ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

น้ำแข็งแห้งใช้รักษาความเย็นให้เครื่องดื่ม ไอศครีม ไปจนถึงสร้าง special effects ตื่นตาตื่นใจ ประมาณว่าควันในหนังสยองขวัญหรือละครเวที ถึงน้ำแข็งแห้งจะมีประโยชน์ แต่ตอนยังไม่ใช้ก็ต้องเก็บให้ถูกวิธี เพื่อยืดอายุและเพื่อความปลอดภัย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เก็บน้ำแข็งแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณทำให้น้ำแข็งแห้งระเหิดช้าลงได้ แต่หยุดการระเหิดไม่ได้ เพราะงั้นให้ซื้อน้ำแข็งแห้งเฉพาะตอนที่จะใช้เท่านั้น ถึงจะเก็บดีแค่ไหน แต่น้ำแข็งแห้งจะระเหิดไปได้ 5 - 10 ปอนด์ (2 - 4 กก.) ต่อวันเลยทีเดียว [1]
  2. น้ำแข็งแห้งทำผิวคุณไหม้ได้เพราะอุณหภูมิติดลบเยอะมาก ถุงมือที่บุฉนวนกันความเย็นจะช่วยปกป้องมือไม่ให้โดนน้ำแข็งแห้งกัดได้ แต่ทางที่ดีอย่าพยายามใช้มือจับน้ำแข็งแห้งเลย [2] นอกจากนี้ให้ใส่เสื้อแขนยาวเพื่อปกป้องแขนด้วย [3]
  3. เก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่บุฉนวนกันความเย็น. ใช้กล่องโฟม (styrofoam) หนาๆ ก็เก็บน้ำแข็งแห้งได้นานพอตัว หรือจะใช้กระติกหิ้วธรรมดาแบบใช้แช่น้ำกระป๋องก็ยังได้ [4]
  4. ขยำกระดาษเป็นก้อนๆ ใส่ในกล่องโฟมให้เต็ม จะช่วยลดการระเหิดของน้ำแข็งแห้งได้ เพราะที่คับแคบขึ้น ไม่เหลือที่ว่างๆ โล่งๆ เยอะ [5]
  5. ยิ่งเปิดฝากล่อง อากาศอุ่นๆ ก็จะไหลเข้าไป ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการระเหิด น้ำแข็งแห้งจะกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว [6]
  6. ถ้าอากาศหนาว ก็ทิ้งไว้ข้างนอกได้เลย แต่ถ้าร้อนประจำแบบบ้านเรา ก็ต้องเก็บไว้ในที่ร่มๆ เย็นๆ พยายามให้อุณหภูมินอกกล่องต่ำเข้าไว้ จะช่วยลดการระเหิดของน้ำแข็งแห้งได้ [7]
  7. ถ้าโดนน้ำแข็งแห้งกัดเล็กน้อยจนผิวแดง เดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้ารุนแรงจนผิวหนังพุพองหรือเริ่มลอก แบบนี้ต้องรีบไปหาหมอ [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ข้อควรระวัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำแข็งแห้งจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ถ้าอยู่ในห้องทึบ สูดดมเข้าไปจะเป็นอันตรายได้ เพราะงั้นต้องเก็บในห้องที่อากาศถ่ายเท ไม่งั้นจะเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ (asphyxiation) ได้ทั้งคนและสัตว์ [9]
    • รถที่ปิดประตูมิดชิดก็เท่ากับอากาศไม่ถ่ายเท โดยเฉพาะถ้าไม่เปิดแอร์ด้วยแล้ว เพราะงั้นอย่าทิ้งน้ำแข็งแห้งไว้ในรถที่ดับเครื่องและปิดหน้าต่าง เวลาซื้อน้ำแข็งแห้งใส่รถมา ให้เปิดแอร์ เปิดกระจกรับอากาศบริสุทธิ์ และอย่าวางไว้ใกล้ตัวตอนขับรถ [10]
  2. อย่าเก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่ปิดมิดชิดเกินไป. อย่าลืมว่าน้ำแข็งแห้งจะระเหิด ไม่ได้ละลาย เลยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา พอเปลี่ยนเป็นแก๊ส ก็ต้องมีรูให้ไหลออกไป ถ้าภาชนะนั้นซีลหรือปิดสนิท แก๊สจะไหลออกไม่ได้ ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด แก๊สอาจอัดแน่นจนระเบิดได้ [11]
  3. อย่าลืมว่าช่องฟรีซก็เป็นช่องปิดสนิทเช่นกัน ระวังจะระเบิดได้ [12] ที่สำคัญพอเอาน้ำแข็งแห้งใส่ช่องฟรีซหรือตู้เย็นแล้ว อาจไปรบกวนระบบการทำงานของเครื่อง เพราะ thermostats หรือตัวควบคุมความเย็นรับมืออุณหภูมิต่ำขนาดนั้นไม่ไหว [13]
  4. สวมแว่นตาหรือหน้ากากนิรภัยตอนเฉาะน้ำแข็งแห้ง. ถ้าต้องเฉาะน้ำแข็งแห้งก้อนใหญ่ ต้องสวมแว่นตาหรือหน้ากากป้องกันดวงตาไว้เสมอ ไม่งั้นสะเก็ดอาจกระเด็นเข้าตาจนไหม้ได้ [14]
  5. คาร์บอนไดออกไซด์จะไหลลงไปที่พื้นห้อง เพราะหนักกว่าอากาศที่คุณหายใจเข้าไป ดังนั้นจะไหลไปกองรวมกันในที่ลาดลงเสมอ ห้ามคุณนอนราบ หรือยื่นหน้าไปแถวนั้นเด็ดขาด [15]
  6. อย่างที่บอกว่าอุณหภูมิติดลบรุนแรง เพราะงั้นน้ำแข็งแห้งกัดหลายพื้นผิวเสียหายได้เลย เช่น กระเบื้องหรือหน้าเคาน์เตอร์อาจจะแตกได้ [16]
  7. วิธีกำจัดน้ำแข็งแห้งที่ไม่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง ก็คือปล่อยให้ระเหิดจนหมดไปเอง แต่ต้องทำในบริเวณที่อากาศถ่ายเท จนแน่ใจว่าน้ำแข็งแห้งกลายเป็นไอหมดแล้ว [17]
    • อย่าเทน้ำแข็งแห้งใส่อ่างล้างจานหรืออ่างล้างหน้าในห้องน้ำ เพราะทำอ่างเสียได้เลย รวมถึงอย่าเอาไปทิ้งถังขยะซะเฉยๆ เพราะถ้าวางทิ้งไว้มั่วซั่ว อาจมีเด็กหรือคนที่ไม่รู้มาหยิบเล่นด้วยมือเปล่าจนบาดเจ็บได้ [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าตอนใช้ เก็บ หรือกำจัดน้ำแข็งแห้ง คุณเกิดหายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว หรือวิงเวียนขึ้นมา ให้รีบออกไปยังที่ที่อากาศถ่ายเททันที เพราะเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเกิด asphyxiation หรือภาวะขาดอากาศหายใจ [19]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 82,686 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา