ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาษาจีนซึ่งเราจะหมายถึงภาษาจีนกลางในที่นี้นั้นเป็นภาษาที่ค่อนข้างซับซ้อนในการเรียน โดยเฉพาะสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษ กระนั้น หากทุ่มเทและฝึกฝนเป็นประจำทุกวัน เชื่อได้เลยว่าคุณจะเชี่ยวชาญมันได้ในสักวัน ฝึกตามตำราคนเดียว แล้วหาเพื่อนที่พูดจีนได้หรือหาเพื่อนออนไลน์ กับเว็บโรงเรียนสอนภาษาจีนที่มีอยู่มากมาย อ่านต่อเพื่อดูพื้นฐานของสิ่งสำคัญทั้งหลายที่คุณต้องรู้ไว้เกี่ยวกับการเรียนภาษาจีน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ฝึกพื้นฐานให้ชำนาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้ความสูงต่ำของเสียง ซึ่งหมายถึงโทนเสียงที่เปลี่ยนไปก็จะเปลี่ยนความหมายของคำนั้นไปด้วย ถึงแม้ว่าจะสะกดคำหรือเขียนคำอ่านเหมือนกันก็ตาม การเรียนโทนเสียงที่แตกต่างกันจึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากคุณต้องการจะพูดภาษาจีนอย่างถูกต้อง ภาษาจีนมีสี่โทนหลักดังต่อไปนี้:
    • โทนแรก จะเป็นโทนสามัญ เสียงของคุณจะราบเรียบ เหมือนเสียงไม่มีวรรณยุกต์กำกับของไทยเรา หากใช้คำว่า " ma" เป็นตัวอย่าง โทนแรกนี้จะแสดงโดยใช้เครื่องหมายบนอักษรตัว a ว่า: "mā" (ออกเสียงว่า “มา”)
    • โทนที่สอง เป็นเสียงตรี เสียงคุณจะยกจากเสียงต่ำขึ้นไปเป็นเสียงกลาง เหมือนกับเวลาท้ายเสียงตอนถามใครสักคนหรือเวลาจะขอให้ใครพูดทวนสิ่งที่เพิ่งพูดออกไปโดยการพูดว่า "ห๊ะ" หรือ "(อะไร)นะ" เสียงโทนที่สองนี้แสดงด้วยสัญลักษณ์ "má" (ม้า)
    • โทนที่สาม จะเป็นเสียงเอก พิทช์เสียงจะเริ่มจากกลางลงต่ำแล้วค่อยตวัดสูงขึ้น เหมือนเวลาคุณพูดคำว่า "บี" เวลาที่เสียงโทนที่สามสองตัวอยู่ติดกันนั้น เสียงตัวที่สองจะยังคงโทนที่สามในขณะที่ตัวแรกจะเปลี่ยนไปใช้โทนที่สอง เสียงโทนที่สามแสดงด้วยสัญลักษณ์ "mǎ" (หม่า)
    • โทนที่สี่ จะเป็นเสียงโท คือจะเริ่มด้วยเสียงสูงแล้วลดต่ำอย่างเร็ว เหมือนกับตอนออกคำสั่ง เช่น หยุด! หรือตอนที่คุณกำลังอ่านหนังสืออยู่และเกิดมีอะไรใหม่น่าสนใจเกิดขึ้นจนคุณต้องร้องอุทานว่า "เฮ้ย" โทนที่สี่แสดงด้วยสัญลักษณ์ "mà" (ม่า)
    • ง่ายไหม ถ้ารู้สึกว่าไม่ อย่าเพิ่งย่อท้อ ทางที่ดีแนะนำให้บอกคนจีนพูดให้ฟัง เนื่องจากมันเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายผ่านทางตัวหนังสือ
    • ระบบการออกเสียงที่เป็นที่นิยมที่สุดคือระบบพินอิน (pinyin: 拼音) นั้นช่วยได้มาก การเรียนรู้พินอินมีความซับซ้อนอยู่บ้าง แต่ตัวอักษรส่วนใหญ่จะออกเสียงเหมือนกับในตัวภาษาอังกฤษ เสียงใหม่ที่จะต้องเรียนรู้ก็มี : "h", "x", "q", "j", "r", และ "ü" นอกจากนี้ยังมีอักษรตัวควบกล้ำที่ต้องเรียนรู้เพิ่ม เช่น "zh", "ch", และ "sh"
      • "h": เกือบจะเหมือนภาษาอังกฤษตัว "h", แต่จะออกเสียงเค้นในลำคอมากกว่า
      • "x": วางปลายลิ้นใกล้กับจุดที่ฟันล่างติดกับเหงือก และลิ้นส่วนกลางอยู่ใกล้เพดานปาก แล้วพ่นลมออกมาจากปาก มันจะออกเสียงคล้ายกับ "sh", แต่ใกล้เคียงกับ "s"
      • "q": เหมือนกับ "x" แต่ใช้เสียง "t" เป็นตัวตั้งต้น มันจะฟังคล้าย "ch", แต่ใกล้เคียงกับ "ts"
      • "j": เหมือนกับ "q", แต่คุณจำเป็นต้องใช้เสียงในตัวนี้ แทนที่จะแค่พ่นลมหายใจออกมา ให้ทำโดยมีเสียงออกมา ความแตกต่างระหว่าง "q" กับ "j" นั้นคล้ายกับความแตกต่างระหว่าง "s" กับ "z" ในภาษาอังกฤษ
      • "r": ตัวอักษรตัวนี้ออกเสียงต่างออกไปเมื่อมันเป็นตัวเริ่มต้นกับที่มันเป็นตัวต่อท้าย เวลาที่มันเป็นตัวตั้งต้น ตรงนี้จะยากนิดหน่อยและต้องฝึกฝน ให้ใช้ปลายลิ้นยกขึ้นไปจนเกือบแตะเพดานปาก ข้างลิ้นควรแตะกับฟันกรามทั้งสองข้าง แล้วพ่นลมหายใจออกมาพร้อมเสียง มันจะฟังดูเกือบคล้ายเสียง "s" ใน "vision", แต่ใกล้เคียงกับ "r" เวลาที่ตัวอักษรตัวนี้อยู่ท้ายของคำอ่าน มันจะออกเสียงคล้ายตัว "r" ในภาษาอังกฤษ
      • "ü": ตัวอักษรตัวนี้เป็นสระตัวที่หกของภาษาจีน และไม่พบในภาษาอังกฤษ กระนั้น มันออกเสียงค่อนข้างง่าย เริ่มด้วยการห่อลิ้นเหมือนเวลาที่คุณพยายามจะพูดว่า "oo", เหมือนในคำว่า "food" จากนั้นทำเสียง "ee" เหมือนที่คุณได้ยินในคำว่า "bee"
      • "zh": คล้ายอย่างมากกับภาษาอังกฤษตัว "j" ใน "jar" แต่วางตำแหน่งปากแบบเดียวกับภาษาจีนตัว "r"
      • "ch": คล้ายอย่างมากกับภาษาอังกฤษตัว "ch" ใน "chew" แต่วางตำแหน่งปากแบบเดียวกับภาษาจีนตัว "r"
      • "sh": คล้ายอย่างมากกับภาษาอังกฤษตัว "sh" แต่วางตำแหน่งปากแบบเดียวกับภาษาจีนตัว "r" เสียงตัว "r", "zh", "ch", และ "sh" เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นกลุ่ม "retroflex" เพราะมันฟังดูเหมือนเป็นกลุ่มเสียงเดียวกัน
  2. ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไร ยิ่งมีคำศัพท์เก็บไว้เยอะ ก็ยิ่งพูดได้คล่องขึ้น ดังนั้น สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือจดจำคำศัพท์ภาษาจีนที่มีประโยชน์และใช้บ่อย
    • ศัพท์ดีๆ ที่ควรเริ่มจำก็เช่น: ช่วงเวลาในแต่ละวัน (ตอนเช้า: zǎo shàng (จ่าว ซ่าง), ตอนบ่าย: xià wǔ (เซี่ย อู่), ตอนเย็น: wǎn shàng (อว่าน ซ่าง)) ส่วนต่างๆ ของร่างกาย (ศีรษะ: tóu (เถา), เท้า: jiǎo (เจี่ยว), มือ: shǒu (โส่ว)) อาหาร (เนื้อวัว: niú ròu (หนิว โร่ว), ไก่: (จี), ไข่: jī dàn (จี ต้าน), บะหมี่: miàn tiáo (เมี่ยน เถียว)) นอกจากนี้ก็เป็นพวกสี วัน เดือน พาหนะ การเดินทาง สภาพอากาศ เป็นต้น
    • เวลาที่คุณได้ยินคำในภาษาอังกฤษ คิดในใจว่าคุณจะพูดเป็นภาษาจีนอย่างไร หากคุณไม่ทราบ จดไว้แล้วมาค้นหาในภายหลัง มีสมุดบันทึกสักเล่มติดตัวเพื่อจุดประสงค์นี้ก็ไม่เลวเหมือนกัน ติดตัวหนังสือภาษาจีน (พร้อมพินอินกับคำอ่าน) ไว้กับข้าวของทั่วทั้งบ้าน อย่างเช่นกระจก โต๊ะนั่งเล่น หรือขวดใส่น้ำตาล ยิ่งคุณเห็นคำเหล่านี้บ่อยๆ คุณจะรู้จักมันขึ้นใจอย่างไม่รู้ตัวเลย!
    • ถึงแม้การรู้ศัพท์เยอะๆ จะเป็นเรื่องที่ดี แต่จำไว้ว่าในภาษาจีนกลาง การพูดได้ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญกว่า มันไม่มีประโยชน์เลยถ้าจะรู้ศัพท์เยอะแต่พูดออกเสียงไม่ถุก เพราะอย่างที่บอกว่าโทนเสียงเปลี่ยนจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อใช้โทนเสียงผิด (ใช้ (มา) แทนที่จะเป็น (ม้า)) ก็แตกต่างเหมือนจะบอกว่า "ไก่มีไข่" กับ "ไก่มีไข้" ซึ่งความหมายมันไปกันคนละเรื่องเลย
    คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ
    ถาม

    เมื่อถูกถามว่า “ต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะเรียนรู้ภาษาจีนพื้นฐานได้?”

    Godspeed Chen

    นักแปลผู้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่
    ก็อดสปีด เฉินเป็นนักแปลอาชีพจากประเทศจีน เขาทำงานแปลและการประยุกต์ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นมากว่า 15 ปี
    คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
    คำตอบจาก Godspeed Chen :

    ก็อดสปีด เฉิน นักแปลชาวจีนตอบว่า: “มันอาจใช้เวลา หนึ่งหรือสองสัปดาห์ ในการเรียนรู้ประโยคบางประโยคที่ใช้ประโยชน์ได้ ส่วนถ้าจะเอาให้คล่อง ก็ต้องใช้เวลา หนึ่งปีขึ้นไป

  3. โชคดีที่ระบบนับเลขในภาษาจีนนั้นค่อนข้างตรงและเป็นไปตามเหตุตามผล พอคุณเรียนเลขสิบตัวแรกได้ คุณจะสามารถนับเลขได้ถึง 99 เลย
    • ข้างล่างนี้คุณจะพบตัวเลขตั้งแต่หนึ่งถึงสิบ เขียนโดยใช้ตัวอักษรจีนแบบย่อ ตามด้วยคำแปลพินอินและการออกเสียงที่ถูกต้อง ให้แน่ใจว่าได้ฝึกพูดโดยใช้โทนที่ถูกต้อง
      • หนึ่ง: เขียนว่า (一) หรือ , อ่านว่า [eee] (อี)
      • สอง: เขียนว่า (二) หรือ èr , อ่านว่า [arr] (เอ้อร์)
      • สาม: เขียนว่า (三) หรือ sān , อ่านว่า [saan] (ซาน)
      • สี่: เขียนว่า (四) หรือ , อ่านว่า [ssuh] (ซื่อ)
      • ห้า: เขียนว่า (五) หรือ , อ่านว่า [woo] (อู๋)
      • หก: เขียนว่า (六) หรือ liù , อ่านว่า [lee-yoe] (ลิ่ว)
      • เจ็ด: เขียนว่า (七) หรือ , อ่านว่า [chi] (ชี)
      • แปด: เขียนว่า (八) หรือ , อ่านว่า [baa] (ปา)
      • เก้า: เขียนว่า (九) หรือ jiǔ , อ่านว่า [jee-yo] (จิ่ว)
      • สิบ: เขียนว่า (十) หรือ shí , อ่านว่า [sh] (สือ)
    • พอคุณพูดเลขหนึ่งถึงสิบได้คล่อง คุณสามารถนับเลขหลักสิบต่อได้เลยโดยพูดตัวเลขในหลักสิบ ตามด้วยพูดเลขสิบ shi (สือ) ตามด้วยตัวเลขในหลักหน่วย ตัวอย่างเช่น:
    • เลข 48 เขียนได้ว่า sì shí bā (四十八 - ซื่อ สือ ปา) แปลตรงตัวว่า "สี่สิบบวกแปด", เลข 30 เขียนได้ว่า sān shí (三十 - ซาน สือ) แปลตรงตัวว่า "สามสิบ", เลข 19 เขียนได้ว่า yī shí jiǔ (一十九 - อี สือ จิ่ว) แปลตรงตัวว่า "หนึ่งสิบบวกเก้า" (อย่างไรก็ตามในการพูดภาษาจีนส่วนใหญ่ คำว่า ตัวแรกนั้นจะถูกตัดทิ้งในเลขสิบกว่าทั้งหมด เพราะมันเหมือนไม่มีความจำเป็น)
    • คำที่หมายถึงร้อยในภาษาจีนคือ (百) หรือ baǐ (ไป่), ดังนั้น 100 จึงเขียนเป็น yī baǐ (อี ไป่), 200 เขียนเป็น èr baǐ (เอ้อร์ ไป่), 300 เขียนเป็น sān baǐ (ซาน ไป่), เป็นต้น
  4. พอคุณเริ่มพูดศัพท์ง่ายๆ พื้นฐานได้ ก็ขยับขึ้นไปเรียนการสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวันกัน
    • สวัสดี = 你好 - nǐhǎo, อ่านว่า [nee how] (หนี ห่าว)
    • คุณมีนามสกุล (หรือแซ่) อะไร = 您贵姓? - nín guì xìng, อ่านว่า [neen gway shing] (หนิน กุ้ย ซิ่ง)
    • หรือ 你姓什么?- nǐ xìng shén me ( inf. ), อ่านว่า [nee shing shurn muh] (หนี ซิ่ง เสิ่น เมอ)
    • คุณชื่ออะไร = 你叫什么名字?- nǐ jiào shén me míng zì [1] อ่านว่า หนี่ เจี้ยว เสิ่น เมอ หมิง ซื่อ
    • ใช่ = 是 - shì, อ่านว่า [sh] (ซื่อ)
    • ไม่ใช่ = 不是 - bú shì, อ่านว่า [boo sh] (ปู๋ ซื่อ)
    • ขอบคุณ = 谢谢 - xiè xiè, อ่านว่า [shie shie] (เซี่ย เซี่ย)
    • ด้วยความยินดี = 不用谢 - bú yòng xiè, อ่านว่า [boo yong shee-e] (ปู๋ โย่ง เซี่ย)
    • ขอโทษนะ = 对不起 - duì bu qǐ, อ่านว่า [dway boo chee] (ตุ้ย ปู้ ฉี่)
    • ฉันไม่เข้าใจ = 我不懂 - wǒ bù dǒng, อ่านว่า [wuo boo downg] (หว่อ ปู้ ต่ง)
    • ลาก่อน = 再见 - zài jiàn, อ่านว่า [zay jee-en] (ไจ้ เจี้ยน)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พัฒนาทักษะด้านภาษาของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีความเข้าใจผิดๆ ว่าภาษาจีนไม่มีไวยากรณ์ แต่นั่นไม่ใช่ความจริง กฎทางไวยากรณ์ของภาษาจีนนั้นมีอยู่ เพียงแต่มันต่างไปจากไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและระบบภาษาอื่นๆ ภาษาจีนนั้นเป็นภาษาเชิงวิเคราะห์ ซึ่งนั่นเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับนักเรียนภาษา
    • ตัวอย่างเช่น ในภาษาจีนนั้นไม่มีกฎซับซ้อนในเรื่องการผันกริยา ความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยา เพศ คำพหูพจน์ หรือกาลเวลา คำส่วนใหญ่จะประกอบด้วยคำเดี่ยวที่มารวมกันกลายเป็นคำผสม นั่นทำให้โครงสร้างของรูปประโยคเป็นไปอย่างเกือบเป็นเส้นตรง
    • อย่างไรก็ตาม ภาษาจีนก็มีไวยากรณ์เฉพาะของมันเองซึ่งไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษและภาษายุโรปอื่นๆ เช่น ภาษาจีนใช้ลักษณะไวยากรณ์อย่างเช่น ลักษณนาม มีความเป็นภาษาที่เน้นหัวข้อ (ซึ่งอาจละประธานหรือกรรมในประโยคเพราะเน้นที่หัวข้อหรือกริยาเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับภาษาไทย) และอ้างอิงตามมุมมอง ซึ่งลักษณะทั้งหมดนี้ไม่มีการใช้ในภาษาอังกฤษ จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ
    • กระนั้น ถึงจะมีความแตกต่างกัน ภาษาจีนก็ใช้การเรียงลำดับคำแบบเดียวกับภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประธาน – กริยา – กรรม ทำให้แปลคำต่อคำออกมาได้ง่าย เช่น คำในภาษาอังกฤษว่า "he likes cats" (เขาชอบแมว) สามารถแปลตรงๆ เป็น "tā (he) xǐ huan (likes) māo (cats) หรืออ่านว่า (ทา สี่ฮวาน มาว)
  2. พินอินเป็นระบบที่ใช้เขียนภาษาจีนโดยใช้ตัวอักษรโรมัน ฮั่นหยวีพินอิน (Hanyu pinyin) เป็นรูปแบบการถอดเป็นตัวอักษรโรมันที่พบเห็นบ่อยที่สุด และถูกใช้ในตำราเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนส่วนใหญ่
    • พินอินทำให้นักเรียนภาษาจีนเพ่งไปที่การออกเสียง ในขณะที่ช่วยให้สามารถอ่านเขียนได้ โดยไม่ต้องศึกษาตัวอักษรจีนที่ซับซ้อนยุ่งยาก ถึงแม้พินอินจะใช้ตัวอักษรโรมัน แต่การออกเสียงตัวอักษรแต่ละตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนพูดภาษาอังกฤษ จึงควรที่จะศึกษาอย่างละเอียดก่อนนำมาใช้
    • ตัวอย่าง ตัวอักษร "c" ในพินอินจะออกเสียงเหมือน "ts" ในคำว่า "bits", ตัวอักษร "e" ออกเสียงคล้าย "er" ในคำว่า "hers" และตัวอักษร "q" ออกเสียงคล้าย "ch" ในคำว่า "cheap" เนื่องจากความแตกต่างเช่นนี้ จึงจำเป็นที่คุณต้องเรียนการออกเสียงพินอินที่ถูกต้องก่อนใช้มันเป็นแนวทาง
    • ถึงแม้การเรียนออกเสียงพินอินอาจดูเหมือนยากมาก มันจะเอื้อประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนภาษาและนับว่าง่ายกว่าไปนั่งเรียนการจำตัวอักษรจีนมากๆ
  3. อุปสรรคขั้นสุดท้ายในการเรียนภาษาจีนคือการเรียนอ่านเขียนตัวอักษรจีนดั้งเดิม มันอาจต้องใช้เวลานาน (อาจถึงหลายปี) กว่าจะเชี่ยวชาญ เพราะหนทางเดียวที่จะเรียนได้คือจดจำและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
    • จากข้อมูลของ BBC มีตัวอักษรจีนมากกว่า 50,000 ตัวที่มีบันทึกใช้อยู่ อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ก็แทบไม่ค่อยพบว่าถูกใช้บ่อย คนจีนที่มีการศึกษาจะรู้ตัวอักษรประมาณ 8000 ตัว แต่มีเพียงแค่ราว 2000 ตัวที่จำเป็นต้องรู้เพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ [2]
    • เวลาเขียนตัวอักษรจีน คุณจะต้องเรียน "ตัวมูลฐาน" 214 ตัวก่อน ซึ่งเป็นพื้นฐานของตัวอักษรจีนทุกตัว ตัวมูลฐานบางตัวอาจเป็นตัวอักษรที่มีความหมายในตัวมันเอง ในขณะที่บางตัวถูกใช้ประกอบภายในตัวอักษรที่ซับซ้อนกว่า
    • จำเป็นเหมือนกันที่คุณต้องเขียนตามลำดับการตวัดปากกาเวลาเขียนตัวอักษรเหล่านี้ มันมีกฎบังคับโดยเฉพาะที่คุณต้องทำตาม อย่างเช่น จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง และเขียนแนวนอนก่อนไปแนวตั้ง
    • มีตำราเรียนภาษาจีนมากมายที่คุณสามารถหาซื้อมาศึกษาลำดับการเขียนตัวอักษร โดยมากจะเป็นตำราให้เด็กนักเรียนหัดเขียน แต่มีประโยชน์ต่อใครก็ตามที่อยากเรียนตัวอักษรจีน ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ 快乐汉语 จาก Hanban เพราะมันมีคำแปลภาษาอังกฤษ
    • ประโยชน์สำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนตัวอักษรจีนคือคุณสามารถใช้เป็นทางลัดรู้จักภาษากวางตุ้ง ญี่ปุ่น เกาหลี และวรรณกรรมอื่นๆ ที่ใช้ตัวอักษรจีนทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ในงานเขียน ถึงแม้ภาษาพูดจะไม่เหมือนกันก็ตาม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทุ่มเทตนเองในภาษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะทางภาษาคือฝึกพูดกับเจ้าของภาษา พวกเขาจะคอยแก้ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์หรือการออกเสียง และยังแนะนำให้คุณรู้จักกับรูปแบบภาษาพูดหรือภาษาเฉพาะกลุ่มอย่างที่จะไม่เจอในตำราอีกด้วย
    • หากคุณมีเพื่อนพูดภาษาจีนที่เต็มใจจะช่วย ก็เยี่ยมไปเลย! ถ้าไม่งั้นคุณสามารถลงประกาศในเน็ตหากลุ่มคนพูดภาษาจีนในละแวกที่คุณอยู่ก็ได้
    • หากแถวนั้นไม่มีใครพูดได้สักคนเลย ลองหาคนตาม Skype พวกเขาอาจเต็มใจแลกเปลี่ยนการสนทนาภาษาจีนสัก 15 นาทีกับการสนทนาภาษาอังกฤษหรือไทย 15 นาที
    • หากหาคนใน Skype ไม่ได้ ลอง QQ (กูเกิลดู จะเจออยู่ลิงก์แรกเลย :)) มันเป็นโปรแกรมแช็ทที่นิยมมากแต่ในเฉพาะประเทศจีน คุณจะพบกลุ่ม/ห้องเรียนภาษามากมายในนั้น คนส่วนใหญ่จะเรียนภาษาอังกฤษกัน พวกเขาจะเต็มใจอยากคุยกับคุณแน่ ลองเพิ่มกลุ่ม (ID:229776426) หวังว่าคุณจะเจอคู่หูคอยผลัดกันสอนภาษานะ
  2. ถ้าต้องการแรงขับเคลื่อนกว่านั้น หรือรู้สึกว่าจะเรียนดีขึ้นในบรรยากาศเป็นทางการ หาคอร์สเรียนภาษาจีนเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย
    • จากการที่คนจีนแพร่ขยายหรือออกมาท่องเที่ยวเยอะมาก จึงมีคลาสเปิดสอนภาษาจีนมากมาย ราคาก็แตกต่างกันไป คุณสามารถเรียนทางออนไลน์ยังได้เลย
    • มองหาคอร์สภาษาจีนที่มีประกาศในมหาวิทยาลัยหรือศูนย์ชุมชนดู
    • หากคุณกังวลการต้องไปเรียนตามลำพัง ลากเพื่อนไปด้วยสิ จะยิ่งสนุกและมีคนช่วยฝึกระหว่างเรียน!
  3. ลองหาหนังจีน (ที่มีซับไทเทิล) หรืออ่านการ์ตูนจีนในเน็ต ทั้งง่ายและสนุกเพื่อจะได้รับรู้โครงสร้างและวิธีการพูดภาษาจีน
    • ถ้าไฟแรงจัด ลองกดปุ่มหยุดหลังประโยคง่ายๆ ในหนังแล้วหัดพูดตาม ทีนี้จะได้สำเนียงแท้ๆ ตามในหนังเลย!
    • หนังจีนแบบที่มีเสียงจีนมีวางจำหน่ายทั่วไป ซื้อมาแล้วไม่ต้องเปิดแบบพากย์ไทยหรอก ลองดูแบบเสียงดั้งเดิม ไม่แน่ใจก็เปิดแค่ซับไทเทิล
  4. นี่ก็เป็นวิธีทำความคุ้นเคยกับภาษาได้ดี ถึงคุณจะไม่เข้าใจไปทุกคำ ลองหาคีย์เวิร์ดที่จะช่วยคุณเดาได้ว่าเขากำลังพูดถึงอะไรกัน
    • หาแอปรายการวิทยุภาษาจีนมาใส่ไว้ในมือถือ เพื่อจะได้ฟังเวลาไปไหนมาไหน
    • ลองดาวน์โหลดพอดคาสต์ภาษาจีนมาฟังเวลาออกกำลังกายหรือทำงานบ้าน
  5. พอคุณเริ่มคุ้นเคยกับการพูดภาษาจีนพื้นฐาน ลองคิดหาทางไปเที่ยวเมืองจีน หรือแม้แต่ไต้หวัน ไม่มีอะไรจะให้คุณพาตัวเองลุ่มหลงไปในภาษาจีนเท่ากับการเดินทางไปยังแผ่นดินต้นกำเนิดภาษาอีกแล้ว!
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Godspeed Chen

    นักแปลผู้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่
    ก็อดสปีด เฉินเป็นนักแปลอาชีพจากประเทศจีน เขาทำงานแปลและการประยุกต์ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นมากว่า 15 ปี
    Godspeed Chen
    นักแปลผู้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่

    ผู้เชี่ยวชาญของเราเห็นด้วยว่า: วิธีเรียนภาษาจีนที่ดีที่สุดก็เหมือนภาษาอื่นๆ คือการลงไปเต็มตัวเลย ไปใช้ชีวิตหรือไปเยือนประเทศจีนจะช่วยทำให้คุณเรียนภาษาจีนได้เร็วขึ้นมากๆ

  6. การเรียนภาษานั้นเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาที่เรียนยากที่สุด ให้เวลากับตนเองเถอะ
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • คุณสามารถลองโปรแกรม wechat เพื่อรู้จักคนจีนเจ้าของภาษา มันเป็นเครือข่ายสังคมที่คนจีนนิยมที่สุด เหมือนทวิตเตอร์ในโลกตะวันตก คนจีนต้องเต็มใจอยากคุยกับคุณแน่
  • ถ้าทำได้ อย่างน้อยลองเรียนคอร์สเบื้องต้นในโรงเรียนจะได้มั่นใจว่าออกเสียงแต่ละเสียงถูกต้อง การเรียนพื้นฐานจะช่วยให้คุณเรียนเองที่เหลือได้เร็ว ให้แน่ใจว่าคอร์สเรียนสอนเป็นภาษาจีน ไม่ใช่ ภาษาไทยหรืออังกฤษ ฝรั่งที่ไปสอนภาษาในเมืองจีนต้องพูดอังกฤษ ไม่ใช่ได้พูดจีน
  • ส่วนใหญ่แล้วคนจีนจะมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง จึงยินดีที่จะช่วยเวลาพบคนอยากเรียนภาษาจีน อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
  • กุญแจสำคัญคือฝึกฝนต่อเนื่อง! ถ้าคิดว่ารู้เยอะพอแล้ว ให้แน่ใจว่าจะไม่หยุดแค่นั้น คุณจะลืมสิ่งที่เรียนมาในไม่ช้า มันคงน่าโมโหนะถ้าต้องมารื้อฟื้นกันใหม่เรื่อยๆ เพราะคุณไม่ได้ใช้มันอย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ถึงจะมีคนไม่เห็นด้วยเรื่องการเขียนจีนเป็นอักษรโรมันและการใช้ระบบแบบนี้ แต่การเรียนพินอินก็พิสูจน์แล้วว่ามีค่าถ้าคุณคิดจะพิมพ์ภาษาจีนด้วยคีย์บอร์ด
  • โทนเสียงกับการออกเสียงสำคัญมากในภาษาจีน เวลาเรียนศัพท์ใหม่ๆ (โดยเฉพาะคนเริ่มหัดเรียน) ให้ใช้เวลาฝึกโทนเสียงเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น คำว่า "มู", "หมู?" และ "มู่!" เป็นคำที่แยกจากกันสามคำสามความหมายที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรต่อกันเลยในภาษาจีน
  • อย่าขอข้ามการเรียนหลายวันหรือสัปดาห์แล้วอ้างว่าไม่มีเวลา คุณจะลืมเอาได้และต้องเริ่มกันใหม่
  • หากคุณอยากเรียนแบบไวๆ ลองโปรแกรม (เช่น Rosetta Stone หรือแอปมือถือ Duolingo) หรือใช้แฟลชการ์ดมาเรียนก่อนเข้านอน จะได้สนุกไปกับการได้พูด เขียน อ่าน ในแบบมีการโต้ตอบและสนุกสนาน
  • ถึงภาษาจีนไต้หวันจะเหมือนกับจีนกลาง แต่ก็มีความแตกต่างเล็กน้อยทั้งในการออกเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ ก็เหมือนภาษาอังกฤษที่แตกต่างระหว่างอเมริกากับอังกฤษ (จีนไต้หวันจะยังคงใช้ตัวอักษรดั้งเดิม ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่จะใช้ตัวประยุกต์)
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณเรียนคำหยาบ ควรพูดให้เป็นมุกตลกไปซะ เพราะคำด่าในภาษาจีนบางคำมันแรงมากๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 74,820 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา