ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ข้อความใหม่จะเข้าอีเมลที่ใช้ เช่น Outlook, Thunderbird หรือแอพอีเมลในมือถือได้ ต้องมีข้อมูล incoming mail server ซะก่อน ได้แก่ address ของ incoming mail server, พอร์ทที่โปรแกรมต้องใช้ และประเภทของ mail server (POP3 หรือ IMAP) ฟังแล้วอย่าเพิ่งกลุ้มว่าจะไปหาที่ไหน เพราะบอกเลยว่าทุกอย่างมีพร้อม ปรับแต่งก็ง่าย ขอแค่คุณรู้ว่าต้องไปดูข้อมูลที่ไหนเท่านั้น
ขั้นตอน
-
เข้าเว็บของค่ายเน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) ที่ใช้. คือเว็บของบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคุณไง วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะคนที่ใช้อีเมลของค่ายเน็ตเท่านั้น ถ้าใช้อีเมลของเว็บอื่น (เช่น Hotmail หรือ Gmail) ต้องอ่านวิธีการต่อๆ ไป
- เช่น ถ้าเป็น true ก็จะมีอีเมล username@asianet.co.th หรือ username@truemail.co.th เป็นต้น ต้องเข้าไปที่ http://www.trueinternet.co.th ซะก่อน ส่วนของ AIS ก็จะเป็น username@aisinbox.com ให้เข้าไปที่เว็บ http://www.ais.co.th
- บางค่ายเน็ตก็ไม่ได้ให้บริการอีเมลพ่วงมาด้วย สงสัยตรงไหนก็ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดในเว็บของค่ายเน็ตที่ใช้ได้เลย
-
คลิกลิงค์ “Support” หรือ “Help”. เว็บของค่ายเน็ตส่วนใหญ่จะมีลิงค์ นี้ให้เห็นเด่นชัด
-
ค้นหา “email”. พิมพ์
email
ในช่องค้นหาแล้วกด ↵ Enter ได้เลย ในผลการค้นหา ให้มองหาลิงค์ที่เขียนประมาณว่า “Setting up email software” คือตั้งค่าอีเมล ”- ถ้าไม่มีลิงค์ “email software” แบบกว้างๆ มีแต่อะไรที่เฉพาะเจาะจงกว่านั้น เช่น “Setting up Outlook” หรือ “Setting up Mac Mail” ก็คลิกได้เลย เพราะไฟล์ไหนก็ได้ที่มีวิธีตั้งค่าอีเมล จะมี incoming mail server ให้ดูอยู่แล้ว
- ถ้าเป็น true ให้คลิกลิงค์ “การตั้งค่า Server” ที่ท้ายหน้าหลักของเว็บได้เลย ส่วนของ AIS ให้ลองค้นหาในเว็บเพิ่มเติมดู
-
เลือก POP3 หรือ IMAP. [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง บางทีค่ายเน็ตจะมีให้เลือกระหว่าง POP3 กับ IMAP ถ้าคุณต้องเช็คอีเมลในหลายๆ อุปกรณ์ (เช่น สมาร์ทโฟนและคอม) ก็ให้เลือก IMAP แต่ถ้าจะเช็คอีเมลในคอมหรือมือถือเครื่องเดียว ให้เลือก POP3
- ปกติทุกค่ายเน็ตจะมี POP3 ให้เลือก แต่ IMAP จะมีแค่บางค่าย อย่าง true เองก็มีแต่ POP3
- ถ้าอยากรับอีเมลผ่าน address ที่ค่ายเน็ตกำหนดให้ ในรูปของแอพอีเมล เช่น Gmail หรือ Outlook ให้เลือก POP3 ปกติค่ายเน็ตจะมีขนาด mailbox จำกัด พอถึงเวลาที่กำหนด POP3 จะคอยล้างอีเมลใน mailbox จากเซิร์ฟเวอร์ของค่ายเน็ตไป
-
พิมพ์ mail server address และพอร์ทในโปรแกรมหรือแอพอีเมลที่ใช้. ค่ายเน็ตส่วนใหญ่จะใช้ standard POP3 port (110) สำหรับอีเมลขาเข้า (incoming mail) ถ้าค่ายเน็ตใช้ Secure POP หมายเลขพอร์ทก็จะเป็น 995 แต่ถ้าค่ายเน็ตใช้ Secure IMAP พอร์ทจะเป็น 993
- เช่น POP3 server ของ true คือ
pop.truemail.co.th
ส่วนพอร์ทก็เป็น 110 ถ้าโปรแกรมอีเมลของคุณรองรับ ก็ใช้ Secure POP protocol ได้ โดยเปลี่ยนพอร์ทเป็น 995 [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง - SMTP server ของ true คือ
mxauth.truemail.co.th
โดยพอร์ทคือ 25
โฆษณา - เช่น POP3 server ของ true คือ
-
เลือก POP หรือ IMAP. [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Gmail มีให้เลือกทั้ง POP และ IMAP เพราะงั้นก็เช็ค Gmail ในแอพต่างๆ ได้เลย
- แนะนำให้เลือก IMAP ถ้าใช้ Gmail เพราะจะได้เช็คอีเมลโดยเข้าทั้งเว็บ gmail.com และโปรแกรมได้
- จะใช้ POP ก็ได้ แต่ถ้าโปรแกรม “pops” ข้อความมาจาก Gmail คุณจะล็อกอินเข้า Gmail ผ่านเบราว์เซอร์ แล้วอ่านหรือตอบอีเมลไม่ได้
-
เปิดใช้ POP หรือ IMAP ใน Gmail. ล็อกอินเข้า Gmail (ในเบราว์เซอร์) แล้วเปิดเมนู Settings จากนั้นคลิกลิงค์ “Forwarding and POP/IMAP” แล้วเลือก “Enable IMAP” หรือ “Enable POP” ตามต้องการ เสร็จแล้วคลิก “Save Changes”
-
พิมพ์ชื่อและพอร์ท incoming mail server ในโปรแกรมอีเมล. IMAP server คือ
imap.gmail.com
ส่วนพอร์ทคือ 993 ถ้า POP server จะเป็นpop.gmail.com
และพอร์ทคือ 995- username กับรหัสผ่านของ mail settings จะเป็นข้อมูลเดียวกับที่ใช้ล็อกอินเข้า Gmail
- Gmail ให้บริการแค่ secure POP และ IMAP (เข้ารหัส) เท่านั้น
โฆษณา
-
เลือกว่าจะใช้ POP3 หรือ SMTP. [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Hotmail/Outlook และ Yahoo! Mail มี incoming mail server ทั้งแบบ POP3 และ IMAP แต่ถ้า iCloud จะมีแค่ IMAP
- ถ้าจะเช็คอีเมลในอุปกรณ์เดียว (เช่น ในแอพ มือถือ หรือคอมพิวเตอร์เดียว) ให้เลือก POP3
- ถ้าจะใช้อีเมลในหลายๆ อุปกรณ์ (อยากอ่านและตอบอีเมลทั้งในแอพและเว็บ (เช่น http://www.hotmail.com)) ให้เลือก IMAP
-
ปรับ settings ของ POP3 ใน Hotmail/Outlook. (ใครใช้ Hotmail แบบ IMAP, iCloud และ Yahoo! Mail ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย) ถ้าจะใช้ POP3 ให้ล็อกอินเข้าเว็บ Hotmail/Outlook แล้วคลิกวงล้อ Options จากนั้นเลือก “Options” จากในเมนู ไปที่ “Managing your account” แล้วคลิก “Connect devices and apps with POP” สุดท้ายเลือก “Enable” ในหัวข้อ POP แล้วคลิก “Save”
-
พิมพ์ mail server address และพอร์ทในโปรแกรมอีเมล. [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ทั้ง Outlook, iCloud และ Yahoo! จะให้บริการแต่ secure POP3 และ IMAP คือมีการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย
- Hotmail/Outlook POP3:
pop-mail.outlook.com
พอร์ท 995 - Hotmail/Outlook IMAP:
imap-mail.outlook.com
พอร์ท 993 - Yahoo! POP3:
pop.mail.yahoo.com
พอร์ท 995 - Yahoo! IMAP:
imap.mail.yahoo.com
พอร์ท 993 - iCloud IMAP:
imap.mail.me.com
พอร์ท 993
โฆษณา - Hotmail/Outlook POP3:
-
เข้าเว็บที่โฮสต์เว็บของคุณ. ถ้ามีโดเมนของตัวเองแล้วใช้บริการเว็บโฮสติ้ง ให้เข้าเว็บนั้นในเบราว์เซอร์
-
คลิกลิงค์ “Help” หรือ “Support”. ปกติ incoming mail server ของเว็บที่ให้บริการเว็บโฮสติ้งจะหาง่าย แค่ค้นหาในส่วน support หรือ help
-
ค้นหา “incoming mail server”. [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง หาแล้วคลิกผลการค้นหาที่เขียนว่า “Setting up your email software” เพราะจะมี settings ของทั้ง incoming และ outgoing mail server
- ถ้าใช้บริการของเว็บ Hostgator หรือ Bluehost (และเว็บโฮสติ้งอื่นๆ) incoming mail server จะเป็น mail.yourdomain.com (ใส่ชื่อโดเมนของคุณที่ “yourdomain.com” ได้เลย) พอร์ท POP3 จะเป็น 110 ส่วนพอร์ท IMAP คือ 143
- ถ้าอยากใช้ Secure POP หรือ IMAP ใน Hostgator ก็ต้องมีชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์เว็บของคุณ ให้ล็อกอินเข้า Hostgator แล้วเปิด Cpanel จากนั้นหาชื่อเซิร์ฟเวอร์ข้าง “Server Name” ทางซ้ายของหน้าจอ ถ้าชื่อเซิร์ฟเวอร์เป็น
gator4054
secure incoming mail server ก็จะเป็นgator4054.hostgator.com
ส่วนพอร์ทของ secure POP จะเป็น 995 และของ secure IMAP คือ 993 - ของ Bluehost จะใช้ mail.yourdomain.com สำหรับ secure POP และ IMAP โดยพอร์ทของ secure POP คือ 995 และของ secure IMAP คือ 993
โฆษณา
-
ลองส่งอีเมลทดสอบหาตัวเอง. พอใส่ address กับพอร์ทของ incoming mail server แล้ว ให้ลองส่งอีเมลหาตัวเองดู ถ้าโปรแกรมอีเมลที่ใช้มีปุ่ม “Test Account Settings” (เช่น ของ Outlook) ให้กดปุ่มนี้ก็จะได้ผลเหมือนกัน
-
เช็คอีเมล. ส่งแล้วรอแป๊บเดียว จากนั้นลองเช็คอีเมลดู
- ถ้าใช้ Gmail รับอีเมล POP หรือ IMAP จากเว็บอื่น ข้อความอาจจะเดินทางนานหน่อย เพราะ Gmail จะเช็ค external mail แค่ชั่วโมงละครั้ง คุณเร่งให้เร็วขึ้นได้โดยเปิด settings ของ Gmail แล้วคลิก “Accounts and Import” จากนั้นเลื่อนลงไปที่ POP3 หรือ IMAP settings แล้วคลิก “Check mail now”
- ถ้าเจอ error ตอนลองส่งอีเมล อาจเป็นที่ outgoing mail server (SMTP) settings ให้เช็คว่า address กับพอร์ทของ SMTP ถูกต้องแล้ว โดยกลับไปตำแหน่งที่คุณเจอ incoming mail server address แล้วเทียบกับที่คุณใส่ไปในแอพอีเมลที่ใช้
- SMTP address ของ Gmail คือ
smtp.gmail.com
พอร์ทคือ 587 (ถ้าเป็น secure พอร์ทจะเป็น 465) - SMTP address ของ Hotmail/Outlook คือ
smtp.live.com
พอร์ทคือ 25 โดยไม่มี secure port แยก - SMTP address ของ Yahoo คือ
smtp.mail.yahoo.com
พอร์ทคือ 465 หรือ 587 (ทั้ง 2 พอร์ทเป็นแบบ secure) - SMTP address ของ iCloud คือ
smtp.mail.me.com
พอร์ทคือ 587 โดยไม่มี secure port แยก
- SMTP address ของ Gmail คือ
-
ขอความช่วยเหลือ. ถ้าเจอข้อความ error ตอนพยายามจะรับ-ส่งอีเมล ให้ลองเอา error นั้นไปค้นในเว็บดู เพราะเกิด error ได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ชื่อโดเมนผิด หรือมีปัญหาการยืนยันตัวตน ถ้าเป็นที่ค่ายเน็ตหรือโดเมนเนมของคุณเอง ต้องติดต่อฝ่ายช่วยเหลือหรือ tech support ไม่ก็เอาข้อความ error ที่เจอไปค้นในเว็บที่ให้บริการโฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าใช้คลาวด์ อุปกรณ์ หรือบริการ push email แสดงว่า incoming mail server เป็น IMAP
- ให้ติดต่อค่ายเน็ตหรือเว็บที่ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ถ้าเชื่อมต่อกับ mail server ของเขาไม่ได้
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.centurylink.com/help/index.php?assetid=239
- ↑ http://customer.xfinity.com/help-and-support/internet/email-client-programs-with-xfinity-email
- ↑ https://support.google.com/mail/troubleshooter/1668960?hl=en
- ↑ http://windows.microsoft.com/en-us/windows/outlook/send-receive-from-app
- ↑ https://support.apple.com/kb/PH2618?locale=en_US
- ↑ https://support.hostgator.com/articles/specialized-help/email/pop3-or-imap-with-ssl
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,059 ครั้ง
โฆษณา