ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยเรื่องที่ทำให้เครียด จึงส่งผลให้เรามักจะอ่อนล้าทางกาย ทางอารมณ์ และทางจิตใจอยู่เสมอ ถ้าเรากำลังรู้สึกเหน็ดเหนื่อยในช่วงนี้ ลองหาเวลาหยุดพักและเติมพลังให้ตนเองเสียก่อนเพื่อจะได้มีกำลังกาย มีอารมณ์ และมีกำลังใจในการกลับมาสู้ปัญหาต่างๆ ต่อไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เติมพลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] การอาบน้ำอุ่นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แช่น้ำอุ่นหลังจากกลับมาถึงบ้าน ถึงแม้เราจะไม่รู้สึกปวดเมื่อยมากก็ตาม การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลาพักและผ่อนคลายแล้ว การกระตุ้นให้ร่างกายผ่อนคลายก่อนเข้านอนช่วยให้เราหลับได้สบายขึ้น และตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าในตอนเช้า
    • ลองอาบน้ำอุ่นและน้ำเย็นสลับกัน กล่าวกันว่าการบำบัดด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็นช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันและทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น เพราะการไหลเวียนเลือดดีขึ้น เราจึงรู้สึกสดชื่น
    • อาบน้ำอุ่นตามปกติ จากนั้นปรับอุณหภูมิให้เป็นน้ำเย็นและยืนให้น้ำชำระล้างตัวสัก 30 วินาที เปลี่ยนไปอาบอุ่นอีกสัก 30 วินาที และจากนั้นเปลี่ยนไปอาบน้ำเย็นสัก 30 วินาทีอีกครั้งก่อนปิดฝักบัว เสร็จสิ้นการอาบน้ำ
  2. เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ใช้ครีมขัดผิวบริเวณเท้าและมือทั้งสองข้าง ใช้ครีมขัดผิวที่ใบหน้าด้วย การขัดผิวช่วยให้ได้ขูดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปและทำให้การไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น ผลสุดท้ายคือเราจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
  3. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มาก ผักใบเขียว ผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำ ไขมันดี และธัญพืชเต็มเมล็ด การกินอาหารที่ผ่านการแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาล และการดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ร่างกายอ่อนล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง เราไม่จำเป็นต้องเลิกกินทุกอย่างที่ชอบ แค่ลดการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพลงและเน้นกินอาหารและของว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น [2]
    • กินอาหารเช้า การไม่กินอาหารเช้าจะทำให้เรารู้สึกหมดแรงในช่วงเช้า และถ้าเรายังเพิ่มปัญหาด้วยการกินอาหารกลางวันในปริมาณน้อยอีก พอกลับถึงบ้านเราก็จะต้องกินอาหารให้มากเพื่อทดแทนสารอาหารที่เสียไป ฉะนั้นอย่างดอาหารเช้า และในอาหารมื้อนี้ควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและโปรตีนในปริมาณที่ได้สัดส่วนรวมทั้งควรกินอาหารที่มีไขมันเล็กน้อยด้วย
  4. ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างน้อยที่สุดห้านาทีทุกหนึ่งชั่วโมง การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะทำให้เรารู้สึกหายเมื่อยและคลายความเหน็ดเหนื่อย [3] นอกจากนี้ยังทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นโดยทันที ผลคือทำให้เรากระปรี้กระเปร่าอย่างรวดเร็ว
    • เราอาจยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ลองยืนขึ้น สูดหายใจเข้าลึกๆ เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ อยู่ในท่านี้สักสองสามวินาทีก่อนปล่อยแขนลง จากนั้นค่อยๆ ก้มตัวจนปลายนิ้วแตะนิ้วเท้า ต่อไปคลายความเมื่อยล้าบริเวณคอด้วยการหมุนคอและค่อยเปลี่ยนท่าเป็นการเอียงคอไปทางซ้ายและขวา
  5. [4] ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น เดินเล่น วิ่ง หรือว่ายน้ำ ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนักและนาน แต่หาเวลาให้ร่างกายได้ขยับสัก 10 ถึง 30 นาทีเพื่อกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมี “ความสุข” เช่น เซโรโทนิน [5] อะดรีนาลีน และเอ็นดอร์ฟิน [6] จะได้ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจให้กลับมามีพลังเหมือนเดิม
    • ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าให้พยายามออกกำลังกายนอกบ้าน การเดินเล่นช่วงสั้นๆ ในวันที่มีแสงแดดจะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี และการใช้เวลาอยู่บริเวณกลางแจ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางธรรมชาติจะเป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายด้วย [7]
  6. จะจุดเทียนน้ำมันหอมระเหยหรือใส่น้ำมันหอมระเหยลงในอ่างน้ำสองสามหยดก็ได้ เชื่อว่ากลิ่นน้ำมันหอมระเหยบางกลิ่นกระตุ้นให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ขณะที่บางกลิ่นทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
    • น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์จะช่วยให้เราผ่อนคลาย [8]
    • ลองน้ำมันหอมระเหยกลิ่นโรสแมรี่ [9] ผลจูนิเปอร์ [10] เป็ปเปอร์มินท์ [11] และกลิ่นซิตรัส [12] เพื่อเติมพลังและฟื้นฟูร่างกาย
  7. คนในวัยผู้ใหญ่ส่วนมากนอนหลับแค่วันละห้าถึงหกชั่วโมงเท่านั้น ทั้งที่ควรจะหลับวันละเจ็ดถึงเก้าชั่วโมง [13] เพราะฉะนั้นการนอนหลับพักผ่อนให้ได้จำนวนชั่วโมงดังกล่าวและนอนให้ครบจำนวนชั่วโมงการนอนที่ขาดไปนั้นเป็นพฤติกรรมที่ควรทำ [14] ลองนอนเร็วขึ้นสักหนึ่งชั่วโมงเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ดูสิ และจะเห็นถึงความแตกต่าง
    • ถ้าไม่สามารถหาเวลานอนได้มากขนาดนั้น พยายามงีบหลับสัก 20 นาที [15] จะได้ป้องกันไม่ให้เผลอหลับลึกและร่างกายมีแรงขึ้นมาสักเล็กน้อย
  8. ทุกครั้งที่ทำงานไป 90 นาที ให้พัก 10 นาที ช่วงเวลาพัก ให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลง เล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือทำงานอดิเรก
    • ทำกิจกรรมในชั่วพักให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดด้วย ไม่อย่างนั้นเราจะเครียดและไม่มีสมาธิเมื่อต้องกลับทำงาน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เติมพลังอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการร้องเพลงช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายมากมายเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย การร้องเพลงออกมาดังๆ จะทำให้ร่างกายหลั่งเอ็นดอร์ฟินและปลดปล่อยความเครียด ถ้ารู้สึกอายที่จะร้องเพลงต่อหน้าคนอื่น ก็ให้ร้องเพลงตอนอยู่คนเดียวในห้องน้ำหรือในรถก็ได้ [16]
  2. ความรู้สึกผิดอาจลดสุขภาวะทางอารมณ์ของเรา ฉะนั้นจงแก้ไขความผิด เช่น ขอโทษคนที่ควรได้รับคำขอโทษจากเรา ออกไปประสานรอยร้าวที่เราเป็นผู้ก่อ เราไม่สามารถย้อนเวลาลับไปได้ แต่เราสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแก้ไขความผิดพลาดได้ เราจะได้รู้สึกผิดน้อยลงด้วย
    • เช่นเดียวกับที่ ถ้ามีใครสักคนในชีวิตเข้าใจเราผิด จงเลือกที่จะให้อภัยเขาเถอะ เพราะความโกรธและความเกลียดชังทำให้เสียพลังงานเยอะพอกับความรู้สึกผิด [17]
  3. จงนั่งลงและเขียนถึงความสำเร็จในช่วงสัปดาห์ เดือน หรือปีที่ผ่านมาเพื่อเรียกความมั่นใจที่หายไปกลับคืนมา การเขียนรายการความสำเร็จทุกวันจะช่วยให้เรายังรู้สึกมีกำลังใจ ฉะนั้นหาโอกาสเขียนบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้
    • อย่าคิดถึงสิ่งที่เราอยากทำแต่ยังไม่ได้ทำ. ตอนนี้จงมุ่งนึกถึงแต่ความสำเร็จและอย่าไปนึกถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ โดยปกติคนส่วนใหญ่จะเขียนรายการภารกิจที่ตนอยากทำให้สำเร็จในวันนั้นหรือสัปดาห์นั้น ทั้งที่ควรจะมุ่งความคาดหวังไปที่ภารกิจที่สามารถทำสำเร็จได้จริงภายใน 24 ชั่วโมงมากกว่า
  4. ทุกคนต่างก็ทำผิดพลาดกันได้ ความผิดพลาดเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตมนุษย์ ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรนึกถึงแต่ความผิดพลาดของตนเองและจมปลักอยู่กับความผิดพลาดนั้นนานเกินไป ถ้าเราทำผิดพลาดอีกคราวหน้า ให้รับรู้ไว้ จากนั้นเตือนตนเองให้กลับมาเดินหน้าต่อไป
  5. ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และถ้าเรามีภาระหน้าที่ต้องทำมากมาย เราก็ต้องเลื่อนเวลาในการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบหรือลองประสบการณ์ใหม่ๆ ออกไป การมีเวลาทำกิจกรรมสนุกๆ น้อยลงอาจทำให้ชีวิตขาดรสชาติ ชีวิตที่ซ้ำซากจำเจและราบเรียบอาจทำให้เรารู้สึกเฉื่อยชาและมีความกระตือรือร้นลดลง
    • หาเวลาสักครั้งในแต่ละสัปดาห์ (หรือสักครั้งในแต่ละเดือน) ทำกิจกรรมสนุกๆ
    • ไปพักร้อนในสถานที่ซึ่งไม่เคยไป การพักร้อนจะทำให้ได้ฟื้นฟูตนเอง รวมทั้งได้มีโอกาสสำรวจสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และเปิดประสบการณ์ใหม่ในสถานที่ใหม่
  6. การทำกิจกรรมที่ไร้สาระอาจดูเหมือนไม่คุมค่ากับเวลาที่เสียไป แต่การได้ทำกิจกรรมไร้สาระที่ตนชื่นชอบบ้างนั้นอาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น กินของหวานหรืออ่านนิยายประโลมโลก ดูรายการทีวีที่ชื่นชอบสักสองสามชั่วโมง อาจดูผ่านดีวีดีหรือทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ลองค้นหากิจกรรมที่เราอยากทำแต่ไม่ค่อยได้ทำ แล้วลงมือทำเสีย
    • อย่าทำกิจกรรมไร้สาระที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและก่อให้เกิดปัญหาสังคมเช่น การใช้ยาเสพติด จงเลือกกิจกรรมไร้สาระที่ช่วยเรียกความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำลายสุขภาพของตนและเพิ่มปัญหาสังคม
  7. พักการพบปะผู้คนและการเผชิญปัญหาที่ทำให้เหนื่อยใจชั่วคราว. บางครั้งคนเราก็ต้องพบเจอเรื่องที่ทำให้รู้สึกท้อแท้หรือเหนื่อยหน่าย ฉะนั้นจงหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ต้องรับมือกับผู้คนหรืออะไรที่น่าเหนื่อยใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้เวลาตนเองพักจากพบปะผู้คนและหยุดคิดถึงปัญหาต่างๆ ชั่วคราว
    • หลีกเลี่ยงการรับโทรศัพท์จากเพื่อนที่ชอบพูดแต่เรื่องลบ เราสามารถโทรกลับไปหาคนพวกนี้ทีหลังได้ ปล่อยอีเมลที่ได้จากเพื่อนร่วมงานจอมจุกจิกจู้จี้ทิ้งไว้ก่อน เมื่อมีอารมณ์พร้อมที่จะรับมือกับคนพวกนี้แล้ว จึงค่อยตอบกลับ
    • เก็บใบเสร็จ ใบแจ้งยอดเงินฝากจากธนาคาร และเอกสารทางการเงินอื่นๆ ไว้ในลิ้นชักโต๊ะ และอย่าเพิ่งตรวจดูจนกว่าจะถึงวันพรุ่งนี้
  8. เอาใจใส่บุคคลที่คอยเป็นกำลังใจให้แก่เรา หาเวลาพบปะและพูดคุยกับคู่ชีวิตและลูกๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ แสดงความรัก และความห่วงใย ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและลูกๆ สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กัน [18]
  9. หาเวลาทำสมาธิและสวดมนต์สัก 20 นาที การทำสมาธินั้นให้ผลดีกับผู้ปฏิบัติทุกคน จะสวดมนต์ร่วมกับการทำสมาธิเพื่อฟื้นฟูจิตใจไปด้วยก็ได้ ไม่ว่าจะเลือกทำสมาธิ หรือสวดมนต์แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ช่วยคลายความทุกข์และความฟุ้งซ่านลงได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เติมพลังใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้เรารู้สึกหมดแรงมากขึ้นและมีความพอใจในภาพรวมน้อยลง เราจะไม่สามารถเอาใจมาจดจ่อกับภารกิจที่ต้องทำให้เสร็จ ถึงแม้เราจะทำทุกอย่างเสร็จและออกมาดีพอ แต่การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้เราหมดแรงใจเร็วกว่าการทำงานเสร็จไปทีละอย่าง
  2. รู้จักขีดจำกัดของตนเอง อย่าใช้เวลาและพลังงานมากเกินไป เน้นทำภารกิจที่มีอยู่แล้วแทนที่จะทำภารกิจเพิ่มขึ้น ให้เวลาตนเองบ้าง [19]
  3. การต่ออินเตอร์เน็ตไว้ทุกวันและตลอดเวลามีข้อดีมากมายก็จริง แต่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อโลกภายนอกนานขนาดนี้อาจก่อให้เกิดความอ่อนล้าทางจิตใจ แสงประดิษฐ์จากหน้าจอทีวีและหน้าจอคอมพิวเตอร์อาจทำให้ดวงตาล้า ปวดศีรษะ และเปลี่ยนแปลงการผลิตเมลาโทนินรวมทั้งนาฬิกาชีวิต (circadian rhythms) ผลกระทบเหล่านี้อาจทำให้เราไม่สามารถหลับพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกายได้ตามปกติ ฉะนั้นปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน [20]
    • การติดต่อผู้คนอยู่ตลอดแม้แต่ยามที่เราอยู่คนเดียวอาจทำให้เราไม่มีโอกาสผ่อนคลายและอยู่กับตนเอง
    • เมื่อถึงเวลานอน ต้องปิดโทรศัพท์มือถือ ออกจากระบบสื่อสังคม และปิดคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อย ออกจากห่างพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปเลย จะได้ไม่อยากกลับไปเปิดเครื่องใช้งานอีก
  4. เมื่อมุ่งจะทำเป้าหมายระยะยาวให้สำเร็จ เราอาจคิดว่าเป้าหมายระยะยาวนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อมและมองไม่เห็นผลสำเร็จมากนัก แต่ถ้าแตกเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อยที่สามารถทำสำเร็จได้ในระยะเวลาสั้นๆ เราก็สามารถฉลองชนะเล็กๆ ได้ทุกวัน วิธีนี้ทำให้เราสามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จง่ายขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการลดน้ำนักลงไปหลายกิโลภายในหกเดือน ก็ให้แตกเป้าหมายใหญ่นี้ออกเป็นเป้าหมายย่อย เช่น ลดน้ำหนักลงสักสัปดาห์ละ 0.45 ถึง 0.9 กิโลกรัม
  5. ตัดภารกิจที่ไม่จำเป็นออกจากตารางเวลาไปบ้าง. ถึงแม้จะมีกำลังเหลือเฟื้อที่จะทำตามตารางเวลาที่ยุ่งวุ่นวาย แต่เราอาจไม่มีพลังใจมากพอที่จะจัดการภารกิจซึ่งมากมายได้ ตัดภารกิจที่ไม่จำเป็นออกจากตารางเวลาไปบ้าง จะได้มีเวลาว่างมากขึ้น ถึงแม้จะมีเวลาว่างแค่เดือนละสองสามชั่วโมง แต่ก็ทำให้รู้สึกเครียดน้อยลงและจดจ่อกับการทำภารกิจต่างๆ ได้มากขึ้น
  6. หยุดคิดถึงภารกิจที่ต้องทำพรุ่งนี้และผ่อนคลายเสีย ถ้าเรามักจะเอาแต่นึกถึงภารกิจที่ยังค้างคาก่อนนอน ให้จดภารกิจนั้นลงในสมุดหรือบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ การทำแบบนี้จะทำให้จิตใจสงบลงและนอนหลับอย่างสบาย
    • เราอาจเตรียมการล่วงหน้าด้วยการจัดตารางเวลาทำภารกิจสำหรับวันพรุ่งนี้ก่อนเข้านอน [21]
  7. การตัดสินใจเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังใจมาก ให้จำกัดเวลาไตร่ตรองเพื่อป้องกันการผัดวันประกันพรุ่ง จะได้ประหยัดเวลาและรู้สึกมีพลังใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต
    • วันหนึ่งมีเรื่องที่เราต้องตัดสินใจและกระทำทันที ตัวอย่างเช่น จะกินซีเรียลหรือขนมปังปิ้งเป็นอาหารเช้า ควรใส่กางเกงขายาวสีดำหรือสีน้ำตาล หลังเลิกงาน ควรจะออกไปกินข้าวกับเพื่อนร่วมงานเมื่อพวกเขาชวนไหม
    • เรื่องที่เราต้องตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล็กน้อย ฉะนั้นเราจึงไม่เดือดร้อนมากนัก ถ้าเกิดตัดสินใจผิดพลาดไปบ้าง หากคิดว่าผลของการตัดสินใจไม่มีผลกระทบอะไรกับชีวิตนัก ก็ให้เชื่อสัญชาตญาณ และไม่ต้องคิดมาก ประหยัดพลังงานไว้ใช้กับการตัดสินใจครั้งสำคัญที่มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตดีกว่า
    • การตัดสินใจนานเกินไปจะลดความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม การวางแผน หรือการจดจ่อ [22]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,762 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา