ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อสามีหรือภรรยาไม่ยอมเก็บกวาดบ้านหลังจากทำรกไว้ เราก็อาจต้องเป็นฝ่ายเก็บกวาดให้เสียเอง ไม่ใช่เราคนเดียวที่ประสบปัญหานี้! ผู้อื่นก็พบปัญหานี้บ่อยมาก แต่เราสามารถขอความช่วยเหลือจากอีกฝ่ายให้เก็บบ้านจนสะอาดเรียบร้อยได้หลายวิธี มาดูกลวิธีที่ทำให้อีกฝ่ายช่วยเหลือโดยที่เราไม่ต้องจู้จี้จุกจิกกัน

1

พูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาเวลาพูดคุยกับคู่สมรสถึงปัญหาที่เราประสบอยู่. พูดคุยอย่างใจเย็นว่าอะไรที่สร้างปัญหาให้เราและเราอยากเปลี่ยนแปลงอะไร เราอาจพูดอย่างเช่นว่า "ฉันรู้สึกเครียดจริงๆ ที่บ้านของเรารกอยู่เรื่อย เหมือนฉันต้องคอยเก็บกวาดบ้านตลอดและฉันเหนื่อย" [1]
    • ในการพูดคุยให้พูดเจาะจงลงไปเลยก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามี 1 หรือ 2 อย่างที่สร้างปัญหาให้เราจริงๆ ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดเจาะจงไปว่า "ห้องน้ำมักจะมีคราบสกปรกเป็นประจำ ผ้าขนหนูก็วางไว้ไม่เป็นที่ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วก็ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่บนพื้น และมีคราบยาสีฟันอยู่บนอ่างล้างหน้า"
    โฆษณา
2

อย่ากล่าวโทษอีกฝ่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเพิ่งตัดสินอีกฝ่ายแต่ให้เน้นว่าเราอยากเห็นอีกฝ่ายทำอะไร. อย่าใช้คำพูดกล่าวโทษอย่างเช่นว่า "คุณเป็นแบบนี้ตลอดเลย" หรือ "คุณไม่เคยเก็บกวาดทำความสะอาดเลย" เพราะคู่สมรสจะรู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที เราอาจพูดอย่างเช่นว่า "ฉันอยากให้คุณนำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วไปใส่ไว้ในตะกร้า" แทนการพูดอย่างเช่นว่า "คุณไม่เคยเอาเสื้อผ้าที่ใช้แล้วไปใส่ไว้ในตะกร้าเลย" [2]
    • คู่สมรสจะยินดีรับฟังเรื่องการทำความสะอาดบ้านมากขึ้น ถ้าเราไม่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าเราเริ่มโมโห อาจรอสักครู่ให้ตนเองใจเย็นลงก่อนที่จะเริ่มการสนทนาต่อ
    • การสนทนาในเรื่องนี้ยังทำให้เห็นว่าอีกฝ่ายได้มีส่วนช่วยในการเก็บกวาดทำความสะอาดด้วยเหมือนกัน เช่น เราอาจไม่เคยรู้เลยว่าอีกฝ่ายช่วยปัดฝุ่นเฟอร์นิเจอร์จนกระทั่งได้กล่าวถึงเรื่องการเก็บกวาดทำความสะอาดบ้านขึ้นมา
3

ร่วมกันกำหนดว่างานบ้านที่ต้องทำมีอะไรบ้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนรายการงานบ้านที่เราต้องทำทั้งหมดลงในกระดาษ. นั่งระดมความคิดกับคู่สมรสและเขียนรายการงานบ้านทั้งหมดที่เราต้องทำลงในกระดาษ อย่าลืมเขียนงานที่เราต้องทำสัปดาห์ละครั้งลงไปด้วยอย่างเช่น เอาขยะออกไปทิ้งหรือถูพื้นครัว ด้านล่างนี้คือตัวอย่างรายการงานบ้าน [3]
    • ห้องนอน: ซักผ้าปูที่นอน จัดข้าวของให้เป็นระเบียบ ดูดฝุ่น ปัดฝุ่นเฟอร์นิเจอร์
    • ห้องน้ำ: ขัดอ่างอาบน้ำ อ่างล้างหน้า และส้วม ถูพื้น เปลี่ยนผ้าขนหนู ทำความสะอาดกระจก
    • ห้องรับแขก: ดูดฝุ่น ถูพื้น จัดข้าวของให้เป็นระเบียบ ปัดฝุ่นเฟอร์นิเจอร์
    • ห้องครัว: ทำความสะอาดตู้เย็น เช็ดถูท็อปเคาน์เตอร์ ขัดถูอ่างล้างจาน ล้างจานและคว่ำจาน นำขยะออกไปทิ้ง
    โฆษณา
4

แบ่งงานกันทำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูสิว่าในงานบ้านทั้งหมดอีกฝ่ายชอบทำงานอะไรบ้าง. มาตัดสินร่วมกันว่าในรายการงานบ้านต่างๆ นี้คู่สมรสจะทำอะไรบ้างและเราจะทำอะไรบ้าง การแบ่งงานบ้านกันทำอาจยาก แต่ให้ช่วยกันตัดสินใจว่าเราได้แบ่งงานกันทำอย่างยุติธรรมหรือยัง หรือมีคนใดคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานบ้านมากกว่าหรือเปล่า ถ้าเกิดกรณีนั้นขึ้นมา พูดคุยกันสิว่าต่างฝ่ายต่างรู้สึกอย่างไร ถ้ามีใครรู้สึกไม่พอใจ เราต้องแบ่งงานกันใหม่ [4]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่ได้ทำงานนอกบ้าน แต่คู่สมรสของเราใช้เวลาทำงานนอกบ้าน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เขาก็อาจไม่สามารถหาเวลาทำความสะอาดบ้านได้มากนัก ในกรณีนี้ให้เลือกงานสักสองสามอย่างที่เราอยากให้เขาช่วยจริงๆ อย่างเช่น นำผ้าที่ใช้แล้วใส่ในตะกร้า ล้างจาน ทำความสะอาดห้องทำงาน เป็นต้น จุดประสงค์คือเราจะได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระของกันและกันเพื่อเราจะได้ต่างมีความสุขกับการช่วยกันทำให้บ้านสะอาด
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอีกฝ่ายเกลียดงานบางอย่างมากจริงๆ อย่างเช่น การถูพื้น ลองหางานอื่นๆ ที่เขาชอบทำมากกว่าให้ทำแทนอย่างเช่น ดูดฝุ่น หรือจัดข้าวของให้เป็นระเบียบ
5

คาดหวังอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าคาดหวังว่าคู่สมรสจะเปลี่ยนแปลงนิสัยชั่วข้ามคืน. ควรจะให้อีกฝ่ายเริ่มช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ก่อนและค่อยๆ เพิ่มงานเข้าไปเมื่อเขาเริ่มเต็มใจช่วยทำงานบ้านมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สมรสไม่เคยเก็บกวาดห้องหลังจากทำรกเลย ก็ให้เขาเริ่มจากการนำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วมาใส่ตะกร้าและจัดบริเวณพื้นที่ของตนเองในห้องนอนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย [5]
    • เราอาจต้องปรับความคาดหวังไปทีละเล็กทีละน้อย ถ้าเราคาดหวังไว้สูงเกินไปตั้งแต่เริ่ม สุดท้ายเราก็อาจต้องลดความคาดหวังลง หรือถ้าอีกฝ่ายกระตือรือร้นที่จะทำงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง เราอาจเพิ่มงานให้เขาสักหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้
    โฆษณา
6

ทำงานกันเป็นทีม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามทำให้การทำความสะอาดบ้านเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสำหรับเราทั้งคู่. การจัดข้าวของให้เป็นระเบียบไม่ใช่กิจกรรมที่เราต่างตั้งตารอ แต่เราสามารถทำให้กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนุกได้ ถ้าบ้านของเราต้องได้รับการทำความสะอาดอย่างละเอียด เปิดเพลงหรือพอดแคสต์ฟังขณะทำความสะอาดบ้านด้วยกัน [6]
    • เมื่อทำความสะอาดบ้านเสร็จแล้ว ให้ชมเชยกันและกันว่าทำงานได้ดีมาก เราอาจออกไปดื่มกาแฟหรือออกไปกินข้าวนอกบ้านและดูหนังด้วยกันเพื่อเป็นการให้รางวัลก็ได้
7

เมื่อต้องการความช่วยเหลือจากอีกฝ่าย ให้บอกไปตรงๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยกับคู่สมรส เมื่อต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม. เราอาจไม่สบาย อยู่ในช่วงที่งานยุ่งมากเป็นพิเศษ หรืออยากให้คู่สมรสช่วยเหลือเรามากกว่านี้ ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอะไรก็ตาม แค่ขอความช่วยเหลือจากอีกฝ่ายโดยพูดให้ชัดเจนเมื่อต้องการความช่วยเหลือ การพูดออกไปตรงๆ ดีกว่าการหวังว่าอีกฝ่ายจะอ่านใจเราออกและอารมณ์เสียที่เขาไม่รู้ [7]
    • ยกตัวอย่างเช่น "ฉันมีประชุมพิเศษสัปดาห์นี้ คุณช่วยเอาผ้าเข้าเครื่องในวันพรุ่งนี้ให้หน่อยจะได้ไหม"
    โฆษณา
8

อย่าเพิ่งลงมือแก้ไขในสิ่งที่อีกฝ่ายทำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแก้ไขงานให้คู่สมรสแสดงให้เห็นว่าเขายังทำได้ไม่ดี. ถ้าอีกฝ่ายยังเห็นเราทำแบบนี้อยู่เรื่อยๆ เขาก็จะหยุดช่วยเหลือเรา สมมติว่าเราให้เขาช่วยพับผ้า แต่เราเห็นว่าเขาพับผ้าไม่เรียบร้อย จึงพับผ้าให้ใหม่ เมื่อเขาเห็น ก็อาจคิดว่าทำไมเขาถึงต้องพับผ้าด้วย ก็ในเมื่อเราตัดสินใจพับผ้าใหม่ด้วยตนเองอยู่ดี [8]
    • ถ้าเราเห็นว่าอีกฝ่ายทำบางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้อง อย่ารอช้าและบอกวิธีการที่ถูกต้อง สมมติเราเห็นเขาแยกผ้าที่จะซักไม่ถูกต้อง เราก็อาจบอกไปว่า "ปกติฉันจะแยกผ้าออกเป็น 3 กองคือผ้าขาว ผ้าสี และผ้าขนหนู"
9

ชื่นชมในสิ่งที่คู่สมรสทำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอบคุณอีกฝ่ายที่ช่วยเหลือ เขาจะได้รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำมีคุณค่า. ในทางหนึ่งก็เป็นการขัดเกลาพฤติกรรมอีกฝ่ายให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราอยากเห็น บอกคู่สมรสว่าเราเห็นเขาเก็บกวาดห้องและจัดข้าวของต่างๆ ในบ้านให้เป็นระเบียบโดยที่เราไม่ต้องร้องขอ การมีคนสังเกตเห็นและชื่นชมในสิ่งที่ตนเองทำนั้นก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี เราจึงทำให้อีกฝ่ายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีมากขึ้น [9]
    • สมมติเราเห็นคู่สมรสเก็บจานอาหารเช้าไปล้างและคว่ำให้เรา เราก็อาจพูดอย่างเช่นว่า "ฉันเห็นคุณเก็บจานอาหารเช้าไปล้างและคว่ำให้ฉัน ขอบคุณมากนะที่ช่วย" แค่นี้อีกฝ่ายก็ดีใจแล้ว!
    โฆษณา
10

มีการปรับเปลี่ยนงานตามความเหมาะสมในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยกับคู่สมรสหากต้องการสับเปลี่ยนหน้าที่บางอย่าง. แค่เพราะว่าเราทั้งคู่ตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นไปตามการตัดสินใจนั้นตลอดไป! การเห็นผลของการตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรและปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมจะทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ [10]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเริ่มตั้งครรภ์ เราก็ไม่ควรทำความสะอาดกระบะทรายอีกแล้ว ควรให้สามีทำหน้าที่นี้แทน ส่วนเราอาจทำหน้าที่ล้างจานแทนเขาหลังรับประทานอาหารเย็น

เคล็ดลับ

  • ถ้าเราได้พยายามทำทุกอย่างแล้วแต่อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับและทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ให้จ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดบ้านเป็นครั้งคราว จะได้เป็นการลดความกดดันของเราและส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม [11]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,394 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา