ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เลขอะตอมของธาตุคือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งอะตอมในธาตุนั้น เลขอะตอมของธาตุหนึ่งหรือไอโซโทปของธาตุนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้นเราจึงสามารถใช้เลขอะตอมมาช่วยให้รู้ข้อมูลอื่นๆ ของธาตุนั้นอย่างเช่น จำนวนนิวตรอนได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หาเลขอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ายังไม่มีตารางธาตุ ให้คลิกตรงนี้ ธาตุแต่ละธาตุจะมีเลขอะตอมต่างกัน ฉะนั้นจึงต้องจดจำธาตุไปทีละตัว จะเลือกดูตารางธาตุหรือจดจำธาตุไปทีละตัวเอาก็ได้
    • ตำราเรียนวิชาเคมีส่วนใหญ่จะมีตารางธาตุอยู่ในปกด้านใน
  2. ตารางธาตุส่วนใหญ่จะมีชื่อเต็มของธาตุนั้นและสัญลักษณ์ธาตุ (อย่างเช่น Hg แทนปรอท) ถ้าหาไม่เจอ ค้นคำว่า "สัญลักษณ์ธาตุ" ทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ เราจะได้รู้ชื่อธาตุนั้นด้วย
  3. เลขอะตอมมักจะอยู่ที่มุมซ้ายบนหรือมุมขวาบนของช่องสัญลักษณ์ธาตุนั้น แต่ก็อาจอยู่ในจุดอื่นได้เช่นกัน เลขอะตอมจะเป็นจำนวนเต็มเสมอ
    • ถ้าเลขนั้นมีจุดทศนิยม แสดงว่าเลขนั้นอาจเป็นมวลอะตอม
  4. ตารางธาตุจะเรียงธาตุตามเลขอะตอม ถ้าเลขอะตอมของธาตุที่ต้องการคือ "33" ธาตุที่อยู่ทางซ้ายของธาตุนั้นควรมีเลขอะตอมเป็น "32" และธาตุที่อยู่ทางขวาของธาตุนั้นควรมีเลขอะตอมเป็น "34" ถ้าเห็นว่าเป็นไปตามหลักการนี้ แสดงว่าเราพบเลขอะตอมแล้ว
    • อาจเห็นว่าธาตุที่มีเลขอะตอม 56 (แบเรียม) และ 88 (เรเดียม) นั้นมีเลขอะตอมที่ห่างกันมาก ความจริงแล้วธาตุพวกนี้ยังเรียงตามเลขอะตอมอยู่ แต่ธาตุที่มีเลขอะตอมซึ่งอยู่ระหว่างเลขอะตอมของสองธาตุนี้อยู่ที่สองแถวล่างสุดของตารางธาตุ ธาตุพวกนี้แยกมาเพื่อให้จำนวนธาตุพอดีกับพื้นที่ตารางธาตุ
  5. เลขอะตอมของธาตุหนึ่งก็คือจำนวนโปรตอนในอะตอมเดียวของธาตุนั้น [1] เป็นตัวบ่งบอกว่าธาตุนั้นเป็นธาตุอะไร จำนวนโปรตอนจะเป็นตัวกำหนดประจุไฟฟ้าโดยรวมของนิวเคลียสซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าจะรับอิเล็กตรอนได้มากแค่ไหน เพราะอิเล็กตรอนเป็นส่วนสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกือบทั้งหมด เลขอะตอมจึงเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีแทบทั้งหมดของธาตุนั้น
    • กล่าวอีกอย่างหนึ่งคืออะตอมใดก็ตามที่มีโปรตอนแปดตัวจะเป็นอะตอมของออกซิเจน อะตอมออกซิเจนสองอะตอมอาจมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกัน (ถ้าตัวหนึ่งเป็นไอออน) หรือจำนวนอิเล็กตรอนต่างกัน แต่อะตอมออกซิเจนแต่ละอะตอมจะมีโปรตอนแปดตัวเสมอ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยปกติน้ำหนักอะตอมมักจะอยู่ใต้ชื่อธาตุนั้นและมีทศนิยมสักสองสามตำแหน่ง น้ำหนักอะตอมคือมวลเฉลี่ยของอะตอมหนึ่งอะตอมในธาตุนั้น เป็นน้ำหนักที่เราอาจพบในธรรมชาติ ตัวเลขนี้มีหน่วยคือ "หน่วยมวลอะตอม"(AMU).
    • นักวิทยาศาสตร์บางท่านจะใช้คำว่า "มวลอะตอมสัมพัทธ์ " แทนน้ำหนักอะตอม [2]
  2. เลขมวลคือจำนวนโปรตอนและนิวตรอนทั้งหมดในอะตอมของธาตุนั้น ถ้าอยากรู้เลขมวลของธาตุหนึ่ง แค่ดูเลขมวลของธาตุนั้นในตารางธาตุและประมาณเป็นค่าใกล้เคียงจำนวนเต็ม [3]
    • สาเหตุที่ต้องประมาณเลขมวลเพราะนิวตรอนและโปรตอนใกล้เคียง 1 AMU มากทั้งคู่ และอิเล็กตรอนก็ใกล้เคียงกับ 0 AMU มาก น้ำหนักอะตอมจึงมีจุดทศนิยมเพื่อความแม่นยำมากขึ้น แต่เราจะสนใจแค่จำนวนเต็มซึ่งบอกจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
    • อย่าลืมว่าถ้าเราหาน้ำหนักอะตอม เราจะได้มวลโดยเฉลี่ยของธาตุนั้น โบรมีนมีมวลโดยเฉลี่ย 80 แต่อะตอมของโบรมีนอะตอมเดียวมักจะมีเลขมวล 79 หรือ 81 [4]
  3. มวลอะตอมนั้นคล้ายน้ำหนักอะตอมมาก แต่ต่างกันเพียงอย่างเดียวคือ เวลาหามวลอะตอม เราจะหามวลของอะตอมใดอะตอมหนึ่งแทนการหามวลโดยเฉลี่ย [5] เหล็กหนึ่งกรัมมีอะตอมหลายตัวที่มีมวลต่างกันเพียงเล็กน้อย เราจึงดูที่ "น้ำหนักสัมพัทธ์"เพื่อหาค่าเฉลี่ย ถ้าเราจะดูอะตอมแค่ตัวเดียว ก็ไม่ต้องสนใจค่าเฉลี่ย สนใจแค่มวลที่แท้จริงของอะตอมตัวนั้นเท่านั้น
    • เมื่อทำแบบฝึกหัดวิชาเคมีโจทย์จะบอกมวลอะตอมมาให้ ถ้าเข้าใจว่ามวลอะตอมคืออะไร เราก็จะไม่นำไปปนกับน้ำหนักอะตอม
  4. ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเลขอะตอม = จำนวนโปรตอน และเลขมวล = จำนวนโปรตอน+จำนวนนิวตรอน ถ้าอยากหาจำนวนนิวตรอนของธาตุที่ต้องการ นำเลขอะตอมลบออกจากเลขมวล ขอยกตัวอย่างสักสองตัวอย่างดังนี้
    • อะตอมฮีเลียม (He) มีเลขมวล 4 และเลขอะตอม 2 จึงมีนิวตรอน 4 - 2 = 2 ตัว
    • เงิน (Ag) มีเลขมวลเฉลี่ย 108 (จากตารางธาตุ) และเลขอะตอม 47 โดยเฉลี่ยอะตอมของเงินแต่ละอะตอมมีนิวตรอน 108 - 47 = 61 ตัว
  5. ไอโซโทปคือธาตุในรูปแบบหนึ่งที่มีจำนวนนิวตรอนแบบเฉพาะของตนเอง ถ้าทำแบบฝึกหัดวิชาเคมี แล้วเจอธาตุ "โบรอน10" หรือ " 10 B" แสดงว่ากำลังกล่าวถึงธาตุโบรอนที่มีเลขมวล 10 [6] ถ้าธาตุนั้นเป็นธาตุไอโซโทปของโบรอน แทนที่จะใส่แค่โบรอน "เท่านั้น" เราก็จะใส่เลขมวลลงไปด้วย
    • ธาตุที่เป็นไอโซโทปจะมีเลขอะตอมเท่าเดิม ไม่ว่าธาตุนั้นจะอยู่ในไอโซโทปแบบไหนก็จะมีจำนวนโปรตอนเท่าเดิม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ธาตุหนักบางธาตุมีน้ำหนักอะตอมใส่ไว้ในวงเล็บหรือปีกกา ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าน้ำหนักอะตอมนั้นคือมวลที่แท้จริงของไอโซโทปที่เสถียรส่วนใหญ่ ไม่ใช่มวลเฉลี่ยของไอโซโทปหลายตัว [7] (ไม่มีผลกับเลขอะตอม)
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,680 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา