ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การผ่าฟันคุดมักทิ้งร่องใหญ่ๆ ในเหงือกซึ่งมีกรามล่างอยู่ด้านใต้ ร่องนี้เป็นร่องที่เกิดจากการแทงขึ้นมาของรากฟัน ในบางคนร่องนี้มีขนาดใหญ่พอๆ กับฟันกรามทั้งซี่ [1] โดยส่วนมากแล้วทันตแพทย์ที่ผ่าให้มักจะเย็บปิดร่องนี้ให้หลังผ่า แต่อย่างไรก็ตามสำหรับบางเคสที่ไม่ได้มีการเย็บปิด อาจมีภาวะแทรกซ้อนคือ เศษอาหารจะเข้าไปติดในร่องได้ง่าย การบ้วนปากกลั้วน้ำเกลือก็ไม่สามารถทำให้สะอาดหมดจดได้ เรามาเรียนรู้วิธีทำความสะอาดที่เหมาะสมและวิธีดูแลแผลที่เหงือกเพื่อป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอแผลหายกันดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลแผลหลังผ่าฟันคุดในช่วงแรก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สอบถามทันตแพทย์ที่ผ่าให้ว่ารอยเย็บเป็นแบบไหน. หากได้ทำการเย็บปิดแผลให้แล้ว เศษอาหารจะไม่สามารถเข้าไปติดในร่องได้ ซึ่งจะพบว่าบริเวณรอบๆ แผลจะมีสีเทา ดำ น้ำเงิน เขียว หรือเหลืองต่างกันไป ซึ่งเป็นสีที่ปกติในช่วงที่แผลกำลังสมาน [2]
  2. หลีกเลี่ยงการถูกที่แผลโดยตรงจากกิจกรรมระหว่างวัน. สามารถแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติแต่ให้หลีกเลี่ยงบริเวณใกล้แผล [3]
  3. กลั้วเบาๆ ด้วยน้ำเกลือในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่า. สามารถบ้วนได้ตั้งแต่วันแรกแต่ต้องระวังแผลด้วย [4]
    • ตักเกลือ ¼ ช้อนชาผสมกับน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวงแล้วคนให้ละลายเข้ากัน
    • หลีกเลี่ยงบ้วนน้ำเกลือแรงๆ แต่ให้ส่ายศีรษะเบาๆ หรือใช้ลิ้นช่วยกลั้วน้ำเกลือให้ทั่วช่องปากแทน
    • หลังกลั้วน้ำเกลือจนทั่ว ให้ไปที่อ่างและอ้าปากบ้วนน้ำเกลือออก โดยอย่าพ่นหรือบ้วนออกแรงๆ
    • ทันตแพทย์อาจจะให้น้ำยาฆ่าเชื้อคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตมากลั้วปาก ซึ่งน้ำยานี้เป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยนำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของน้ำยานี้ [5]
  4. ไม่ใช้นิ้วหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เขี่ยเอาเศษอาหารออก. ไม่ใช้ลิ้นแหย่ไปที่ร่องฟัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อแบคทีเรียที่แผลและรบกวนการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ได้ ให้ใช้น้ำเกลือบ้วนเศษอาหารออกแทน [6]
    • หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณที่เพิ่งถอนฟันคุดออกอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  5. กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ต้องใช้การดูดนั้นจะทำให้ขัดขวางการจับตัวของลิ่มเลือดที่จะสร้างมาสมานแผล ทำให้เกิดการปวดจากภาวะร่องเบ้าฟันแห้งซึ่งนำไปไปสู่การติดเชื้อได้ [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

บ้วนทำความสะอาดปากเมื่อผ่านวันแรกไปแล้ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การล้างช่องปากด้วยน้ำเกลือนั้นจะช่วยทำความสะอาดบริเวณแผลในช่องปาก ช่วยให้เศษอาหารหลุดออกมาได้ และช่วยลดอาการปวดและอักเสบ
    • ผสมเกลือ ¼ ช้อนชาในน้ำสะอาด 225 มิลลิลิตร
    • คนจนละลายไปกับน้ำ เพราะเกลือสามารถละลายน้ำได้ดี
  2. อาจเน้นการกลั้วฝั่งที่ผ่าฟันคุดมา เพื่อให้เศษอาหารหลุดออกมาและช่วยลดอาการอักเสบของแผล [8]
    • แม้คุณจะรู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในร่องฟัน พยายามอย่ากลั้วน้ำแรงเกินไปเพราะอาจทำให้แผลหายช้า พยายามอย่าให้ลิ่มเลือดเคลื่อนที่เพื่อให้เหงือกและกระดูกหายเป็นปกติ เพราะเวลาที่คุณกลั้วปากและบ้วนน้ำออกมาแรงๆ อาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกมาด้วย
  3. อาจรวมถึงก่อนเข้านอนด้วย เพื่อลดอาการอักเสบของแผลรวมถึงยังช่วยให้แผลสะอาดและหายเร็ว [9]
  4. การใช้กระบอกฉีดจะช่วยให้น้ำเข้าไปทำความสะอาดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากใช้ไม่ถูกวิธี การฉีดน้ำจากกระบอกฉีดนี้ก็จะไปทำให้ลิ่มเลือดที่จะมาช่วยสมานแผลแยกตัวออกจากกันได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนนำมาใช้ [10]
    • ใส่น้ำอุ่นลงในกระบอกฉีด อาจใช้เป็นน้ำเกลือดังที่กล่าวไปด้านบนก็ได้
    • จุดประสงค์ของการใช้กระบอกฉีดคือจะทำให้เข้าถึงบริเวณแผลได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่ต้องไม่ฉีดเข้าที่แผลโดยตรง
    • ฉีดน้ำเข้าไปบริเวณที่แผลจากมุมที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อทำความสะอาดแผลและป้องกันการติดเชื้อ แต่ห้ามฉีดแรง เพราะแรงฉีดน้ำที่ฉีดเข้าแผลโดยตรงจะทำให้ร่องแผลเป็นอันตรายได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เรียนรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เศษอาหารที่เข้าไปติดในร่องแผลฟันคุดนั้นอาจจะทำให้รู้สึกรำคาญ แต่เพียงลำพังเศษอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ถึงกับทำให้แผลติดเชื้อ กระบวนการสมานแผลยังคงเกิดต่อไปได้แม้มีเศษอาหารเข้าไปติด สิ่งที่สำคัญกว่าคือหลีกเลี่ยงการเขี่ยหรือไม่งัดแงะบริเวณแผล [11]
  2. อย่าสับสนระหว่างชิ้นเนื้อเยื่อของเหงือกกับเศษอาหาร. ชิ้นเนื้อเยื่อเหงือกจะมีสีออกเทาและมีเนื้อเหนียว ซึ่งอาจคล้ายกับเศษอาหาร แต่การทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไปจะทำให้ชิ้นเนื้อเยื่อของเหงือกหลุดออกมาและนำไปสู่การติดเชื้อได้ [12]
  3. เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ต้องทำใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด โดยเริ่มจากอาหารอ่อน เป็นกึ่งอ่อนขึ้นกับว่าแผลเริ่มดีแค่ไหน ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่เนื้อแข็ง เหนียว กรุบกรอบ และรสจัด ซึ่งอาหารพวกนี้เป็นอาหารที่มีแนวโน้มจะลงไปติดในร่องทำให้รำคาญหรือติดเชื้อได้ง่าย [13]
    • รับประทานอาหารนิ่มๆ เช่น พาสต้าหรือซุป แต่ให้ระวังอาหารที่มีขนาดเล็ก เช่น ข้าว เพราะอาจเข้าไปติดอยู่ในร่องฟันที่เพิ่งถอนออกมาและจะทำให้เหงือกอักเสบ
    • เคี้ยวอาหารด้วยฟันฝั่งตรงข้ามกับที่มีแผลผ่าฟันคุด
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ให้รับประทานอาหารที่อยู่ระดับอุณหภูมิห้องในช่วงสองวันแรกหลังผ่า
  4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ อย่าจับมือกับคนอื่นสักอาทิตย์หนึ่งหรือมากกว่านั้น รวมถึงอย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกับคนอื่น และต้องไม่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางอ้อมที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  5. เมื่อมีเลือดออกนานกว่า 1-2 วันแรก จากแผลผ่าฟันคุด และหากเคยมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ ให้รีบปรึกษาทันตแพทย์หรือแพทย์ศัลยกรรมช่องปากโดยทันที [14]
    • เลือดออกมาก (มากกว่าที่ไหลซึมปกติ)
    • แผลมีหนอง
    • กลืน/หายใจลำบาก
    • มีไข้
    • บวมเพิ่มขึ้นหลังจากผ่าตัดไปแล้ว 2-3 วัน
    • มีเลือดออกหรือมีหนองออกมากับน้ำมูก
    • ปวดตุบๆ หรือปวดตื้อหลังผ่าตัดไปแล้วมากกว่า 48 ชั่วโมง
    • หายใจลำบากหลังจากผ่านไป 3 วัน
    • อาการปวดยังไม่ลดลงหลังทานยาแก้ปวด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองเช็คดูซ้ำในแต่ละร่องที่ผ่าออกไปด้วยการฉีดน้ำเบาๆ ลงไปสักไม่กี่วินาทีเพื่อเอาเศษอาหารออก เพราะร่องแผลนั้นอาจจะลึกกว่าที่คิด
  • วิธีนี้สามารถใช้ได้กับการถอนฟันคุดที่ยังฝังอยู่ (ยังงอกขึ้นมาไม่พ้นเหงือก) และต้องมีการกรีดเหงือกเพื่อผ่าฟันออก แต่อาจต้องพยายามมากหน่อยหากผ่าฟันคุดออกด้วยวิธีอื่น
  • วิธีอื่นที่ใช้แทนหลอดฉีดน้ำ คือใช้ขวดสเปรย์แล้วปรับหัวฉีดให้ฉีดเข้าไปที่ร่องโดยตรง
โฆษณา

คำเตือน

  • วิธีนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อสามารถอ้าปากกว้างได้ตามปกติ
  • วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ทันตแพทย์แนะนำ ฉะนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ที่ผ่าให้อย่างเคร่งครัดและแจ้งให้ทราบทันทีหากมีผลข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้น
  • อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ต้องปลอดเชื้อ และใช้ครั้งเดียวทิ้งเลยไม่นำมาใช้ซ้ำ
  • หากรู้สึกเจ็บขณะทำ ให้ปรึกษาทันตแพทย์ก่อนจึงสามารถเริ่มกลับทำใหม่ได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำอุ่น
  • เกลือ
  • หลอดฉีดน้ำ (ปลอดเชื้อ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 81,940 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา