป็นอย่างดี คุณจะรู้สึกง่วงเมื่อถึงเตียงหรือเมื่อคุณทำให้ร่างกายผ่อนคลาย
    • หากคุณนอนไม่หลับภายใน 15 นาทีหลังจากเข้านอน ให้ลุกขึ้น การทำเช่นนี้จะทำให้คุณไม่กังวลเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับจากความเครียดของคุณ ลุกขึ้นและขยับตัวบ้างหรือทำอะไรที่ผ่อนคลายสักสองสามนาที หลังจากนั้นให้กลับไปนอนต่อ
    • หลีกเลี่ยงการมองนาฬิกา คิดเกี่ยวกับสิ่งดีๆ จากแต่ละวันของคุณ หรือกิจกรรมที่ผ่อนคลายที่คุณชอบ และพยายามอย่างคิดถึงการเข้านอน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรึกษาแพทย์หากคุณยังคงประสบความยากลำบากอยู่. อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีโรคที่แอบซ่อนอยู่ ที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ [13]
    • อาการโรคเหล่านี้อาจส่งผลให้คุณนอนหลับยาก ตัวอย่างของปัญหาอาจต้องได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา รวมถึงอาการเศร้าซึม โรคนอนไม่หลับ ADHD โรคไบโพลาร์ อาการนอนไม่เป็นเวลาอย่างรุนแรง และปัญหาเกี่ยวกับฝันร้ายหรือการรบกวนทางด้านอารมณ์อื่นๆ ที่ทำให้นอนไม่หลับ
    • ตัวอย่างของอาการต่างๆ อาจมีความเชื่อมโยงกับปัญหาการนอนหลับ รวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม อาหารเจ็บปวดเรื้อรัง อาการปวดเมื่อยขา COPD และอาการผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับการหายใจ ภูมิแพ้ ลมบ้าหมู อาการปวดกล้ามเนื้อ กลุ่มอาการความเมื่อยล้า และอาการเส้นเลือดตีบตัน
    • บางปัญหาการนอนหลับอาจเกิดจากความผิดปกติที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการนอนหลับ เช่น อาการผิดปกติกับวงจรการนอนหลับ ความผิดปกติของการนอนหลับที่คลาดเคลื่อน โรคลมหลับ โรคหลับง่าย ละเมอเดิน ละเมอพูด REM Sleep Disorders และการเปลี่ยนกะทำงาน
  2. ความผิดปกติในการนอนหลับสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบ ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความผิดปกติจากการนอนเอง [14]
    • กลุ่มอาการผิดปกติทางการนอนหลับรวมถึง อาการง่วงนอนระหว่างวัน เหนื่อยล้าง่าย หายใจไม่ปกติหรือมีการขยับขณะนอนหลับ นอนไม่หลับเมื่อเหนื่อยล้าหรือเมื่อถึงเวลานอน และความผิดปกติของพฤติกรรมการนอน ซึ่งรวมถึงการละเมอพูดและละเมอเดิน [15]
    • กลุ่มอาการเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพต่างๆ ที่ทำให้นอนหลับยากเกินกว่าบทความนี้จะอธิบายได้
    • ปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด มันไม่คุ้มกับสุขภาพของคุณที่เสียไปหากล่าช้า ที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับได้ แพทย์จะช่วยคุณตอบปัญหาต่างๆ เช่นเดียวกับให้การรักษาสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ
  3. การรักษาสามรรถทำให้เกิดอาการง่วงมากขึ้นและเหนื่อยล้าหรือปัญหาการนอนหลับให้เพียงพอได้ [16]
    • อย่าปรับเปลี่ยนการรักษาเอง หากคุณคิดว่าการรักษาทำให้หรือมีส่วนทำให้มีปัญหาด้านการนอนหลับ ปรึกษาแพทย์ ในหลายๆ กรณี ปริมาณยาสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือยาชนิดอื่นอาจสามารถนำมาทดแทนตัวยาที่ทำให้เกิดปัญหาได้
    • การรักษามากมายอาจทำให้เกิดความง่วงนอนเป็นผลข้างเคียง แต่รายการเหล่านั้นก็ยาวเกินกว่าจะมาเขียนได้ ทุกอย่างที่ระคายเคือง จนไปถึงยาลดความดัน ยาแก้ปวดสามารถทำให้ตื่นตัวและความง่วงได้ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชหากคุณคิดยาบางตัวของคุณส่งผลต่อการนอนหลับ
    • การรักษาอาจทำให้คุณนอนหลับได้ไม่ดีนัก ถึงแม้ว่ารายการจะสั้นกว่ารายการยาที่ทำให้ง่วงก็ตามแต่ก็ยังคงยาวเกินกว่าจะเขียนได้ อย่างไรก็ตาม ยามากมายสามารถทำให้ความสามารถในการนอนของคุณลดลง ปรึกษาแพทย์ของคุณหากคุณรู้สึกว่ายาที่กับทานทำให้คุณมีปัญหาการนอนหลับ
  4. หากคุณยังคงมีปัญหาการนอนหลับหรือการหลับอย่างต่อเนื่อง อาจมีปัญหาอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่นความซึมเศร้า หรือคุณอาจต้องการการจัดการการนอนหลับที่ดีกว่านี้ [17]
    • ยาบางตัวอาจหาซื้อได้ทั่วไป เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ควรทานแค่ในระยะสั้นเท่านั้น
    • หากปัญหาการนอนหลับของคุณยังคงมีต่อไป ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับใบสั่งยาเพื่อให้มั่นใจว่ายาเหล่านั้นใช้ได้ผลจริงๆ
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,166 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา