ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเป็นคนชอบเอาใจคนอื่น คุณก็น่าจะเป็นคนที่มักเอาความต้องการของคนอื่นมาก่อนของตัวเอง คุณอาจจะอยากได้การยอมรับจากคนอื่นหรือไม่ก็ถูกสอนมาให้ยอมคนอื่นเสมอ มันอาจต้องใช้เวลาสักระยะในการปรับตัว แต่ให้เริ่มจากการพูดคำว่า “ไม่” ในบางเรื่องแทนที่จะพูดว่า “ได้” ไปเสียทุกเรื่อง กำหนดขอบเขต พูดสิ่งที่ตัวเองต้องการออกมาและทำให้ความคิดเห็นของคุณมีความหมาย เหนือสิ่งอื่นใดคือคุณต้องหาเวลาดูแลตัวเองด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พูดว่า “ไม่” ให้อยู่หมัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีใครสักคนขอหรือบอกให้คุณทำอะไร คุณมีทางเลือกที่จะตอบรับ ปฏิเสธ หรือบอกว่าอาจจะ คุณไม่จำเป็น ต้อง ตอบตกลงแม้ว่าคุณจะอยากทำแบบนั้นก็ตาม เวลาที่มีคนมาขอให้คุณทำอะไร ให้เวลาสักครู่และจำไว้ว่าคุณเลือกได้ว่าจะตอบกลับไปอย่างไร [1]
    • เช่น ถ้ามีคนขอให้คุณอยู่ทำโปรเจกต์จนดึกดื่น บอกตัวเองว่า “ฉันมีทางเลือกที่จะตอบตกลงแล้วอยู่ต่อ หรือจะกลับบ้านและปฏิเสธก็ได้”
  2. ถ้าคุณมักจะพูดว่า “ได้” อยู่เสมอเวลามีคนบอกอะไรแม้ว่าคุณจะไม่อยากทำหรือแม้ว่าสถานการณ์จะทำให้คุณเครียด ให้เริ่มพูดว่า “ไม่” มันอาจจะต้องฝึกบ้าง แต่บอกให้คนอื่นรู้เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการได้ คุณไม่จำเป็นต้องแก้ตัวหรืออธิบายเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้น แค่พูดว่า “ไม่” หรือ “ไม่ล่ะ ขอบคุณ” ก็พอแล้ว [2]
    • เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ด้วยการหาสิ่งเล็กๆ ที่คุณสามารถพูดว่า "ไม่" ได้ก่อนและพูดอย่างหนักแน่น เช่น ถ้าคนรักขอให้คุณพาหมาไปเดินเล่นแต่ว่าคุณเหนื่อย ให้บอกว่า “ไม่ล่ะ คืนนี้ผมอยากให้คุณเป็นคนช่วยพาหมาไปเดินเล่นหน่อยนะครับ”
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะเล่นบทบาทสมมุติกับเพื่อนเพื่อให้คุ้นเคยกับการพูดว่า “ไม่” ให้เพื่อนขอให้คุณทำอะไรให้ จากนั้นก็ตอบกลับว่า “ไม่” ทุกครั้งที่เพื่อนถาม อย่าลืมสังเกตด้วยว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรเวลาพูดว่า “ไม่” ในแต่ละครั้ง
  3. ถ้าคำว่า “ไม่” เฉยๆ ฟังดูรุนแรงสำหรับคุณ ให้ยืนกรานโดยที่ยังคงเห็นใจอีกฝ่าย แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณเข้าใจเขาและความต้องการของเขา แต่ก็พูดอย่างหนักแน่นว่าคุณไม่สามารถช่วยเขาได้ [3]
    • เช่น พูดว่า “ฉันรู้ว่าคุณอยากได้เค้กวันเกิดสวยๆ ในงานปาร์ตี้และฉันก็รู้ด้วยว่ามันสำคัญกับคุณมาก ฉันก็อยากทำให้นะ เพียงแต่ว่าตอนนี้ฉันไม่สามารถทำให้ได้จริงๆ”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กำหนดขอบเขต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอบเขตก็เหมือนกับค่านิยมส่วนตัว มันช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณสบายใจและไม่สบายใจที่จะทำอะไร [4] คุณไม่จำเป็นต้องตอบกลับทันทีเวลามีคนมาขอให้คุณทำอะไร พูดว่า “ขอคิดดูก่อนนะ” แล้วค่อยกลับไปตอบเขา วิธีนี้จะทำให้คุณมีเวลาคิดทบทวน ถามตัวเองว่ารู้สึกกดดันหรือเปล่า และคิดถึงความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น [5]
    • ถ้าเขาต้องการคำตอบเร่งด่วน ให้ปฏิเสธ เพราะเมื่อคุณตกลงคุณจะติดกับทันที
    • อย่าใช้วิธีนี้ในการเลี่ยงพูดคำว่าไม่ ถ้าคุณอยากหรือจำเป็นต้องปฏิเสธ แค่พูดออกไปโดยไม่ต้องให้อีกฝ่ายรอ
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าขอบเขตของคุณคืออะไร ให้ค่อยๆ ใช้เวลาทบทวนค่านิยมและสิทธิ์ของตัวเอง ขอบเขตที่ว่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับวัตถุ กายภาพ จิตใจ อารมณ์ เพศ หรือจิตวิญญาณก็ได้ [6]
  2. การรู้ลำดับความสำคัญสามารถช่วยให้คุณเลือกได้ว่าจะตอบตกลงเรื่องอะไรและปฏิเสธเรื่องไหน ถ้าคุณรู้สึกเหมือนติดกับจนไม่สามารถตัดสินใจได้ ให้เลือกสิ่งที่สำคัญกับคุณมากกว่าและตอบตัวเองว่าทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น ถ้าคุณไม่แน่ใจ ให้เขียนรายการความต้องการ (หรือทางเลือก) ของคุณออกมาแล้วจัดลำดับตามสิ่งที่สำคัญกับคุณมากที่สุด [7]
    • เช่น การดูแลหมาของคุณที่กำลังป่วยอาจสำคัญกับคุณมากกว่าการไปงานปาร์ตี้ของเพื่อน
  3. การแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องผิด และมันก็ไม่ได้หมายความคุณกำลังเรียกร้อง การเตือนให้คนอื่นรู้ว่าคุณก็เป็นคนๆ หนึ่งที่มีความต้องการเป็นของตัวเองก็ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่แล้ว ถ้าคุณมักจะทำให้คนอื่นพอใจด้วยการไหลไปตามสิ่งที่คนอื่นต้องการแทนที่จะบอกว่าตัวเองชอบและไม่ชอบอะไร ให้พูดออกไปเลย
    • เช่น ถ้าเพื่อนบอกว่าอยากกินอาหารอิตาเลียนและคุณอยากกินอาหารเกาหลี ให้บอกไปเลยว่าครั้งหน้าคุณอยากกินอาหารเกาหลี
    • แม้ว่าคุณจะไหลไปตามน้ำอยู่ดี แต่ก็ให้บอกความต้องการของตัวเองออกไปด้วย เช่น “ฉันอยากดูหนังอีกเรื่องนึง แต่ว่าดูเรื่องนี้ก็ได้”
    • อย่าปกป้องตัวเองมากเกินไป บอกความต้องการของตัวเองโดยที่ไม่โกรธหรือกล่าวโทษคนอื่น พยายามยืนกราน มีสติ หนักแน่น และมีมารยาทให้ได้มากที่สุด
  4. ถ้าคุณตกลงที่จะช่วยเหลือใคร ให้กำหนดขอบเขตเวลา คุณไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลมาอธิบายข้อจำกัดหรือหาข้ออ้างว่าทำไมคุณถึงต้องไปแล้ว บอกข้อจำกัดของคุณและจบแค่นั้น [8]
    • เช่น ถ้ามีคนขอให้คุณช่วยเขาขนของย้ายบ้าน บอกเขาว่า “ฉันมาช่วยตอนเที่ยงถึงบ่ายสามได้”
  5. การประนีประนอมเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณพูดสิ่งที่คุณต้องการออกไป กำหนดทิศทางภายในขอบเขตของคุณ และพบอีกฝ่ายคนละครึ่งทาง รับฟังสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการ จากนั้นอธิบายว่าคุณต้องการอะไร และหาข้อสรุปที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ [9]
    • เช่น ถ้าเพื่อนอยากไปชอปปิงแต่ว่าคุณอยากไปเดินทางไกล ให้ทำกิจกรรมนึงก่อนแล้วค่อยไปทำอีกอันนึง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สร้าง ความภาคภูมิใจในตนเอง . คุณค่าของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คนอื่นคิดกับคุณหรือการยอมรับจากผู้อื่น มันเกิดขึ้นจากตัวคุณ ไม่ได้มาจากคนอื่น อยู่ท่ามกลางคนคิดบวกและรู้ทันเวลาที่รู้สึกแย่กับตัวเอง ฟังวิธีการที่คุณพูดกับตัวเอง (เช่น เรียกตัวเองว่าคนไม่น่าคบหรือความล้มเหลว) และเลิกก่นด่าตัวเองที่ทำผิดพลาด [10]
    • เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและปฏิบัติกับตัวเองเหมือนเวลาที่คุณปฏิบัติกับเพื่อน ใจดี เข้าอกเข้าใจ และพร้อมให้อภัย
    • สังเกตว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเอาใจคนอื่นหรือเปล่า เพราะมันมักเป็นสัญญาณของการมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ
  2. การละเลยความต้องการของตัวเองอาจเป็นสัญญาณของการไม่รักตัวเอง การดูแลตัวเองและเอาใจใส่ร่างกายของตัวเองไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว ถ้าคุณมักจะละเลยการดูแลตัวเองเพื่อไปดูแลคนอื่น เจียดเวลาในแต่ละวันดูแลสุขภาพของตัวเองบ้าง รับประทาน อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ และทำในสิ่งที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดี เหนือสิ่งอื่นใดคือคุณต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในตอนกลางคืนและรู้สึกสดชื่นในตอนกลางวัน [11]
    • พยายามนอนให้ได้วันละ 7 ชั่วโมงครึ่งถึง 8 ชั่วโมงครึ่ง [12]
    • เวลาที่คุณดูแลตัวเอง คุณจะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มากขึ้น
  3. การดูแลตัวเองจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและช่วยให้คุณจัดการกับความเครียดได้ หาเวลาสนุกกับเพื่อนๆ และครอบครัว ทำให้ตัวเองมีความสุขด้วยเอาอกเอาใจตัวเองบ้างๆ เล็กๆ น้อย ไปนวด ไปสปา และทำในสิ่งที่ช่วยให้คุณผ่อนคลาย [13]
    • ทำกิจกรรมที่คุณชอบ ฟังเพลง เขียนบันทึก ทำงานอาสาสมัคร หรือออกไปเดินเล่นทุกวัน
  4. คุณไม่ต้องการการยอมรับจากใครนอกจากตัวคุณเอง ไม่ว่าคุณจะพยายามแค่ไหน คนบางคนเอาใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ คุณไม่สามารถเปลี่ยนความคิดหรือความรู้สึกของคนอื่นเพื่อให้เขามาชอบหรือยอมรับคุณได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่คนอื่นต้องตัดสินใจเอง [14]
    • ถ้าคุณพยายามเพื่อให้ได้การยอมรับจากกลุ่มเพื่อน หรือคุณอยากให้คุณย่าเห็นว่าคุณเป็นคนดีแค่ไหน คุณก็อาจจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้
  5. การเลิกนิสัยชอบเอาใจคนอื่นอาจเป็นเรื่องยาก ถ้าคุณพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ แล้ว แต่ว่ามันก็ยังเหมือนเดิมหรือมีแต่จะแย่ลง ก็อาจถึงเวลาต้องไปพบนักจิตบำบัดแล้ว นักจิตบำบัดสามารถช่วยให้คุณสร้างพฤติกรรมใหม่และยืนหยัดเพื่อตัวเองได้ [15]
    • หานักจิตบำบัดด้วยการติดต่อบริษัทประกันสุขภาพหรือคลินิกสุขภาพจิตใกล้บ้าน นอกจากนี้คุณยังสามารถหานักจิตบำบัดได้ด้วยการขอให้เพื่อนหรือแพทย์แนะนำให้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถามตัวเองว่า คุณทนในสิ่งที่คนอื่นจะไม่ทนหรือเปล่า เรียนรู้ที่จะระบุและแยกแยะการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับได้จากคนอื่น และวางข้อจำกัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเขาเมื่อเขาล้ำเส้น
  • ไม่ย่อท้อ ถ้ามันเป็นนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด การเอาชนะมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ตระหนักรู้ให้มากพอที่ตัวเองจะรู้ตัวว่าเมื่อไหร่ที่กำลังพยายามเอาใจคนอื่นอยู่
  • การช่วยเหลือผู้อื่นควรเป็นสิ่งที่คุณ อยาก ทำ ไม่ใช่สิ่งที่คุณรู้สึกว่าตัวเอง ต้อง ทำ
  • อย่ากังวลว่าคนอื่นจะคิดกับคุณยังไง
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,789 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา