ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความนี้จะสอนวิธีหาจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน รวมทั้งวิธีหาอิเล็กตรอนในกรณีที่ มีไอออนปรากฏหลังสัญลักษณ์ธาตุ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

คำนวณหาโปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตารางธาตุเป็นตารางที่จัดเรียงธาตุต่างๆ ตามโครงสร้างอะตอม แต่ละช่องจะมีสีและตัวอักษรย่อของธาตุต่างๆ ธาตุละหนึ่ง สอง หรือสามตัวอักษรโดยไม่ซ้ำกัน นอกจากนี้ก็จะมีข้อมูลน้ำหนักและเลขอะตอมของแต่ละธาตุใส่ไว้ด้วย [1]
    • สามารถหาตารางธาตุได้จากอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือวิชาเคมี
    • โดยปกติแล้วในการสอบจะมีการให้ตารางธาตุมาด้วย
  2. ตารางนี้จะเรียงธาตุตามเลขอะตอมและแบ่งธาตุออกเป็นสามกลุ่มคือ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มธาตุอย่างละเอียดมากขึ้นไปอีกคือ โลหะแอลคาไล แฮโลเจน และก๊าซมีตระกูล [2]
    • การดูหมู่ (แถวแนวตั้ง) หรือคาบ (แถวแนวนอน) จะช่วยให้หาธาตุที่ต้องการง่ายขึ้น
    • ถ้าเราไม่รู้คุณสมบัติอื่นๆ ของธาตุที่ต้องการหา เราอาจหาธาตุนั้นด้วยการดูสัญลักษณ์ของธาตุ
  3. เลขอะตอมจะอยู่เหนือสัญลักษณ์ธาตุ ตรงมุมซ้ายบนของช่อง เลขอะตอมจะบอกให้เรารู้ว่าอะตอมของธาตุนั้นมีโปรตอนกี่ตัว [3]
    • ตัวอย่างเช่น โบรอน (B) มีเลขอะตอมคือ 5 ฉะนั้นธาตุนี้จะมีโปรตอน 5 ตัว
  4. โปรตอนเป็นอนุภาคในนิวเคลียสของอะตอม และมีประจุบวก อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่มีประจุลบ ฉะนั้นในสภาวะที่เป็นกลางแล้วธาตุนั้นจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
    • ตัวอย่างเช่น โบรอน (B) มีเลขอะตอม 5 ฉะนั้นจึงมีโปรตอน 5 ตัว และอิเล็กตรอน 5 ตัว
    • แต่หากธาตุนั้นมีไอออนลบหรือบวก แสดงว่าจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนของธาตุนั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน เราจะต้องคำนวณออกมาเอง จำนวนไอออนจะปรากฏเป็นตัวยกเล็กๆ หลังธาตุนั้น
  5. เราจะต้องหามวลอะตอมให้ได้ก่อนหาจำนวนนิวตรอน มวลอะตอมของธาตุ (หรือรู้จักกันในชื่อน้ำหนักอะตอม) คือมวลโดยเฉลี่ยของอะตอมธาตุนั้น [4] เราจะพบมวลอะตอมอยู่ใต้สัญลักษณ์ธาตุนั้น
    • ต้องประมาณมวลอะตอมให้เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น มวลอะตอมของโบรอนคือ 10.811 แต่เราต้องประมาณให้เป็นจำนวนเต็มคือ 11
  6. เราจะต้องนำเลขอะตอมลบออกจากมวลอะตอมเพื่อหาจำนวนนิวตรอน เรารู้จำนวนโปรตอนแล้ว เพราะเลขอะตอมเท่ากับจำนวนโปรตอนอย่างที่กล่าวไปแล้ว [5]
    • ตัวอย่างเช่น จำนวนนิวตรอนของโบรอนหาได้จากการนำ 11 (มวลอะตอม) ลบ 5 (เลขอะตอม) ก็จะได้เท่ากับ 6
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

คำนวณหาอิเล็กตรอนในกรณีที่มีไอออนปรากฏหลังสัญลักษณ์ธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำนวนไอออนของธาตุต่างๆ จะเป็นตัวเลขเล็กๆ ซึ่งทำเป็นตัวยกและอยู่หลังสัญลักษณ์ธาตุ ไอออนคืออะตอมที่มีประจุบวกหรือลบเนื่องจากการได้รับหรือเสียอิเล็กตรอน [6] ถึงแม้จำนวนโปรตอนในอะตอมยังคงเท่าเดิม แต่จำนวนอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนแปลงตามจำนวนไอออน
    • เพราะอิเล็กตรอนมีประจุลบ ฉะนั้นเมื่อเราเอาอิเล็กตรอนออกไป ไอออนก็จะกลายเป็นบวก แต่เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนเข้าไป ไอออนก็จะกลายเป็นลบ
    • ตัวอย่างเช่น N 3- มีประจุ -3 แต่ Ca 2+ มีประจุ +2
    • เราไม่จำเป็นต้องนำจำนวนไอออนมาคำนวณหาอิเล็กตรอนด้วย ถ้าไม่มีจำนวนไอออนซึ่งทำเป็นตัวยกปรากฏอยู่หลังสัญลักษณ์ธาตุนั้น
  2. เมื่อไอออนมีประจุบวก แสดงว่าอะตอมของธาตุนั้นสูญเสียอิเล็กตรอน เราต้องนำจำนวนประจุบวกนี้ไปลบออกจากเลขอะตอมเพื่อคำนวณหาจำนวนอิเล็กตรอนที่เหลืออยู่ ถ้าไอออนมีประจุบวก แสดงว่ามีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน
    • ตัวอย่างเช่น Ca 2+ มีประจุ+2 แสดงว่าธาตุนี้เสียอิเล็กตรอนไป 2 ตัว เลขอะตอมของแคลเซียมคือ 20 แต่สูญเสียอิเล็กตรอนไป 2 ตัว ฉะนั้นจึงเลือกอิเล็กตรอน 18 ตัว
  3. เมื่อไอออนมีประจุลบ แสดงว่าอะตอมของธาตุนั้นได้รับอิเล็กตรอนมากขึ้น เราจึงต้องนำจำนวนไอออนนั้นมาบวกกับเลขอะตอมเพื่อจะได้จำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้ ในกรณีที่ไอออนเป็นลบ แสดงว่ามีจำนวนโปรตอนน้อยกว่าอิเล็กตรอน
    • ตัวอย่างเช่น N 3- มีประจุ -3 แสดงว่ามีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นมา 3 ตัว เลขอะตอมของไนโตรเจนคือ 7 แต่มีอิเล็กตรอนเพิ่มเข้า 3 ตัว ฉะนั้นตอนนี้จึงมีอิเล็กตรอนอยู่ 10 ตัว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 246,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา