ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
อะตอมของสารเคมีนั้นเล็กมากเกินกว่าที่จะวัดออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม นักวิทยาศาสตร์จึงกำหนดหน่วยโมลขึ้นมาเพื่อให้สามารถวัดปริมาณของสารเคมีได้ โมลถูกกำหนดให้มีค่าเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม โดยมีอะตอมประมาณ 6.022 x 10 23 [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ตัวเลขนี้เรียกว่าเลขอาโวกาโดรหรือค่าคงตัวอาโวกาโดร ใช้เป็นจำนวนอะตอมของสารใดๆ ก็ตามและมวลของสาร 1 โมลคือมวลโมลาร์ของสารนั้น
ขั้นตอน
-
เข้าใจว่ามวลโมลาร์คืออะไร. มวลโมลาร์คือมวล (ในหน่วยกรัม) ของสารหนึ่งโมล [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เราสามารถคำนวณหามวลโมลาร์ของธาตุหนึ่งด้วยการนำมวลอะตอมของธาตุนั้นมาคูณกับแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยกรัมต่อโมล (g/mol)
-
รู้มวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุนั้น. มวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุหนึ่งคือมวลโดยเฉลี่ยในหน่วยอะตอมของตัวอย่างหนึ่งในไอโซโทปทั้งหมดของธาตุนั้น [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เราจะรู้มวลอะตอมสัมพัทธ์จากการดูตารางธาตุ หาสัญลักษณ์ธาตุที่ต้องการให้พบแล้วดูตัวเลขใต้สัญลักษณ์ธาตุนั้น ก็จะเห็นตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนเต็มแต่เป็นเลขทศนิยมอยู่ตรงนั้น
- ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 1.007 คาร์บอนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 12.0107 ออกซิเจนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 15.9994 และคลอรีนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 35.453
-
นำค่าคงตัวมวลโมลาร์มาคูณกับมวลอะตอมสัมพัทธ์. ค่าคงตัวมวลโมลาร์ถูกกำหนดให้เป็น 0.001 กิโลกรัมต่อโมล หรือ 1 กรัมต่อโมล ค่าคงตัวนี้จะช่วยแปลงหน่วยอะตอมให้เป็นหน่วยกรัมต่อโมล ถ้านำค่าคงตัวมวลโมลาร์มาคูณกับมวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุในตัวอย่างก่อนหน้านี้ มวลโมลาร์ของไฮโดรเจนจะเป็น 1.007 กรัมต่อโมล มวลโมลาร์ของคาร์บอนจะเป็น 12.0107 กรัมต่อโมล มวลโมลาร์ของออกซิเจนจะเป็น 15.9994 กรัมต่อโมล และมวลโมลาร์ของคลอรีนจะเป็น 35.453 กรัมต่อโมล
- บางธาตุจะพบเพียงในรูปแบบที่มีโมเลกุล 2 อะตอมหรือมากกว่านั้น ถ้าพบธาตุแบบนี้ แสดงว่าเรากำลังหามวลโมลาร์ของธาตุที่ประกอบจากอะตอม 2 ตัว เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน และคลอรีน เราต้องรู้มวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุนั้นก่อน แล้วจึงนำค่าคงตัวมวลโมลาร์มาคูณกับมวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุนั้น จากนั้นจึงนำ 2 ไปคูณกับผลลัพธ์ที่ได้
- ตัวย่างเช่น H 2 : 1.007 x 2 = 2.014 กรัมต่อโมล O 2 : 15.9994 x 2 = 31.9988 กรัมต่อโม และ Cl 2 : 35.453 x 2 = 70.096 กรัมต่อโมล
โฆษณา
-
รู้สูตรทางเคมีของสารประกอบนั้น. สูตรทางเคมีจะทำให้รู้ว่าธาตุแต่ละธาตุที่ประกอบขึ้นมาเป็นสารประกอบนั้นมีจำนวนอะตอมเท่าไร (ข้อมูลนี้มีในหนังสืออ้างอิงวิชาเคมี) ตัวอย่างเช่น สูตรของไฮโดรเจนคลอไรด์ (กรดไฮโดรคลอริก) คือ HCl สูตรทางเคมีของกลูโคสคือ C 6 H 12 O 6 ถ้ารู้สูตรทางเคมี เราก็จะรู้ว่าแต่ละธาตุในสารประกอบนั้นมีจำนวนอะตอมเท่าไร
- HCl มีไฮโดรเจนหนึ่งอะตอมและคลอรีนหนึ่งอะตอม
- C 6 H 12 O 6 มีคาร์บอน 6 อะตอม ไฮโดรเจน 12 อะตอม และออกซิเจน 6 อะตอม
-
รู้มวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุในสารประกอบนั้น. ดูตารางธาตุ หามวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุ ดูที่ตัวเลขใต้สัญลักษณ์ธาตุนั้น จากนั้นเราจะนำ 1 กรัมต่อโมลมาคูณมวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุเหมือนอย่างที่ทำในวิธีแรก
- มวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุในกรดไฮโดรคลอริกมีดังนี้ ไฮโดรเจน 1.007 กรัมต่อโมล และคลอรีน 35.453 กรัมต่อโมล
- มวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุในกลูโคสได้แก่ คาร์บอน 12.0107 กรัมต่อโมล ไฮโดรเจน 1.007 กรัม และออกซิเจน 15.9994 กรัมต่อโมล
-
หามวลโมลาร์ของแต่ละธาตุในสารประกอบนั้น. นำจำนวนอะตอมของธาตุละธาตุในสารประกอบมาคูณกับมวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุนั้น ก็จะได้มวลโมลาร์ของธาตุแต่ละธาตุในสารประกอบนั้น [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ HCl มีมวลโมลาร์ของแต่ละธาตุดังนี้ ไฮโดรเจน 1.007 กรัมต่อโมลและคลอรีน 35.453 กรัมต่อโมล
- กลูโคสซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ C 6 H 12 O 6 มีมวลโมลาร์ของแต่ละธาตุดังนี้ คาร์บอน 12.0107 x 6 = 72.0642 กรัมต่อโมล ไฮโดรเจน 1.007 x 12 = 12.084 กรัมต่อโมล และออกซิเจน 15.9994 x 6 = 95.9964 กรัมต่อโมล
-
นำมวลโมลาร์ของแต่ละธาตุในสารประกอบนั้นมาบวกกัน. ก็จะได้มวลโมลาร์ของสารประกอบนั้น นำผลลัพธ์ของขั้นตอนก่อนหน้านี้มาบวกกันเพื่อหามวลโมลาร์ของสารประกอบนั้น
- ไฮโดรเจนคลอไรด์มีมวลโมลาร์ 1.007 + 35.453 = 36.460 กรัมต่อโมล ฉะนั้น 36.46 กรัมคือมวลของไฮโดรเจนคลอไรด์หนึ่งโมล
- มวลโมลาร์ของกลูโคส 72.0642 + 12.084 + 95.9964 = 180.1446 กรัมต่อโมล ฉะนั้น 180.14 คือมวลของกลูโคสหนึ่งโมล
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ถึงแม้มวลอะตอมสัมพัทธ์ส่วนใหญ่จะมีทศนิยม 4 ตำแหน่ง แต่เมื่อเขียนผลการทดลองโดยปกติจะเขียนทศนิยมของมวลโมลาร์ไม่เกิน 2 ตำแหน่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสารนั้นมีมวลมาก ฉะนั้นเมื่อเขียนผลการทดลอง มวลโมลาร์ของไฮโดรเจนคลอไรด์คือ 36.46 กรัมต่อโมลและมวลโมลาร์ของกลูโคส180.14 กรัมต่อโมล
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- หนังสืออ้างอิงวิชาเคมีหรือตารางธาตุ
- เครื่องคิดเลข
ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา