ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหาจำนวนนิวตรอนในอะตอมนั้นค่อนข้างง่ายและไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยากซับซ้อน เราแค่ต้องทำตามคำแนะนำข้างล่างนี้เพื่อจะได้สามารถหาจำนวนนิวตรอนในอะตอมปกติหรือไอโซโทปได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

หาจำนวนนิวตรอนในอะตอมปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวอย่างเช่น เราต้องการหาธาตุออสเมียม (Os) เมื่อดูในตาราง ก็จะพบธาตุนี้อยู่ในคาบที่หก
  2. เลขอะตอมเป็นตัวเลขที่เห็นง่ายที่สุดของธาตุและมักจะอยู่เหนือสัญลักษณ์ธาตุ (ในแผนภาพที่เราใช้อยู่นี้ไม่มีตัวเลขอื่นอยู่ด้วย) เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุนั้น Os มีเลขอะตอม 76 หมายความว่าออสเมียมหนึ่งอะตอมมีโปรตอน 76 ตัว
    • จำนวนโปรตอนจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะโดยพื้นฐานแล้วจำนวนโปรตอนเป็นตัวกำหนดว่าธาตุนั้นเป็นธาตุอะไร
  3. โดยปกติมักจะพบตัวเลขนี้ที่ใต้สัญลักษณ์ธาตุ ถึงแม้แผนภาพในตัวอย่างนี้จะมีแค่เลขอะตอมของธาตุและไม่มีเลขน้ำหนักอะตอม แต่บางครั้งตารางธาตุจะให้น้ำหนักอะตอมมาด้วย ออสเมียมมีน้ำหนักอะตอม 190.23
  4. ประมาณน้ำหนักอะตอมให้เป็นจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงที่สุดเพื่อให้ได้มวลอะตอม. ในตัวอย่างที่ยกมา 190.23 จะถูกประมาณให้เป็นค่าใกล้เคียงคือ 190 เราก็จะได้มวลอะตอมของออสเมียมคือ 190
    • น้ำหนักอะตอมคือค่ามวลเฉลี่ยของไอโซโทปธาตุนั้น ฉะนั้นน้ำหนักอะตอมจึงไม่เป็นจำนวนเต็ม
  5. เนื่องจากอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเมื่อนำมวลอะตอมมาลบกับจำนวนโปรตอน (นั้นคือเลขอะตอม) ก็จะได้จำนวนนิวตรอนในอะตอม เลขหลังจุดทศนิยมคือมวลของอิเล็กตรอนในอะตอม จะเห็นว่าอิเล็กตรอนนั้นมีมวลน้อยมาก ในตัวอย่างที่ยกมา 190 (น้ำหนักอะตอม) – 76 (จำนวนโปรตอน) = 114 (จำนวนนิวตรอน)
  6. จะใช้สูตรนี้ เมื่อต้องการหาจำนวนนิวตรอน
    • N = M – n
      • N = จำนวนของ นิวตรอน
      • M = มวล อะตอม
      • n = เลข อะตอม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

หาจำนวนนิวตรอนในไอโซโทป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวอย่างเช่น เรากำลังมองหาคาร์บอน 14 แต่เนื่องจากคาร์บอน 14 ที่ไม่อยู่ในรูปไอโซโทปคือคาร์บอน (C) ฉะนั้นให้หาคาร์บอนในตารางธาตุ (อยู่ในคาบที่สอง)
  2. เลขอะตอมเป็นตัวเลขที่เห็นง่ายที่สุดของธาตุและมักจะอยู่เหนือสัญลักษณ์ธาตุนั้น (ในแผนภาพที่เราใช้อยู่นี้ไม่มีตัวเลขอื่นอยู่ด้วย) เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุนั้น C มีเลขอะตอม 6 หมายความว่าคาร์บอนหนึ่งอะตอมมีโปรตอน 6 ตัว
  3. การหามวลอะตอมของไอโซโทปนั้นง่ายมากทีเดียว เพราะชื่อของธาตุถูกตั้งตามมวลอะตอมของธาตุนั้นแล้ว ตัวอย่างเช่น คาร์บอน 14 มีมวลอะตอม 14 พอรู้มวลอะตอมของไอโซโทปนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เหมือนกับการหานิวตรอนในอะตอมปกติ
  4. เนื่องจากอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเมื่อนำมวลอะตอมมาลบกับจำนวนโปรตอน (นั้นคือเลขอะตอม) ก็จะได้จำนวนนิวตรอนในอะตอม ในตัวอย่างที่ยกมา 14 (น้ำหนักอะตอม) – 6 (จำนวนโปรตอน) = 8 (จำนวนนิวตรอน)
  5. จะใช้สูตรนี้ เมื่อต้องการหาจำนวนนิวตรอน
    • N = M – n
      • N = จำนวนของ นิวตรอน
      • M = มวล อะตอม
      • n = เลข อะตอม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • น้ำหนักแทบจะทั้งหมดของธาตุมาจากโปรตอนและนิวตรอน แต่อิเล็กตรอนและอนุภาคต่างๆ มีมวลน้อยมาก (แทบจะเป็นศูนย์) เนื่องจากโปรตอนตัวหนึ่งมีน้ำหนักโดยประมาณเท่ากับนิวตรอนตัวหนึ่งและเลขอะตอมคือจำนวนโปรตอน ฉะนั้นเราจึงสามารถนำจำนวนโปรตอนไปลบออกจากมวลทั้งหมดได้เลย
  • ถ้าเราไม่มั่นใจว่าตัวเลขไหนอยู่ตรงส่วนใดของตารางธาตุ ให้จำไว้ว่าตารางธาตุได้รับการออกแบบมาให้เรียงธาตุตามเลขอะตอม (นั้นคือจำนวนโปรตอน) เริ่มจาก 1 (ไฮโดรเจน) และเพิ่มขึ้นทีละหน่วยจากซ้ายไปขวาและจบลงที่ 118 (ออกาเนสซอน) ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าจำนวนโปรตอนในอะตอมหนึ่งเป็นตัวกำหนดว่าอะตอมนั้นเป็นอะตอมของธาตุใด จึงทำให้จัดเรียงลำดับธาตุได้ง่าย (ตัวอย่างเช่น อะตอมที่มีโปรตอน 2 ตัวคือฮีเลียม อะตอมที่มีโปรตอน 79 ตัวคือทอง)
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 45,426 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา