ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การแนะนำตัวอาจทำให้สุนทรพจน์ปังหรือแป๊กก็ได้ และแขกรับเชิญก็ต้องอาศัยให้คุณกล่าวคำแนะนำอย่างกระตือรือร้นเพื่อที่จะกระตุ้นความสนใจของผู้ชม การแนะนำตัวที่ดีต้องอาศัยการค้นคว้าข้อมูลของแขกรับเชิญ เขียนสุนทรพจน์แนะนำตัวที่อธิบายว่าผู้ฟังจะได้รับอะไรจากการฟังแขกรับเชิญพูด การจำบทแนะนำและการแนะนำแขกรับเชิญอย่างกระตือรือร้นจะทำให้แขกรับเชิญทุกคนไม่ว่าใครดูปังได้ทั้งนั้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ค้นคว้าข้อมูลของแขกรับเชิญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บ่อยครั้งที่แขกรับเชิญจะมีคำแนะนำตัวเตรียมไว้ให้คุณอยู่แล้ว แต่ถึงจะไม่มี พวกเขาก็สามารถเตรียมข้อมูลไว้ให้คุณได้ ถ้าแขกรับเชิญไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูล ให้คุยกับคนที่รู้จักเขา เช่น คนที่รู้จักทั้งกับคุณและเขา หรือเพื่อนร่วมงานของเขาก็ได้ [1]
    • ถ้าแขกรับเชิญเตรียมบทแนะนำตัวไว้ให้ ก็ให้ใช้ข้อมูลนั้น
  2. ถามหลายๆ คนเพื่อหาว่าประเด็นสำคัญในการพูดของแขกรับเชิญคืออะไร แขกรับเชิญหรือคนจัดงานอาจตอบคุณได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเขียนสุนทรพจน์ที่เป็นการแนะนำหัวข้อที่แขกรับเชิญจะพูดไปในตัวด้วย บทแนะนำตัวของคุณจะต้องถ่ายทอดสิ่งที่ผู้ฟังคาดหวังว่าจะได้ยินได้อย่างถูกต้อง [2]
    • เช่น ถ้าคุณรู้ว่าสุนทรพจน์ของแขกรับเชิญเป็นเรื่องของการส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงเรียนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คุณก็ไม่ควรใช้เวลาไปกับการอธิบายว่าแขกรับเชิญจะสอนทักษะเหล่านี้ให้ผู้ใหญ่ได้อย่างไร
  3. ค้นหาคุณสมบัติของแขกรับเชิญในอินเทอร์เน็ต บทความข่าว บทสัมภาษณ์ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับแขกรับเชิญคนนี้จะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ พิมพ์ชื่อของพวกเขาลงไปใน search engine และเลือกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสุนทรพจน์ บ่อยครั้งที่คุณจะเจอข้อเท็จจริงพิเศษที่เข้ากับบทแนะนำตัวของคุณพอดี [3]
    • เช่น ในเว็บไซต์ขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติก็อาจจะบอกประวัติของดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ว่า “ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ถึงขนาดที่อเมริกานำประวัติชีวิตของท่านไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ชื่อ Cocktail”
    • บทความข่าวและบทสัมภาษณ์ก็อาจจะมีข้อมูลทั่วไปที่เป็นประโยชน์ เช่น “ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์เริ่มต้นทำงานที่ประเทศคองโกเป็นที่แรก”
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือน่าอับอายโดยไม่ได้รับอนุญาต. จำไว้ว่าบทแนะนำตัวมีจุดประสงค์เพื่อเสริมตัวผู้พูด ประเด็นต่างๆ อย่างเช่นปัญหาทางกฎหมาย ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องซับซ้อน เป็นเรื่องที่กินเวลาและทำให้เกิดภาพในทางลบ จึงไม่เหมาะที่จะเกริ่นคำวิจารณ์หรือคำโต้แย้งสาธารณะที่ผู้อื่นมีต่อตัวผู้พูด นอกจากนี้ก็ไม่ควรพูดเรื่องครอบครัวของเขาด้วย
    • ขออนุญาตแขกรับเชิญก่อนใช้รายละเอียดเหล่านี้เสมอ และต้องแน่ใจด้วยว่าคุณสามารถอธิบายได้ว่าทำไมข้อมูลนี้ถึงสำคัญมากพอที่จะนำมาใส่ในบทแนะนำตัว
  5. เวลาที่เจอสุนทรพจน์ของแขกรับเชิญ ให้สังเกตบทแนะนำตัวให้ดี หาว่ามีรายละเอียดเกี่ยวกับแขกรับเชิญส่วนไหนบ้างที่คุณสามารถนำมาใช้ได้ อ่านสุนทรพจน์ออกเสียงและหาว่าส่วนไหนที่เขียนดีอยู่แล้ว ให้นำส่วนนั้นมาปรับเพื่อเขียนเป็นบทแนะนำตัวของคุณเอง [4]
    • อย่าใช้สุนทรพจน์ของแขกรับเชิญมาใช้ในบทแนะนำตัวทั้งดุ้น เพราะครั้งนี้ผู้พูดอาจจะกล่าวสุนทรพจน์ในเรื่องที่ต่างออกไป ซึ่งจะทำให้คุณสร้างความคาดหวังผิดๆ ให้แก่ผู้ฟัง
  6. ใส่รายละเอียดที่น่าประหลาดใจหากเข้ากับบทแนะนำตัว. คุณอาจจะบังเอิญเจอรายละเอียดที่บ่งบอกลักษณะของแขกรับเชิญแต่ไม่เป็นที่รู้โดยทั่วกัน รายละเอียดนี้อาจเป็นสิ่งที่คุณกับแขกรับเชิญรู้กันก็ได้ รายละเอียดที่สร้างความประหลาดใจที่ดีจะไม่ส่งผลต่อประเด็นสำคัญของสุนทรพจน์ บ่อยครั้งที่รายละเอียดเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ชมหัวเราะหรือประทับใจในความเป็นมนุษย์ของแขกรับเชิญมากขึ้น [5]
    • เช่น คุณพบแขกรับเชิญตอนไปฟังสัมมนา ตอนเริ่มสุนทรพจน์ก็ให้พูดถึงประเด็นนี้ด้วย และจบด้วยการพูดว่า “ดิฉันรู้ว่าดร. กฤษณา ไกรสินธุ์จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คุณอยากใช้ชีวิตเพื่อผู้อื่นอย่างแน่นอนค่ะ”
  7. คุณต้องแน่ใจว่าคุณอ่านชื่อของแขกรับเชิญได้อย่างถูกต้อง ซึ่งคุณสามารถหาข้อมูลส่วนนี้ได้ในอินเทอร์เน็ต ถ้าหาไม่เจอให้ติดต่อแขกรับเชิญ ใครก็ได้ที่พวกเขารู้จัก หรือคนจัดงาน การออกเสียงชื่อไม่ถูกต้องจะทำให้การแนะนำแขกรับเชิญของคุณดูไม่เป็นมืออาชีพ ทั้งน่าอายและส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือทั้งของคุณและของแขกรับเชิญ [6]
  8. การกล่าวถึงแขกรับเชิญด้วยยศที่ถูกต้องถือเป็นการแนะนำแขกรับเชิญอย่างเป็นมืออาชีพและทำให้แขกรับเชิญดูน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย ให้แนะนำดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ว่าศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เรียกหมอก้องว่าพันตรีนายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญ แขกรับเชิญอาจมียศที่คุณไม่ทราบก็ได้ เช่น ศาสตาจารย์กิตติคุณที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ [7]
    • แขกรับเชิญสามารถบอกคุณได้ว่าคุณควรแนะนำเขาว่าอะไร และคุณก็อาจหาข้อมูลนี้ได้ในอินเทอร์เน็ตหรือถามจากคนอื่น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เขียนบทแนะนำตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำไว้ว่าคุณมีหน้าที่แนะนำแขกรับเชิญ บทแนะนำแขกรับเชิญของคุณไม่ควรเด่นกว่างานทั้งงาน ย่อหน้าสั้นๆ แค่ไม่กี่ย่อหน้าก็เพียงพอสำหรับการแนะนำแขกรับเชิญแล้ว เวลาเพียงเท่านี้เพียงพอต่อการกล่าวถึงความเชี่ยวชาญของแขกรับเชิญและจับความสนใจของผู้ฟัง [8]
  2. เป้าหมายของการแนะนำตัวคือการอธิบายว่าทำไมคนๆ นี้ถึงได้รับการเลือกให้มาพูด คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องจึงสำคัญกับงานนี้ เน้นความเชี่ยวชาญของผู้พูดในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างคุณสมบัติของผู้พูดก็ได้แก่งานที่ได้รับการตีพิมพ์ ประสบการณ์การทำงาน ความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าผู้พูดมีความเชี่ยวชาญที่จะให้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ แต่ให้พูดคุณสมบัติของแขกรับเชิญเพียงสั้นๆ และเลือกเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องเท่านั้น [9]
    • เช่น ถ้าแขกรับเชิญมาพูดเรื่องการพัฒนาการทำงานเป็นทีม ก็ให้บอกว่าแขกรับเชิญได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศการทำงานให้กับบริษัทชั้นนำของไทยมานับไม่ถ้วน
    • และคุณก็ไม่ต้องพูดเรื่องปริญญา รางวัล หรือประสบการณ์การทำงานกับบริษัทชั้นนำของไทยหากเรื่องที่พูดเป็นเรื่องการถักนิตติ้งที่บ้าน
  3. บอกผู้ฟังว่าพวกเขาจะได้เรียนรู้อะไรจากการพูดครั้งนี้. เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ซึ่งในการทำเช่นนี้นั้นให้แสดงให้ผู้ฟังรู้ว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์มากมายจากการพูดในครั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้ควรสัมพันธ์กับงานที่ผู้พูดไปพูด เช่น ถ้าสุนทรพจน์เป็นเรื่องการพูดในที่สาธารณะ ผู้ฟังย่อมอยากรู้ว่าพวกเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการฟังที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตของเขาได้ [10]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “วันนี้คุณรสสุคนธ์ กองเกตุจะมาพิสูจน์ว่าใครๆ ก็สามารถพูดสุนทรพจน์ที่น่าฟังได้ และความกังวลเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป”
  4. เล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยส่วนตัวสั้นๆ ถ้าคุณทราบ. เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะได้รับการเลือกให้มาพูดแนะนำตัวแขกรับเชิญเพราะว่าคุณเคยมีปฏิสัมพันธ์กับแขกรับเชิญท่านนี้มาก่อน คุณสามารถเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของแขกรับเชิญได้แม้ว่าคุณจะไม่ได้สนิทกับเขามากก็ตาม ด้วยท่าทีของแขกรับเชิญและคำพูดของเขาที่ดูสนิทสนมกัน คนฟังก็จะสัมผัสได้ พวกเขาจะเข้าถึงคุณได้และอยากได้ยินสุนทรพจน์ของแขกรับเชิญ [11]
    • คุณอาจจะพูดประมาณว่า “20 ปีที่แล้วดิฉันได้รู้จักกับผู้ชายคนหนึ่งที่ท้าให้ฉันเป็นคนที่ดีขึ้น แล้วเขาก็ได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของดิฉัน”
    • คุณอาจจะเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยแค่สั้นๆ ก็ได้ เช่น “ดิฉันเคยไปฟังคุณรสสุคนธ์พูดที่งานสัมมนาแห่งหนึ่งซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ดิฉันเป็นอย่างมาก” หรือ “คุณรสสุคนธ์เพิ่งเล่าเรื่องนี้ให้ดิฉันฟังเมื่อเช้านี้เอง และดิฉันรับรองเลยว่าพวกคุณจะต้องชอบแน่ๆ”
  5. หลีกเลี่ยงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตลกๆ ให้มากที่สุด. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตลกๆ กินเวลาและมักจะน่าอายหรือไม่เกี่ยวกับสุนทรพจน์ แต่บางครั้งก็ใช้ได้เช่นกัน คุณต้องใช้วิจารณญาณเวลาจะเล่าเรื่องตลก ในบางกรณี เช่น หลังเหตุการณ์ที่น่าเศร้าหรือเหนื่อยล้า ผู้ฟังก็อยากหัวเราะบ้าง [12]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “คุณรสสุคนธ์สร้างแรงบันดาลใจให้ดิฉันออกไปสร้างตู้เก็บของเอง ซึ่งมันพังครืนตั้งแต่ 5 นาทีแรก ดิฉันจึงกลับไปฟังสุนทรพจน์ของเธออีกครั้ง และดิฉันก็ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เธอพูดมากมายจนดิฉันสามารถเปิดธุรกิจตู้เก็บของของตัวเองได้
  6. คำพูดตอนท้ายถือเป็นคำพูดต้อนรับเสียงปรบมือ คุณจึงต้องค่อยๆ ไล่บทแนะนำตัวของคุณมาถึงจุดนี้ให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่ผู้ฟังต้องแสดงความกระตือรือร้นให้แก่ผู้พูด และเป็นแค่จุดเดียวในบทแนะนำตัวที่คุณจะต้องพูดชื่อและตำแหน่งของแขกรับเชิญออกมา [13]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ขอเสียงปรบมือต้อนรับคุณรสสุคนธ์ กองเกตุค่ะ!”
    • คุณอาจจะพูดชื่อหัวข้อที่แขกรับเชิญจะพูดด้วยก็ได้ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในงานใหญ่ๆ ที่ผู้ฟังมาจากที่อื่นๆ หลายๆ ที่หรือฟังผู้พูดมาหลายคน
  7. เขียนร่างบทแนะนำตัวให้เสร็จ จากนั้นอ่านออกเสียงให้ตัวเองฟัง พิจารณาว่ามันฟังดูเป็นอย่างไร น้ำเสียงควรเหมาะสมกับงาน ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นหรือคำที่ไม่เข้ากันออก นอกจากนี้ให้ลองจับเวลาตัวเองด้วย บทแนะนำตัวที่ดีจะต้องลื่นไหลโดยไม่ยืดเยื้อจนเกินไป [14]
    • ลองคิดว่าคุณจะมีปฏิกิริยาต่อบทแนะนำตัวนี้อย่างไรหากคุณเป็นผู้ฟัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กล่าวบทแนะนำแขกรับเชิญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทแนะนำตัวที่ดีจะต้องไม่ด้นสด หาเวลาซ้อมพูดแนะนำแขกรับเชิญก่อนจะต้องขึ้นพูดจริงบนเวที การเอาแต่อ่านโน้ตบนเวทีอาจเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคุณต้องมั่นใจว่าตัวเองรู้เนื้อหาที่จะพูดและสามารถพูดได้แบบไม่ต้องเค้น บทแนะนำแขกรับเชิญของคุณจะต้องฟังดูลื่นไหลและเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา คุณสามารถซ้อมพูดแนะนำแขกรับเชิญได้ในหลายๆ แบบด้วยกัน เช่น โดยการอัดเสียงตัวเองหรือพูดต่อหน้าคนที่คุณรู้จัก [15]
    • ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการตื่นเวที ให้ลองอ่านบทแนะนำแขกรับเชิญหน้ากระจก พอคุณเริ่มสบายใจขึ้นแล้ว ให้ซ้อมพูดต่อหน้าครอบครัวและเพื่อนๆ
    • การอัดเสียงพูดแนะนำแขกรับเชิญเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณได้ยินเสียงตัวเองขณะที่คุณอยู่คนเดียว ย้อนกลับไปฟังและหาจุดที่คุณยังต้องปรับปรุงอีก
  2. ซ้อมพูดบทแนะนำแขกรับเชิญเป็นครั้งคราวก่อนขึ้นเวที. ขณะที่คุณกำลังรอเวลาขึ้นเวที คุณอาจจะอยากทบทวนบทแนะนำแขกรับเชิญอีกครั้ง การซ้อมอีก 2-3 ครั้งนั้นโอเค แต่อย่าซ้อมและท่องหลายๆ รอบจนเหนื่อย ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกมั่นใจจากการที่ได้ฝึกซ้อมและกระตือรือร้นที่จะได้พบแขกรับเชิญ วิธีนี้จะช่วยให้บทพูดแนะนำตัวของคุณไม่ฟังดูเหมือนการท่องมาพูดจนเกินไป
  3. การบอกชื่อและตำแหน่งมีประโยชน์หากมีใครในห้องที่ไม่รู้จักคุณ แนะนำตัวแค่สั้นๆ เพื่อที่คุณจะได้ใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดไปกับการแนะนำแขกรับเชิญ จำไว้ว่าคุณเตรียมเวทีนี้ไว้ให้แขกรับเชิญ เพราะฉะนั้นไม่ต้องอธิบายยืดยาวว่าคุณเป็นใคร ถ้ามีคนแนะนำตัวคุณให้แล้วก่อนหน้านี้แล้ว ก็ให้ข้ามส่วนนี้ไปเลย
    • พูดว่า “สวัสดีค่ะ ดิฉันอลิษา ใจดี เป็นผู้จัดงานในวันนี้”
    • ถ้าทุกคนในห้องรู้จักคุณอยู่แล้ว เช่น คุณเป็นครูที่แนะนำวิทยากรในห้องเรียน คุณก็ไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวเอง
  4. เพราะว่าคุณได้ฝึกซ้อมมาแล้ว คุณจึงพร้อมที่จะกล่าวบทแนะนำตัวอย่างกระตือรือร้น รักษาระดับพลังให้สูงเข้าไว้ ยืนตัวตรง เพิ่มระดับพลังขณะที่คุณเข้าเรื่องการแนะนำแขกรับเชิญด้วยการเพิ่มความดังของเสียงและเปล่งพลังอีกเล็กน้อย ถามตัวเองว่าคุณอยากให้บทแนะนำแขกรับเชิญออกมาเป็นแบบไหนถ้าคุณเป็นคนฟัง คุณคงอยากให้บทพูดแนะนำแขกรับเชิญสร้างแรงบันดาลใจให้คุณอยากฟังแขกรับเชิญเหมือนกัน [16]
  5. ผู้พูดหลายคนประหม่าหรือตื่นเต้นเกินไป พวกเขาจึงกล่าวสุนทรพจน์อย่างรวดเร็วจนฟังไม่ได้ศัพท์ พูดให้ช้าลง วิธีนี้จะช่วยให้คุณแน่ใจได้ว่าผู้ฟังได้ยินบทแนะนำตัวทั้งหมด คุณจะสังเกตได้ว่าแต่ละคำที่เปล่งออกมานั้นเสียงดังฟังชัดและคุณก็สามารถเปล่งเสียงไปได้ไกลถึงหลังห้อง
  6. พอถึงตอนจบแล้วให้ยืนอยู่ที่เดิม ใช้พลังเปล่งประโยคสุดท้ายออกมา เป็นคนแรกที่ปรบมือ ในฐานะคนแนะนำตัวแขกรับเชิญ คุณคือผู้ที่เตรียมเวทีไว้ให้แขกรับเชิญ ผู้ฟังจะทำตามคุณ ซึ่งไม่มีอะไรแย่สำหรับแขกรับเชิญไปกว่าเสียงปรบมือที่เฉื่อยชา [17]
  7. หัวลำตัวเข้าหาแขกรับเชิญ เท้าของคุณควรชี้ไปทางแขกรับเชิญและตาของคุณก็ต้องสบตาของเขา ยิ้มกว้างๆ ให้แขกรับเชิญอย่างจริงใจ ยืนอยู่ที่เดิมและปรบมือต่อจนกว่าแขกรับเชิญจะเดินมาถึงคุณ
  8. การกล่าวสวัสดีหรือยกมือไหว้หากคุณอายุน้อยกว่าแขกรับเชิญนั้นเป็นการแสดงกิริยามารยาทที่ดีที่ผู้ฟังจะสังเกตได้ เป็นการทักทายแบบปุถุชนที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้พูด หันหน้าไปทางแขกรับเชิญจนกว่าพวกเขาจะเดินขึ้นมาถึงคุณบนเวที กล่าวสวัสดีหรือยกมือไหว้และค่อยเดินออกจากเวทีไปอย่างมั่นใจ [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลืมคำพูดเชยๆ อย่าง “คนๆ นี้คงไม่ต้องแนะนำอะไรมาก” ไปได้เลย แต่ให้เน้นไปที่การแนะนำแขกรับเชิญให้โดดเด่นและละเอียดแทน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,815 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา