ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปัจจุบันเรามักเจอสแปมเมลไม่มากก็น้อย และถึงจะลบออกจากอินบ็อกซ์ได้ แต่สุดท้ายเราก็อาจเผลอเปิดสแปมเมลและกดลิงก์ที่หลอกให้ดาวน์โหลดไวรัสซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์เสียหาย หรือทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาล้วงข้อมูลในเครื่องของเราไปได้ง่ายๆ เราสามารถจัดการกับสแปมเมลพวกนี้ได้โดยทำการบล็อกและป้องกันสแปมต่างๆ อย่างจริงจัง ถ้าอยากรู้ว่าทำอย่างไร ก็ลองอ่านแล้วทำตามขั้นตอนที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ระบุว่าเมลไหนเป็นสแปม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สแปมเมลส่วนใหญ่มักส่งมาจากใครก็ไม่รู้ และมักใช้ชื่ออีเมลแอดเดรสแปลกๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมลที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จักจะเป็นสแปมเมลไปทั้งหมด เมลที่แจ้งข่าวสาร หรือเมลจากเว็บที่คุณลงทะเบียนไว้ (เมลที่แจ้งการรีเซ็ตพาสเวิร์ด หรือเมลที่ส่งมาเพื่อยืนยันว่าคุณมีตัวตนจริงๆ ฯลฯ) หรือเมลส่งที่มาจากผู้ให้บริการอื่นๆ ก็อาจใช้ชื่อเมลที่คุณไม่รู้จักก็ได้
  2. เวลาที่จะกดลิงก์ คุณควรเช็คก่อนว่ามันส่งมาจากเมลที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เนื่องจากสแปมเมลต่างๆ มักส่งมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คุณกดลิงก์ที่อาจเป็นไวรัสหรืออะไรก็ตาม ถ้าลิงก์ที่แนบมามาจากเมลที่คุณไม่รู้จัก มันก็มีโอกาสที่จะเป็นสแปมไม่น้อย คุณสามารถเช็คความน่าเชื่อถือลิงก์ได้โดยการวางเมาส์ไว้บนลิงก์ดังกล่าว แล้วดูข้อมูลปลายทางที่ปรากฏขึ้นมาในเว็บเบราว์เซอร์ หรือในแถบสเตตัสของอีเมลไคลเอนต์ที่คุณใช้
  3. สแปมเมลส่วนใหญ่มักสะกดคำผิด เรียงประโยคแปลกๆ รวมถึงใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง (สำหรับภาษาอังกฤษก็อาจมีการใช้อักษรพิมพ์ใหญ่แปลกๆ เพิ่มเข้ามาด้วย) นอกจากนี้ยังลงท้ายด้วยประโยคห้วนๆ ไม่มีสาระสำคัญใดๆ
  4. บางเมลอาจส่งมาบอกว่าคุณเป็นผู้ชนะการแข่งขันหรือการประกวดทั้งที่คุณไม่เคยเข้าร่วมรายการ เพื่อเสนอเงิน ของรางวัล อุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ไม่น่าถูกต้องตามกฎหมาย และถ้ามีการขอพาสเวิร์ดของคุณด้วย ก็เดาได้เลยว่ามันไม่ใช่ของจริง (เว็บไซต์ที่ถูกกฎหมายจะมีโปรแกรมที่ใช้รีเซ็ตรหัสผ่านอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องมาถามจากผู้ใช้) ดังนั้นถ้าเจอเมลที่มีลักษณะดังกล่าว คุณก็สามารถลบทิ้งไปได้เลย
    • เว็บของผู้ให้บริการอีเมลส่วนใหญ่จะมีหน้าพรีวิวให้คุณอ่านเนื้อหาที่อยู่ภายใน โดยไม่จำเป็นต้องเปิดอีเมล ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเข้าไปอ่าน หรือต้องเสี่ยงต่อการกดลิงก์ใดๆ
  5. มัลแวร์และไวรัสมักแฝงมาในรูปของไฟล์แนบ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์แนบใดๆ ที่ส่งมาจากเมลที่คุณไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ [1]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การป้องกันสแปมเมล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ควรกรอกอีเมลแอดเดรสของคุณลงในเว็บหรือช่องทางออนไลน์ใดๆ. บอต (bot) หรือโรบอต (robot) (โปรแกรมอัตโนมัติที่ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ต) บางตัวสามารถเข้าไปเก็บอีเมลแอดเดรสในเว็บได้ ซึ่งมันสามารถเก็บรวบรวมอีเมลที่แสดงไว้ในเว็บได้หลายพันอีเมลในครั้งเดียว และอาจนำไปใช้ในทางผิดกฎหมายได้ นอกจากบอตแล้วคนบางคนก็อาจนำอีเมลต่างๆ ที่เจอในเว็บไปลงทะเบียนเพื่อซื้อของได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นไอพอด เพลงออนไลน์ โทรทัศน์ ฯลฯ [2]
  2. เปลี่ยนรูปแบบของอีเมลของคุณให้มันไม่สามารถก็อปหรือสแกนไปได้โดยตรง. ถ้าคุณต้องบอกเมลให้ใครก็ตาม ลองเปลี่ยนรูปแบบของอีเมลแอดเดรสให้มันไม่สามารถก็อปไปใช้ได้โดยตรง เช่น “me [at] yahoo [dot] com” การบอกหรือกรอกอีเมลเช่นนี้จะทำให้บอตไม่สามารถก็อปหรือสแกนไปใช้ได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำอีเมลแอดเดรสเป็นรูปภาพหรือใช้ JavaScript ในการสร้างก็ได้เช่นกัน
  3. ไม่ควรตั้งยูสเซอร์เนมให้เหมือนกับอีเมลแอดเดรส. เนื่องจากยูสเซอร์เนมมักเป็นชื่อที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ถ้าตั้งให้เหมือนกับอีเมลแอดเดรส ผู้ที่ไม่หวังดีก็จะนำยูสเซอร์เนมดังกล่าวมาสุ่มหาอีเมลแอดเดรสที่ถูกใช้ โดยใส่โดเนมของผู้ให้บริการต่อท้าย เช่น “@gmail.com” หรือ “@yahoo.com” เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ยูสเซอร์เนมเดียวกับอีเมลแอดเดรสสำหรับแชทใน “Yahoo! Chat” ผู้ที่ไม่หวังดีก็จะรู้ได้ไม่ยากว่าอีเมลแอดเดรสของคุณคืออะไร เพราะเพียงแค่นำยูสเซอร์เนมไปต่อท้ายด้วย “@yahoo.com” ก็ได้แล้ว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้แชทรูมที่เชื่อมโยงหรือผูกกับอีเมลแอดเดรสของคุณ
  4. สร้างอีเมลที่ใช้แล้วทิ้งเพื่อใช้เก็บสแปมเมลแล้วลบทิ้ง. คุณต้องมีอีเมลหลัก และอีเมลอื่นๆ ซึ่งใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน (อันหนึ่งสำหรับติดต่อทั่วไป อีกอันใช้กับเว็บบันเทิง อีกอันใช้กับเว็บการเงิน ฯลฯ)
    • สำหรับ Gmail คุณสามารถตั้งชื่อเมลใหม่ได้โดยใช้ชื่อเมลหลักแล้วใส่เครื่องหมาย “+” ต่อท้าย จากนั้นตามด้วยจุดประสงค์ของเมลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ถ้าเมลหลักของคุณคือ “JohnDoe@gmail.com” และถ้าคุณต้องการสร้างเมลไว้สำหรับรับข่าวสารจากเว็บไซต์ต่างๆ ก็ให้ตั้งชื่อว่า “JohnDoe+Newsletters@gmail.com”
    • ตั้งค่าให้เมลต่างๆ ที่สร้างขึ้นใหม่ฟอร์เวิร์ดเมลที่ถูกส่งเข้ามาไปยังเมลหลักของคุณ ซึ่งทำให้คุณไม่ต้องเช็คเมลในหลายแอคเคาท์
    • ถ้าคุณได้รับสแปมเมลจากแอดเดรสใดก็ตามที่สร้างขึ้น ให้คุณไปยังแอดเดรสนั้น แล้วลบแอคเคาท์ทิ้ง แค่นี้ก็จะไม่มีสแปมเมลส่งมาอีก
  5. การตอบกลับหรือคลิกลิงก์ “Unsubscribe” อาจทำให้มีสแปมเมลส่งมามากขึ้น เนื่องจากผู้ส่งรู้ว่าอีเมลแอดเดรสนี้มีคนใช้งานจริง เขาจึงส่งสแปมเมลมาเรื่อยๆ ดังนั้นทางที่ดีควรรีพอร์ตและลบเมลดังกล่าวทิ้ง ซึ่งวิธีการรีพอร์ตและลบสามารถดูได้จากส่วนที่สามซึ่งอยู่ด้านล่างนี้ [3]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การบล็อกและรีพอร์ตสแปมเมล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สแปมเมลส่วนใหญ่มักตรวจจับได้และถูกส่งไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ “Spam” ซึ่งจะถูกลบเมื่อผ่านไป 30 วัน ถ้าคุณได้รับเมลที่คาดว่าน่าจะเป็นสแปมเมล ให้ติ๊กถูกที่เมลนั้นแล้วคลิกปุ่ม “Report spam” ซึ่งอยู่ในทูลบาร์ที่อยู่ด้านบน
    • ถ้าคุณคลิกที่คำสั่งดังกล่าวโดยไม่ได้ตั้งใจ คุณสามารถคลิกลิงก์ “Undo” ที่อยู่ด้านบนเพื่อกู้คืนได้
    • เมื่อคุณแจ้งว่าเมลดังกล่าวเป็นสแปม Gmail ก็จะปรับปรุงการกรองเมลอัตโนมัติ
    • ถ้าเมลที่อยู่ในโฟลเดอร์ “Spam” เป็นเมลปกติทั่วไป ไม่ใช่สแปม ให้คุณติ๊กถูกที่เมลนั้นและคลิกที่ปุ่ม “Not spam” ทั้งนี้ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเมลที่เชื่อถือได้ และไม่ใช่สแปมจริงๆ
  2. Yahoo! มีระบบการกรองเมลที่ดีมาก ถ้าตรวจพบสแปมเมล มันก็จะส่งไปยังโฟลเดอร์ “Spam” อัตโนมัติ ถ้าคุณได้รับเมลที่คาดว่าน่าจะเป็นสแปมเมล ให้ติ๊กถูกที่เมลนั้นแล้วคลิกปุ่ม “Report” ซึ่งอยู่ในทูลบาร์ที่อยู่ด้านบน
    • คุณสามารถเพิ่มชื่ออีเมลแอดเดรสหรือชื่อโดเมนเข้าไปในรายชื่อเมลที่ถูกบล็อกได้ ถึงกระนั้นมันก็ช่วยได้ไม่มากนัก เนื่องจากผู้ส่งสแปมเมลมักเปลี่ยนอีเมลแอดเดรสไปเรื่อยๆ อีกทั้งยังไม่มีโดเมนใดเป็นชื่อหลักด้วย ส่วนใหญ่เป็นโดเมนชั่วคราวทั้งสิ้น
  3. โปรแกรม Outlook จะติดตั้งมาพร้อมกับ “Junk Filter” หรือฟีเจอร์ที่ใช้กรองเมลขยะ ซึ่งจะถูกตั้งระดับการกรองให้อยู่ในระดับต่ำ โดยถ้ามันตรวจพบสแปมเมล มันก็จะส่งไปยังโฟลเดอร์ “Junk” ทันที คุณสามารถเพิ่มระดับการกรองเมลได้โดยคลิกที่แท็บ “Home” ตามด้วย “Junk” จากนั้นเลือก “Junk E-mail Options” คลิกที่แท็บ “Options” แล้วตั้งระดับการกรองเมลตามที่คุณต้องการ [4]
    • การตั้งค่าแต่ละระดับจะมีการอธิบายบอกว่ามันทำงานอย่างไร การตั้งค่าเป็น “High” หรืออยู่ในระดับสูง อาจทำให้เมลปกติทั่วไปถูกส่งไปยังโฟลเดอร์ “Junk” ดังนั้นคุณต้องเข้ามาเช็คเป็นระยะว่ามีเมลที่ไม่ใช่สแปมเก็บอยู่หรือไม่
    • ติดตั้งแอดออนหรือส่วนเสริมอื่นๆ (third-party) ที่ใช้บล็อกสแปมเมล มีแอดออนหลายตัวที่สามารถติดตั้งลง Outlook และใช้กรองสแปมเมลได้ แอดออนเหล่านี้สามารถกรองเมลได้ดีเป็นพิเศษ และมีการอัปเดตสแปมเมลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยแอดออนที่ได้รับความนิยมก็เช่น “DesktopOne” “SpamAid” และ “Spam Reader” ( [5] ).
  4. สำหรับสแปมเมลที่น่าจะส่งมาจากอเมริกา ก่อนที่คุณจะลบสแปมเมลนั้นควรฟอร์เวิร์ดเมลดังกล่าวไปให้ spam@uce.gov ซึ่งเป็นเมลที่เก็บรวบรวมสแปมเมลของ FTC (Federal Trade Commission) หรือคณะกรรมาธิการการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา เมลที่ส่งมาที่นี่จะถูกตรวจสอบ ถ้าพบว่ามันเป็นสแปมเมลจริง ผู้ที่ส่งสแปมเมลนั้นเป็นคนแรกจะต้องเสียค่าปรับ 500 เหรียญต่อเมล สำหรับเมลอื่นที่ส่งมาจากผู้ใช้ที่แตกต่างกันแต่เป็นสแปมเมลเดียวกัน ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจสอบเช่นกัน [6]
    • คุณสามารถรีพอร์ดสแปมเมลไปยังองค์กรที่เกี่ยวกับการป้องกันสแปมเมลได้ เช่น “SpamCop” หรือ “KnujOn” โดยองค์กรดังกล่าวจะรายงานต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณต้องการลงทะเบียนในเว็บใดเว็บหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสมัครรับข่าวสาร แชท ฯลฯ คุณควรเสิร์ชหาในเว็บก่อนว่ามีอีเมลแอดเดรสของใครก็ตามอยู่บนเว็บหรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าเว็บนั้นไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงไม่ควรกรอกอีเมลแอดเดรสหรือข้อมูลส่วนตัวของคุณลงไป
  • ถ้าเว็บต้องการใช้เมลในการยืนยันตัวบุคคล แต่คุณไม่ต้องการให้อีเมลแอดเดรสจริงๆ ไป คุณสามารถใช้ “name@mailinator.com” แทนได้ เพียงแค่ไปยังเว็บ “mailinator.com” และเข้าไปเช็คอินบ็อกซ์ของชื่อที่คุณตั้ง เพียงแค่นี้ก็ได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องสร้างแอคเคาท์ใดๆ แต่ก็มีข้อควรระวังคือ คนอื่นสามารถเข้ามาเช็คอินบ็อกซ์ของคุณได้ ถ้าคุณตั้งชื่อที่เดาได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม “mailinator.com” จะเก็บอีเมลไว้เพียงไม่กี่ชั่วโมง จากนั้นก็จะลบทิ้งอัตโนมัติ
  • หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ในบทความในวิกิพีเดีย สแปมในปัจจุบันมักเกี่ยวข้องกับ “สแปมบทความ” (essay spammers) กล่าวคือผู้ส่งสแปมจะแทรกลิงก์ใดๆ ก็ตามที่ไปยังเว็บซึ่งเกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีสแปมที่มาจากบอตที่สร้างหน้าเว็บซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหัวข้อเรื่องด้วย โดยหน้าเว็บนี้ก็จะมีลิงก์อื่นๆ ซึ่งนำไปยังหัวข้ออื่นที่เกี่ยวโยงกับหัวเรื่องหรือมีเนื้อหาสอดคล้องกัน
  • ถ้าต้องการสร้างอีเมลแอดเดรสที่เป็นส่วนตัว ไม่เหมือนใคร และสร้างได้ไม่จำกัด ให้คุณลองเข้าไปใช้บริการใน https://meandmyid.com โดยถ้ามีเมลส่งเข้ามายังอีเมลแอดเดรสที่สร้างใหม่นี้ มันก็จะฟอร์เวิร์ดต่อมายังอีเมลแอคเคาท์หลักของคุณด้วย ดังนั้นจึงยังคงมีความเป็นส่วนตัวอยู่ นอกจากนี้คุณยังสามารถบล็อกหรือลบอีเมลแอดเดรสใดก็ตามที่ถูกโจมตีจากสแปมได้ตามต้องการด้วย
  • ถ้าคุณอยากรู้ว่าอีเมลแอดเดรสหรือเว็บไซต์ของคุณถูกดึงข้อมูลเพื่อไปใช้สแปมหรือไม่ ให้คุณทำดังนี้
    • สำหรับเว็บไซต์ ถ้าคุณมีเว็บเป็นของตัวเองให้เปิดหน้า “Contacts” ของคุณในเบราว์เซอร์อย่าง Firefox จากนั้นเข้าไปเช็คในหน้า “Source” โดยการคลิกที่ “View” แล้วเลือก “Page Source” เมื่อเปิดหน้าดังกล่าวแล้ว ให้กดปุ่ม “Ctrl+f” เพื่อเปิดแถบค้นหา ใส่สัญลักษณ์ “@” ลงไปแล้วกดปุ่ม “Enter” โดยกดปุ่ม “F3” เรื่อยๆ เพื่อให้มันเสิร์ชหาอีกครั้ง กระทั่งเจอ “@” ทั้งหมดในโค้ด จดไว้ว่าตรงไหนที่ดูเหมือนอีเมลแอดเดรส ถ้าพบอีเมลแอดเดรสใดๆ ให้ติดต่อไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อทำให้เว็บเหล่านี้มีการป้องกันจากการดึงข้อมูลเพื่อไปใช้สแปม
    • สำหรับอีเมลแอดเดรส ให้คุณเสิร์ชหาอีเมลแอดเดรสของคุณในกูเกิล หรือเสิร์ชเอนจินอื่นๆ ถ้าพบอีเมลแอดเดรสอยู่ในเว็บใด ก็ให้ติดต่อไปยังเจ้าของเว็บนั้น เพื่อให้เขาลบออกหรือซ่อนมันไว้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,805 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา