ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเล่าเรื่องส่วนตัวเรียกอีกอย่างว่าเรียงความส่วนตัวคือการเล่าเรื่องส่วนตัวอย่างมีส่วนร่วม คุณอาจจะเขียนบรรยายส่วนตัวสำหรับการสมัครเรียน ในชั้นเรียน หรือเพื่อความเพลิดเพลินของคุณ การเล่าเรื่องส่วนตัวที่ดีจะให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวคิดหรือธีม ในการเริ่มการเล่าเรื่องส่วนตัวก็ให้เลือกแนวคิดของเรื่องราวและจัดโครงสร้างเรียงความเพื่อให้คุณรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไร จากนั้นจึงสร้างบทเริ่มที่ชัดเจนสำหรับการบรรยายเพื่อดึงดูดผู้อ่านของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเลือกแนวคิดของเรื่องราวสำหรับการเล่าเรื่องส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเล่าเรื่องส่วนตัวควรมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่สำคัญหรือมีความหมายในชีวิตของคุณและยังเชื่อมโยงกับข้อความที่คุณกำลังพูดถึงหากมี ถามตัวเองว่า “เหตุการณ์ใดในชีวิตของฉันที่โดดเด่นที่สุดสำหรับฉัน เหตุการณ์ใดที่สอนอะไรฉันบางอย่างหรือทำให้ฉันตระหนักถึงบางสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิต” [1]
    • เลือกเหตุการณ์ที่มีความหมายและสำคัญกับคุณเป็นการส่วนตัว เหตุการณ์เหล่านี้มักจะให้แนวคิดเรื่องราวที่ดีที่สุดสำหรับการเล่าเรื่องส่วนตัว
    • เช่น หากการบรรยายของคุณมุ่งเน้นไปที่เส้นทางอาชีพที่คุณตั้งใจไว้ในฐานะครู คุณสามารถเขียนบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์การฝึกสอนเยาวชนที่แสดงให้คุณเห็นถึงความสำคัญของการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเด็กๆ
    • หรือหากคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับวิธีการที่คุณจะเลือกเรียนวิชาเอกวิทยาศาสตร์การแพทย์ การบรรยายของคุณอาจเน้นไปที่ประสบการณ์อาสาสมัครที่ยอดเยี่ยมที่คุณมีตอนเป็นเด็กซึ่งทำให้คุณอยากช่วยเหลือผู้อื่น
  2. เลือกเรื่องราวส่วนตัวพร้อมคติสอนใจหรือบทเรียน. เรียงความส่วนตัวที่ดีจะมีคุณธรรมหรือบทเรียนเป็นพื้นฐานซึ่งผู้พูดได้สำนึกหรือเปลี่ยนแปลง ลองนึกถึงประสบการณ์ที่คุณได้บทเรียนอันล้ำค่าที่ติดตัวคุณไปในอนาคต หรือประสบการณ์ที่คุณตัดสินใจทางศีลธรรมซึ่งทำให้คุณเปลี่ยนไปในทางใดทางหนึ่ง [2]
    • เช่น คุณอาจเลือกประสบการณ์ที่คุณแพ้นัดสำคัญเพียงเพื่อเรียนรู้คุณค่าของความล้มเหลวและทำได้ดีขึ้น หรือคุณอาจเลือกประสบการณ์ที่คุณตัดสินใจอย่างมีศีลธรรมเพื่อช่วยเหลือใครบางคนซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคุณและบุคคลนั้น
  3. คุณยังสามารถเลือกแนวคิดของเรื่องราวที่เน้นธีมได้ จากนั้นคุณจึงสามารถใช้เรื่องราวส่วนตัวของคุณเพื่อสำรวจธีมโดยละเอียดและจากมุมมองของคุณ พยายามเลือกธีมที่เหมาะกับคุณและมุมมองของคุณโดยเฉพาะ [3]
    • เช่น คุณอาจเลือกธีม เช่น ความรักและใช้เพื่อสำรวจประสบการณ์ความรักที่เติบโตในครอบครัวที่มีพ่อสองคน หรือคุณอาจเลือกธีม เช่น เสรีภาพและใช้เพื่อสำรวจความพยายามกับเสรีภาพในฐานะผู้ลี้ภัย
    • หรือคุณสามารถเริ่มเขียนบรรยายและค้นพบธีมในขณะที่คุณเขียน พยายามสังเกตแนวคิดที่คุณมักจะนึกถึงในขณะที่คุณเขียนและดูว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับธีมที่ครอบคลุมหรือไม่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การจัดโครงสร้างเรื่องเล่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรื่องเล่าส่วนตัวส่วนใหญ่ใช้การบรรยายแบบบุคคลที่หนึ่งคือ “ฉัน” การใช้การบรรยายแบบบุคคลที่หนึ่งจะช่วยให้คุณเขียนเรียงความจากมุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวได้ง่ายขึ้น บอกเล่าเรื่องส่วนตัวด้วยการบรรยายแบบบุคคลที่หนึ่งโดยใช้ “ฉัน” เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงมุมมองของคุณ [4]
    • คุณอาจต้องใช้กาลผสมกันตลอดการบรรยาย เช่น คำตอบสำหรับข้อความหรือคำบรรยายที่คุณพูดถึงอาจเขียนด้วยกาลปัจจุบัน ในขณะที่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือคำบรรยายของเรื่องราวอาจเขียนในอดีตกาลเหมือนว่าเคยเกิดขึ้นแล้ว
  2. แม้ว่าเรียงความของคุณจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ยังควรมีใจความสำคัญ ใจความสำคัญควรปรากฏอยู่หลังประโยคที่ดึงดูดใจในประโยคสุดท้ายของบทนำ (แม้ว่าอาจมีประโยคระหว่างประโยคที่ดึงดูดใจและใจความสำคัญ)
    • ใจความสำคัญในเรียงความเชิงบรรยายสามารถสำรวจเหตุการณ์ของเรื่องโดยสังเขป หรือสามารถบอกผู้อ่านเกี่ยวกับคุณธรรมหรือบทเรียนที่คุณได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ส่วนตัว คุณยังสามารถนำเสนอธีมหลักของเรียงความในใจความสำคัญ
    • เช่น หากคุณกำลังเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวของคุณในฐานะผู้ลี้ภัย คุณอาจมีใจความสำคัญที่นำเสนอประเด็นเรื่องเสรีภาพ คุณอาจเขียนว่า “การเดินทางของฉันเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ การเดินทาง เราทุกคนมาถึงประเทศใหม่โดยที่ไม่มีอะไรมากไปกว่าความหวังและความทรงจำในอดีต”
  3. เรียงความของคุณควรมีส่วนเนื้อหาที่คุณนำเสนอหลักฐานสนับสนุนสำหรับใจความสำคัญ หลักฐานสนับสนุนอาจอยู่ในรูปแบบของคำบรรยายที่กล่าวถึงการเล่าเรื่องหรือในเหตุการณ์ที่คุณกำลังเล่า ทำตามลำดับเวลาเพื่อให้ผู้อ่านนึกภาพตามได้ง่าย หรือใช้คำเพื่อกำหนดเวลาเช่น “ตอนนี้” “ในภายหลัง” หรือ “ตอนนั้น” หากคุณตัดสินใจที่จะข้ามไปในช่วงเวลาที่เล่าเรื่อง
    • เช่น คุณอาจมีย่อหน้าเนื้อหาสนับสนุนสามย่อหน้าที่คุณเล่าเรื่องของคุณตามหัวข้อของเรียงความ คุณอาจเริ่มต้นด้วยประสบการณ์ของ “เสรีภาพ” ในประเทศบ้านเกิดของคุณในย่อหน้าแรกตามด้วยประสบการณ์ธีมเดียวกันในประเทศใหม่ของคุณในย่อหน้าที่สอง
  4. เรื่องเล่าส่วนตัวส่วนใหญ่จบลงด้วยคติสอนใจหรือบทเรียนที่ระบุไว้ในย่อหน้าสุดท้าย ย่อหน้านี้ควรมีการสะท้อนให้เห็นว่าประสบการณ์ส่วนตัวปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงคุณในปัจจุบันอย่างไร หากคุณไม่สามารถระบุคติสอนใจในเรื่องราวของคุณก็ให้ดูว่าทำไมเหตุการณ์ส่วนตัวจึงมีความสำคัญและมีความหมายสำหรับคุณ
    • เช่น คุณอาจจบเรียงความโดยระบุบทเรียนหรือคติสอนใจที่คุณเรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนตัว หรือคุณอาจดูว่าประสบการณ์นั้นส่งผลดีต่อชีวิตของคุณในตอนนี้อย่างไร
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การสร้างบทเปิดที่ชัดเจนสำหรับการเล่าเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จัดโครงสร้างเรียงความของคุณเพื่อให้คุณมีแผนการเมื่อคุณเริ่มเขียนเพื่อเริ่มเล่าเรื่อง เริ่มเรียงความของคุณด้วยประโยคที่ดึงดูดใจหรือบทเปิดที่ดึงผู้อ่านเข้ามาได้เสมอ ประโยคที่ดึงดูดใจต้องสั้น ชัดเจน และอ่านง่าย คุณควรให้ผู้อ่านรับรู้ถึงสิ่งที่สามารถคาดหวังจากเรียงความของคุณ
    • ประโยคที่ดึงดูดใจมักจะมีความยาวไม่เกิน 1 ถึง 2 ประโยค มันเริ่มย่อหน้าบทนำและอาจอยู่ในรูปแบบของฉาก คำถาม ข้อเท็จจริง คำแถลงที่น่าสนใจ หรือแม้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
  2. จัดฉากเพื่อนำเสนอรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงและภาพที่ชัดเจน. วิธีหนึ่งที่คุณสามารถเปิดการเล่าเรื่องส่วนตัวได้คือการเริ่มต้นด้วยฉากโดยใช้ "ฉัน" ในการดำเนินการ อธิบายการจัดฉากและให้ "ฉัน" ทำสิ่งต่างๆ ในฉากเพื่อสร้างฉากเริ่มต้นที่น่าสนใจ [5]
    • เช่น คุณอาจเขียนว่า “ฉันนอนอยู่ใต้ผ้านวมลายเจ้าหญิงดิสนีย์ตอนที่พ่อกระแทกประตูห้องนอนของฉัน เมื่อฉันฟังเสียงกรีดร้องที่อู้อี้ของเขา ฉันก็สงสัยว่าเป็นไปได้ไหมที่จะหายไปให้ห่างจากชีวิตในบ้านอันแสนโดดเดี่ยวและผลการเรียนมัธยมปลายที่สอบตก”
  3. เลือกคำถามที่เน้นหัวข้อการบรรยายของคุณ ตอบคำถามผู้อ่านโดยตรง ทำให้คำถามสั้นและชัดเจนเพื่อให้ผู้อ่านสามารถคิดตามได้ [6]
    • เช่น คุณอาจเริ่มด้วยคำถาม เช่น “คุณเคยสงสัยไหมว่าการออกจากบ้านไปเลยจะรู้สึกอย่างไร” หรือ “คุณเคยรู้สึกเหมือนเป็นคนแปลกหน้าในประเทศของคุณหรือไม่”
  4. ใช้ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ. คุณสามารถใช้ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจหรือคำพูดตลกๆ ที่เกี่ยวข้องกับธีมของเรียงความ การเริ่มด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อความที่น่าสนใจสามารถดึงดูดผู้อ่านของคุณและทำให้พวกเขาคิดได้ทันที [7]
    • เช่น คุณอาจเริ่มด้วยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องตัดหญ้าหากการบรรยายของคุณนั้นเกี่ยวกับว่าการตัดหญ้าสอนคุณให้รู้จักคุณค่าของการทำงานหนักเมื่อตอนเป็นเด็กอย่างไร หรือคุณอาจเลือกคำพูดตลกๆ เกี่ยวกับการชนะและแพ้หากเรียงความของคุณนั้นเกี่ยวกับการเรียนรู้วิธียอมรับความล้มเหลว
  5. เริ่มด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพื่อเชื่อมต่อกับธีมหรือเรื่องราวที่ใหญ่ขึ้น. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมักมีความยาว 1 ถึง 3 ประโยคและสำรวจบทเรียนหรือศีลธรรม มันควรตั้งคำถามในใจผู้อ่านและแนะนำแนวคิดสำคัญในเรียงความ [8]
    • เช่น หากคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับการเรียนรู้วิธียอมรับความล้มเหลว คุณอาจเริ่มด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับพ่อของคุณที่บอกว่าห้ามแพ้เกมซอฟต์บอลเมื่อตอนเป็นเด็ก
    • หรือหากคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวของคุณในฐานะผู้ลี้ภัย คุณอาจใช้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับช่วงเวลาของการยอมรับที่คุณประสบในประเทศใหม่ของคุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมตรวจทานเรียงความและเปลี่ยนแปลงตามที่จำเป็น
  • อ่านเรื่องเล่าส่วนตัวอื่นๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ การอ่านบันทึกความทรงจำและเรื่องเล่าส่วนตัวของผู้อื่นเป็นวิธีที่ดีในการขยายความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับเรียงความประเภทนี้และช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้นว่าคุณต้องการให้การเล่าเรื่องของคุณอย่างไร
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,222 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา