ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรารู้ตัวว่ามีภารกิจอะไรสักอย่างที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นไปใช่ไหม ภารกิจนั้นอาจเป็นการเรียนจบมหาวิทยาลัยและได้รับปริญญา เขียนรายงานเล่มหนาให้เสร็จ หรือลดน้ำหนักลงไปอักสักประมาณ 1 กิโลกรัม เรารู้ว่าต้องทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วง แต่มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้เราไม่เชื่อว่าตนเองทำได้ จงเรียนรู้การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง จะได้เชื่อว่าเราสามารถทำภารกิจของตนให้สำเร็จลุล่วงได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วิเคราะห์และเพิ่มความสามารถของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาเหตุผลว่าทำไมถึงต้องทำภารกิจนั้นให้เสร็จสิ้นไปเสียที. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างความเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้คือการหาเหตุผลที่หนักแน่นมารองรับ ดูเหมือนผู้คนจะต้องใช้ความพยายามในการเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำอะไรที่ตนไม่เชื่อว่าจะทำได้มากกว่าทำอะไรที่เชื่อว่าตนเองทำได้ [1] ฉะนั้นถ้าเราต้องการเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้ เราก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาเสียก่อน
    • เตรียมกระดาษสักหนึ่งแผ่น และเขียนข้อดีทั้งหมดในการทำภารกิจนั้นลงไป ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังพยายามสร้างความเชื่อมั่นว่าเราสามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยได้ ผลดีของการเรียนจบมหาวิทยาลัยคือ ได้ความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานในสาขาที่จบมา ได้เตรียมความพร้อมเข้าทำงานและรับการฝึกงาน ได้รู้จักผู้คนในสาขาเดียวกัน (เช่น อาจารย์และนักศึกษาคนอื่น) รวมทั้งได้มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
    • คิดถึงประโยชน์ทั้งหมดที่จะได้รับเมื่อทำภารกิจได้สำเร็จ แล้วเขียนออกมา จากนั้นอ่านสิ่งที่เขียนออกมาดังๆ บอกเหตุผลให้ตนเองฟังว่าทำไมภารกิจนี้ถึงสำคัญนัก อ่านประโยชน์ที่จะได้รับทุกวันหรือเมื่อไรก็ตามที่ต้องการแรงบันดาลใจ
  2. ประเมินว่าต้องมีทักษะอะไรบ้างที่จะทำให้ภารกิจสำเร็จ. บางครั้งเราจะบอกกับตนเองว่าเราไม่เหมาะจะทำภารกิจนี้ พยายามหาเหตุผลมาแย้งความคิดนี้เสีย พยายามประเมินทักษะที่มีเพื่อจะได้รู้ว่าเราเหมาะกับภารกิจที่ทำอยู่แล้ว [2]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการเรียนให้จบเสียที แต่ไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำได้ ก็ให้ลองกลับไปดูผลการเรียน ดูความสามารถต่างๆ ที่มี จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน รวมทั้งทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนได้อย่างราบรื่น เราก็จะเชื่อว่าตนเองสามารถเรียนจบได้ เมื่อเราได้เห็นจุดแข็งของตนเองจากการพิจารณาสิ่งเหล่านี้ เราก็จะมีความแน่วแน่และมั่นใจที่จะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง
    • ถ้าเราไม่รู้ว่าตนเองมีข้อดีอะไรบ้าง ให้ลองถามผู้อื่นดู ลองถามพ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือเพื่อนว่าตนเองนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง
  3. เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่เชื่อว่าตนเองสามารถทำได้คือ เรามักจะมองว่าการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จนั้นเกินกำลังความสามารถของเรามาก พอเราต้องทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน เราก็คาดเดาไปล่วงหน้าว่าสิ่งที่ไม่เคยทำนั้นต้องยากมากหรือไม่มีทางทำได้สำเร็จ แต่ถ้ามีความรู้มากขึ้นหรือเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่แล้ว ก็จะเห็นว่าเรามีโอกาสทำงานนั้นสำเร็จมากขึ้น นี้เป็นคำแนะนำสำหรับการศึกษาในสิ่งที่ไม่รู้
    • ค้นคว้า การพบข้อมูลทุกอย่างจากข้างนอกในเรื่องที่ไม่รู้จะช่วยเพิ่มความรู้และความมั่นใจในการทำงานที่เกี่ยวกับหัวข้อนั้น
    • ถามคนที่เคยผ่านประสบการณ์ในเรื่องที่เราไม่รู้ การพูดคุยกับใครที่มีประสบการณ์ในภารกิจที่เราต้องทำเป็นการสร้างโอกาสให้เราได้ซักถามข้อสงสัยและลดความกังวลใจลงไป
    • ทำตามคนอื่น การมองคนอื่นจนกระทั่งเขาทำงานเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้วต้องทำขั้นตอนอะไรบ้าง งานนั้นถึงจะเสร็จสิ้น อีกทั้งอาจได้กำลังใจเมื่อรู้ว่าคนที่เราทำตามอยู่นั้นไม่ได้มีทักษะหรือไปฝึกพิเศษมาจากไหนเลย แต่เขาก็ทำได้ เพราะฉะนั้นเราเองก็ต้องทำได้เหมือนกัน
  4. พูดคุยขั้นตอนเหล่านี้กับผู้อื่นราวกับว่ากำลังสอนพวกเขาอยู่. พอเราได้ศึกษาแล้วว่ามีอะไรบ้างที่ช่วยทำให้งานสำเร็จ ลองสรุปให้ผู้อื่นฟัง การเรียนรู้จากการสอนผู้อื่นเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะทำให้ความรู้ของเราแน่นขึ้น [3] ฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าตนเองเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากแค่ไหน ให้ลองสอนผู้อื่นดู
    • ต้องอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามเรื่องที่ยังสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อที่พูด ถ้าเราสรุปออกมาได้ดีและตอบคำถามได้อย่างชัดเจน แสดงว่าเราก็น่าจะเหมาะทำภารกิจที่เกี่ยวกับเรื่องที่พูดไปนั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้างแรงบันดาลใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้อยคำที่ใช้ย้ำกับตนเองนั้นไม่ใช่จะใช้ถ้อยคำใดก็ได้ เราต้องพยายามเลือกสรรถ้อยคำที่ดีเพื่อจะสร้างกำลังใจให้ตนเองได้สำเร็จ ถ้อยคำที่จะใช้พูดย้ำกับตนเองนั้นควรสร้างแรงบันดาลใจ ทำให้เราเกิดเรี่ยวแรงกำลัง และเปลี่ยนความคิดของตนเองไปในทางที่ดี ฉะนั้นการเลือกสรรถ้อยคำจึงสำคัญ เพราะถ้อยคำดีๆ จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ [4]
    • ถ้อยคำอาจเป็นคำดีๆ คำไหนก็ได้ อาจมีตั้งแต่คำเดียวไปจนถึงเป็นข้อความ อาจคิดขึ้นเองหรือหยิบยกคำพูดอันกินใจจากผู้อื่นมาก็ได้ เช่น “ถ้าไม่พบหนทาง ก็ต้องสร้างขึ้นมาเอง” หาถ้อยคำที่เป็นแรงบันดาลใจและพูดย้ำกับตนเองบ่อยๆ
  2. บุคคลตัวอย่างไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กและเยาวชนเท่านั้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไร ก็สามารถเรียนรู้และได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่นได้
    • มองหาครู เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือบุคคลสาธารณะที่เราเคารพนับถือมาเป็นกรณีศึกษา มองและเรียนรู้จากสิ่งที่พวกเขาทำ เมื่อเราทำตามแบบอย่างบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดี เราก็จะประพฤติตัวดีตามไปด้วย [5]
    • แต่บุคคลที่เป็นแบบอย่างของเราไม่จำเป็นต้องเป็นคนรู้จักก็ได้ เราอาจมีผู้นำ นักประพันธ์ หรือนักธุรกิจระดับโลกเป็นแรงบันดาลใจ จะเลือกอ่านหนังสือหรือดูสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลเหล่านี้ก็ได้ จะได้รู้ว่าพวกเขาต้องพบเจออุปสรรคอะไรมาบ้างกว่าจะประสบความสำเร็จ [6]
  3. การเชื่อมั่นในตนเองนั้นทำให้จิตใจของเราเบิกบาน แต่ถ้าเราไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจ ก็สามารถหาแรงบันดาลใจได้จากผู้คนรอบข้างที่เชื่อมั่นในตัวเรา [7]
    • จำไว้ว่าผู้คนที่เรามักจะพบปะพูดคุยด้วยบ่อยๆ มีอิทธิพลต่อชีวิตเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคนที่คิดบวกหรือลบก็ตาม ฉะนั้นจงเลือกอยู่กับคนที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนเรารวมทั้งอย่าลืมช่วยเหลือและให้กำลังใจพวกเขากลับไปบ้าง
  4. [8] การนึกภาพเป็นการฝึกจิตใจอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เราได้ใช้จินตนาการและประสาทสัมผัสเพื่อไปให้ถึงสภาวะหนึ่ง การนึกภาพช่วยฝึกสมองเพื่อให้พร้อมทำอะไรสักอย่างในชีวิตจริง [9] ฉะนั้นการนึกภาพจึงมีประโยชน์มากเมื่อต้องนำมาใช้ในการทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ
    • เราต้องกำหนดก่อนว่าตนเองนั้นต้องการทำอะไรให้สำเร็จเพื่อจะได้นำมาใช้ในการนึกภาพ คราวนี้ลองนึกภาพว่าเราทำสิ่งที่ต้องการนั้นได้สำเร็จ เราอาจได้ทำอาชีพในฝัน หรือสามารถลดน้ำหนักลงได้มาก ลองคิดสิว่าเมื่อทำสำเร็จแล้วจะรู้สึกอย่างไร ใครจะอยู่เคียงข้างเราในตอนนั้น เรากำลังคิดอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร
    • ฝึกนึกภาพทุกวัน จะฝึกในตอนเช้าหรือตอนค่ำก็ได้
  5. เราอาจคิดว่างานใหญ่ชิ้นหนึ่งนั้นเป็นอะไรที่หนักหนา ถ้าเห็นว่าต้องใช้ระยะเวลาทำนานกว่าจะเสร็จ การใช้เวลาทำงานน้อยแต่สามารถทำงานได้ปริมาณมากนั้นน่าจะดีกว่าอย่างยิ่ง ในความเป็นจริงแล้วนักวิจัยแสดงให้เห็นว่าวงจรที่เรียกว่าจังหวะอัลทราเดียน (ultradian) เป็นช่วงที่การตื่นตัวของร่างกายลดลง [10]
    • ให้เวลาตนเองทำงานหนึ่งสัก 90 นาที จากนั้นจึงพัก การกำหนดระยะเวลาทำงานจะช่วยทำให้เราคิดอะไรได้ชัดเจนและรอบคอบมากขึ้นระหว่างที่ทำงาน อีกทั้งมีเวลาพักและฟื้นฟูกำลังก่อนที่เริ่มทำงานชิ้นต่อไป
    • เมื่อต้องทำงานในระยะเวลาสั้นๆ เราก็ต้องเตรียมการทุกอย่างให้พร้อมเพื่อจะได้ทำงานให้เสร็จก่อนเวลา ฉะนั้นเราก็จะได้ไม่ต้องทำงานนานหลายชั่วโมง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำลายอุปสรรคในจิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับตนเองและอะไรคือสิ่งที่เราเชื่อ. [11] การไม่รู้จักสิ่งที่มีค่าสำหรับตนเองก็เหมือนการเดินทางโดยไม่มีจีพีเอสหรือแผนที่ สิ่งที่มีค่าสำหรับเราจะช่วยนำทางเราผ่านสถานการณ์ต่างๆ มาได้จนสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่เส้นทางที่ต้องการ ลองตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มีค่าสำหรับเรา [12]
    • เราเคารพใครมากที่สุด เรานับถืออะไรในตัวพวกเขาและนับถือเพราะอะไร
    • ถ้าไฟกำลังไหม้บ้านของเรา (คนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงปลอดภัยดี) และมีของ 3 อย่างที่เราสามารถเอาออกมาจากบ้านได้ เราจะเอาอะไรออกมาและเพราะอะไร
    • มีช่วงไหนของชีวิตที่เรามีความสุขมากเหลือเกิน ช่วงไหนที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข
  2. หลังจากเขียนรายชื่อสิ่งที่มีค่าสำหรับเราลงไปแล้ว คราวนี้เราต้องตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต (S.M.A.R.T) ให้สอดคล้องกับค่านิยมของเราด้วย พอเราตั้งเป้าหมายที่ทำให้เราดำรงชีวิตตามค่านิยมของตนเองแล้ว เราต้องลงรายละเอียดตามการตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ตเพื่อให้เป้าหมายของเรามีลักษณะดังนี้ [13]
    • เฉพาะเจาะจง (Specific) คือตอบคำถาม “ใคร” “ทำอะไร” “เมื่อไร” “ที่ไหน” “อย่างไร” และ “ทำไม” ได้อย่างชัดเจน
    • วัดความก้าวหน้าได้ (Measurable) คือมีวิธีประเมินความก้าวหน้า
    • สำเร็จได้ (Attainable) คือสามารถทำสำเร็จด้วยทรัพยากร ทักษะ และความสามารถที่มี
    • เป็นไปตามความจริง (Realistic) คือเป้าหมายนั้นมีความท้าทายแต่ก็ตรงกับความต้องการของเราและอยู่ในขอบเขตที่ทำได้
    • มีกำหนดเวลา (Timely) คือมีการกำหนดกรอบเวลาอย่างเหมาะสม และเผื่อเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย
  3. อุปสรรคในจิตใจที่มักจะขัดขวางไม่ให้เราทำอะไรสำเร็จคือคำพูดที่เราบอกกับตนเองอยู่ทุกวัน ถ้าถามว่าเพราะอะไรเราถึงไปไม่ถึงเป้าหมายเสียที เราก็อาจจะตอบตนเองว่าทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คิด เราต้องตัดข้อแก้ตัวทิ้งไปเพื่อจะบรรลุเป้าหมายของตนเองให้ได้ในที่สุด [14]
    • หยุดแก้ตัวและลงมือทำตามเป้าหมายอย่างจริงจัง การเอาแต่หาข้ออ้างจะขัดขวางไม่ให้เราลงมือทำตามเป้าหมายเสียที
    • การตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ตน่าจะช่วยลดข้ออ้างต่างๆ ลงได้ ถ้าเห็นว่ามีปัญหา เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีเงิน หรือไม่มีทรัพยากร ให้ลองพิจารณาใคร่ครวญจนมองเห็นว่าเราสามารถตัดอะไรออกไปได้อีกบ้าง เอาอะไรที่ไม่จำเป็นออกไป และเพิ่มอะไรที่จำเป็นเข้ามาแทน [15] อย่ารอให้ทุกอย่างพร้อมแล้วถึงค่อยลงมือทำ จงเปลี่ยนแปลงตนเองให้เอื้อต่อการไปถึงเป้าหมาย
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,437 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา