ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีครอบครัวและเพื่อนๆ ที่ใกล้ชิดสนิทสนมทำหน้าที่เป็นเครือข่ายให้ความช่วยเหลือทำให้คุณสุขภาพดีกว่าและมีความสุขมากกว่า [1] แต่การที่คุณจะมีเพื่อนๆ หรือครอบครัวเคียงข้างตลอดเวลานั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนร้ายๆ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพวกเขาตลอดเวลา แต่โชคดีที่มันไม่ต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอด ถ้าในแต่ละวันคุณฝึกมีเมตตาและพยายามควบคุมความโกรธ คุณก็จะกลายเป็นคนที่น่ารักขึ้นและทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีความหมายกับคุณแข็งแกร่งขึ้นด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ควบคุมความโกรธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทันทีที่คุณเริ่มสังเกตได้ว่าตัวเองรู้สึกโกรธ หาเวลาทำใจให้สงบสักครู่ ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ การใช้เทคนิคสร้างความผ่อนคลาย [2] วิธีการก็เช่น:
  2. รูปแบบความคิดที่ไม่อยู่บนความเป็นจริงอาจทำให้ความโกรธรุนแรงขึ้น เพราะฉะนั้นพยายามระบุหรือท้าทายรูปแบบความคิดเหล่านั้นเมื่อมันผุดขึ้นมาให้ได้
    • เช่น ความคิดที่ไม่อยู่บนความเป็นจริงอาจจะเป็น “รูมเมตไม่เคยรักษาความสะอาดของอะพาร์ตเมนต์เลย! ฉันทำทุกอย่าง!”
    • ก่อนที่คุณจะปล่อยให้ตัวเองยิ่งโกรธเข้าไปใหญ่เพราะความคิดนี้ ลองใช้เวลาสักครู่ตัดสินใจก่อนว่าเรื่องนี้เป็นความจริงหรือเปล่า รูมเมตของคุณรักษาความสะอาดของอะพาร์ตเมนต์ด้วยวิธีที่ต่างออกไปหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น คำว่า “ไม่เคย” ในคำพูดนี้ก็ไม่เป็นความจริง
    • ลองเรียบเรียงความคิดหรือคำพูดใหม่ให้ตรงกับความจริงมากขึ้น เช่น “ฉันอยากให้รูมเมตช่วยทำงานบ้านมากกว่าที่เธอทำอยู่สักหน่อย”
  3. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา . การมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดียังช่วยลดความรู้สึกโกรธและคับข้องใจได้ด้วย มันอาจช่วยให้คุณรู้สึกว่าควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นแม้ว่าคุณจะกำลังจัดการกับสิ่งที่น่าท้อแท้มากๆ ก็ตาม ทักษะนี้ต้องใช้เวลาในการพัฒนา เพราะฉะนั้นพยายามอดทนเข้าไว้ [3]
    • เมื่อเจอปัญหา ค่อยๆ ระบุปัญหาก่อนพยายามแก้ไข จากนั้นก็เขียนรายการวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดและเลือกวิธีที่ดีที่สุด หลังจากนำวิธีแก้ปัญหาไปลงมือปฏิบัติแล้ว ให้ทบทวนว่ามันเป็นอย่างไรและดูว่าคุณจะสามารถปรับกลยุทธ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมในอนาคตได้อย่างไร
  4. เวลาที่คุณไม่พูดอะไรและรู้สึกคับข้องใจ การเก็บกดความโกรธเอาไว้ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด แทนที่จะปล่อยให้ความคับข้องใจสะสมจนกลายเป็นความเดือดดาล ให้พูดออกมาและเผชิญหน้ากับสาเหตุของความคับข้องใจ ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้สถานการณ์กระอักกระอ่วน เพราะการพูดออกมานั้นดีกว่าการทำตัวร้ายๆ ในอนาคต
    • ถ้าคุณรู้สึกเหมือนถูกดูหมิ่นหรือเจ็บช้ำน้ำใจ คุณอาจจะอยากทำให้เขาได้ลิ้มรสความเจ็บปวดทางอารมณ์เหมือนคุณบ้าง แต่แทนที่จะทำให้แบบนั้น บอกให้เขารู้ว่าเขาทำร้ายความรู้สึกของคุณ และคุณรู้สึกว่าการกระทำของเขาเป็นการดูหมิ่น
    • แทนที่จะปล่อยให้ความโกรธสะสม บอกให้เขารู้ว่าเขาทำอะไรผิด พูดประมาณว่า "ฉันไม่ชอบเลยที่คุณทำแบบนั้น มันทำให้ฉันโกรธและเสียใจมาก"
  5. แทนที่จะใช้พลังงานไปกับการทำตัวร้ายๆ ใส่คนอื่น เปลี่ยนไประบายพลังงานใส่กีฬาหรืองานอดิเรกที่คุณอยากทำให้สำเร็จดีกว่า คุณต้องทำตัวให้กระฉับกระเฉง เพราะเวลาที่คุณออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกาย สมองก็จะหลั่งเอ็นดอร์ฟินส์ที่เป็นสารเคมีเชิงบวกที่ทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น [4]
    • คุณอาจจะเล่นกีฬาเป็นทีม เช่น ฟุตบอล เบสบอล อเมริกันฟุตบอล หรือฮอกกี้
    • ถ้าคุณไม่ชอบกีฬาที่ต้องออกแรง ลองทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น หัดเล่นเครื่องดนตรีหรือวาดรูป
  6. รู้ตัวว่าเมื่อไหร่ที่ความโกรธเริ่มจะพลุ่งพล่านและรู้ทันตัวเองว่าโกรธแค่ไหน เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองใกล้จะไปถึงจุดนั้นแล้ว ให้ถอยจากการถกเถียงและเดินหนี [5] สุภาพและอธิบายว่าทำไมคุณถึงเดินหนี อย่าปล่อยให้สถานการณ์ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้นตลอดไป ตั้งสติและกลับไปพูดกับเขาอีกครั้งหลังจากที่ความโกรธลดลงแล้ว
    • คุณอาจจะพูดว่า "ฉันต้องออกไปเดินเล่นสักหน่อยเพราะว่าฉันกำลังโกรธมากและพยายามใจเย็น ฉันขอเวลาคิดเรื่องนี้หน่อย แต่เดี๋ยวเราคุยกันเมื่อฉันกลับมา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใจดีกับคนอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามใจดีกับคนอื่นให้มากขึ้น และพยายามมองสิ่งต่างๆ จากมุมของเขา แทนที่จะแสดงความเห็นที่อาจทำร้ายความรู้สึกของเขา มามองหาวิธีที่จะทำให้วันของเขาดีขึ้นดีกว่า ถ้าคุณมีเวลา ลองพยายามมากขึ้นอีกนิดเพื่อทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้ผู้อื่น แล้วพวกเขาจะเริ่มประทับใจคุณมากขึ้น
    • เช่น แทนที่จะล้อคนอื่นเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เปลี่ยนไปกล่าวชมเขาแล้วทำให้วันนั้นของเขาสดใสขึ้นดีกว่า
    • การฝึกเห็นใจผู้อื่นทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากกว่าเดิม [6]
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะซื้อของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อน เช่น ลูกอมหรือหนังสือ เพื่อแสดงออกว่าพวกเขามีความหมายกับคุณ
  2. พัฒนาทักษะการสื่อสาร . นอกจากนี้ความสามารถในการ รับฟังที่ดี สื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์และ ตรงจุด นั้นยังอาจช่วยให้คุณรู้สึกว่าตัวเองควบคุมความโกรธได้และใจดีกับผู้อื่นด้วย [7] การสื่อสารความรู้สึกและอารมณ์จะช่วยให้คนอื่นเข้าใจสภาพจิตใจของคุณในขณะนั้นและบรรเทาความเครียดลงไปได้มาก บ่อยครั้งที่การทะเลาะเบาะแว้งหรือความขัดแย้งเกิดจากการที่เราไม่สื่อสารกันและไม่เข้าใจว่าแรงจูงใจของอีกฝ่ายคืออะไร พยายามพูดทุกอย่างตามความจริงแม้ว่ามันจะทำให้สถานการณ์ไม่ดีเท่าไหร่ หรือแม้ว่าคุณคิดว่าเขาไม่ชอบให้คุณทำแบบนั้นก็ตาม อย่าเอาแต่พูดถึงประเด็นที่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดแบบอ้อมแอ้ม
    • ละมือจากสิ่งรบกวนไว้ก่อนและตั้งใจฟังเขาอย่างเต็มที่ ขณะที่ฟังพยายามวางการตัดสินไว้ก่อน แค่พยายามเข้าใจว่าเขาพูดอะไรและทำไมเขาถึงทำแบบนั้น
    • เวลาที่แสดงความคิดเห็น ให้ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “ฉัน” แทนประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “คุณ” พูดว่า “ฉันหงุดหงิดเวลาที่คุณลืมเอาจานไปเก็บ” อย่าพูดว่า “คุณกินเสร็จแล้วไม่เคยเก็บกวาดเลยนะ!”
    • นอกจากนี้การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพบางครั้งยังหมายถึงการแสดงความเปราะบางและพูดในสิ่งที่น่าอายออกมาด้วย
    • เช่น ถ้าเพื่อนทำอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย แทนที่จะตะคอกและพูดในสิ่งที่คุณจะเสียใจทีหลัง ให้พูดประมาณว่า "เวลาที่แกเล่นมุกนั้นแล้วทุกคนหัวเราะ เรารู้สึกไม่ดีว่ะ เราอายนะ ถึงแกจะไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ แต่มันทำให้เราเสียความรู้สึกจริงๆ"
  3. คนอื่นไม่สามารถอ่านใจคุณได้ และบางคนก็อาจใช้เวลาเรียนรู้สิ่งใหม่นานกว่าคนอื่น แทนที่จะปรี๊ดแตกทันที พยายามอดทนกับคนอื่นให้มากขึ้น นึกถึงตอนที่คุณเพิ่งทำอะไรเป็นครั้งแรกหรือตอนที่คุณต้องการความช่วยเหลือ ระลึกไว้ว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ถ้ามีใครทำอะไรให้คุณรู้สึกรำคาญ แทนที่จะปล่อยให้เขาทำต่อไปเรื่อยๆ จนคุณโกรธ ให้เผชิญหน้ากับเขาแล้วคุยกัน
    • ถ้ารูมเมตเคาะดินสอและทำให้คุณทำงานไม่ได้ ลองพูดประมาณว่า " แก อย่าเพิ่งว่าเราบ้านะ แต่เราได้ยินเสียงแกเคาะดินสอแล้วเขียนรายงานต่อไม่ได้ว่ะ แกช่วยหยุดเคาะระหว่างที่เราทำงานได้มั้ย"
  4. การพูดจาถากถางตลอดเวลาอาจทำให้คุณอารมณ์เสียและขี้หงุดหงิดมากกว่าเดิม โดยทั่วไปการถากถางเป็นกลไกป้องกันทางจิตที่คุณมักใช้เวลาผิดหวังหรือถูกทำให้เสียใจ และแทนที่จะปลดปล่อยอารมณ์ออกมาในเชิงบวกและสร้างสรรค์ คุณกลับกดมันเอาไว้และลดผลกระทบของความรู้สึกที่มีต่อคนอื่นและตัวเอง [8] สิ่งนี้อาจลุกลามไปเป็นการมองโลกในแง่ร้าย และทำให้คุณอยู่ในสภาวะโกรธตลอดเวลา
    • อย่าลดคุณค่างานหรือความพยายามของคนอื่น ชื่นชมเวลาที่เขาทำอะไรได้ดี แทนที่จะไม่สนใจหรือทำเหมือนว่ามันไม่สำคัญ
    • พยายามตัดสินคนอื่นให้น้อยลง ถ้าคุณไม่เข้าใจวัฒนธรรมย่อยหรือข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคน พยายามหาทางที่จะเอาตัวเองเข้าไปซึมซับโลกของพวกเขา แทนที่จะเอาแต่เกลียดโดยไม่มีเหตุผล
  5. ความเข้าอกเข้าใจอาศัยความสามารถในการเข้าใจพร้อมกับนำความรู้สึกและอารมณ์ของอีกฝ่ายเข้ามาอยู่ในตัวคุณ พยายามสมมุติว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขา และพูดคุยกับเขาโดยไม่ตัดสินตั้งแต่แรก เมื่อเขาเผชิญความเจ็บปวด ให้เชื่อมโยงกับอารมณ์ของเขาแทนที่จะเพิกเฉย รับฟังอย่างตั้งใจแทนที่จะรอว่าเมื่อไหร่เขาจะพูดจบ นำสิ่งที่เขาพูดเข้าไปอยู่ในใจ และพยายามรู้สึกถึงอารมณ์ที่เขารู้สึก วิธีนี้จะทำให้คุณเข้าใจมุมมองและการกระทำของเขามากขึ้น
    • ในการที่จะฝึกตั้งใจฟังคนอื่นมากขึ้นนั้น ให้พยายามจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขากำลังพูด ให้ความเห็นเพื่อให้เขารู้ว่าคุณฟังอยู่ และอย่าเพิ่งตัดสินอะไร ให้กำลังใจเขาแทนที่จะวิจารณ์
    • นึกย้อนไปถึงช่วงเวลาที่คุณเคยอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน และพยายามทบทวนว่ามันรู้สึกแย่แค่ไหน
  6. อย่าตั้งกำแพงและอย่าสงสัยทุกคนที่พบเจอ เพราะมันทำร้ายความสัมพันธ์ที่คุณมีกับผู้อื่น ถ้าคุณทำอะไรผิด รับผิดชอบการกระทำในส่วนของตัวเองและอย่าโทษคนอื่นในสิ่งที่คุณทำ เปิดใจรับเพื่อนใหม่และทำให้มิตรภาพเดิมดีขึ้น [9]
    • ถ้ามีใครให้คำแนะนำที่มีเหตุผล แทนที่จะโกรธที่เขามาจี้จุดอ่อน ให้บอกไปว่า "คุณพูดถูก ฉันต้องพยายามมากกว่านี้ ซึ่งฉันก็ทำอยู่ แต่ว่ามันยังไม่สมบูรณ์"
    • แทนที่จะมองคำวิจารณ์ในแง่ลบโดยอัตโนมัติ ถามเขากลับไปว่า "คุณหมายความว่ายังไงคะ" เมื่อเขาอธิบาย มันอาจจะไม่ได้รุนแรงเท่าที่คุณคิดในตอนแรกก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แทนที่จะหันหน้าหนีหรือคิดว่าเป็นธุระของคนอื่น พยายามช่วยเหลือผู้ที่ลำบากอย่างสุดความสามารถ คิดหาวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ในแต่ละวันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ คุณอาจจะช่วยคนในครอบครัวที่ยังเด็กติดตั้งคอมพิวเตอร์ หรือช่วยคนแก่หิ้วของจากซูเปอร์มาร์เก็ต
    • ยิ่งคุณช่วยเหลือผู้อื่นโดยที่เขาไม่ต้องร้องขอมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น [10]
  2. อยู่เคียงข้างเพื่อนๆ เมื่อพวกเขาอยากคุยกับใครสักคน. มิตรภาพเป็นแง่มุมที่สำคัญกับความสุขเป็นอย่างยิ่ง การมีเครือข่ายความช่วยเหลือไว้คอยพูดคุยในช่วงเวลาเลวร้ายทำให้เรารู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่ง การมีเพื่อนช่วยลดความดันโลหิตและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า [11] แต่มิตรภาพนั้นตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและความเปราะบาง ถ้าคุณใจร้ายหรือชอบตัดสินคนอื่น เพื่อนๆ ก็จะไม่อยากเข้าหาคุณ และก็จะไม่อยากช่วยเหลือคุณเท่าไหร่นักเวลาที่คุณต้องการพวกเขา
    • ใส่ใจและรับฟังเพื่อนเสมอ
    • บางครั้งเพื่อนก็ไม่ได้ต้องการคำแนะนำ เขาแค่อยากได้คนคุยด้วย
    • ถ้าคุณเคยพูดคุยประเด็นที่ร้ายแรงกับเพื่อนมาก่อน คุณก็จะเล่าปัญหาร้ายแรงในชีวิตให้เพื่อนฟังได้ง่ายขึ้น
  3. ถ้าคุณมีเวลา ลองทำงานอาสาสมัครที่ศูนย์ชุมชนท้องถิ่น ศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน หรือโรงทานใกล้บ้านคุณ หาข้อมูลโครงการอื่นๆ ในท้องถิ่น เช่น โครงการปลูกต้นไม้หรือทำเมืองให้น่าอยู่ ยิ่งคุณได้รู้จักคนที่ทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิมมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรู้สึกเติมเต็ม และโอกาสที่จะระเบิดความโกรธก็น้อยลงด้วย
    • การทำงานอาสาสมัครยังทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ซึ่งจะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นและโกรธน้อยลง การมีเครือข่ายสนับสนุนในช่วงเวลาที่ยากลำบากช่วยให้เรารับมือกับความเครียดประจำวันได้ด้วย [12]
  4. ถ้าคุณยังเด็ก ข้อนี้ก็คือการทำงานบ้านโดยไม่มีใครสั่งและพยายามช่วยเหลืออย่างจริงใจเมื่อคุณเห็นว่าคนในครอบครัวกำลังหัวหมุน ถ้าคุณเป็นพ่อ/แม่หรือมีคนรัก ลองทำบางสิ่งเพื่อคนรัก เช่น ซ่อมของที่พังหรือทำมื้อเย็นให้เขา ทำสิ่งต่างๆ ในบ้านเพิ่มเติมเพื่อให้คนรักเครียดน้อยลง
    • พูดคุยกับคนในครอบครัวและถามพวกเขาว่า ในบ้านมีอย่างอื่นที่ต้องทำอีกไหม
    • บ้านที่สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสามารถเพิ่มพลังงานและทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นได้จริงๆ [13]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,460 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา