ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นไข้คือการที่อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 เซลเซียส มันจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายคุณต่อสู้จนชนะอาการติดเชื้อ เชื้อโรค หรือความเจ็บป่วย และมักจะเป็นประโยชน์ด้วย [1] ในขณะที่คุณมักจะสามารถทุเลาจากอาการไข้ได้เองที่บ้าน คุณก็สมควรจะตรวจสอบการเป็นไข้อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กๆ ผู้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคไข้ชัก (Febrile seizure) หรือมีอาการชักซึ่งเกิดจากอุณหภูมิในร่างกายสูง [2] หากคุณหรือลูกของคุณเป็นไข้ มีหลายวิธีที่สามารถจะลดไข้ลงได้อย่างรวดเร็วเท่าที่จะทำได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

การรักษาเมื่อเป็นไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงรักษาด้วยยาที่หาซื้อกันได้ทั่วไปเมื่อเป็นไข้ที่เกิดจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่. การรักษาด้วยยาที่หาซื้อได้ทั่วไปคือหนึ่งในวิธีเร็วที่สุดและง่ายที่สุดเพื่อให้หายไข้ แต่หากคุณเป็นไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจรักษาได้ยาก เพราะเชื้อไวรัสใช้ชีวิตอยู่ในเซลล์ของร่างกาย และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แถมไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ [3] อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลองใช้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมการตอบสนองของร่างกายของคุณต่อการเป็นไข้ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆ
    • ทดลองใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) หรือแอสไพริน เพื่อช่วยลดไข้ให้บรรเทาลง จงทำให้แน่ใจว่าคุณได้ทำตามคำแนะนำต่างๆ บนซองยา และไม่ใช้ยาเกินปริมาณที่ได้แนะนำไว้
    • อย่าให้เด็กๆ กินยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ (Reye's syndrome) ได้ หากเด็กๆ ติดเชื้อไวรัส ยาอะเซตามิโนเฟนเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า จงมองหายาสูตรสำหรับ "เด็ก" และปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องปริมาณยาอย่างรอบคอบ [4]
  2. การอาบน้ำอุ่น หรืออาบน้ำฝักบัวอุ่นๆ อาจช่วยให้ร่างกายของคุณเย็นลงได้เร็วมากขึ้นเช่นกัน [5] จงเติมน้ำอุ่นให้เต็มอ่างอาบน้ำ หรือปรับฝักบัวจนน้ำอุ่น แช่น้ำในอ่างอาบน้ำ หรือยืนอาบน้ำฝักบัวนาน 10 - 15 นาทีเพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณเย็นลง
    • อย่าอาบน้ำฝักบัวที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง หรือใส่น้ำแข็งลงในอ่างอาบน้ำ เพื่อช่วยลดไข้ ใช้เพียงน้ำอุ่นเท่านั้นเพื่อค่อยๆ ลดไข้ลงอย่างนุ่มนวล
  3. การเป็นไข้อาจทำให้ขาดน้ำ และอาจทำให้เรื่องต่างๆ เลวร้ายลง ให้แน่ใจว่าคุณดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อช่วยร่างกายต่อสู้กับอาการไข้ และคอยช่วยให้ร่างกายยังคงอิ่มน้ำอยู่ด้วย
  4. [7] อาหารเสริมสามารถช่วยเติมเต็มการขาดแคลนสารอาหารต่างๆ ช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับต้นเหตุของการเป็นไข้ การกินวิตามินรวมจะไม่ได้ต่อสู้โดยตรงกับอาการไข้ แต่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับร่างกายของคุณเพื่อสามารถต่อสู้กับอาการไข้ได้
    • กินวิตามินรวม กับวิตามินเอ ซี อี และวิตามินบี-คอมเพล็กซ์ แมกนีเซี่ยม แคลเซี่ยม ซิงค์ และซีลีเนี่ยม
    • กินน้ำมันปลาจำนวนหนึ่งหรือสองแคปซูล หรือหนึ่งหรือสองช้อนชาทุกวันเพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า-3
    • อาหารเสริมหรืออาหารโพรไบโอติกต่างๆ (เช่น โยเกิร์ตกับ "จุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต") จะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) เข้าสู่ระบบของคุณมากขึ้น และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับคุณ แต่หากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำอย่างหนัก จงปรึกษาแพทย์ก่อนจะกินอาหารโพรไบโอติกต่างๆ
    • อย่ากินอาหารเสริมประเภทสมุนไพรโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาตามใบสั่งแพทย์ หรือโรคประจำตัวต่างๆ
  5. [8] หากคุณเข้านอนโดยสวมถุงเท้าที่เปียก ร่างกายจะปกป้องตัวเองด้วยการหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลืองไปยังเท้าที่เปียก ผลลัพธ์ก็คือ มันจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และนำมาซึ่งสภาวะของการนอนหลับที่ช่วยบำบัดและช่วยให้ผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่มากขึ้น
    • จุ่มถุงเท้าผ้าฝ้ายบางๆ คู่หนึ่งในน้ำอุ่น ก่อนจะบีบน้ำออกจนถุงเท้าเปียกชื้นแต่ไม่ได้กำลังมีน้ำหยดลงมา
    • สวมถุงเท้าคู่นี้ตอนที่คุณเข้านอน ก่อนจะสวมทับด้วยถุงเท้าแห้งคู่หนึ่ง
    • หลังจากทำเช่นนี้ห้าหรือหกคืน ให้หยุดพักสองคืน
  6. ร่างกายของผู้ใหญ่สามารถรับมือกับอาการไข้ได้ค่อนข้างดี แต่ร่างกายของเด็กอาจเป็นไข้ชักได้หากว่าไข้ขึ้นสูงมากเกินไป อันที่จริง ไข้คือสาเหตุหลักของอาการชักในเด็กวัยระหว่างหกเดือนถึงห้าขวบ [9] หากเด็กมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 เซลเซียส หรือเริ่มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้เริ่มทำให้ตัวเด็กเย็นลงในทันที จงถอดเสื้อผ้าออก แล้วใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวเช็ดให้ทั่วตัวของเด็กด้วยน้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำเย็น) เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง [10]
    • การใช้น้ำแข็งกับร่างกายของผู้ที่เป็นไข้อาจเป็นอันตรายหากทำไม่ถูกวิธี เพราะจะทำให้หนาวสั่น ซึ่งอันที่จริงเป็นการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายให้สูงขึ้น [11] ในการจัดการที่โรงพยาบาลอาจมีการใช้น้ำแข็ง แต่จะดีที่สุดหากจะใช้น้ำอุ่นที่บ้าน
    • แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากไข้ของลูกคุณเพิ่มสูงขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้คุณพาเด็กไปห้องฉุกเฉิน หรือให้แนวทางอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธีดูแลเขาที่บ้าน
    • แจ้งสายด่วน 191 เพื่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหากลูกของคุณชัก
    • แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเหน็บทวารหนักไดอะซีแพมเพื่อรักษาโรคไข้ชักในลูกของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

เปลี่ยนสไตล์การใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้ง อาการไข้ก็แค่เกิดขึ้นและพัฒนาไปตามธรรมชาติจนถึงที่สุด แต่คุณสามารถทำสิ่งต่างๆ เพื่อทำให้ตัวคุณสบายมากขึ้นได้ในระหว่างรอให้อาการไข้หายไปเอง ตัวอย่างเช่น การวางผ้าเช็ดตัวเปียกๆ บนผิวของคุณไม่ช่วยลดไข้ แต่อาจช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากอาการไข้ได้ [12] ชุบผ้าเช็ดมือ หรือผ้าเช็ดตัวในน้ำเย็นให้ชื้นๆ แล้ววางพาดที่ลำคอหรือหน้าผาก
    • สวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นและอยู่ใต้ผ้าห่มเพื่อรับมือกับอาการหนาวสั่นจากไข้ หากคุณรู้สึกร้อน ก็เพียงแค่ใช้ผ้าปูที่นอนบางๆ และสวมเสื้อผ้าบางๆ หายใจได้สดวก
  2. กินน้ำและอาหารอ่อนๆ เพื่อให้ฟื้นตัวจากโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal infection) หรือ GI. โรค GI นี้คนส่วนใหญ่รู้จักกันมากกว่าในชื่อ "ไข้หวัดใหญ่ลงกระเพาะ (Stomach flu)" อาการของโรคนี้รวมทั้ง ท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียน และปวดกล้ามเนื้อหรือปวดหัว [13] โรคนี้มักมีไข้ต่ำๆ ด้วย และอาการจะหายไปเองภายในสามถึงเจ็ดวัน คุณจึงเพียงจำเป็นต้องดูแลตัวเองจนกว่าจะผ่านช่วงเวลานี้ไป ดื่มน้ำด้วยแก้วขนาด 8 ออนซ์ อย่างน้อยแปดถึงสิบแก้วต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังอาเจียน [14]
    • มองหาอาการของภาวะขาดน้ำในเด็ก เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจอย่างเร่งด่วน สัญญาณต่างๆ เช่น ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นน้อยลง ขนาดของกระหม่อมหน้า (บริเวณที่อ่อนนุ่มบนกะโหลกศีรษะเด็ก) ยุบลง ตาลึกโหล และเซื่องซึม หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ “จงเรียกหน่วยบริการฉุกเฉิน หรือพาไปพบแพทย์ในทันที
    • มักมีการแนะนำอาหาร BRAT คือ กล้วย (Banana) ข้าว (Rice) ซอสแอปเปิ้ล (Applesauce) และขนมปังปิ้ง (Toast) สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรค GI แต่หลักฐานสนับสนุนนั้นอ่อนด้อย ทางสมาคมกุมารแพทย์อเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็ก เพราะให้สารอาหารไม่ครบถ้วน [15] จงกินอาหารอย่างสมเหตุสมผล อยู่ให้ห่างจากอาหารที่เต็มไปด้วยน้ำมัน อาหารหนักและอาหารเผ็ดร้อน กับดื่มน้ำเยอะๆ
  3. สมุนไพรรักษาโรคมีหลายรูปแบบให้เลือกบริโภค เช่น เป็นผง เป็นแคปซูล หรือสารละลายแอลกอฮอล์ หลายคนชอบที่จะชงชาร้อนโดยใช้สมุนไพรตากแห้งมากกว่า น้ำชาอุ่นๆ บรรเทาความเจ็บปวดในลำคอในระหว่างที่สมุนไพรต่อสู้กับอาการไข้ ในการชงชาสมุนไพร ให้แช่สมุนไพรหนึ่งช้อนชาในน้ำร้อนหนึ่งถ้วยนานห้าถึงสิบนาทีหากเป็นใบหรือดอก หรือสิบถึงยี่สิบนาทีหากเป็นราก สมุนไพรดังต่อไปนี้ล้วนแต่พัฒนาการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก็ยังอาจมีผลกระทบในแง่ลบด้วย [16]
    • ชาเขียวอาจเพิ่มระดับความกังวลใจของคุณ และเพิ่มความดันเลือดของคุณ คุณอาจอยากจะหลีกเลี่ยงการดื่มขาเขียวหากคุณท้องเดิน เป็นโรคต้อหิน (Glaucoma) หรือโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คุณอาจต้องการเลี่ยงการดื่มชาเขียวหากคุณท้องเดิน หรือปรึกษาแพทย์หากคุณเป็นโรคตับ
    • เล็บวิฬาร์ (Cat's claw) อาจทำให้ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (Autoimmune disorders) หรือโรคลูคีเมีย (Leukemia) เลวร้ายลง มันอาจแทรกแซงการรักษาด้วยยาบางชนิดได้ด้วย ดังนั้น จงปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนจะดื่มมัน
    • คุณอาจพบเห็ดหลินจือ (Reishi mushroom) ในรูปของสารละลายแอลกอฮอล์ มากกว่าในรูปตากแห้ง จงกินจำนวน 30-60 หยด สองถึงสามครั้งต่อวัน เห็ดหลินจืออาจมีปฏิกิริยากับยาบางขนานเช่นเดียวกัน เช่น ยาความดันเลือด และ ยาเจือจางเลือด (Blood thinner)
  4. [17] ในระหว่างที่คุณป่วย จงทำให้แน่ใจว่าได้ปิดปากและจมูกของคุณในระหว่างที่ไอและจาม กับกำจัดทิชชูที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย อยู่ให้ห่างจากคนที่ไม่ได้ติดเชื้อและที่สาธารณะให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่าใช้แก้วน้ำหรือเครื่องใช้ร่วมกันกับคนอื่น และอย่าถือเป็นเรื่องส่วนตัวหากคู่ครองของคุณไม่อยากจะจูบคุณสักช่วงหนึ่ง!
    • ให้เด็กๆ เล่นกับของเล่นที่เป็นของแข็งซึ่งทำความสะอาดในอ่างล้างหน้าได้ง่ายโดยใช้น้ำกับสบู่
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นึกทบทวนความจำว่ามีใครรอบตัวคุณที่เพิ่งป่วยเมื่อไม่นานมานี้. หากมีใครบางคนในบ้านหรือที่ทำงานของคุณป่วยในอดีตที่ผ่านมาไม่นาน คุณอาจติดโรคจากคนๆ นั้น เด็กๆ มักแพร่โรคให้กันและกัน และอาจติดไข้จากเพื่อนๆ ที่โรงเรียนหรือสนามเด็กเล่น [18]
    • หากคุณรู้ว่าอาการป่วยของคนอื่นหายได้เอง คุณอาจผ่อนคลายได้อีกเล็กน้อย อาการป่วยไข้ของคุณน่าจะหายได้เองเช่นกันด้วยการพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ
  2. [19] หากอาการป่วยไม่หายไปด้วยตัวเอง คุณอาจอยากให้สามารถแจ้งรายละเอียดของการเป็นไข้กับแพทย์ทราบได้ เพื่อที่แพทย์จะได้สามารถใช้ข้อมูลนั้นในการวิเคราะห์ว่าคุณป่วยเป็นโรคอะไร ตัวอย่างเช่น คุณอาจทึกทักเอาเองว่าคุณเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่หลังจากหนึ่งสัปดาห์ จู่ๆ ไข้ของคุณก็ขึ้นสูง มีความเป็นไปได้ว่าคุณติดเชื้อแบคทีเรียแบบทุติยภูมิ (Secondary bacterial infection) เช่น หูติดเชื้อหรือนิวมอเนีย ในทางกลับกัน โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma) ทำให้มีไข้ในตอนกลางคืน แต่ไม่มีไข้ในตอนกลางวัน
    • ให้แน่ใจว่าได้วัดอุณหภูมิในร่างกายคุณหลายครั้งทุกวันจนกระทั่งไข้ลดลง
  3. มีความจำเป็นที่คุณจะจดบันทึกสิ่งใดๆ ก็ตามที่ดูผิดปกติ แม้มันจะไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกป่วย ตัวอย่างเช่น การที่น้ำหนักลดลงโดยไม่คาดฝันอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการป่วยอย่างอื่นๆ ของคุณอาจช่วยชี้ไปยังระบบอวัยวะที่ได้รับผลกระทบอยู่ ช่วยให้ขอบเขตการวินิจฉัยโรคแคบลง
  4. มอบบันทึกอุณหภูมิกับบันทึกอาการป่วยของคุณให้กับแพทย์เพื่อพยายามวินิจฉัยสาเหตุของอาการไข้ แพทย์จะทำการทดสอบทางกายภาพเพื่อหาเบาะแสเพิ่มเติมเรื่องสาเหตุที่ทำให้คุณมีไข้ [22] ประวัติการเจ็บป่วยที่คุณมอบให้ และการทดสอบทางกายภาพจะช่วยให้แพทย์จำกัดวงให้แคบลง ซึ่งสาเหตุที่มีความเป็นไปได้ และอาจใช้ผลการวิเคราะห์ในห้องแล็บหรือการฉายภาพ ช่วยยืนยันหรือตัดบางสาเหตุทิ้งไป
  5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์สำหรับการติดเชื้อไวรัส. จนถึงปัจจุบันไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่คือไวรัสชนิดที่พบได้ทั่วไปซึ่งแพทย์พบมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีการติดเชื้อไวรัสชนิดที่พบไม่บ่อยนักจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ [24] โรคหลอดลมอักเสบ (Croup), โรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis), โรคอีสุกอีใส (Varicella หรือ Chickenpox), โรคหัดกุหลาบ (Roseola), และโรคมือเท้าปาก (Foot, hand, and mouth disease) ที่เกิดจากไวรัสเช่นเดียวกัน [25] [26] [27] [28] [29] ในจำนวนนี้มีหลายโรคที่หายได้เอง เช่น โรคมือเท้าปาก ซึ่งตามปกติจะหายไปภายในเจ็ดถึงสิบวัน สำหรับส่วนใหญ่ของโรคจากไวรัสเหล่านี้การดูแลตัวเองดีๆ (สุขอนามัย อาหาร และการพักผ่อนที่เหมาะสม) คือการรักษาที่ดีที่สุด แต่จงปรึกษาแพทย์
    • สอบถามแพทย์ว่าไวรัสมีอายุยืนยาวเพียงใด และมีวิธีใดบ้างที่จะเร่งกระบวนการหายป่วย
    • สอบถามแพทย์ว่าคุณสมควรมองหาอะไรในขณะที่เฝ้าสังเกตอาการของคุณ เพราะไวรัสที่ตามปกติไม่มีอันตรายบางตัวสามารถพัฒนาและกลายเป็นไวรัสอันตรายได้ ตัวอย่างเช่น โรคมือเท้าปาก มีกรณีหายากที่สามารถทำให้เกิดอาการสมองอักเสบจนถึงแก่ชีวิตได้ [30]
  6. [31] การติดเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่รักษาได้และโดยทั่วไปจะตอบสนองดีต่อยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะจะฆ่าแบคทีเรีย หรือไม่ก็หยุดยั้งมันไม่ให้แพร่พันธุ์ในร่างกายของคุณ และระบบภูมิคุ้มกันของคุณสามารถขับไล่อาการติดเชื้อที่เหลืออยู่ได้
    • โรคนิวมอเนียที่เกิดจากแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของอาการไข้
    • แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตัดสินใจว่าแบคทีเรียชนิดใดเป็นสาเหตุของอาการไข้
    • แพทย์จะใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อตัดสินใจว่าจะใช้ยาปฏิชีวนะขนานใดเพื่อต่อสู้กับอาการติดเชื้อและลดอาการไข้ของคุณลง
  7. ไวรัสกับแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมากที่สุดของอาการไข้ แต่ไม่ได้มีเพียงพวกมันเท่านั้น อาการไข้ยังอาจเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้ และอาการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) หรือ IBS และโรคข้ออักเสบ (Arthritis)
    • หากคุณเป็นไข้บ่อยๆ หรือไข้หวนกลับมาอีก จงหารือกับแพทย์เรื่องสาเหตุต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ คุณอาจจะสามารถรักษาอาการสำคัญที่ซ่อนอยู่ และบรรเทาอาการไข้ของคุณลง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

วัดอุณหภูมิร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลวัดอุณหภูมิร่างกายของคุณทางปาก. [32] เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลสามารถวัดอุณหภูมิร่างกายของคุณได้ทั้งทางปาก ทางทวารหนัก หรือทางรักแร้ คุณไม่สมควรพยายามวัดอุณหภูมิตัวเองทางทวารหนัก ดังนั้น จงใช้เทอร์โมมิเตอร์เฉพาะกับทางปากและทางรักแร้ ใช้น้ำเย็นทำความสะอาดเมอร์โมมิเตอร์ ก่อนจะเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ และล้างด้วยน้ำเย็นเป็นครั้งสุดท้าย และอย่าใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่เคยใช้วัดไข้ทางทวารหนักมาใช้วัดไข้ทางปากของคุณอีก
    • อย่ากินหรือดื่มอะไรนานห้านาทีก่อนจะวัดอุณหภูมิของคุณ เพราะจะสามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในปาก และนำไปสู่การวัดที่คลาดเคลื่อน
    • ใส่ปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นของคุณ และถือไว้นิ่งๆ นานประมาณ 40 วินาที เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลส่วนใหญ่จะส่งเสียงดังบิ๊บ เพื่อให้คุณรู้เวลาที่วัดอุณหภูมิเสร็จ
    • หลังจากอ่านผลที่วัดได้ จงล้างเทอร์โมมิเตอร์ด้วยน้ำเย็น ทำความสะอาดโดยใช้แอลกอฮอล์เช็ด แล้วล้างน้ำเย็นอีกรอบหนึ่งเพื่อทำให้ปลอดเชื้อ
  2. [33] ถอดเสื้อเชิ้ตออกหรือสวมเสื้อเชิ้ตหลวมๆ ที่เปิดโอกาสให้คุณวัดอุณหภูมิที่รักแร้ได้ ใส่ปลายเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปโดยตรงในรักแร้ของคุณ มันสมควรสัมผัสกับผิวหนังเท่านั้น ไม่ใช่เนื้อผ้าจากเสื้อเชิ้ต จงรอประมาณ 40 วินาที หรือจนกว่าจะได้ยินเสียงบิ๊บ ที่ช่วยให้คุณรู้ว่าได้วัดอุณหภูมิเสร็จแล้ว
  3. วัดอุณหภูมิเด็กด้วยวิธีที่พ่อหนูหรือแม่หนูสามารถรับได้อย่างแท้จริง เช่น เด็กวัย 2 ขวบไม่อาจอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นได้นานพอที่จะอ่านอุณหภูมิได้อย่างเที่ยงตรง การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิที่หูให้ผลลัพธ์ไม่แน่ไม่นอน ส่วนการวัดอุณหภูมิที่เที่ยงตรงที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือทางทวารหนัก ซึ่งไม่เจ็บปวดสำหรับเด็ก เป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้ในเด็กวัยระหว่างสามเดือนจนถึงสี่ขวบ [34]
  4. วัดอุณหภูมิทางทวารหนักของเด็กด้วยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดดิจิตอล. [35] ให้แน่ใจว่าได้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดฆ่าเชื้อที่ปลายเทอร์โมมิเตอร์ก่อนจะล้างด้วยน้ำให้สะอาด หลังจากเช็ดปลายเทอร์โมมิเตอร์แล้ว ให้ใช้ปิโตรเลียม เยลลี่หล่อลื่นเพื่อให้สอดได้ง่าย
    • ให้เด็กนอนหงาย ก่อนจะยกขาชี้ฟ้า สำหรับเด็กทารก คุณสมควรยกขาของเด็กขึ้นแบบเดียวกันกับตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม
    • ค่อยๆ สอดเทอร์โมมิเตอร์อย่างระมัดระวังประมาณ 1/2–1 นิ้วเข้าไปในทวารหนัก แต่อย่าใช้แรงดันเข้าไปหากมีการต่อต้าน
    • จับเทอร์โมมิเตอร์ไว้นิ่งๆ ประมาณ 40 วินาที จนกระทั่งมีเสียงดังบิ๊บ เพื่อช่วยให้คุณรู้ว่าการวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  5. คุณอาจได้ยินมาว่าอุณหภูมิของร่างกายที่มีสุขภาพดีคือ 37.0 เซลเซียส แต่นี่เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่ง ร่างกายคนปกติจะมีอุณหภูมิขึ้นลง แม้แต่ภายในเวลาหนึ่งวัน ตามปกตินั้น อุณหภูมิร่างกายจะต่ำกว่าในตอนเช้าและสูงมากขึ้นในตอนเย็น ยิ่งกว่านั้น คนบางคนเพียงมีอุณหภูมิร่างกายในขณะพักสูงขึ้นหรือต่ำลง อุณหภูมิที่ดีต่อสุขภาพประจำวันอาจเป็นจาก 36.3 – 37.1 เซลเซียส [36] แนวทางสำหรับอุณหภูมิที่ถือว่าเป็นไข้มีดังต่อไปนี้:
    • เด็กๆ : 38 เซลเซียสเมื่อวัดทางทวารหนัก 37.5 เซลเซียสเมื่อวัดทางปาก และ 37.2 เซลเซียสเมื่อวัดทางรักแร้ [37]
    • ผู้ใหญ่ : 38.2 เซลเซียสเมื่อวัดทางทวารหนัก 37.8 เซลเซียสเมื่อวัดทางปาก และ 37.2 เซลเซียสเมื่อวัดทางรักแร้
    • อุณหภูมิต่ำกว่า 38 เซลเซียสถือว่ามีไข้ต่ำๆ คุณไม่สมควรจะวิตกเรื่องไข้จนกว่าอุณหภูมิจะขึ้นสูงถึง 39 เซลเซียส
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการติดเชื้อที่เกิดจากโรคไวรัสไม่ตอบสนองอย่างดีนักต่อการรักษา แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก จงคุยกับแพทย์ว่าจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดใด การให้เด็กๆ เข้ารับการฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุน้อยๆ สามารถป้องกันอาการป่วยร้ายแรงในช่วงบั้นปลายของชีวิต จงพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังต่อไปนี้:
    • โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส (Pneumococcal infection) ซึ่งปกป้องคุณจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในหู การติดเชื้อไซนัส นิวมอเนีย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) [38]
    • เฮโมฟิลัส อินฟลูเอนซา (H influenza) ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจช่วงบน เช่น การติดเชื้อในหูและไซนัส มันสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้นอีกเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
    • สมควรให้เด็กวัย 11 ขวบขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) [39]
    • ไม่มี หลักฐานว่าการฉีดวัคซีนทำให้ลูกของคุณเป็นโรคออทิซึม (Autism) การฉีดวัคซีนจะต้องได้รับอนุญาตจาก FDA และต้องมีการทดสอบอย่างกว้างขวางเพื่อแสดงให้เห็นว่าใช้ได้ผล การฉีดวัคซีนให้กับลูกของคุณอาจช่วยชีวิตเขาหรือเธอได้ [40]
  2. [41] คนวัยผู้ใหญ่ผู้มีเวลานอนน้อยกว่าหกชั่วโมงต่อคืนจะมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งลดขีดความสามารถของคุณที่จะต่อสู้กับอาการติดเชื้อ
    • พยายามนอนโดยไม่มีอะไรขัดขวางให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงทุกคืนเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณแข็งแรง
  3. [42] สิ่งที่คุณกินเข้าไปอาจมีผลอย่างมหาศาลต่อขีดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อ จงบำรุงร่างกายของคุณด้วยอาหารประเภทโฮล ฟู้ด (อาหารที่ไม่แปรรูป และไม่ขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุด) เช่น ผักและผลไม้ชนิดต่างๆ กับพวกธัญพืชโฮล เกรน จงหลีกเลี่ยงอาหาร แปรรูปต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีน้ำตาลและไขมันชนิดอิ่มตัวในปริมาณสูงซึ่งไม่ดีต่อร่างกายของคุณ
    • ให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณได้รับวิตามินซีจำนวน 1,000 มิลลิกรัม และวิตามินดีจำนวน 0.05 มิลลิกรัม (2,000 ไอยู) ต่อวัน วิตามินเอและวิตามินอีมีความสำคัญเช่นกันเพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  4. [43] หากรู้ว่ามีคนป่วย จงพยายามรักษาระยะห่างจนกว่าพวกเขาจะมีอาการดีขึ้นและไม่ได้แพร่เชื้อโรคอีกต่อไปแล้ว และแม้ในตอนที่มองไม่เห็นว่ามีใครป่วยอยู่รอบตัวคุณ จงคงไว้ซึ่งการปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี
    • ล้างมือของคุณหลังออกจากสถานที่สาธารณะ และจงล้างมือเสมอก่อนจะรับประทานอาหาร หากคุณไม่อาจหาน้ำในที่สาธารณะได้ จงพกสารล้างมือติดตัว
  5. [44] ผลการศึกษาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าระดับความเครียดสูงทำให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลงอย่างแท้จริง ทำให้คุณเสี่ยงที่จะป่วยได้ง่าย จงหาเวลาในชีวิตที่จะผ่อนคลายกับทำกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ และอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นเมื่อคุณเครียด
    • โยคะกับการนั่งสมาธิคือกิจกรรมยอดนิยมที่ช่วยให้คนลดระดับความเครียดของพวกเขาลงได้ การเต้นแอโรบิคก็ช่วยลดความเครียดได้ดีเช่นเดียวกัน
    • พยายามออกกำลังกายด้วยวิธีเต้นแอโรบิคอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที โดยแบ่งเป็นช่วงๆ ช่วงละ 30-40 นาที
    • เวลาออกกำลังกาย ให้ตั้งเป้าเล็งที่อัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมายซึ่งเหมาะสมกับวัยของคุณ จงคำนวณหาผลลัพธ์ด้วยการหักลบอายุของคุณจากตัวเลข 220 [45] อัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมายคือ 60-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจที่มากที่สุดของคุณซึ่งขึ้นอยู่กับความฟิตของร่างกาย
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • แพทย์
  • ยาปฏิชีวนะต่างๆ
  • น้ำ
  • อาหารที่ย่อยง่าย
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ (Sports drinks)/น้ำมะพร้าว
  • ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatories)
  • การพักผ่อน
  • เสื้อผ้าหลวมๆ
  • ประคบร้อน/เย็น
  1. Fisher, Randall G. and Thomas G. Boyce. Moffet's Pediatric Infectious Diseases. Philadelphia: Lippincott, Williams & Wilkins, 2005.
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0072637/
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/viral-gastroenteritis/basics/symptoms/con-20019350
  5. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  6. http://www.aafp.org/afp/2012/0601/p1066.html
  7. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/fever-of-unknown-origin
  8. http://www.ccohs.ca/oshanswers/diseases/good_hygiene.html
  9. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/prevention/Pages/Prevention-In-Child-Care-or-School.aspx
  10. http://www.odh.ohio.gov/~/media/ODH/ASSETS/Files/ebola/files/Temperature%20Log%20Template.ashx
  11. http://www.lung.org/lung-disease/pneumonia/symptoms-diagnosis-and.html?referrer=https://www.google.com/
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/basics/symptoms/con-20032448
  13. http://my.clevelandclinic.org/services/heart/diagnostics-testing/physical-examination
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/tests-diagnosis/con-20019229
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/viralinfections.html
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/croup/basics/treatment/con-20014673
  17. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000975.htm
  18. http://www.cdc.gov/vaccines/pubs/pinkbook/downloads/varicella.pdf
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/roseola/basics/definition/con-20023511
  20. http://www.cdc.gov/features/handfootmouthdisease/
  21. http://www.cdc.gov/features/handfootmouthdisease/index.html
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/antibiotics.html
  23. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Fever/hic_How_to_Take_Your_Temperature
  24. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-fever/basics/art-20056685
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/thermometer/art-20047410?pg=2
  26. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/thermometer/art-20047410?pg=2
  27. http://www.riversideonline.com/health_reference/questions-answers/an01513.cfm
  28. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003090.htm
  29. Olaf Hoffman, R Joeng Weber,Pathophysiology and Treatment of Bacterial Meningitis, Therapeutic Advanced Neurological Disorders , 2009 2 (6) 1-7.
  30. Pathophysiology of Meningiocococcal Meningitis and Septicemia Journal of Clinical Pathology, Volume 56, Issue 12, 941 doi 10.1136/jcp 5612.941
  31. http://www.cdc.gov/vaccines/pubs/parents-guide/downloads/parents-guide-part3.pdf
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/expert-answers/lack-of-sleep/faq-20057757
  33. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-boost-your-immune-system
  34. http://www.ccohs.ca/oshanswers/diseases/good_hygiene.html
  35. http://www.apa.org/research/action/immune.aspx
  36. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/PhysicalActivity/FitnessBasics/Target-Heart-Rates_UCM_434341_Article.jsp

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 93,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา