ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้ากำลังมองหาสีน้ำมันที่มีคุณภาพและให้สีสันสดใสเพื่อนำมาใช้ในการวาดภาพโดยไม่เสียเงินหรือเวลามาก การใช้สีอะคริลิกก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด การเลือกใช้สีอะคริลิกมาวาดภาพนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังทำให้เราผลิตงานศิลปะของตนได้เองที่บ้านและสามารถนำมาแสดงให้เพื่อนๆ ได้ชื่นชมอีกด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมอุปกรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    เลือกซื้อสีอะคริลิก. สีอะคริลิกมีหลายสิบยี่ห้อและวางขายในรูปแบบหลอดหรือกระปุก วิธีการเลือกซื้อสีอะคริลิกนั้นหาตัวอย่างได้ยาก สีอะคริลิกที่มีราคาแพงและเราอาจต้องเสียเงินซื้อเยอะหน่อย เช่น ยี่ห้อ Golden หรือ Liquitex สีอะคริลิกที่มีราคาถูกจะมีสีไม่เข้มเท่าสีอะคริลิกที่มีราคาแพง ฉะนั้นจึงต้องระบายสีทับสักสองสามครั้งถึงจะได้สีสันที่สดใสเท่ากับสีราคาแพงซึ่งระบายครั้งเดียวก็ได้สีสันที่สดใสแล้ว
    • เริ่มต้นจากซื้อสีพื้นฐานคือ สีขาวไทเทเนียมไวท์ (titanium white) สีดำมาร์สแบล็ก (mars black) สีน้ำเงินอัลตร้ามารีนบูล (ultramarine blue) สีแดงอะลิซารินคริมสัน (alizarin crimson) และสีเหลืองเยลโลว์โอเคอ (ochre yellow) สีส่วนใหญ่ที่เราต้องการสามารถผสมขึ้นมาจากสีเหล่านี้ได้ ยิ่งเราลงสีบ่อยๆ เราก็จะยิ่งรู้ว่าเราต้องการสีไหนเพิ่มเติมบ้าง
    • สีแบบหลอดเหมาะกับผู้เริ่มต้นระบายสีอะคริลิก เพราะเราจะได้ทดลองใช้ในปริมาณน้อยก่อน แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้สีอะคริลิกแบบหลอดหรือแบบกระปุกก็ให้คุณภาพสีไม่ต่างกัน
  2. 2
    เลือกพู่กันมาสักสองสามด้าม. พู่กันมีให้เราเลือกใช้หลากหลายแบบ มีการแบ่งประเภทของพู่กันโดยดูจากลักษณะหัวพู่กันและวัสดุที่นำมาใช้ทำขนพู่กัน หัวพู่กันมีอยู่สามแบบคือ แบบแบน แบบกลม และแบบรี ส่วนตัวขนพู่กันจะทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย แต่วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ทำขนพู่กันคือใยสังเคราะห์และขนหมูป่า จิตรกรฝึกหัดส่วนใหญ่จะใช้พู่กันที่มีขนทำจากใยสังเคราะห์และใช้พู่กันหัวหลายแบบปะปนกัน
    • เข้าร้านอุปกรณ์ศิลปะและเลือกซื้อพู่กันต่างๆ มาสักสองสามด้ามตามแต่ที่ต้องการ พู่กันขนสังเคราะห์จะนุ่มกว่าและทำความสะอาดง่ายกว่าพู่กันขนสัตว์
    • อย่าซื้อพู่กันที่มีราคาแพงมากนัก เว้นเสียแต่ว่าเราต้องใช้พู่กันในระยะยาว ถึงแม้การมีพู่กันดีๆ จะมีประโยชน์ต่อการทำงานศิลปะ แต่การมีสีคุณภาพดีนั้นสำคัญกว่า
  3. 3
    เตรียมจานสี. เราจะต้องมีอะไรสักอย่างไว้ใช้ผสมสี และเก็บสีหลังจากใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราอยากประหยัดสักหน่อย จะใช้จานกระดานหรือจานพลาสติกก็ได้ อะไรที่มีพื้นผิวเรียบสะอาดสามารถนำมาใช้เป็นจานสีได้ทั้งนั้น แต่เพราะสีอะคริลิกเป็นสีที่แห้งไวมาก การใช้จานสีแบบเปียกน่าจะเป็นประโยชน์กว่า เพราะมีฟองน้ำที่ชุ่มน้ำและกระดาษเปียกคอยรักษาความชื้นและคงสภาพสีได้นานหลายสัปดาห์
    • ใช้พลาสติกห่อหรืออะไรที่คล้ายกันนี้คลุมไว้เพื่อรักษาสภาพของสีในจานสีเวลาที่เราไม่ได้ใช้งาน
    • ถ้าเราผสมสีไว้ในปริมาณมาก การใช้ถ้วยเล็กๆ หรือกระปุกเล็กๆ เก็บสีเมื่อไม่ได้ใช้งานจะดีกว่า เพราะจะคงสภาพสีอะคริลิกได้ดีกว่าใช้พลาสติกห่อจานสี
  4. 4
    เลือกวัสดุที่ต้องการจะลงสี. เลือกวัสดุที่ต้องการจะลงสี สีอะคริลิกนั้นข้นและเข้ม ดังนั้นจึงสามารถใช้ทาวัสดุได้ไม่กี่ชนิด วัสดุที่นิยมใช้ลงสีอะคริลิคคือผ้าใบหรือแคนวาสบอร์ด (canvas board) กระดาษสีน้ำ หรือไม้ที่ผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้ (treated wood) เราจะลงสีอะคริลิกในวัสดุอะไรก็ได้ที่ผิวไม่ลื่นมัน หรือเป็นรูพรุน [1]
    • ถ้ายังไม่กล้าลงสีอะคริลิกในวัสดุที่มีราคาแพง ให้เริ่มฝึกลงสีกับกระดาษสีน้ำก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นผ้าใบหรือไม้
  5. 5
    เตรียมของที่จำเป็นอื่นๆ. นอกจากสิ่งของที่ต้องซื้อดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เราจะต้องเตรียมของเพิ่มเติมอีกหน่อย แต่ไม่ได้วุ่นวายอะไรมาก เพราะสามารถหาได้จากภายในบ้าน สิ่งที่ต้องเตรียมมีกระปุกหรือถ้วยใส่น้ำ 1-2 ใบ เกรียงผสมสีหนึ่งอัน ผ้าขี้ริ้ว หรือผ้าเก่าๆ ขวดสเปรย์ใส่น้ำ และสบู่ไว้ทำความสะอาดพู่กัน แต่ถ้าหาไม่ได้ภายในบ้าน ก็มีขายในร้านอุปกรณ์ศิลปะ ให้เลือกซื้อแบบธรรมดา [2]
    • เพราะสีอะคริลิกขึ้นชื่อว่าแห้งเร็วมาก ฉะนั้นพ่นละอองน้ำใส่ภาพหรือจานสีเป็นครั้งคราวเพื่อให้สีคงสภาพเหลวไว้
    • ใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเสื้อยืดเก่าๆ ขณะที่ลงสีเพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเปื้อนสีอะคริลิก
    • จิตรกรบางคนอาจปูหนังสือพิมพ์คลุมพื้นโต๊ะเพื่อป้องกันไม่ให้สีอะคริลิกเปื้อน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เริ่มวาดภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    เลือกตำแหน่งที่เหมาะสม. โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะลงสีได้ดีที่สุดในแสงธรรมชาติ ตั้งแผ่นผ้าใบให้อยู่ใกล้หน้าต่างที่เปิดไว้หรือตั้งในห้องที่มีแสงธรรมชาติเข้ามามาก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีทีละนิด ทุกครั้งที่ปัดพู่กัน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
  2. 2
    วางอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน. จิตรกรแต่ละคนมีวิธีวางอุปกรณ์วาดภาพไม่เหมือนกัน แต่การวางอุปกรณ์ทุกอย่างตามความสะดวกของเราก่อนเริ่มวาดภาพจะดีที่สุด ใส่น้ำในกระปุก เอาพู่กันและสีที่เราต้องการใช้ออกมาวาง รวมทั้งวางจานสีในตำแหน่งที่สะดวกที่สุด อย่าลืมใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเปลี่ยนมาใส่เสื้อยืดเก่าๆ ด้วย
  3. 3
    ตัดสินใจว่าจะวาดรูปอะไร. ในฐานะจิตรกรฝึกหัด เราอาจรู้แล้วว่าตนเองต้องการวาดอะไร หรือเราอาจกำลังมองหาอะไรสักอย่างมาเป็นแบบ ลองคิดสิว่าตนเองอยากวาดอะไรหรืออยากใช้อะไรมาเป็นแบบในการวาดรูปครั้งแรก การใช้วัตถุ 3 มิติหรือรูปถ่ายมาเป็นแบบอาจทำให้เราวาดรูปได้ง่ายที่สุด แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรวาดอะไรดี ขอแนะนำวัตถุที่จิตรกรฝึกหัดสามารถวาดได้ง่ายดังนี้
    • ชามผลไม้
    • แจกันดอกไม้
    • วัตถุต่างๆ ในบ้าน
    • พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก [3]
  4. 4
    ร่างภาพคร่าวๆ. ถ้ารู้สึกมั่นใจความสามารถในการวาดภาพตามที่เราเห็นจริงๆ เราก็สามารถใช้สีอะคริลิกวาดภาพได้เลย แต่คนส่วนใหญ่จะต้องร่างภาพก่อนลงพู่กัน ใช้ดินสอธรรมดาร่างเค้าโครงหลักๆ ลงผ้าใบตรงๆ ไม่ต้องพะวงเรื่องรายละเอียดหรือแสงเงามากนัก
    • จะร่างภาพใส่กระดาษก่อนร่างลงผ้าใบก็ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะวาดภาพออกมาได้ดีในครั้งแรก
  5. 5
    ผสมสี. แทนที่จะผสมสีระหว่างวาดภาพ ควรผสมสีให้เสร็จก่อนวาดภาพ จงใช้เวลาและใช้สีให้คุ้มค่าด้วยการผสมสีทั้งหมดที่เรามี ผสมให้ได้สีทั้งหมดที่เราต้องการ ก่อนเริ่มวาดภาพ ที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เราผสมสีเกินกว่าที่ตนเองจะใช้จริง เราอาจสามารถเก็บสีที่เหลือไว้ใช้คราวหน้าได้ก็จริง แต่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะผสมสีให้ได้เฉดที่ถูกต้องสองครั้ง
    • ใช้วงล้อสีเป็นหลักอ้างอิงในการผสมสี สีพื้นฐานทุกสีเกิดจากการผสมสีขั้นที่หนึ่ง (แดง น้ำเงิน และเหลือง) และถ้าอยากได้สีที่หลากหลายกว่านี้ ก็อาจต้องเอาสีขั้นที่หนึ่งมาผสมกับสีขั้นที่สอง
    • ถ้าหากไม่ได้เฉดสีที่เราต้องการด้วยการผสมเอง อาจซื้อสีเฉดสีที่ต้องการแบบสำเร็จรูปไม่ว่าจะในรูปแบบหลอดหรือกระปุกจากร้านอุปกรณ์ศิลปะ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ระบายสี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    หาแหล่งกำเนิดแสง. การเปลี่ยนแปลงของสีขึ้นอยู่กับวิถีการถูกแสง ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มลงสีวัตถุ ให้กำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อน จงคำนึงถึงแหล่งกำเนิดแสงตลอดการลงสีนี้ เราควรให้บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมีสีที่สว่างและบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมีสีเข้ม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่การกำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อนเริ่มลงสีจะช่วยให้สีภาพของเราเป็นไปตามอย่างที่ตั้งใจ
  2. ถึงแม้เรากำลังจะวาดวัตถุเพียงแค่วัตถุเดียว แต่ก็ต้องมีการวาดสิ่งอื่นๆ หรือพื้นหลังของภาพด้วย มองวัตถุและกำหนดว่าอะไรอยู่ใกล้เราที่สุดและอะไรอยู่ไกลเราที่สุด ดูการซ้อนทับกัน การเปลี่ยนแปลงสี และพื้นผิว เราจะได้นำสิ่งเหล่านี้มาวาดพื้นหลังของภาพเราได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นต้องวางแผนไว้ก่อนว่าจะเริ่มวาดอะไรเป็นอันดับแรก
  3. เมื่อลงสี เราจะไล่ลงสีสิ่งที่อยู่ไกลที่สุดมาจนมาถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด นั้นคือลงสีวัตถุที่อยู่ด้านหลังมาด้านหน้า นี้เป็นวิธีลงสีพื้นหลังที่ง่ายที่สุด การระบายสีที่ง่ายที่สุดคือการเริ่มด้วยสีที่มีน้ำหนักปานกลาง ตามด้วยสีที่เข้มและจากนั้นก็สีอ่อน
  4. เมื่อลงสีพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดพื้นหลัง ถ้าพื้นหลังเป็นสีพื้นๆ ก็ควรเพิ่มแสงและเงา ถ้าพื้นหลังเป็นลวดลายหรือมีอะไรต่างๆ อยู่เต็มไปหมด ให้สะบัดปลายพู่กันเพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหว จะได้ทำให้พื้นหลังของภาพสมบูรณ์
  5. ขณะที่เริ่มลงสีวัตถุ ให้แบ่งลงสีที่ละส่วนและลงสีพื้นๆ ก่อน ขณะที่เราแบ่งส่วนและลงสีไปเรื่อยๆ วัตถุที่เราร่างไว้ก็จะเริ่มมีสีสันปรากฏเด่นชัดขึ้น ลงสีส่วนเล็กๆ ทีละส่วน งานจะได้เสร็จง่ายและเร็วขึ้น
    • จิตรกรฝึกหัดบางคนอาจเห็นว่าการแบ่งส่วนลงสีเป็นตารางจะทำให้ลงสีง่ายกว่า ลองจินตนาการว่าเราตีตารางลงในผ้าใบ และจากนั้นลงมือระบายสีช่องแรกของตารางจนเสร็จแล้วค่อยมาลงสีช่องถัดไป
    • ให้ลงสีน้ำหนักปานกลางก่อนแล้วตามด้วยสีเข้มและจากนั้นค่อยลงสีอ่อน การไล่สีอ่อนไปหาสีเข้มนั้นยากกว่า ฉะนั้นการลงสีตามที่แนะนำไปจะช่วยทำให้ไล่สีได้ง่ายขึ้นมาก
  6. เมื่อลงสีวัตถุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดด้วยเทคนิคการลงสีสักสองสามวิธี เทคนิคเหล่านี้มีไว้เพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหวด้วยการสะบัดพู่กันและการใช้สี
    • ทำให้เกิดรอยแต้มเป็นจุดด้วยการถือพู่กันในแนวตั้งและเคาะพู่กันลงที่กระดาษ เทคนิคนี้จะทำได้ผลดีที่สุด ถ้าพู่กันแห้งและสีมีปริมาณน้อย ผลที่ได้คือจุดเล็กๆ มากมาย
    • ใช้เกรียงผสมสีปาดสี ถ้าเห็นว่ามีส่วนที่ยังต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติม ให้ใช้เกรียงผสมสีช่วย ทาสีที่เกรียงให้หนาและนำไปปาดส่วนที่ต้องการเพื่อเพิ่มรายละเอียดของพื้นผิวให้มากขึ้น
    • ใช้เทคนิควอส์ชคัลเลอร์ (wash color) ด้วยการใช้น้ำทำให้สีจางลง ผลที่ได้จะคล้ายสีน้ำ ภาพจะค่อยๆ สว่างขึ้น ถ้าต้องการไล่สี เทคนิคนี้เหมาะอย่างยิ่ง [4]
  7. เอาใจใส่ส่วนที่สำคัญของภาพให้ดี เพิ่มเติมรายละเอียดที่คิดว่าจำเป็นต่อการทำให้ภาพสมบูรณ์ โดยปกติจะเป็นการปรับความอ่อนและความเข้ม ปรับรายละเอียดภาพบริเวณที่ต้องการ และใช้เทคนิควอส์ชคัลเลอร์ตกแต่งในขั้นสุดท้าย [5]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เก็บงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากภาพแห้งแล้ว ถึงแม้จะไม่จำเป็น แต่จิตรกรจำนวนมากก็ลงน้ำยาเคลือบภาพสีอะคริลิกในขั้นสุดท้าย เพราะช่วยให้สีติดผ้าใบและป้องกันความเสียหายได้ดีขึ้น
  2. ทำความสะอาดพู่กันและอุปกรณ์ที่เราใช้ทำงานศิลปะ. ทำความสะอาดพู่กันทันทีหลังจากใช้เสร็จ เพราะสีอะคริลิกจะสร้างความเสียหายและทำให้พู่กันนั้นไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก ถ้าปล่อยให้สีแห้งติดขนพู่กัน ล้างพู่กันด้วยน้ำเย็นและสบู่จนกว่าน้ำจะใส (ถ้าใช้นำอุ่นหรือน้ำร้อนล้างจะทำให้สีแข็งติดพู่กัน) เช็ดสีออกให้หหมด และล้างกระปุกด้วยน้ำให้สะอาด
  3. 3
    เก็บสีที่เหลืออยู่. สีอะคริลิกจะคงสภาพนานหลายเดือนในภาชนะที่ปิดมิดชิด ถ้าเรามีแผนจะใช้สีที่เหลืออยู่นี้ต่อไปในอนาคต ตักสีใส่ภาชนะเล็กๆ ที่มีฝาปิด หรือผนึกไว้กับจานสีแบบเปียก
  4. ปล่อยภาพทิ้งไว้สัก 1-2 วันเพื่อให้สีแห้ง ถึงแม้สีอะคริลิกจะแห้งเร็วแต่ก็ควรตั้งภาพสีอะคริลิกในบริเวณที่ไม่มีอะไรมารบกวนเพื่อสีจะได้แห้งตามกำหนด
  5. งานศิลปะนั้นเป็นงานที่สามารถแบ่งกันชมได้ ฉะนั้นลองแสดงผลงานวาดภาพสีอะคริลิกให้ผู้อื่นเห็นฝีมือของเรา นำมาภาพมาอัดและใส่กรอบถ้าภาพนั้นเป็นกระดาษหรือแคนวาสบอร์ด หรือแขวนอยู่ที่บ้านเลยก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองใช้เทคนิคขั้นสูง ถ้าเราเริ่มชำนาญการวาดภาพสีอะคริลิกมากขึ้น เพิ่มความลึกด้วยการใส่พื้นผิว เพิ่มเงา เพิ่มความสว่างและเพิ่มเติมรายละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะวาดภาพสีอะคริลิกได้ดีขึ้น
  • ฝึกวาดภาพสีอะคริลิกไปเรื่อยๆ! เราอาจต้องเริ่มต้นเล็กๆ ด้วยการวาดเส้นก่อน! จากนั้นพยายามวาดต้นไม้ หรือดอกไม้ อย่ากลัวที่จะใช้วิธีการวาดหรือลักษะการวาดในแบบต่างๆ เช่น One Stroke Painting หรือ Staffato
  • เอาใจใส่รายละเอียดต่างๆ คำนึงถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 53,208 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา