ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีใครหลายคนบอกว่าเราเห็นแก่ตัวหรือเปล่า ถ้าเรามักจะชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มักจะยืนกรานให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตนอยู่เสมอ และไม่อยากแบ่งปันอะไรหรือช่วยเหลือคนอื่นเลย แสดงว่าเราคงเป็นคนที่เห็นแก่ตัวไปเสียแล้ว ถึงแม้การลดความเห็นแก่ตัวอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายดายนัก แต่ก็มีอะไรสักสองสามอย่างที่เราทำได้เพื่อจะได้กลายเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ฝึกตนให้นึกถึงผู้อื่นมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เข้าร่วมสโมสรกีฬา หรือเข้าร่วมกลุ่มต้อนรับผู้มาอยู่อาศัยใหม่ หรือเข้าชมรมภาษาฝรั่งเศสหลังจากโรงเรียนเลิก ไม่ว่าเราจะเลือกทำกิจกรรมอะไรก็ตาม การได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจะช่วยให้เราเห็นว่าการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นสำคัญ และความต้องการของแต่ละคนในกลุ่มต้องปรับให้สมดุลกันเพื่อความสำเร็จ การไม่เห็นแก่ตัวจึงเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของการทำงานเป็นทีม ฉะนั้นการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ จึงช่วยฝึกให้เรารู้จักใจกว้างและมีความยุติธรรม การสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดียังเป็นทักษะที่สำคัญต่อการทำงานทุกอาชีพ [1]
    • การเป็นส่วนหนึ่งของทีมจะยากลำบากขึ้น ถ้าเราเอาความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจความต้องการของคนอื่น คนในทีมอาจหาว่าเราเห็นแก่ตัวได้ และความเห็นแก่ตัวนี้จะทำให้ทุกคนในทีมเดือดร้อน
  2. ความเห็นอกเห็นใจหมายถึงเข้าใจ หรือมีความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้อื่น หรือ “เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา” การรู้จักเห็นใจเป็นทักษะที่สามารถฝึกจนเป็นนิสัยและสามารถช่วยเราลดความเห็นแก่ตัวลงไปได้ พยายามทำความเข้าใจความคิดของผู้อื่นและละวางความต้องการของตนเองไว้ก่อน ถ้าทำได้สำเร็จ เราก็จะกลายเป็นคนที่ใจกว้างและเข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น [2] ขอแนะนำวิธีฝึกตนเองให้เห็นใจคนอื่นดังนี้ [3]
    • ถามสารทุกข์สุกดิบของผู้อื่นบ้าง แทนที่จะตั้งแง่หรือโกรธเคืองที่คนอื่นทำอะไรบางอย่างไม่ถูกใจเรา ให้ถามคนคนนั้นไปว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขาหรือเปล่า จงเอาใจใส่ ห่วงใยและรับฟังเรื่องราวของคนอื่นก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจความคิดของเขา
    • นึกหาสาเหตุอันน่าเห็นใจในการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ของผู้อื่น ถ้าเรายืนต่อหลังหญิงชราคนหนึ่งและเธอคนนั้นใช้เวลาจ่ายค่าที่พักนาน พยายามอย่าเพิ่งตัดสินและหงุดหงิดกับการกระทำของคุณยาย เธอคนนั้นอาจมีชีวิตอยู่ตัวคนเดียวมาโดยตลอด และสาเหตุที่คุณยายพูดคุยกับพนักงานเก็บเงินนานไปนิดเพราะเธอไม่ค่อยได้พูดคุยกับคนอื่นมากนัก ถึงแม้นี้ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงซึ่งทำให้คุณยายทำธุระนาน แต่ก็ช่วยให้เรารู้สึกเห็นใจคนอื่นขึ้นมาบ้างแล้ว
  3. ถ้าเรามักจะเป็นคนที่นึกถึงตนเองก่อนเสมอ อยากได้อะไร ก็ต้องได้ แสดงว่าเราต้องเริ่มละวางความต้องการของตนลงและหันมาใส่ใจกับความต้องการของคนรอบข้างบ้างแล้ว เริ่มนึกถึงความต้องการของลูกๆ เพื่อนๆ หรือคู่ชีวิต ถึงแม้สิ่งที่คนอื่นต้องการอาจไม่ตรงกับความต้องการของเราก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น ให้ลองคิดสิว่าอะไรทำให้คนอื่นมีความสุขแทนที่จะคิดว่าอะไรทำให้ “เรา”พอใจ พยายามหาทางรอมชอม หรือพยายามละวางความต้องการของตนเอง
    • ระลึกไว้ว่าทุกคนต่างก็มีความต้องการ ความอยาก และความปรารถนาของตนเช่นเดียวกับเรา
    • ถ้าคู่ชีวิตอยากไปดูการแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญของทีมโปรดมากจริงๆ แต่ตัวเรานั้นอยากไปดูหนัง ก็ให้ตามใจคู่ชีวิตของเราบ้าง ไปดูการแข่งขันกีฬาเป็นเพื่อนเขาเถอะ
  4. ถ้าเราพบว่าตนเองได้รับประโยชน์หรือคอยให้ผู้อื่นทำอะไรให้ตลอด เช่น ขอให้เพื่อนขับรถไปส่งบ้านอยู่เป็นประจำ หรือไปขอใครก็ตามช่วยเหลือเราให้ได้งานทำ ตอนนี้ได้เวลาขอบคุณพวกเขาเหล่านั้นเสียที เมื่อมีใครช่วยเหลือหรือมีน้ำใจต่อเรา จงแสดงการขอบคุณคนคนนั้นด้วย ไม่ว่าจะพูดว่า “ขอบคุณ” ส่งข้อความ หรือให้ของขวัญแสดงการขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ ให้คนที่ช่วยเหลือเรารู้ว้าเราซาบซึ้งใจจริงๆ ที่พวกเขาอุตส่าห์สละเวลาของตนเองเพื่อมาช่วยเหลือเรา
    • พยายามทำคุณประโยชน์แก่ผู้คนรอบข้าง หรือคนแปลกหน้า โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แสดงความมีน้ำใจอย่างแท้จริงโดยไม่หวังรางวัลหรือคำชมใดๆ [4]
  5. ลองหาหนทางที่จะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งต่างได้สิ่งที่ตนเองต้องการ การรู้จักรอมชอมเป็นทักษะที่ไม่เพียงแค่ช่วยเรารักษามิตรภาพและความสัมพันธ์เอาไว้ได้เท่านั้น ยังทำให้เราประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจด้วย [5]
    • เมื่อเราพยายามแก้ปัญหา ให้คิดสิว่าความต้องการของใครสำคัญกว่ากัน ถ้าเราและแฟนกำลังเลือกหนังกันอยู่ และแฟนอยากดูหนังเรื่องหนึ่งมากๆ เลย แต่ตอนนั้นเราเป็นคนที่ดูหนังเรื่องไหนก็ได้ ขอให้ได้ดูก็พอใจแล้ว ถ้าอย่างนั้นจงตามใจแฟน ดูหนังที่เขาหรือเธออยากดูเถอะ
    • ถ้าเราเห็นว่าถึงแม้ไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ ตนเองก็ไม่เดือดร้อนอะไรมากมาย ก็ให้ยอมทำตามความต้องการของผู้อื่น ถ้าหากคราวหน้าเรามีบางสิ่งที่ต้องการมากจริงๆ ก็ถึงตาเราแล้วที่ควรจะได้ จะได้ไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกันโดยไม่จำเป็น
    • ก่อนที่จะตกลงอะไรร่วมกัน ต้องให้เวลาทุกคนแสดงความความเห็นด้วย เราจะได้รู้ว่าสิ่งที่ทุกคนต้องการร่วมกันคืออะไรก่อนตัดสินใจ
  6. ให้เพื่อนยืมชุดราตรีตัวโปรดไปงานเลี้ยงอาหารค่ำ ถ้าเพื่อนลืมนำอาหารกลางวันมากิน ก็ให้แบ่งอาหารกลางวันของเราให้เขาไป ให้แฟนยืมเครื่องเสียง เมื่อเขาขอยืมใช้งาน
    • ฝึกตนเองให้รู้จักแบ่งปันสิ่งของที่แสนจะหวงแหนให้ผู้อื่นบ้าง การแบ่งปันแบบนี้จะแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าพวกเขามีความสำคัญสำหรับเราและจะทำให้เราเป็นผู้ให้ได้ง่ายขึ้น สุดท้ายเราก็จะเปลี่ยนแปลงตนเองจากคนที่เห็นแก่ตัวเป็นคนที่เห็นแก่ส่วนรวม
  7. สละเวลาเป็นอาสาสมัครทำประโยชน์ให้ชุมชน ไม่ว่าจะทำงานอาสาสมัครผ่านสถานศึกษา การทำงาน กิจกรรมต่างๆ เราอาจช่วยงานห้องสมุดที่โรงเรียน ทำความสะอาดสนามเด็กเล่น ทำอาหารแจกคนที่โรงทาน หรือสละเวลาสอนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้อ่านออกเขียนได้ การทำงานอาสาสมัครจะทำให้โลกของเรากว้างขึ้นเพราะได้เห็นผู้คนที่มีชีวิตยากลำบากกว่าตนและรู้จักวิธีช่วยเหลือคนอื่น การเป็นอาสาสมัครจะทำให้เรารู้ว่าตนเองโชคดีมากแค่ไหน เมื่อได้เห็นแล้วว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะโชคดีและมีทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเรา
    • ตั้งเป้าหมายทำงานอาสาสมัครอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และเราจะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เป็นมิตรที่ดีต่อผู้คนรอบข้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราอยากหยุดเห็นแก่ตัวเสียที เราต้องรู้จักฟังผู้อื่นเสียบ้าง และการรู้จักฟังนี้หมายถึงเราควรตั้งใจฟังจริงๆ ไม่ใช่แค่พยักหน้า และพูดว่า “อา อืม” จนกระทั่งถึงตาเราพูด การฟังหมายถึงการซึมซับสิ่งที่ผู้พูดพูด จดจำอะไรที่เขาพูด และทำความเข้าใจปัญหาที่เขาบอก ไม่ว่าผู้พูดนั้นจะเป็นเพื่อน คู่ชีวิต และเพื่อนร่วมงาน การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้พูดแสดงความรู้สึกออกมาจะช่วยเราให้เข้าใจพวกเขาได้มากขึ้น [6]
    • เวลาผู้พูดพูด อย่าพูดแทรก
    • หลังจากผู้พูดเล่าจบแล้ว ให้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ ในเรื่องที่เขาพูดเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังจริงๆ และเห็นความสำคัญของเรื่องที่ผู้พูดกล่าว
    • ถ้าเพื่อนมีปัญหา อย่าเอาปัญหาของเพื่อนมาเปรียบเทียบกับปัญหาของเราทันที เพราะเราจะอ้างว่าปัญหาของเรานั้น “หนักกว่า” ของเพื่อนอีก ให้มองปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป และให้คำแนะนำที่น่าจะช่วยแก้ปัญหานั้นได้โดยไม่เอาปัญหานั้นมาเป็นเรื่องของเรา อาจพูดเช่นว่า “ฉันเคยพบเจอปัญหาคล้ายกันนี้มาก่อน และใช้วิธีนี้แก้ปัญหาแล้วก็ได้ผล เธอคิดว่าวิธีนี้อาจใช้แก้ปัญหาของเธอได้ไหม”
  2. ถึงแม้การให้เพื่อนลองเลือกกิจกรรมที่อยากทำร่วมกันนั้นเป็นวิธีการเล็กๆ ที่เรียบง่ายแต่ก็สามารถรักษามิตรภาพให้ยั่งยืนมากขึ้นได้ เพื่อนที่ดีต้องเป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุน การร่วมทำกิจกรรมที่เพื่อนของเราอยากทำบ้างก็เป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนอย่างหนึ่ง [7] คราวหน้าเมื่อเรากับเพื่อนได้ใช้เวลาร่วมกัน ลองให้เพื่อนเป็นคนเลือกหนัง สถานที่กินข้าว ร้านเครื่องดื่ม หรือกิจกรรมที่จะทำร่วมกันดู
    • พอเราทำแบบนี้จนชิน ก็จะเห็นว่าตนเองอิ่มใจแค่ไหนที่เห็นคนที่เรารักมีความสุข
    • ให้สลับกันหากิจกรรมทำแต่ละสัปดาห์ ให้เพื่อนเลือกกิจกรรมที่จะทำร่วมกันสัปดาห์นี้และเราเลือกกิจกรรมที่จะทำร่วมกันสัปดาห์หน้า
  3. ไปที่ตลาด ซื้อของมาทำอาหารเมนูที่เพื่อนชอบ ใช้เวลาทำอาหารแสนอร่อยอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และตั้งโต๊ะ การทำอาหารให้เพื่อนกินต้องใช้เวลา เงิน และความพยายาม แต่เราก็จะได้เห็นว่าการทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นนั้นทำให้เรารู้สึกดีมากแค่ไหน [8] และจะยิ่งดีเข้าไปใหญ่เลย ถ้าเราทำสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น ในตอนที่เขาเหนื่อยล้า หมดแรงและต้องการอะไรสักอย่างมาช่วยให้กำลังใจ
    • ให้เพื่อนเอาแค่เครื่องดื่มมาก็พอ ส่วนเรื่องอาหารการกินเราจะเป็นคนจัดการเอง
    • ถ้าเราค้นพบตนเองว่าชอบทำอาหารให้คนอื่นกิน เราอาจเริ่มอบคุกกี้หรือทำไก่ตุ๋น แล้วแวะเอาไปให้เพื่อนตอนเย็นก็ได้
  4. การให้คำแนะนำที่ดี จริงใจ และเป็นประโยชน์แก่เพื่อนจะช่วยให้เรารู้สึกภูมิใจที่สามารถช่วยเหลือเขาได้และลดความเห็นแก่ตัวของตนลง เราไม่จำเป็นต้องให้สิ่งที่จับต้องได้แก่ผู้อื่น บางครั้งสิ่งที่เราสามารถทำได้ดีที่สุดคือช่วยเพื่อนแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่บอกเรื่องที่เพื่อนอยากได้ยินเท่านั้น แต่ควรให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ นำไปใช้ได้จริงและสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเพื่อนให้ดีขึ้นได้ด้วย
    • การให้คำแนะนำดีๆ แก่เพื่อนอาจยังช่วยให้เราได้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเพื่อนแทนที่จะนึกถึงแต่ความต้องการที่แท้จริงของ “เรา”
  5. การหยุดเรื่องนี้พูดง่ายกว่าทำ ถึงแม้การเห็นแก่ตัวและสนใจแต่เรื่องของตนเองนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ก็ไปในทิศทางเดียวกัน ฉะนั้นอย่าเอาแต่พูดเรื่องของตนเอง เมื่ออยู่กับเพื่อน พูดคุยถามสารทุกข์สุกดิบเพื่อน พูดคุยถึงคนอื่นที่เรารู้จัก หรือเรื่องอื่นๆ
    • ถ้าเพื่อนมาปรึกษาปัญหาและเราเคยพบปัญหาเดียวกันนี้ จะพูดคุยเรื่องตนเองสักนิดหน่อยนั้นไม่เป็นไร เพราะต้องใช้เรื่องของตนเองบอกให้เพื่อนรู้ว่าเราผ่านปัญหาเดียวกับเขามาได้อย่างไร และถ้าเป้าหมายของเราอยู่ที่การแสดงความเห็นใจเพื่อน ก็พูดไปเถอะ หลังจากพูดเรื่องของตนเองจบแล้ว ให้เปลี่ยนไปพูดเรื่องที่เพื่อนของเราสามารถพูดคุยกับเราต่อได้
  6. ถ้าเราไม่เคยทำมาก่อน ก็ควรฝึกถามจนเป็นนิสัย คราวหน้าถ้าได้พูดคุยกับเพื่อน ให้ถามเพื่อนว่าสบายดีไหม รู้สึกอย่างไร การทำงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง หรือมีแผนอยากทำอะไรบ้างในสัปดาห์หน้า [9] อย่าเปลี่ยนเรื่องเร็ว “เกินไป”และอย่าระดมคำถามต่างๆ เลยทันที ให้ค่อยๆ ถามเรื่องต่างๆ จากพวกเขาและค่อยถามถึงแผนการในอนาคต
    • แสดงความสนใจในความเป็นไปของผู้อื่นจะทำให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
    • นี้ไม่ใช่เรื่องลึกซึ้งอะไร เราควรถามสารทุกข์สุกดิบของเพื่อนอยู่แล้ว เพราะเราเป็นเพื่อนและสนใจความเป็นไปของเขา
  7. อย่าช่วยเหลือผู้อื่นเพราะวางอุบายเพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการในภายหลัง ให้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยใจ ไม่ว่าจะช่วยเหลือเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ตั้งแต่เอากาแฟไปให้เพื่อนระหว่างที่นั่งติวหนังสือกันถึงสามชั่วโมง โดยที่เราช่วยอธิบายเรื่องสมการเคมีให้เพื่อนฟัง ถ้าเห็นว่าเพื่อนต้องการความช่วยเหลือจริงๆ แต่ไม่กล้าขอ เราก็ควรอาสาให้ความช่วยเหลือเพื่อนโดยที่เขาไม่ต้องร้องขอ [10]
    • บางครั้งเราสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ ถึงแม้เพื่อนคนนั้นไม่ต้องการเลยก็ตาม เพราะเราต้องการช่วย หรือเห็นว่ามีบางสิ่งที่เราสามารถทำให้เพื่อนได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

แสดงการขอบคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนรายการสิ่งที่เราอยากขอบคุณเดือนละครั้ง. ให้กำหนดสักวันในเดือนหนึ่ง ให้เวลาตนเองสิบห้านาทีเขียนทุกสิ่งที่เราอยากขอบคุณ เขียนให้ได้อย่างน้อยสิบอย่าง ให้เก็บสิ่งที่เขียนไว้และเขียนเพิ่มทุกเดือน สิ่งที่เราเขียนจะคอยเตือนว่าชีวิตเรานั้นมีความสุขสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว และคิดถึงบุคคลที่เราอยากขอบคุณในชีวิต จากนั้นก็ออกไปและ “บอก” พวกเขาเสียเลย
  2. การให้ของขวัญเพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือคู่ชีวิตในวันเกิดของบุคคลเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดียิ่งกว่าและเหมาะสมกว่าคือ เราให้ของขวัญบุคคลเหล่านั้น เพราะอยากแสดงการขอบคุณพวกเขา การให้ของขวัญแสดงการขอบคุณจะทำให้ผู้ให้และผู้รับมีความสุข [11]
    • ของขวัญที่ให้ไม่จำเป็นต้องแพงหรือใหม่เอี่ยมอ่อง อาจเป็นของที่ระลึก หนังสือเก่า หรือเครื่องประดับสักชิ้น สิ่งที่สำคัญคือแสดงให้เพื่อนของเรารู้ว่าเรานั้นซาบซึ้งใจและอยากขอบคุณเขา ราคาของขวัญนั้นสำคัญน้อยกว่า
  3. นี้ก็เป็นการแสดงการขอบคุณวิธีหนึ่ง การให้เสื้อเชิ้ตเก่าๆ ที่เราไม่ใช้แล้วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การให้เสื้อสเวตเตอร์ตัวโปรดแก่น้องสาวหรือเพื่อนที่แสนดีเป็นอีกเรื่อง ถ้าเรามีของที่หวงแหนแต่ไม่ได้ใช้งานเลย นำของนั้นให้คนที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ถึงแม้นี้จะเป็นของที่มีความหมายกับเรามากก็ตาม การให้แบบนี้สามารถส่งต่อไปได้เรื่อยๆ แล้วจะเห็นว่าการให้ของเรานั้นมีค่าเกินกว่าตัวสิ่งของเองเสียอีก! [12]
    • การฝึกตนเองให้สิ่งของต่างๆ ที่เราหวงแหนจะลดความเห็นแก่ตัวของเราลง และเราจะยึดติดกับสิ่งของน้อยลง
  4. ลองเดินหรือวิ่งในสวนสาธารณะ เดินเล่นไปตามชายหาด ให้เราได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แวดล้อมไปด้วยความงดงาม และจดจ่ออยู่กับช่วงเวลานั้น การดื่มด่ำกับความงดงามของธรรมชาติจะทำให้เรารู้สึกพอใจกับสิ่งที่มีและอยากให้ผู้อื่นมากขึ้น [13]
    • การอยู่กับธรรมชาติช่วยเราให้มองอะไรได้ชัดเจนขึ้น แต่ก็ต้องเลือกสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมด้วย ถ้าหากเราไปยืนอยู่ท่ามกลางน้ำตกที่ไหลเทลงมาอย่างรุนแรง เราก็อาจตั้งสมาธิคิดใคร่ครวญและมองเห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆ ได้ยากขึ้น
  5. เมื่อใครทำสิ่งดีๆ ให้เราและช่วยเหลือเรา ให้ส่งการ์ดไปขอบคุณคนคนนั้น ต้องบอกให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมีค่าสำหรับเรามากแค่ไหน การส่งการ์ดขอบคุณไม่จำเป็นต้องส่งไปให้เฉพาะครู เพื่อนร่วมงาน หรืออาจารย์ จะส่งให้เพื่อนสนิทและเพื่อนรักของเราด้วยก็ได้เพื่อแสดงให้พวกเขารู้ว่าเราเห็นคุณค่าสิ่งที่พวกเขาทำและอยากขอบคุณ
    • ซื้อการ์ดขอบคุณมาสักสิบใบ วางเป้าหมายส่งการ์ดให้บุคคลต่างๆ จนครบ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จงดีใจที่เรามีโอกาสได้ช่วยเหลือคนที่ลำบากกว่าเรา คิดถึงพวกเขาไว้ และเราจะรู้ว่าตนเองโชคดีมากแค่ไหน
  • ลองนึกภาพว่าจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเราหิวเหลือเกินแต่กลับไม่มีเงินไว้ซื้อข้าวกินเลย หรือถ้าเราเดินทางร่อนเร่ไปโดยไม่มีอาหารพกติดตัวเลยนอกจากน้ำที่ดื่มได้อย่างน้อยแค่ 3 วัน คงจะรู้สึกทุกข์ทรมานมากทีเดียว เพราะฉะนั้นให้เริ่มลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อดอยากและยากไร้ เช่น อาสาเป็นแม่ครัวที่โรงทาน บริจาคเงิน หรือนำสิ่งของและเสื้อผ้าซึ่งอยู่ในสภาพดีไปบริจาคแก่ผู้ที่ขาดแคลนก็ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังอย่าช่วยเหลือผู้อื่นมากจนตนเองเดือดร้อน หรือทำให้ผู้อื่นเห็นว่าสามารถเอาเปรียบเราได้ จงเข้มแข็งและรู้จักปกป้องตนเองบ้าง ขณะเดียวกันก็อย่าลืมและหาโอกาสสละเวลา ให้สิ่งของที่มีประโยชน์ และความรักกับคนที่ดีกับเราและไว้ใจได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,438 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา