ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่รับมือได้ลำบาก เช่น เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา พูดคุยกับคนที่คุณชอบ พูดสุนทรพจน์ อยู่ในกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคย หรือพูดหน้าชั้นเรียนนั้น การรู้สึกถึงความมั่นใจในตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ก็ยังโชคดีที่คุณสามารถเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองได้ในเวลาอันสั้นโดยการคิดถึงตัวเองในแง่บวก คิดถึงสถานการณ์ด้วยความเป็นจริง แสดงอาการที่บ่งบอกถึงความมั่นใจ และใช้เคล็ดลับในการจัดการกับความประหม่าหรือความวิตกกังวลในสถานการณ์นั้นๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

สร้างตัวเองในแง่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากกรณีที่คุณกำลังเตรียมตัวนำเสนองานในที่ทำงานหรือโรงเรียน คุณคงอยากจะรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองและแสดงออกมาอย่างน่าเกรงขาม อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะไม่รู้สึกมั่นใจตัวเองอย่างที่คุณต้องการ และกังวลว่าตัวเองจะทำอะไรผิดพลาด การคิดในแง่ดีนั้นช่วยพัฒนาความมั่นใจในตัวเองได้เป็นอย่างมากและยังช่วยคุณรับมือกับความยากลำบากได้อีกด้วย ที่เป็นแบบนี้เป็นเพราะแนวคิดที่ว่าคุณคิดกับตัวเองอย่างไรจะส่งผลถึงพฤติกรรมของคุณ [1] ถ้าคุณคิดในแง่ลบ (ฉันจะต้องพลาดแน่ๆ นี่มันยากเกินไป ฉันกำลังหลอกตัวเองอยู่) การคิดแบบนี้จะเพิ่มโอกาสที่คุณจะแสดงพฤติกรรมด้านลบที่คุณไม่ต้องการออกมา (เช่น พูดตะกุกตะกัก เหงื่อออกมากจากการตื่นตระหนกมากเกินไป) ถ้าคุณคิดในแง่ดี (เช่น ฉันจะต้องทำสำเร็จ สิ่งพวกนี้ฉันทำได้แน่นอน ฉันจะทำให้ดีที่สุด) การคิดในแง่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแสดงอาการในแง่ดี (พูดชัดและตอบรับอย่างใจเย็น)
    • ตั้งใจมองตัวเองในแง่บวกและมองหาสิ่งที่คุณทำได้ดี คุณทำให้คนอื่นหัวเราะได้ดีหรือไม่ คุณอาจจะใช้อารมณ์ขันในการนำเสนองานเพื่อลดความตึงเครียด
    • นึกถึงคุณสมบัติด้านบวกที่คุณจะนำไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่นึกออก ยกตัวอย่างเช่น ความมุ่งมั่นที่มีต่อประเด็น ระดับการศึกษา ความสามารถในการทำให้ผู้คนหัวเราะ ความซื่อสัตย์ และทักษะการโน้มน้าวใจ
  2. ใช้การยืนยันตัวเองในแง่ดีและพูดกับตัวเองเพื่อช่วยพัฒนาความมั่นใจในตนเองและลดความวิตกกังวล [2] [3]
    • ใช้คำพูดในแง่ดีเมื่อคุณรู้สึกไม่มั่นใจตัวเอง เช่น “ฉันทำได้ ฉันเป็นคนเก่ง เอาเลย สู้” [4]
  3. การเพิ่มขีดความสามารถและความคิดถึงตัวเองในแง่ดีสามารถช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดียิ่งขึ้น [5]
    • ขอให้เพื่อน คนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงานพูดให้กำลังใจคุณ ขอให้พวกเขาช่วยบอกว่าคุณนั้นมีดีตรงไหนและทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี (ให้คำยืนยัน)
    • ระวังไว้ว่าอย่าขอความช่วยเหลือมากเกินไปหากคุณสามารถทำงานนั้นได้ด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้คุณพึ่งพาอาศัยคนอื่นมากขึ้นและมีความมั่นใจในตัวเองน้อยลง [6] ขอคำยืนยันจากคนอื่น แต่ก็ยังพึ่งพาตัวเองต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

มองสถานการณ์ในแง่บวกและอยู่กับความเป็นจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้วิธีผ่อนคลายด้วยมโนภาพ (Guided imagery) หรือการนึกภาพ. การใช้มโนภาพสามารถช่วยพัฒนาความมั่นใจในตัวเองได้ [7]
    • ลองใช้มโนภาพเมื่อคุณตั้งใจจะทำอะไรให้สำเร็จ นึกภาพตัวเองตอนที่มีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมและทำเป้าหมายได้สำเร็จ ลองนึกภาพว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง คุณรู้สึกอย่างไร มีใครอยู่ตรงนั้นบ้าง และคุณกำลังคิดอะไรอยู่
  2. การตั้งเป้าหมายจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเองเพราะจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง [8] จดจ่ออยู่กับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้กับสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะตั้งเป้าหมายในการนำเสนองานว่าคุณจะต้องอธิบายข้อความที่ต้องการจะสื่ออย่างชัดเจน ให้แน่ใจว่าคุณมีจุดยืนของตัวเอง แล้วแสดงความมั่นใจออกมา ยิ่งมีเป้าหมายที่คุณทำเสร็จมากเท่าไหร่ ก็จะมีความมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น
    • คิดถึงจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่คุณทำอยู่ ถามตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่ฉันต้องการที่จะทำให้สำเร็จ”
    • ตั้งเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจงกับสิ่งที่คุณจะทำ จดจ่ออยู่กับการทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จแทนที่จะคิดว่ามีอะไรผิดพลาดบ้าง
  3. คำทำนายที่เป็นจริง (Self-fulfilling prophecy) คือสิ่งที่คุณเชื่อว่าเรื่องแย่ๆ จะเกิดขึ้น แล้วคุณก็จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงๆ [9] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกลัวที่จะพูดตะกุกตะกัก ความวิตกกังวลของคุณจะทำให้ความกลัวนั้นแสดงออกมาจริงๆ อย่างที่คุณกลัว ถ้าคุณคิดว่าคุณกำลังจะพูดตะกุกตะกัก ความวิตกกังวลและความประหม่าจะเพิ่มขึ้น และหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น จากนั้นคุณจะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับเป้าหมายได้ แล้วคุณจะลืมสิ่งที่จะพูดไปเลย
    • แทนที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งไม่ดี ให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณอยากให้เกิดขึ้นจะดีกว่า นั่นก็คือ การพูดให้ชัดและสื่อความหมายได้ตรงประเด็น ให้คิดถึงความคิดดีๆ เช่น “ฉันกำลังจะไปตรงนั้น มั่นใจเข้าไว้ สงบสติตัวเอง รวบรวมสติ และพูดสิ่งที่จะสื่อออกไป”
  4. ถ้าคุณพบว่าตัวเองนั้นคิดถึงสถานการณ์ในเรื่องแย่ๆ ลองหาคนที่จะพูดกับคุณได้ คุณอาจจะลองมองคนที่ประสบความสำเร็จในงานที่คุณต้องการเพิ่มความมั่นใจในตัวเองเป็นเหมือนบุคคลตัวอย่าง เราสามารถเรียนรู้จากคนอื่น ยกให้เป็นที่ปรึกษา และเดินรอยตามความสำเร็จและความมั่นใจของพวกเขา
    • ถ้าคุณไม่มีใครที่พร้อมจะช่วยเหลือ คุณสามารถโทรหาเพื่อนเพื่อปรึกษาถึงสถานการณ์ด้วยได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้เคล็ดลับในการจัดการกับอารมณ์แย่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อวัจนภาษา (Non–verbal Communication) หรือภาษาท่าทางนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงความมั่นใจต่อผู้อื่น การแสดงพฤติกรรมที่ดูมั่นใจนั้นก็ช่วยให้รู้สึกมั่นใจจากภายในได้เช่นกัน
    • ยืนตัวตรงและดูสูง ท่าทางนั้นเป็นอวัจนภาษาที่สำคัญในเชิงที่ว่าคุณอยากแสดงตัวออกมาอย่างมั่นใจ การยืนตัวงอและทำตัวให้เตี้ยในเป็นสัญญาณของอารมณ์ที่ไม่มั่นคงและหดหู่
    • การยิ้มและหัวเราะจะช่วยให้คุณดูสบายๆ และอารมณ์ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้คนฟังรู้สึกสบายขึ้นอีกด้วย
  2. การเป็นคนชอบเข้าสังคม (Extroversion) นั้นจะแสดงออกให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเอง ยิ่งคุณมีสังคมมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น [10] แทนที่จะซ่อนตัวเองหรือหลีกเลี่ยงการพบเจอผู้คนเพราะคุณรู้สึกประหม่าและไม่ปลอดภัย ลองก้าวออกมาจากจุดนั้นและตั้งใจติดต่อกับคนอื่นๆ
    • ทักทายผู้คนก่อนที่จะนำเสนองาน ถามพวกเขาว่าเป็นอย่างไรบ้าง ลองสร้างบทสนทนาเล็กๆ ขึ้นมา พยายามหลีกเลี่ยงการอภิปรายถึงการนำเสนอของคุณมากเกินไปเพราะจะทำให้คุณประหม่ามากยิ่งขึ้น แค่ตั้งใจสร้างพบสนทนาที่คุณจะพูดกับคนอื่นๆ ก็พอ
  3. ความรู้สึกทั่วไปที่มักจะเกี่ยวข้องกับความมั่นใจในตัวเองต่ำก็จะมี ความประหม่า ความวิตก ความเครียด ความกลัว และความเศร้า คุณควรยอมรับความรู้สึกเหล่านี้แทนที่จะต่อสู้กับมัน คุณอาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองและเสริมสร้างความมั่นใจได้
    • พูดกับตัวเองว่า “เราจะรู้สึกประหม่าก็ไม่เป็นไร เพราะมันเป็นความรู้สึกทั่วไปและในสถานการณ์แบบนี้การรู้สึกประหม่าก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม”
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รักษาความมั่นใจในตัวเองเอาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักกีฬาและคนทั่วไปที่รักและเคารพตัวเองนั้นมีแนวโน้มที่จะคิดถึงพฤติกรรมของตัวเองในแง่บวก [11] หลีกเลี่ยงการยึดมั่นถึงความเคารพตัวเองผ่านทางพฤติกรรมและการแสดงออก เพราะจะไปเพิ่มความวิตกกังวลและทำให้มั่นใจในตัวเองน้อยลง ให้คำนึงถึงตัวเองในเชิงบวกโดยไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทน
    • เขียนสิ่งที่คุณรักในตัวเอง 5 อย่างและอ่านออกเสียง พยายามพูดกับตัวเองด้วยว่า “ฉันรักตัวเองและฉันจะไม่ลืมเด็ดขาด”
    • ยอมรับว่าตัวเองเป็นใครและปัญหาที่คุณมีคืออะไร เช่น มีปัญหาในการสร้างความมั่นใจในตัวเอง [12]
  2. เราไม่ควรปล่อยให้ความกลัวเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ การเผชิญหน้ากับความกลัวเป็นอีกวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดความกลัวออกไป
    • ถ้าคุณกังวลกับการพูดในที่ที่มีคนจำนวนมาก ให้ลองฝึกฝนการพูดต่อหน้าคนในครอบครัวหรือเพื่อนก่อนที่คุณจะพูดต่อหน้าผู้ชม ซึ่งจะช่วยให้คุณมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ยิ่งคุณฝึกฝนมากเท่าไหร่ คุณก็จะรู้สึกประหม่าน้อยลงเท่านั้น และให้แน่ใจว่าคุณได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนองานของคุณจากคนที่คุณรัก เพราะคุณจะได้แก้ไขก่อนจะถึงวันจริง
  3. จดจำเป้าหมายที่คุณตั้งไว้และพยายามไปให้ถึงจุดหมายอย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและพยายามพัฒนาตัวเอง
    • มองความล้มเหลวเป็นเหมือนโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง [13] ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองในระยะยาวเพราะคุณจะมีมุมมองที่มีต่อความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ดีขึ้น
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.researchgate.net/profile/Zourbanos_Nikos/publication/222428460_Mechanisms_underlying_the_self-talkperformance_relationship_The_effects_of_motivational_self-talk_on_self-confidence_and_anxiety/links/09e41505ab44eb0cc0000000.pdf
  2. http://www.researchgate.net/profile/George_Doganis/publication/247515539_The_Effects_of_a_Mental_Training_Program_on_Juniors_Pre-Competitive_Anxiety_Self-Confidence_and_Tennis_Performance/links/02e7e52d3a9169b59c000000.pdf
  3. http://www.researchgate.net/profile/Zourbanos_Nikos/publication/222428460_Mechanisms_underlying_the_self-talkperformance_relationship_The_effects_of_motivational_self-talk_on_self-confidence_and_anxiety/links/09e41505ab44eb0cc0000000.pdf
  4. http://www.researchgate.net/profile/Zourbanos_Nikos/publication/222428460_Mechanisms_underlying_the_self-talkperformance_relationship_The_effects_of_motivational_self-talk_on_self-confidence_and_anxiety/links/09e41505ab44eb0cc0000000.pdf
  5. http://219.223.223.125/download/17881-1.pdf
  6. http://219.223.223.125/download/17881-1.pdf
  7. http://www.researchgate.net/profile/George_Doganis/publication/247515539_The_Effects_of_a_Mental_Training_Program_on_Juniors_Pre-Competitive_Anxiety_Self-Confidence_and_Tennis_Performance/links/02e7e52d3a9169b59c000000.pdf
  8. http://www.researchgate.net/profile/George_Doganis/publication/247515539_The_Effects_of_a_Mental_Training_Program_on_Juniors_Pre-Competitive_Anxiety_Self-Confidence_and_Tennis_Performance/links/02e7e52d3a9169b59c000000.pdf
  9. http://www.researchgate.net/profile/Steven_Shepherd/publication/51544683_Rewriting_the_Self-Fulfilling_Prophecy_of_Social_Rejection_Self-Affirmation_Improves_Relational_Security_and_Social_Behavior_up_to_2_Months_Later/links/53cfdbd20cf2f7e53cf838fc.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,129 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา