ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เดี๋ยวนี้แบรนด์ต่างๆ หรือผู้ใช้ทั่วไปบางคน ก็มีเว็บไซต์ของตัวเอง แล้วคุณจะรออะไร มาสร้างเว็บบ้างดีกว่า นอกจากสร้างฟรีแล้วดีไม่ดีอาจทำรายได้ให้คุณด้วย เดี๋ยวนี้มีหลายเว็บให้คุณสร้างเว็บของตัวเองได้ฟรีๆ แบบเร็วทันใจ ออนไลน์ในไม่กี่นาที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกเว็บที่ให้บริการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารู้จุดประสงค์ของการสร้างเว็บแน่ชัด ก็จะเลือก web hosting ได้เหมาะสมที่สุด อย่างถ้าอยากสร้างเว็บไว้ขายของ ก็ต้องเลือก web hosting ที่มีระบบขายของออนไลน์ แต่ถ้าอยากสร้างเว็บแนว wiki ก็มีเว็บ wiki host ฟรีที่เน้นสร้างและดูแลระบบฐานข้อมูลแบบ wiki โดยเฉพาะ หรือถ้าอยากสร้างบล็อก ก็ต้องเลือกเว็บ blogging รับรองเสร็จพร้อมใช้ในไม่กี่นาที
  2. บอกเลยว่ามีให้เลือกสารพัด บางเว็บก็ดี๊ดี บางเว็บก็ดีน้อยหน่อย บางเว็บให้บริการในราคาถูก บางเว็บก็แพง จะดีกว่าถ้าคุณศึกษาและเปรียบเทียบข้อเด่นข้อด้อยของแต่ละเว็บที่สนใจ แต่ส่วนใหญ่พวกเว็บฟรีจะมีฟังก์ชั่นและฟีเจอร์จำกัด แถมติดโฆษณาซะใหญ่ ที่สำคัญคือเว็บคุณจะเป็นแค่ subdomain ของเว็บ hosting นั้น ไม่มีชื่อโดเมนของตัวเอง (เช่น "ชื่อเว็บคุณ.ชื่อเว็บโฮสติ้ง.com" แทนที่จะเป็น "ชื่อเว็บคุณ.com") เว็บ hosting ฟรีที่น่าสนใจก็เช่น
    • Wordpress (เหมาะสำหรับคนอยากสร้างบล็อก ไปจนถึงเว็บขนาดเล็กและกลาง ทุกประเภทเนื้อหา)
    • Drupal (เหมาะสำหรับสร้างเว็บขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่)
    • Webs
    • Angelfire
    • Google Sites
    • Webnode
    • Wix
    • Zoho Sites
    • Wikia (ชื่อก็บอกอยู่ว่าเหมาะสำหรับสร้างเว็บแนว wiki)
  3. แต่ละเว็บ host ก็เสนอบริการฟรีแตกต่างกันไป เว็บ host ส่วนใหญ่จะจำกัดปริมาณข้อมูลที่อัพโหลดเข้าเว็บได้ ซึ่งก็มักจะค่อนข้างน้อย ถ้าใครอยากทำเว็บเน้นไฟล์ media มาเต็มทั้งภาพและคลิป แค่บริการของเว็บฟรีก็อาจจะไม่เพียงพอสำหรับคุณ
    • แต่ละเว็บ host ที่ให้บริการฟรีก็มีนโยบายการสร้าง ร้านค้าออนไลน์ แตกต่างกันไป ถ้าอยากสร้างเว็บขายของออนไลน์ (e-commerce) ต้องเช็คดีๆ ว่าเว็บที่เลือกมีฟีเจอร์ครบตามต้องการ
    • เว็บ host ที่ให้บริการฟรีส่วนใหญ่จะให้ bandwidth น้อย เพราะงั้นใช้ทำเว็บฝากไฟล์ไม่ได้ ถ้าดาวน์โหลดไฟล์บ่อยๆ bandwidth จะเต็มเร็วมาก
    • เช็คว่าเว็บ host ให้คุณอัพโหลดเว็บตัวเองได้หรือเปล่า เว็บฟรีส่วนใหญ่จะมี creation tools หรือเครื่องมือสำหรับใช้สร้างเว็บไซต์ไว้ให้บริการ ไม่ยอมให้คุณอัพโหลดโค้ดแบบ custom ของตัวเอง เครื่องมือที่ว่าจะครอบคลุมแค่การสร้างเว็บพื้นฐาน แต่ถ้าอยากสร้างเว็บในแบบของตัวเอง ก็ต้องเช็คก่อนว่าเว็บ host ยอมให้คุณเขียนโค้ดแล้วอัพโหลดเข้ามาไหม
  4. ลองเลือกดูจากในบรรดาธีม pre-made (หรือก็คือ 'เทมเพลต' หรือ 'สไตล์') จะใช้ธีมที่มีในโปรแกรม หรือเลือกจากในเว็บขายธีมสร้างเว็บโดยเฉพาะก็ได้ เช่น Theme Forrest
    • หลายเว็บ host จะมีธีมหรือดีไซน์พิเศษเฉพาะตัว เห็นแล้วรู้เลยว่าสร้างโดยเว็บ host นั้น ก็เลือกใช้ไปให้ตรงกับความต้องการของคุณที่สุด
  5. ถึงจะเป็นเว็บ host ฟรี แต่จริงๆ แล้วก็มีหลายอย่างแอบแฝง เพราะไม่งั้นเว็บ host คงไม่มีรายได้ โดยจะมาในรูปของโฆษณา หรือเชิญชวนให้คุณอัพเกรดเพื่อจะได้ใช้ฟีเจอร์เพิ่มเติม พวกนี้จะมีค่ารายเดือน ไม่ว่าจะเลือกใช้แบบไหนขอให้คุณคำนวณงบดีๆ เผื่อต้องอัพเกรดให้ได้ฟีเจอร์เพิ่ม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ลงมือสร้างเว็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เว็บ host ฟรีจะให้คุณลงทะเบียนก่อนใช้งาน บางเว็บก็ไม่จำเป็นต้องกรอก billing information หรือข้อมูลสำหรับชำระเงิน เว้นแต่ใครจะอัพเกรดเป็นสมาชิกแบบเสียเงิน
  2. ปกติเว็บฟรีจะให้คุณใช้ subdomain นำหน้าชื่อโดเมนของเว็บ host ได้ฟรี แต่ถ้าอยากใช้ชื่อโดเมนปกติก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม บางเว็บ host ยอมให้คุณสร้างเว็บฟรีแล้วใช้โดเมนที่คุณมีอยู่แล้วได้ด้วย
    • คุณซื้อชื่อโดเมนแบบ top-level หรือระดับบนสุดได้ (www.ชื่อเว็บไซต์.com) จะมีค่าบริการรายปี เสร็จแล้วค่อยเอาไปพ่วงกับเว็บฟรีของคุณ แต่ต้องสอบถามก่อนว่าเว็บ host ยอมให้ทำแบบนั้นได้ เว็บที่เอาไว้ลงทะเบียนชื่อโดเมนก็เช่น GoDaddy, Register.com, Domain.com, Dyn.com และอื่นๆ
  3. ปกติเว็บ host จะมีโปรแกรมหรือเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บให้ใช้ คุณเลือกธีมหรือเทมเพลตที่มีได้เลย บางเว็บก็ให้คุณปรับแต่งส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บได้ด้วย เช่น ใช้ CSS
    • โปรแกรมสร้างเว็บจะมีให้พิมพ์ข้อความกับใส่รูป เมนูจะใช้งานง่าย แป๊บเดียวเว็บของคุณก็พร้อมใช้ หลายเว็บให้คุณลากรูปไปหย่อนใส่ในเว็บได้เลย แต่ส่วนใหญ่ควรมีประสบการณ์เขียนโค้ดนิดหน่อย หรือไม่มีเลยก็ยังไหว
    • เว็บฟรีส่วนใหญ่จะมี tools หรือเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บแบบออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม editor ถ้าสร้างเว็บจากในเว็บ host เลย ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใช้โปรแกรม FTP กับ cPanel เวลาอัพโหลดเนื้อหาเข้าเว็บ
    • เว็บ host ส่วนใหญ่จะมี tutorial สอนสร้างเว็บ แป๊บเดียวรู้เรื่อง
    • ถ้าเว็บ host ยอม คุณก็อัพโหลดไฟล์ HTML ของตัวเองเวลาสร้างเว็บได้เลย จะได้ออกมาตรงใจที่สุด ถ้าอยากรู้วิธีเขียนโค้ด HTML ให้อ่าน บทความวิกิฮาวนี้ ดู แต่ถ้าจะอัพโหลดเว็บตัวเองเข้าเว็บ host ก็ต้องใช้โปรแกรม FTP เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์
  4. ถ้าจะขายของ ก็ต้องคลิกเข้าเว็บมาแล้วรู้เลยว่าขายอะไรยังไง หรือจุดประสงค์ของเว็บชัดเจน (มีประวัติของคุณหรือแบรนด์) ช่องทางติดต่อ และอื่นๆ นอกจากนี้ให้วางแผนและอัพเดทสินค้าหรือบทความเรื่อยๆ
  5. พอวาง layout ออกแบบหน้าตาและเนื้อหาของเว็บจนพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาเปิดทำการ! ถ้าปกติเขียนบล็อกอยู่ที่อื่น หรือเล่นโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ให้โพสต์เปิดตัวเว็บซะเลย บอกด้วยว่าทำไมคุณถึงทำเว็บ คุณคือใคร แบรนด์คุณเป็นยังไง คนอ่านเขาจะได้ไม่งง เกิดความสนใจ อยากไปติดตามต่อในเว็บ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขยายเว็บไซต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เว็บที่หมั่นอัพเดทสินค้าใหม่ๆ หรือบทความน่าสนใจ กำลังฮิต หรือเป็นประโยชน์กับใครๆ จะมียอดวิวเยอะกว่าเว็บที่ดองนานเป็นเดือนเป็นปี เพราะงั้นต้องหมั่นอัพเดทสินค้าหรือเนื้อหาใหม่ๆ คนอ่านจะได้ไม่หนีหายไปหมด อาจจะกำหนดตารางเวลาที่จะอัพเดทชัดเจน คนอ่านจะได้ติดตามถูก
    • วิธีเพิ่ม traffic หรือจำนวนคนเข้าเว็บได้ดี ก็คือลงบทความที่น่าสนใจและไม่เหมือนใครเรื่อยๆ รับรองเพิ่มยอดวิวได้แน่นอน แถมคนอ่านเก่าๆ ก็ไม่หายไปไหนด้วย
  2. ถ้าอยากได้ passive income คือรายได้เข้าเรื่อยๆ แบบเสือนอนกิน ก็ลองหาโฆษณามาติดในเว็บดู. ลองเช็คกับเว็บ host ดูก่อนว่าทำได้ไหม เพราะหลายเว็บ host ไม่ยอมให้คุณมาใช้บริการฟรีแต่ติดโฆษณาหารายได้เข้ากระเป๋าตัวเองแน่นอน ข้อเสียของการติดโฆษณาอีกอย่างคือคนอ่านเสียสมาธิหรือเบื่อโฆษณาจนเลิกเข้าเว็บไปเลย
  3. พอสร้างเว็บเสร็จแล้วและหมั่นอัพเดทสินค้าหรือเรื่องราวใหม่ๆ เป็นระยะ ก็ต้องโฆษณาเว็บตัวเองในวงกว้างร่วมด้วย จะลงโฆษณาในเว็บอื่นแบบเสียเงิน ผ่านโปรแกรม Google AdSense ก็ได้ หรือจะโปรโมทเว็บในโซเชียลมีเดียของตัวเอง เช่น Facebook หรือ Twitter ก็ดี
  4. โดยส่งเว็บของคุณไปที่ search engine ต่างๆ โดย search engine จะสแกนเว็บว่ามีเนื้อหาไหนตรงกับคำที่คนเขาค้นหากัน ถ้าอยากให้คนเข้าเว็บคุณเยอะๆ ก็ต้องส่งเว็บคุณไปตาม search engine ดังๆ ที่คนนิยมใช้ ขั้นตอนจะต่างกันไปตามแต่ละ search engine แต่แทบทุกเว็บจะขอดู sitemap หรือผังคร่าวๆ ของเว็บคุณก่อน
    • ถ้าเป็น Google คุณเลือกได้ว่าจะส่งแค่ URL ของเว็บ หรือส่ง sitemap ของทั้งเว็บให้ยิ่งค้นเจอง่ายขึ้นก็ได้
    • ถ้าเป็น Bing ของ Yahoo! คุณส่ง URL หรือ sitemap ได้หลายวิธี แต่ sitemap ควรเป็นไฟล์ XML
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามส่งเว็บของคุณไปตาม search engine อย่าง Google, Yahoo และ search engine อื่นที่ดังๆ คนนิยมใช้กัน
  • ออกแบบเว็บด้วย WYSIWYG editor ฟรี (เห็นยังไง เว็บจริงก็ออกมาแบบนั้นเลย) หรือหัด สร้างหน้าเว็บอย่างง่ายเองทั้งหมด โดยใช้ HTML บางเว็บที่ให้บริการสร้างเว็บฟรี อย่าง Webs คุณไม่จำเป็นต้องออกแบบเว็บหรือเขียนโค้ดเป็นเลย มือใหม่แค่ไหนก็สร้างเว็บได้
  • ค้นหารายชื่อเว็บ host ฟรี แล้วเข้าไปสอบถามหรือศึกษารายละเอียดดู แล้วเลือกที่ตรงความต้องการที่สุด เช่น ถ้าอยากอัพโหลดรูปและคลิปเยอะๆ ก็ต้องเลือกเว็บ host ที่ให้พื้นที่เก็บไฟล์มากพอ
  • ตั้งชื่อเว็บให้สั้นติดหู คนจะได้จำง่าย
  • อ่าน Frequently Asked Questions (FAQs) หรือคำถามที่พบบ่อยของเว็บ host จะมีข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องฟีเจอร์และบริการต่างๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคนเข้าเว็บคุณเยอะเกินไป บางทีเว็บ host ก็อาจระงับการใช้งานของเว็บคุณชั่วคราวได้ จนคุณต้องขอเปิดใช้งานต่อ เพราะงั้นถ้าตั้งใจจะสร้างเว็บที่ traffic เยอะๆ ควรใช้บริการเว็บ host แบบเสียเงินจะดีกว่า


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,378 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา