ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ให้คุณเอง คุณลบไฟล์และโปรแกรมต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ในคอมได้ง่ายๆ แค่รีเซ็ตคอมกลับค่าโรงงาน (factory settings) หรือถ้าอยากให้กู้คืนข้อมูลได้ในภายหลัง ก็ต้องลบข้อมูลให้ถูกวิธี ถ้าใช้ Mac แบบ Solid State Drive (SSD) แค่รีเซ็ตคอมก็ล้างข้อมูลในไดรฟ์ได้แล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

รีเซ็ตคอมพิวเตอร์ Windows

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ที่เป็น tab ทางซ้ายของหน้าต่าง
  2. ทางด้านบนของหน้าต่าง ล่างหัวข้อ "Reset this PC" พอดี แล้วหน้าต่าง pop-up จะโผล่มา
  3. ที่เป็นตัวเลือกในหน้าต่าง pop-up จากนั้นเลือก Remove everything เพื่อให้แน่ใจว่าล้างหมดจดทุกไฟล์ โปรแกรม และ settings
  4. ในหน้าถัดไป เป็นตัวเลือกที่ทำให้แน่ใจได้ว่า Windows จะลบทุกโปรแกรม ไฟล์ และ custom setting แต่ไม่ลบระบบปฏิบัติการไปด้วย
    • ถ้าอยากทำ deep system reset ให้เลือก Remove my files and clean my drive แทน เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาล้างเครื่องหลายชั่วโมง แถมต้องลง Windows ใหม่ด้วยหลังเสร็จสิ้น
  5. ทางด้านล่างของหน้าต่าง พอคลิก Reset แล้ว คอมจะเริ่มลบไฟล์ พอล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์เสร็จแล้ว ก็จะเจอหน้า setup สำหรับล็อกอิน Windows ในฐานะผู้ใช้ใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ลบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ Windows

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะลบข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมได้อย่างปลอดภัย ต้องไรท์โปรแกรม "DBAN" ลงแผ่น DVD เปล่า หรือไดรฟ์ USB ซะก่อน
    • ต้องเช็คด้วยว่าไดรฟ์อ่านแผ่นของคอม ไรท์แผ่นได้หรือเปล่า โดยมองหาโลโก้ "DVD" ข้างๆ หรือที่ถาดใส่แผ่น
    • ถ้าไดรฟ์อ่านแผ่นไรท์แผ่น DVD ไม่ได้ ให้ใช้ไดรฟ์ external (USB) ที่ไรท์แผ่น DVD ได้
  2. เข้าเว็บ https://dban.org/ แล้วคลิก Download DBAN ที่มุมขวาบนของหน้าต่าง เพื่อเริ่มดาวน์โหลดไฟล์ image หรือไฟล์ ISO ของ DBAN ลงคอม
    • อันนี้แล้วแต่ settings ของเบราว์เซอร์ อาจจะต้องยืนยันการดาวน์โหลด หรือเลือกตำแหน่งที่จะเซฟไฟล์ก่อน ถึงจะเริ่มดาวน์โหลดได้
  3. ไรท์ DBAN ลงแผ่น DVD . พอดาวน์โหลด DBAN เสร็จแล้ว ก็ใช้โปรแกรม "This PC" ในคอม ไรท์ไฟล์ ISO ของ DBAN ลงแผ่น DVD ได้เลย
    • เช็คให้ชัวร์ว่าแผ่น DVD ที่มีไฟล์ DBAN อยู่ในคอมตอนไรท์เสร็จ
    • ถ้าใช้ไดรฟ์ USB ก็ให้ใส่ไฟล์ ISO ของ DBAN ในไดรฟ์ USB แทน แล้วเสียบไดรฟ์ทิ้งไว้ที่คอม
  4. พอคลิก Restart แล้ว ให้รีบกด BIOS key (ปุ่มเข้า BIOS ของคอม) รัวๆ ปกติปุ่มที่ว่าจะเป็น Del หรือปุ่มตระกูล "F" ทั้งหลาย (เช่น F2 ) จริงๆ แล้วคุณเช็คปุ่มที่ต้องกดได้ โดยอ่านคู่มือคอมในเว็บ
    • ถ้าเข้า BIOS ไม่ทัน ก็ต้องรีสตาร์ทแล้วลองกดปุ่มใหม่อีกรอบ
  5. คอมส่วนใหญ่ให้กดปุ่มลูกศรเพื่อเลือก tab "Advanced" หรือ "Boot"
    • BIOS บางรุ่นจะมีตัวเลือก boot order (ลำดับอุปกรณ์ที่ใช้บูทเครื่อง) ในหน้าแรกที่โผล่มา
  6. จะเขียนว่า "CD Drive" หรือ "Disk Drive" (หรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียง) ก็ให้ใช้ปุ่มลูกศรเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมตามเดิม
  7. ขยับไดรฟ์ไปที่ด้านบนสุดของรายชื่ออุปกรณ์ที่ใช้บูทเครื่อง. ถ้าเลือก "CD Drive" (หรืออะไรที่ใกล้เคียง) ไว้แล้ว ให้กดปุ่ม + จนตัวเลือกนี้เลื่อนขึ้นไปอยู่ด้านบนสุดของรายการอุปกรณ์ที่ใช้บูท
    • ถ้าไม่ได้ผล ให้เช็ค key legend ทางขวา (หรือทางด้านล่าง) ของหน้าจอ เพื่อดูว่าต้องกดปุ่มไหนถึงจะเลื่อนตัวเลือกขึ้นไปได้
  8. หน้า BIOS ส่วนใหญ่จะมีปุ่มที่ต้องกด โดยเช็ค key legend ในหน้าจอ จะมีปุ่มที่ต้องกดเขียนไว้
    • คอมบางเครื่อง ต้องกดอีกปุ่มเพื่อยืนยันค่าใหม่ตอนที่ขึ้น
  9. พอหน้าเมนูของ DBAN โผล่มา ให้กด J หรือ K เพื่อขยับตัวเลือกขึ้นหรือลง แล้วกด Space หลังเลือกฮาร์ดไดรฟ์ของคอมแล้ว
    • เช็ค key legend ทางด้านล่างของหน้าจอ DBAN เพื่อยืนยันปุ่มที่ใช้ขยับและเลือก
    • ถ้ามีหลายฮาร์ดไดรฟ์ (หรือหลายพาร์ทิชั่น) ที่อยากลบข้อมูล ให้เลือกจนครบ
  10. กด F10 (หรือปุ่มที่ขึ้นใน legend) เพื่อเริ่มลบข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ ขั้นตอนนี้อย่างต่ำก็ใช้เวลาหลายชั่วโมง เพราะงั้นต้องเสียบปลั๊กคอมไว้ ห้ามไฟดับเด็ดขาด
  11. พอมีโฆษณา Blancco โผล่มาในหน้าจอ ก็ eject แผ่น DVD ที่มี DBAN ได้เลย เพราะแปลว่าล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์แล้วเรียบร้อย
    • ถ้าจะลงระบบปฏิบัติการใหม่ในคอม ก็ให้เอาแผ่น DBAN ออก แล้วใส่แผ่นติดตั้งระบบปฏิบัติการเข้าไปแทน จากนั้นทำตามขั้นตอนในหน้าจอ เสร็จแล้วอาจจะต้องรีสตาร์ทด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รีเซ็ตเครื่อง Mac

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คลิกโลโก้ Apple มุมซ้ายบนของหน้าจอ แล้วเมนูจะขยายลงมา
    • ถ้า Mac ใช้ solid state drive แค่รีเซ็ตคอมก็ล้างข้อมูลได้ทั้งเครื่อง ไม่เหมือนฮาร์ดไดรฟ์ปกติ
  2. ทางด้านล่างของเมนูที่ขยายลงมา
  3. เพื่อรีสตาร์ท Mac
  4. พอ Mac เริ่มรีสตาร์ทแล้ว ให้รีบกดปุ่ม Command กับ R ค้างไว้พร้อมกัน พอหน้าต่าง "Utilities" โผล่มาค่อยปล่อยมือ
  5. ที่เป็นไอคอนฮาร์ดไดรฟ์สีเทา มีหูฟังคุณหมอที่ด้านบน
  6. ที่มุมขวาล่างของหน้าต่าง
  7. คลิก HDD หรือ SSD ล่างหัวข้อ "Internal" มุมซ้ายบนของหน้าต่าง
  8. ที่เป็น tab ทางด้านบนของหน้าต่าง แล้วหน้าต่าง pop-up จะโผล่มา
  9. ทางขวาของหน้า แล้วเมนูจะขยายลงมา
  10. ในเมนูที่ขยายลงมา
  11. ที่เป็นตัวเลือกมุมขวาล่างของหน้าต่าง เพื่อให้ Mac เริ่มลบข้อมูล
    • ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาสักพัก เพราะงั้นถ้าต้องใช้คอมในอีก 2 - 3 ชั่วโมงข้างหน้า ก็อย่าเพิ่งรีเซ็ต
  12. เท่านี้ก็ล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ของ Mac เรียบร้อย
    • ถ้าจะลงระบบปฏิบัติการใหม่ ให้ออกจาก Disk Utility คลิก Reinstall macOS แล้วคลิก Continue อย่าลืมต่อเน็ตก่อน ถึงจะดาวน์โหลด macOS ได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ลบข้อมูลในเครื่อง Mac

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คลิกโลโก้ Apple มุมซ้ายบนของหน้าจอ แล้วเมนูจะขยายลงมา
    • ถ้า Mac ใช้ SSD จะลบข้อมูลในไดรฟ์ไม่ได้ แบบนี้ต้อง รีเซ็ต Mac แทน
  2. ทางด้านล่างของเมนูที่ขยายลงมา
  3. แล้ว Mac จะรีสตาร์ท
  4. พอ Mac เริ่มรีสตาร์ท ให้กด Command กับ R ค้างไว้พร้อมกัน พอหน้าต่าง "Utilities" โผล่มาก็ปล่อยมือได้
  5. ที่เป็นไอคอนฮาร์ดไดรฟ์สีเทา มีรูปหูฟังคุณหมอด้านบน
  6. ที่มุมขวาล่างของหน้าต่าง
  7. คลิกตัวเลือก HDD ล่างหัวข้อ "Internal" ทางซ้ายของหน้า
  8. ที่เป็น tab ทางด้านบนของหน้าต่าง แล้วหน้าต่าง pop-up จะโผล่มา
  9. ปกติจะอยู่ทางด้านล่างของหน้าต่าง
  10. คลิกแล้วลากแถบเลื่อนไปทางขวาสุด เพื่อเลือก "Most Secure" ตัวเลือกนี้ใช้ overwrite หรือเซฟข้อมูลว่างทับข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ของ Mac 7 ครั้งติดกัน
  11. ที่มุมขวาล่างของหน้าต่าง
  12. ที่ด้านขวาล่างของหน้าต่าง แล้วฮาร์ดไดรฟ์จะเริ่มลบข้อมูล
    • ปกติตัวเลือก "Most Secure" จะใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะเสร็จ เพราะงั้นแนะนำให้ล้างข้อมูลทิ้งไว้ก่อนนอนหรือก่อนไปทำงาน
  13. เท่านี้ฮาร์ดไดรฟ์ของ Mac ก็จะว่างเปล่า แบบที่กู้คืนกลับมาแทบไม่ได้หรือไม่ได้เลย
    • ถ้าจะลงระบบปฏิบัติการเดิมที่ติดมากับ Mac ใหม่อีกรอบ ให้ปิด Disk Utility เลือก Reinstall macOS แล้วคลิก Continue โดยต่อเน็ตก่อนถึงจะลงระบบปฏิบัติการได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าจะรีไซเคิลคอมตัวเอง ไม่คิดจะใช้ต่อ แนะนำให้ทุบทำลายตัวฮาร์ดไดรฟ์จริงๆ ไปเลย จะใช้ค้อนหรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะเป็นทางเดียวที่จะแน่ใจได้ว่าคนอื่นจะไม่มากู้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมด
โฆษณา

คำเตือน

  • ล้างข้อมูลในคอมแล้วกู้คืนไม่ได้อีก เพราะงั้นต้องแน่ใจก่อนว่า backup ข้อมูลไว้ปลอดภัยแล้ว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,866 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา