ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะต้องเขียนสรุปบทความเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการบ้านหรือเพื่อให้เข้าใจความคิดของผู้เขียนมากขึ้น สรุปบทความประกอบด้วยใจความสำคัญ วัตถุประสงค์ และประเด็นหลักในภาพรวม ก่อนที่คุณจะเริ่มเขียนสรุป คุณต้องอ่านบทความหลายๆ ครั้งและเขียนโน้ตไว้ตรงขอบกระดาษ จากนั้นก็เขียนสรุปบทความร่างแรกที่สามารถจับใจความสำคัญของบทความได้อย่างรวบรัด เสร็จแล้วนำสรุปไปให้คนอื่นอ่านเพื่อขอคำติชมและกลับมาแก้ไขจนได้เป็นร่างฉบับสุดท้าย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

อ่านบทความ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    อ่านทวนใบงานเพื่อให้รู้ว่าครูคาดหวังอะไร. อ่านใบงานสองครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองรู้ว่างานนี้เขาต้องการให้คุณทำอะไรบ้าง ไฮไลต์สิ่งที่ครูคาดหวังและสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้ได้คะแนนเต็ม และเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็อย่าลืมตรวจทานอีกครั้งว่าคุณทำทุกอย่างตามที่ครูสั่งแล้ว [1]
    • ถ้าคุณมีข้อสงสัย ขอให้ครูอธิบายให้ฟัง
  2. ก่อนที่จะเริ่มอ่านบทความ ให้กวาดสายตาคร่าวๆ เพื่อให้รู้ว่าบทความนี้ประกอบด้วยอะไรบ้างและโครงสร้างการเขียนเป็นอย่างไร มองหาหัวเรื่องหรือหัวเรื่องย่อย และพยายามหาใจความสำคัญ ประเด็นหลัก และบทสรุปด้วย
    • ไฮไลต์หรือขีดเส้นใต้ใจความสำคัญ คำถามวิจัย หรือวัตถุประสงค์
    • ทำเครื่องหมายตรงประเด็นสนับสนุน
    • ไฮไลต์หัวเรื่อง
    • โน้ตวิธีวิจัยเอาไว้ถ้ามี
    • ไฮไลต์ผลการวิจัย บทสรุป หรือผลลัพธ์
  3. อ่านบทความ 2-3 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจแล้ว. อ่านบทความช้าๆ เพื่อซึมซับข้อมูลให้ได้มากที่สุด ถ้ามีคำถามให้หยุดก่อนแล้วเขียนคำถามไว้ที่ขอบกระดาษ เมื่ออ่านครั้งที่สอง พยายามหาคำตอบของคำถามที่คุณโน้ตไว้เพื่อให้เข้าใจบทความมากขึ้น สุดท้ายอ่านบทความในครั้งที่สามเพื่อจดโน้ตและเขียนสรุป
    • ถ้าเป็นไปได้ให้อ่านออกเสียงเพื่อช่วยประมวลข้อมูล
    • การอ่านบทความหลายรอบจะช่วยให้คุณเข้าใจแนวคิดในบทความมากขึ้น เพราะการจะเข้าใจบทความทั้งหมดตั้งแต่อ่านครั้งแรกนั้นเป็นเรื่องยาก
  4. คิดดูว่าบทความกำลังพูดถึงอะไรหรือคุณคิดว่าผู้เขียนหมายความว่าอย่างไร จากนั้นเขียนความคิดและการตีความของตัวเองลงตรงขอบกระดาษของบทความโดยใช้ภาษาของตัวเอง อย่านำคำในบทความมาเรียบเรียงใหม่หรือถอดความจากบทความ [2]
    • คุณจะเขียนเป็นแค่กลุ่มคำสั้นๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคสมบูรณ์

    เคล็ดลับ : การจดโน้ตด้วยภาษาของตัวเองจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณคัดลอกผลงานของคนอื่นในระหว่างที่นั่งเขียนบทสรุป

  5. อ่านบทความแต่ละส่วนแล้วหยุดคิดว่าผู้เขียนกำลังพูดถึงอะไร หาประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุนของส่วนนั้นๆ สรุปประเด็นออกมา 1 ประโยคโดยเขียนเป็นสรุปสั้นๆ ตรงขอบกระดาษใกล้ๆ กับเนื้อหาส่วนนั้น [3]
    • คุณอาจจะเขียนว่า “โลเปซยืนยันว่าการบ้านช่วยให้นักเรียนจำสิ่งที่เรียนได้มากขึ้นโดยดูจากคะแนนสอบและการรายงานตนเอง”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ร่างบทสรุป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขึ้นต้นคำนำด้วยการบอกภาพรวมเกี่ยวกับผู้เขียนและบทความ. บอกให้ผู้อ่านรู้ว่าใครเป็นคนเขียนบทความ เขาน่าเชื่อถืออย่างไร และชื่อบทความ จากนั้นอธิบายสั้นๆ ว่าบทความนี้เกี่ยวกับอะไรและทำไมมันจึงสำคัญ [4]
    • คุณอาจจะเขียนว่า “อิเนซ โลเปซเป็นอดีตครูโรงเรียนมัธยม ปัจจุบันเธอเป็นศาสตราจารย์ที่ทำงานวิจัยและสอนการวางแผนหลักสูตร บทความ “การบ้านสร้างความฉลาด : ทำไมเด็กจึงต้องทำการบ้าน” ของเธอนำเสนอว่า ทำไมนักเรียนจึงได้ประโยชน์จากการได้รับการบ้านเป็นประจำ นอกจากนี้โลเปซยังอธิบายความแตกต่างระหว่างการบ้านที่มีประสิทธิภาพกับงานที่ไม่เกิดประโยชน์ที่ครูสามารถนำไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนของพวกเขาให้ดีขึ้นได้”
  2. ปิดท้ายคำนำด้วยประโยคใจความหลักที่มาจากแนวคิดหลักของบทความ. เขียนใจความหลักไว้ในประโยคสุดท้ายของคำนำ โดยใจความหลักของคุณจะต้องมาจากใจความหลัก สมมุติฐาน หรือคำถามวิจัยเดิมของผู้เขียน เรียบเรียงแนวคิดหลักเป็นคำพูดของตัวเอง แต่อย่าใส่ความคิดของตัวเองลงไป [5]
    • เช่น คุณอาจจะเขียนว่า “โลเปซให้เหตุผลว่า การบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมการสอนในห้องเรียน เพราะนักเรียนจดจำข้อมูลได้มากกว่า ชั้นเรียนสามารถสอนตามหลักสูตรได้ครอบคลุมกว่า และนักเรียนก็ได้รับความสนใจรายบุคคลในชั้นเรียนมากกว่า”
  3. ถ้าเป็นการเขียนสรุปสั้นๆ ให้สรุปประเด็นสำคัญแต่ละประเด็นออกมา 1 ประโยค. กลับไปอ่านสรุป 1 ประโยคที่คุณเขียนตรงขอบกระดาษอีกครั้ง ดึงประเด็นสำคัญในส่วนนั้นออกมา จากนั้นสรุปสิ่งที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงออกมา 1 ประโยค ทำอย่างนี้ไปทีละส่วน [6]
    • บทสรุปสั้นๆ จะยาวประมาณ 1 หน้าหรือสั้นกว่านั้น ถ้าเป็นการเขียนบทสรุปสั้นๆ คุณอาจจะเขียนย่อหน้ายาวๆ 1 ย่อหน้าหรือไม่ก็แบ่งเป็นย่อหน้าคำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
    • เขียนว่า “โลเปซกล่าวว่า นักเรียนที่ทำการบ้านวิชาหลักเสร็จมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่า”

    เคล็ดลับ : บทสรุปมักมีความยาวประมาณ ⅓ ของบทความที่เขียนสรุป เพราะฉะนั้นคุณจะเขียนบทสรุปสั้นๆ ได้ก็ต่อเมื่อบทความยาวไม่เกิน 3 หน้าเท่านั้น

  4. ถ้าเป็นการเขียนสรุปยาว ให้เขียนแต่ละประเด็นลงในย่อหน้าเนื้อเรื่อง. ถ้าเป็นบทความยาวๆ บทสรุปของคุณก็มักจะยาวกว่า 1 หน้ากระดาษ ในกรณีนี้คุณจะต้องเขียนย่อหน้าเนื้อหาสำหรับประเด็นสำคัญแต่ละประเด็นความยาว 4-6 ประโยค และสรุปของประเด็นหลักแต่ละประเด็นต้องอยู่ในประโยคที่ 1-2 ของย่อหน้า [7]
    • ถ้าบทสรุปของคุณยาวกว่า 1 หน้า จะเรียกว่าเป็นบทสรุปยาว
    • คุณอาจจะเขียนว่า “ในงานวิจัยโลเปซเปรียบเทียบห้องเรียนสองห้องในโรงเรียนมัธยมแห่งเดียวกัน ห้องหนึ่งมีการบ้าน อีกห้องหนึ่งไม่มี โลเปซยืนยันว่านักเรียนที่ทำการบ้านเสร็จมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่า”
  5. ยกตัวอย่างสนับสนุนสัก 2-3 ตัวอย่างมาประกอบประเด็นหลักแต่ละประเด็น. รายละเอียดสนับสนุนคือตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตัวเอง หาตัวอย่างสนับสนุนที่ผู้เขียนยกขึ้นมาในแต่ละประเด็นให้ได้สัก 2-3 ตัวอย่าง จากนั้นก็เขียนลงไปสัก 1-2 ประโยคถ้าเป็นบทสรุปสั้น หรือ 2-4 ประโยคถ้าเป็นบทสรุปยาว [8]
    • คุณอาจจะเขียนว่า “เพื่อยืนยันคำกล่าวของเธอ โลเปซอธิบายว่านักเรียนที่ทำการบ้านได้คะแนนสอบมากกว่า 40% มีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากกว่านักเรียนที่ไม่มีการบ้าน และจบบทเรียนได้เร็วกว่าห้องที่ไม่มีการบ้านถึง 30%”
  6. วิธีวิจัยคือขั้นตอนที่ผู้เขียนใช้ในการศึกษาวิจัย อธิบายการออกแบบการวิจัย กระบวนการ และวิธีวัดผลลัพธ์ ถ้ามีผู้รับการทดลองในงานวิจัย ให้ระบุกลุ่มผู้เข้ารับการทดลองและบอกว่าพวกเขาต้องทำอะไรบ้าง อธิบายให้เจาะจงว่าผู้เขียนได้ข้อมูลมาอย่างไร
    • เช่น คุณอาจจะเขียนว่า “ในการวิจัยโลเปซได้ศึกษาห้องเรียนสองห้องจากโรงเรียนมัธยมแห่งเดียวกัน ทั้งสองห้องมีภูมิหลังทางประชากรศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมที่คล้ายคลึงกันและได้รับการสนับสนุนทางวิชาการในแบบเดียวกัน ห้องเรียนควบคุมไม่มีการบ้าน ส่วนห้องเรียนทดลองมีการบ้าน โลเปซติดตามอัตราการทำการบ้านเสร็จ คะแนนชิ้นงาน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และความก้าวหน้าตลอดหลักสูตรของนักเรียน นอกจากนี้เธอยังทำแบบสำรวจนักเรียนสั้นๆ หลังการสอบแต่ละครั้งด้วย”
  7. ถ้าบทความเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัย ให้อธิบายผลลัพธ์และบทสรุปด้วย. ผลลัพธ์จะเป็นข้อมูลหรือความรู้ที่ผู้เขียนได้รับจากงานวิจัย และบทสรุปจะเป็นแนวคิดที่ผู้เขียนได้จากงานวิจัย อธิบายผลลัพธ์ของงานวิจัย บทวิเคราะห์ของผู้เขียน และบทสรุปที่ผู้เขียนกลั่นกรองออกมา นอกจากนี้ถ้าผู้เขียนโน้มน้าวให้เกิดการกระทำบางอย่าง ก็ให้อธิบายลงไปด้วย
    • คุณอาจจะเขียนว่า “โลเปซรวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น คะแนนสอบของนักเรียน จำนวนการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนการสอน นอกจากนี้เธอยังขอให้นักเรียนให้คะแนนความมั่นใจ ความเข้าใจในเนื้อหา และความพร้อมที่จะเรียนบทเรียนถัดไปในแบบสำรวจหลังการสอบแต่ละครั้งด้วย จากข้อมูลโลเปซสรุปว่า นักเรียนก้าวหน้าได้เร็วกว่าถึง 30% หากพวกเขาทำการบ้านเสร็จในแต่ละวัน ดังนั้นในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โลเปซจึงแนะนำให้ครูที่สอนวิชาหลักให้การบ้านนักเรียนทุกวัน”
  8. ปิดท้ายบทสรุปด้วยการกล่าวย้ำใจความสำคัญและความสำคัญของบทความ. ปิดท้ายบทสรุปด้วยการเขียนประโยคสรุปสัก 2-3 ประโยคสั้นๆ ประโยคแรกให้กล่าวย้ำใจความสำคัญที่คุณเขียนไว้ตรงท้ายย่อหน้าคำนำอีกครั้ง จากนั้นกล่าวสั้นๆ ว่าแนวคิดใดของผู้เขียนที่มีความสำคัญหรือมีประโยชน์ต่อสาขาวิชานั้นๆ [9]
    • เขียนทำนองว่า “โลเปซกล่าวว่า นักเรียนสามารถจดจำข้อมูลและก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วหากพวกเขาต้องทำการบ้าน งานวิจัยของเธอช่วยให้ครูมีเครื่องมือในการส่งเสริมความสำเร็จทางการเรียน และคำแนะนำในการใช้ประโยชน์จากการบ้านเพื่อช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เขียนบทสรุปให้ออกมาดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทสรุปของคุณต้องสั้นและกระชับโดยที่ยังสามารถสื่อแนวคิดในบทความออกมาได้ เปรียบเทียบบทสรุปของคุณกับความยาวของบทความ ถ้ามันยาวกว่า ⅓ ของความยาวบทความ ให้ปรับแก้บทสรุปเพื่อตัดทอนเนื้อหา แต่ถ้ามันสั้นเกินไปก็ให้เพิ่มรายละเอียด [10]
    • ความยาวของบทสรุปไม่จำเป็นต้องเท่ากับ ⅓ ของบทความเป๊ะๆ ขอแค่มันยาวประมาณ ⅓ ของบทความก็ใช้ได้แล้ว

    หรือ : ถ้าใบงานระบุความยาวมาให้ ก็ให้เขียนตามที่ครูสั่ง เช่น ครูอาจจะสั่งให้เขียนความยาว 1,500 คำ ในกรณีนี้ให้เขียนตามคำสั่ง

  2. ใช้คำกล่าวอ้างถึงผู้เขียนในการนำเสนอแนวคิดในบทความ. คำกล่าวอ้างถึงผู้เขียนเป็นการย้ำให้ผู้อ่านรู้ว่า แนวคิดที่คุณนำเสนออยู่นี้เป็นแนวคิดของผู้เขียนที่เป็นเจ้าของบทความ การทำแบบนี้จะไม่ถือว่าคุณคัดลอกแนวคิดของผู้เขียนโดยไม่ตั้งใจ ทุกครั้งที่คุณนำเสนอแนวคิดหรือรายละเอียดสนับสนุนที่มาจากบทความ ให้ใช้คำกล่าวอ้างถึงผู้เขียนเพื่อบอกว่า แนวคิดเหล่านี้เป็นของผู้เขียนบทความ [11]
    • เขียนว่า "โลเปซเชื่อว่า" "โลเปซพบว่า" และ "โลเปซให้เหตุผลว่า" หรือจะใช้คำสรรพนามก็ได้ คุณอาจจะเขียนว่า “เธอยังกล่าวต่ออีกว่า” “เธอยืนยันเพิ่มเติมว่า” หรือ “เธอหักล้างแนวคิดนี้”
  3. อย่ายกคำพูดของผู้เขียนมาโดยตรงเพราะมันไม่ใช่ภาษาของคุณเอง. จุดประสงค์ของการเขียนสรุปก็คือการนำเสนอแนวคิดในบทความเป็นภาษาของตัวเอง ถ้าคุณยกคำพูดของผู้เขียนมาโดยตรง ก็เท่ากว่าคุณไม่ได้สรุป นำแนวคิดต่างๆ มาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นคำพูดของตัวเอง

    คำเตือน : การคัดลอกกลุ่มคำหรือประโยคจากบทความต้นฉบับถือเป็นการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ถ้าคุณเขียนสรุปบทความเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการบ้าน คุณก็น่าจะถูกตัดคะแนนเพราะคุณไม่ได้กล่าวย้ำแนวคิดโดยใช้คำพูดของตัวเอง

    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เขียนสรุปร่างสุดท้าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำงานไปให้คนที่คุณไว้ใจอ่านและขอให้เขาให้ติชมคุณตรงๆ ขอให้เขาช่วยดูว่าตรงไหนที่ต้องปรับปรุงและทำเครื่องหมายตรงจุดที่ผิดให้ และใช้คำติชมนี้ในการปรับแก้งาน [12]
    • เช่น ขอให้เพื่อนห้องเดียวกัน ติวเตอร์สอนการเขียน หรือครูติชมงาน
  2. ย้อนกลับไปอ่านใบงานและดูให้ดีว่าคุณทำทุกอย่างที่ครูสั่งให้ทำแล้ว ถ้ามีอะไรที่ขาดไปก็ให้ย้อนกลับไปแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่ครูคาดหวัง วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้คะแนนเต็ม [13]
  3. ตรวจแก้บทสรุปเพื่อปรับปรุงงานเขียนและแก้ไขข้อผิดพลาด. แก้ไขตามคำติชมที่ได้รับและหลังจากอ่านทวนใบงาน เขียนส่วนที่คุณคิดว่าอยากแก้ไขใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ก็ให้แก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับหลักภาษา ความผิดพลาดในการพิมพ์ หรือคำที่สะกดผิดที่คุณเจอระหว่างอ่านทวน [14]
    • คุณอาจจะตรวจแก้งานหลายรอบแล้วแต่จุดประสงค์ของชิ้นงาน ถ้าคุณเขียนสรุปเพราะมันเป็นคะแนน ร่างฉบับสุดท้ายจะต้องออกมาดีที่สุด
  4. ตรวจทานสรุปเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาด. เมื่อคุณแก้ไขงานเสร็จแล้ว อ่านทวนอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อตรวจดูข้อผิดพลาด แก้ไขปัญหาที่คุณเจอ คุณจะได้ไม่ถูกตัดคะแนน [15]
    • ถ้าทำได้ขอให้คนอื่นตรวจทานงานให้คุณ จากนั้นก็ปรับแก้หากเขาเจอข้อผิดพลาด
  5. อ่านบทความอีกครั้ง จากนั้นก็อ่านสรุปของคุณ ดูให้ดีว่าบทสรุปที่คุณเขียนสะท้อนสิ่งที่ผู้เขียนพูดในบทความต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ก็ให้ตรวจทานด้วยว่าบทสรุปของคุณกล่าวถึงใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญแต่ละประเด็น และรายละเอียดสนับสนุนหลัก สุดท้ายตัดข้อความที่เป็นการวิเคราะห์หรือความคิดเห็นของตัวเองออก
    • อย่าใส่แนวคิด การวิเคราะห์ หรือความคิดเห็นของตัวเองลงในบทสรุป ใส่เฉพาะแนวคิดของผู้เขียนบทความเท่านั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณต้องทำตามคำสั่งของครูทุกข้อจึงจะได้คะแนนเต็ม
โฆษณา

คำเตือน

  • คุณต้องเรียบเรียงแนวคิดของผู้เขียนด้วยภาษาของคุณเอง จะได้ไม่เป็นการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 176,877 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา