ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กหรือวัยรุ่นไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตัวเองได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และทุกคนก็มองภาพความเป็นผู้ใหญ่ไม่เหมือนกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็มีเป้าหมายร่วมบางอย่างที่จะต้องทำให้ได้เพื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พึ่งตนเองได้ และใช้ชีวิตด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่หรือผู้ปกครอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่างน้อยที่สุดก็ควรเรียนให้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ แต่ถ้าเป็นไปได้ให้เรียนถึงชั้นอนุปริญญาหรือปริญญาตรี ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานที่รายได้ดีและมีความสุข หลังจากนั้นคุณจะกลับไปเรียนเพิ่มเติมในระดับปริญญาโทหรือเอกก็ได้ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้งานนั้น [1]
    • หาสิ่งที่คุณรักและทำต่อไปเรื่อยๆ ในช่วงที่ยังเรียนอยู่ในโรงเรียน สิ่งนี้จะทำให้คุณมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตวัยผู้ใหญ่
  2. หมั่นค้นหางานในเว็บไซต์หางาน ประกาศในหนังสือพิมพ์ หรือทำความรู้จักกับคนในสาขานั้นๆ ที่อาจมอบโอกาสในการทำงานให้คุณได้เริ่มหาเงินได้ด้วยตัวเอง เมื่อคุณได้งานแล้ว ไปทำงานให้ตรงเวลาทุกวัน ทำงานสม่ำเสมอ และหาโอกาสที่จะได้เรียนรู้ วิธีนี้จะทำให้คุณมีคุณค่าในฐานะพนักงานที่มีความรับผิดชอบ [2]
    • เวลาสมัครงานให้ส่งจดหมายสมัครงานและเรซูเม่ที่ถูกต้องและเรียบร้อยที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน
    • อย่าลืมถามคำถามระหว่างสัมภาษณ์งาน และค้นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทล่วงหน้า [3]
  3. หางานที่มีรายได้มั่นคงและมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด และอย่าพึ่งพาพ่อแม่หรือคนอื่นให้จ่ายค่าสาธารณูปโภค เงินใช้จ่าย หรือการเงินในด้านอื่นๆ
    • คุณอาจจะต้องลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยบ้างในช่วงแรก เช่น การออกไปเที่ยวทุกคืนวันเสาร์ จนกว่าค่าแรงจะเพิ่มขึ้น
    • ศึกษาการตั้งงบประมาณรายจ่าย วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถพึ่งพาตัวเองในเรื่องเงินได้มากขึ้น
  4. ทำประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยพาหนะ และประกันภัยสำหรับผู้เช่า/เจ้าของบ้าน. เมื่อถึงวัยให้ศึกษาและเลือกบริษัทประกันภัยเพื่อทำประกันสุขภาพและเริ่มจ่ายเบี้ยประกัน ถ้าคุณมีหรือวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ บ้าน หรืออะพาร์ตเมนต์ คุณก็ต้องมีประกันภัยที่คุ้มครองสิ่งเหล่านั้นด้วย
    • ประกันภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันช่วยลดรายจ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
    • ในบางกรณีคุณอาจจะไม่สามารถเป็นเจ้าของรถยนต์หรือเช่าอะพาร์ตเมนต์โดยไม่มีประกันภัยได้
  5. หาอะพาร์ตเมนต์หรือบ้านสำหรับเช่าหรือซื้อทางออนไลน์ ประกาศในหนังสือพิมพ์ หรือศูนย์บริการหาอะพาร์ตเมนต์ คุณควรหาที่พักอาศัยที่ค่าเช่าสมเหตุสมผล อยู่ในสภาพและบริเวณที่คุณรู้สึกปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ตามหลักการแล้วที่พักอาศัยควรจะใกล้กับที่ทำงานและกิจกรรมอื่นๆ และคุณก็สามารถจ่ายค่าเช่าได้โดยไม่ต้องมีรูมเมต
    • จำไว้ว่าคุณภาพมักจะเป็นไปตามราคา ถ้ามันถูก ดูให้ดีว่าคุณไม่ได้โดนหลอกและบริเวณโดยรอบปลอดภัยดี
  6. ซื้อพาหนะหรือหาเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่คุณสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งก็แล้วแต่ว่าคุณอยู่ในเมืองหรือจังหวัดไหน คุณสามารถหาซื้อรถยนต์มือสองราคาไม่แพงได้ที่เต็นท์รถมือสอง ทางออนไลน์ หรือประกาศในหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้คุณก็สามารถซื้อตั๋วรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดินรายเดือนได้ในราคาที่ถูกกว่าหากคุณต้องใช้บ่อยเป็นระยะเวลานาน
    • ถ้าคุณวางแผนว่าจะไปทำงานด้วยขนส่งสาธารณะ สอบถามนายจ้างว่ามีสวัสดิการตั๋วรายเดือนหรือไม่ เพราะบางที่ก็รวมอยู่ในสวัสดิการ
  7. เก็บเงินและวางแผนท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ เพื่อพบเจอสิ่งใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ และวิถีชีวิตใหม่ๆ
  8. ลงทุนกับมิตรภาพและความสัมพันธ์แบบคนรักที่คุณคิดว่ายืนยาว กับคนที่มีวุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบ และน่ารักกับคุณ อย่าเสียเวลากับคนที่แค่นอนด้วยกันหรือคนที่คุณรู้ว่าแค่ผ่านมาแล้วก็ไป และตัดคนที่สนับสนุนให้คุณทำแต่เรื่องแย่ๆ ออกไป
    • จำไว้ว่าไม่ใช่ทุกความสัมพันธ์ที่ไปรอด ถ้าความสัมพันธ์เริ่มจะเป็นพิษ ตัดออกไปเลย อย่าปล่อยให้คาราคาซัง
  9. รู้ว่าทุกสิ่งที่คุณทำล้วนมีผลกลับมา และคุณสามารถควบคุมผลลัพธ์ของชีวิตได้ด้วยคำพูดและการกระทำ มองว่าการกระทำทั้งดีและไม่ดีและผลลัพธ์ของมันนั้นล้วนเป็นสิ่งที่คุณเลือกเอง
    • เช่น ถ้าคุณอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คุณก็ต้องเรียนให้เก่ง
    • ในทางกลับกัน ถ้าคุณเถียงอดีตนายจ้าง คุณจะไม่สามารถให้เขา/เธอเป็นบุคคลอ้างอิงในการสมัครงานตำแหน่งที่คุณต้องการได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างนิสัยรับผิดชอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปถึงสถานที่ตามที่ตกลงไว้และไปถึงให้ตรงเวลา เพราะมันเป็นสัญญาณของความรับผิดชอบและการให้เกียรติขั้นพื้นฐาน
  2. ตั้งงบรายจ่ายค่ากาแฟ ชอปปิง ซื้อของเข้าบ้าน และอื่นๆ รายสัปดาห์และใช้เงินตามงบที่ตั้งไว้ ตั้งจำนวนหรือเปอร์เซ็นต์รายได้ที่แน่นอนสำหรับฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่คุณจะไม่นำออกมาใช้โดยตรง [4]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถนำเงินไปไว้ในกองทุนเกษียณหรือลงทุนในตลาดหุ้นโดยปรึกษานักลงทุนหรือแอปฯ ในโทรศัพท์มือถือก็ได้ [5]
  3. จ่ายค่าสาธารณูปโภค หนี้สิน และสินเชื่อเป็นประจำ. ตั้งจ่ายอัตโนมัติ การแจ้งเตือนทางอีเมลหรือข้อความ หรือวิธีอื่นๆ ที่สามารถจ่ายได้ง่ายๆ หรือเตือนให้คุณจ่ายเงินได้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ให้จ่ายค่าบัตรเครดิตหรือสินเชื่อเต็มจำนวนเพื่อไม่ให้ต้องเสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม [6]
    • ถ้าคุณไม่อยากใช้ระบบจ่ายอัตโนมัติ ให้เช็กยอดคงค้างทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนจนเป็นนิสัย และจ่ายตอนนั้นเลย
  4. เก็บและจัดระเบียบข้าวของในอะพาร์ตเมนต์หรือบ้านในแบบที่ทำให้คุณสามารถไปตามนัดได้ตรงเวลา แต่งตัวดูดี และรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซื้อกล่องพลาสติกหรือชั้นจัดระเบียบตู้เสื้อผ้าเพื่อลดความไม่เป็นระเบียบและทำให้หาของง่ายขึ้น [7]
    • แขวนสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้บนไม้แขวนเสื้อ: เสื้อคลุม เดรส กางเกงขายาวและกระโปรงสวยๆ เสื้อเชิ้ตติดกระดุม และเสื้อผู้หญิงสวยๆ
    • พับสิ่งต่อไปนี้ใส่ในลิ้นชัก: กางเกงยีนส์ เสื้อยืด ชุดชั้นใน ถุงเท้า และเสื้อสเวตเตอร์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนแนวคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าคุณยังมีแนวโน้มทั่วไปดังต่อไปนี้หรือไม่ และพยายามแก้ไขด้วยวิธีการตั้งเจตนารมย์อย่างเรียบง่าย การฝึกจิตใจ หรือจิตบำบัด: [8]
    • ขี้งอน โอดโอย หรือโวยวาย
    • บงการคนอื่นให้เขาเห็นใจ
    • คอยฟังคำสั่งของคนอื่นอยู่เรื่อยๆ
    • ทำสิ่งต่างๆ อย่างไม่เป็นระเบียบหรือไม่รับผิดชอบ
    • ผัดวันประกันพรุ่ง สะเพร่า และมาสายบ่อยๆ
    • ขับรถประมาท หรือทำในสิ่งที่ไม่คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของตนเองหรือผู้อื่น
  2. เลือกสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมหาวิทยาลัย งาน ความสัมพันธ์ หรือเป้าหมายเพราะสิ่งนั้นเหล่านั้นสำคัญกับคุณและทำให้คุณมีความสุข ไม่ใช่เพราะพ่อแม่ เพื่อน หรือคนอื่นบอกว่าคุณควรเลือก
    • แรกๆ ที่คุณใช้ชีวิตด้วยตัวเอง มันจะรู้สึกแปลกๆ ที่ต้องตัดสินใจโดยไม่มีใครคอยกุมมือคุณเอาไว้ แต่จำไว้ว่าทุกปัญหามีทางออก ถ้าคุณแยกย่อยปัญหาออกเป็นขั้นตอน คุณก็จะแก้ไขปัญหาได้ [9]
    • แน่นอนว่าคุณสามารถขอคำแนะนำจากคนอื่นได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว คุณ ควรจะเป็นคนตัดสินใจ เช่น คุณสามารถถามเพื่อนได้ว่ามีหมอคนไหนแนะนำไหม แต่สุดท้ายแล้วคุณควรเป็นคนเลือกหมอ ไม่ใช่เพื่อน
  3. อาจจะฟังดูชัดเจนอยู่แล้ว แต่ขอให้คุณยอมรับในสิ่งที่คุณชอบจริงๆ และทำให้คุณมีความสุขเท่านั้น ถ้าคุณชอบวงดนตรีที่คนรู้จักของคุณส่วนใหญ่มองว่ามันเฉิ่มเชยหรือตกยุค ก็ไม่ต้องหาข้ออ้างหรือทำเป็นบอกว่าชอบในเชิงเสียดสีหรือติดตลก จะชอบก็ชอบไป [10]
    • อย่าบังคับให้ตัวเองต้องชอบแค่เพราะว่าทุกคนชอบ ถ้าคุณไม่ชอบวงดนตรีสักวงแม้ว่าพวกเขาจะดังมาก ก็ไม่ต้องฟัง
  4. เคารพผู้มีอำนาจโดยไม่จำเป็นต้องขอการอนุมัติจากพวกเขาตลอดเวลา. เลิกแนวโน้มที่จะกบฏหรือท้าทายคนที่อายุมากกว่าหรือตำแหน่งสูงกว่า รับฟังคนที่อยู่สูงกว่าคุณด้วยความเคารพ และรู้ว่าการที่คุณเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องฟังใคร แต่ในทางกลับกันก็อย่าทำทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้มีอำนาจสูงกว่าในโรงเรียน การทำงาน หรือการเข้าสังคม
    • เช่น ถ้าเจ้านายบอกว่าต้องส่งรายงาน ก็ทำรายงานให้เสร็จตรงเวลา แต่ไม่ต้องขอการอนุมัติจากเจ้านายจนกว่ารายงานทั้งฉบับจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  5. ก่อนอื่นให้ฟังทุกสิ่งที่เขาพูดออกมาเกี่ยวกับคุณและการทำงานของคุณอย่างตั้งใจ จากนั้นก็ตัดสินใจว่าคุณเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับความเห็นส่วนไหนบ้าง และอะไรที่เป็นประโยชน์กับคุณบ้าง สุดท้ายก็ตอบกลับด้วยคำถาม ข้อสงสัย และคำขอบคุณที่แสดงวุฒิภาวะและจริงใจ [11]
    • จำไว้ว่าคุณต้องรับคำวิจารณ์แบบฟังหูไว้หู ถ้าคุณรู้สึกว่าจริงๆ แล้วถ้าทำแบบนั้นมันจะยิ่งแย่ ก็อย่าทำ
  6. ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้เลย (เช่น “หาเพื่อนใหม่ให้ได้ในสัปดาห์นี้” หรือ “ไปสถานที่ที่ไม่เคยไป”) และเป้าหมายระยะยาว (เช่น “เป็นเชฟในร้านอาหารห้าดาว” หรือ “เก็บเงินซื้อบ้าน”) เขียนเป้าหมายลงไปเพื่อไม่ให้ลืม และให้รางวัลตัวเองทุกครั้งที่ทำสำเร็จ
    • เป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนได้ ถ้าคุณรู้แล้วว่าเป้าหมายของคุณอาจไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ ก็ปรับเปลี่ยนให้มันเป็นจริงได้มากขึ้น
    • ใช้เป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเองและเลิกนิสัยที่ไม่ดีหรือการเสพติด
    • คิดดูว่าคุณอยากใช้ชีวิตอย่างไรตอนเกษียณ อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่การขบคิดถึงแผนการระยะยาวจะทำให้คุณแน่ใจได้ว่า แต่ละขั้นตอนจะนำคุณเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น
  7. เวลาที่เกิดข้อผิดพลาด อย่าโทษว่าคนอื่นหรือสถานการณ์เป็นต้นเหตุ แต่ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อรับรู้ถึงข้อผิดพลาดของตัวเองโดยไม่ละอายใจ และใช้สิ่งนี้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น:
    • ยอมรับเมื่อคุณทำผิด
    • ทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อแก้ไขสถานการณ์
    • คิดว่าต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
    • คิดคำพูดปลอบโยนหรือวลีซ้ำๆ ในหัวเพื่อระงับความละอายใจ เช่น “มันจบแล้วและมันจะไม่เกิดขึ้นอีก” [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไม่ต้องเปรียบเทียบจุดของความเป็นผู้ใหญ่ที่คุณยืนอยู่กับคนรอบข้าง เพราะแต่ละคนก็ถึงจุดที่พึ่งพาตัวเองได้ในช่วงเวลาและวัยที่ต่างกัน!
  • คุณสามารถสะบัดบ๊อบใส่คำแนะนำทั้งหมดในบทความนี้และใช้ชีวิตในแบบของตัวเองได้ เพราะ "การเป็นผู้ใหญ่" คือสิ่งก่อสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนความหมายไปในแต่ละวัฒนธรรม สุดท้ายแล้วคุณต้องเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร
  • ใช้ข้อมูลที่อยู่ปลายนิ้ว ถ้าคุณเจอปัญหา ค้นดูว่าคนอื่นเขาแก้ปัญหานี้อย่างไร คุณไม่จำเป็นต้องคิดค้นวิธีขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามเร่งกระบวนการเติบโต! เพราะผู้ใหญ่อายุมากกว่าที่คุณคุยด้วยแทบทุกคนจะบอกคุณว่า วัยหนุ่มสาวเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต และพวกเขาก็อยากให้ตัวเองในตอนนั้นเห็นคุณค่าของมันมากกว่านี้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,343 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา