ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนดูจะมีวิธีเป็นของตัวเองในการกำจัดเห็บ แต่ความเชื่อที่แพร่หลายเช่นการจี้ด้วยไม้ขีดไฟ การทาวาสลีนปิโตรเลียมเจลลีให้เห็บขาดอากาศตาย หรือการใช้น้ำยาทาเล็บ ล้วนแต่ทำให้เห็บฝังตัวลึกลงไปอีก วิธีที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การดึงมันออก ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ดูสิ แล้วคุณจะลืมนึกถึงปัญหาเจ้าเห็บกวนใจไปเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ใช้แหนบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากมองใกล้ๆ จะเห็นปากเห็บติดอยู่กับผิวหนัง โดยมีส่วนลำตัวอยู่ถัดจากหัว
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    ใช้แหนบหนีบเห็บโดยหนีบให้ใกล้กับผิวมากที่สุด. ไม่ควรใช้แหนบปลายทื่อ ควรใช้แหนบที่มีปลายคม เพื่อที่จะได้หนีบเห็บได้แน่นๆ
    • อย่าใช้นิ้ว เพราะจะจับเห็บได้ไม่แน่น
    • หนีบที่หัวของเห็บ และหนีบให้ใกล้กับปากเห็บมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • อย่าหนีบที่ตัวเห็บ เพราะอาจทำให้มันปล่อยน้ำลายหรือเลือดเข้าผิวหนังและเพิ่มโอกาสแพร่โรคได้
  3. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    ปากเห็บจะคลายออกจากผิวหนัง อย่าบิด กระชากหรือขยับแหนบในขณะดึง จะทำให้อวัยวะส่วนปากของเห็บติดอยู่กับผิวหนังได้ ในขณะที่ดึงเห็บออกเป็นปกติที่ผิวหนังจะรั้งขึ้นมาเหมือนกับเวลาถอนขนที่ขึ้นไม่เป็นที่
    • หากส่วนปากยังคงติดอยู่ ให้พยายามใช้แหนบดึงออก แต่หากฝังคาอยู่ในผิวหนัง ให้รอแผลหายและตรวจดูเป็นครั้งคราวเพื่อให้มั่นใจว่าแผลไม่ติดเชื้อ [1]
  4. อาจใช้แอลกอฮอล์ชนิดล้างแผลหรือไอโอดีนได้เช่นเดียวกัน ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดและมือให้ทั่ว [2]
  5. เห็บบางตัวอาจเล็กมากจนยากต่อการนำออกโดยวิธีธรรมดา แพทย์จะช่วยนำเห็บออกได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ไหมขัดฟัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    เลือกไหมที่บางและไม่ได้เคลือบขี้ผึ้ง หรือด้ายบางๆ ชนิดอื่น วิธีนี้ใช้ได้ผลเช่นกันหากคุณไม่มีแหนบ
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    เส้นไหมควรอยู่ติดกับผิวหนังมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    ดึงเส้นไหมให้ตึงด้วยมือทั้งสองข้าง
  4. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    ดึงปลายทั้งสองของเส้นไหมขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคง. ปากเห็บจะคลายออกจากผิวหนัง
  5. ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดและมือให้ทั่ว สามารถใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลหรือไอโอดีนได้ด้วยเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้บัตรเครดิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเห็บ
    เลื่อนบัตรกดไปตามผิวหนังให้สอดเข้าไปใต้หัวเห็บ. ทำซ้ำสองถึงสามครั้ง เห็บจะหลุดออกมาทั้งตัว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เห็บอาจจะยังไม่ตายในขณะที่คุณดึงมันออก อาจแช่เห็บในแอลกอฮอล์ล้างแผลหรือทิ้งให้ลงไปกับชักโครกเพื่อป้องกันไม่ให้มันมาเกาะคุณและคนที่คุณรักอีก [3]
  2. หากเห็บในท้องที่ที่คุณอยู่มักเป็นพาหะของโรคลายม์ (Lyme disease) คุณอาจควรเก็บเห็บไว้ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจ โดยเก็บไว้ในถุงพลาสติกเก็บอาหาร ปิดถุงให้สนิทและเก็บไว้ในตู้แช่แข็ง หาข้อมูลห้องตรวจที่รับตรวจเห็บ [4] และทำตามคำแนะนำเพื่อที่จะได้ส่งเห็บไปได้อย่างถูกต้อง
  3. ในช่วงสัปดาห์ต่อๆ มาหลังจากนำเห็บออก ให้ลองตรวจดูแผลว่ามีสัญญาณการติดโรคลายม์ หรือโรคอื่นๆ ที่มีเห็บเป็นพาหะหรือไม่ คุณต้องบอกแพทย์ว่าคุณพบเห็บเมื่อไหร่ นำเห็บออกเมื่อไหร่ และพบว่ามีอาการอะไรเกิดตามมาบ้าง หากพบว่าตนเองมีอาการต่อไปนี้รุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์ทันที: [5]
    • มีไข้หรือหนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ
    • ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ
    • ผื่นแดงที่มีปื้นตรงกลางเหมือนเป้ายิงปืน ซึ่งเป็นอาการของโรคลายม์และโรค Southern Tick-Associated Rash Illness (STARI)
    • ผื่นชนิดอื่นๆ โดยโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี (Rock Mountain Spotted Fever หรือ RMSF) ซึ่งมีเห็บเป็นพาหะเช่นเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดผื่นที่รูปร่างไม่เหมือนเป้ายิงปืนได้
    โฆษณา

คำแนะนำ

  • การนำเห็บออกหลังจากถูกกัดไม่นานจะช่วยลดโอกาสติดโรคได้มาก หากเห็บเกาะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง มีโอกาสน้อยมากที่คุณจะติดโรคลายม์ [6]
  • ดูแลสนามหญ้าให้สั้นเตียนอยู่เสมอเพื่อป้องกันเห็บ เพราะเห็บชอบที่มืดทึบ
  • ตรวจดูสัตว์เลี้ยงว่ามีเห็บหรือไม่
  • ตรวจดูว่ารอยกัดบวมหรือไม่หลังจากที่นำเห็บออกไปแล้ว หากมีการอักเสบควรไปพบแพทย์

ข้อควรระวัง

  • อย่าใช้มือดึงเห็บออกเพราะอาจทำให้หัวเห็บฝังคาอยู่กับผิวหนัง ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
  • อย่าพยายามทำให้เห็บขาดอากาศตายโดยใช้ปิโตรเลียมเจลลี จะทำให้เห็บเกาะกับผิวหนังแน่นขึ้น
  • อย่าใช้ไม้ขีดไฟจี้เห็บ จะทำให้เห็บฝังตัวลึกเข้าไปในผิวหนังมากขึ้น

อุปกรณ์

  • แหนบหรือเชือกเส้นบางๆ
  • สำลี
  • แอลกอฮอล์ล้างแผล

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,579 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา