ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่มีใครที่ไม่เคยเสียใจ ความเสียใจเป็นทั้งความรู้สึกและแบบแผนความคิดอย่างหนึ่งที่คนคนหนึ่งเอาแต่จมปลัก หรือนึกภาพและคิดถึงเหตุการณ์ ปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือการกระทำอื่นๆ ที่ตนน่าจะทำ ความเสียใจอาจกลายเป็นภาระทางใจซึ่งขัดขวางไม่ให้เรามีความสุขอยู่กับปัจจุบัน ทำให้เราทุกข์ และมองไม่เห็นหนทางข้างหน้า [1] ความเสียใจที่ไม่มีผลใดๆ ต่อชีวิตยังอาจขัดขวางไม่ให้เราเดินหน้า ถ้าเห็นว่าตนเองรู้สึกเสียใจ จงรู้ว่าความเสียใจของตนเองเป็นแบบไหน เรียนรู้ที่จะให้อภัยตนเอง และเดินหน้าต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เข้าใจความเสียใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเสียใจเป็นวิธีการคิดหรือความรู้สึกที่เราโทษตัวเองในเรื่องที่เกิดขึ้น ความเสียใจที่เป็นผลดีต่อชีวิตจะช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อให้เกิดอนาคตที่ดี ความเสียใจแบบไม่มีผลใดๆ ต่อชีวิตเป็นความเสียใจในแบบที่เราโทษตัวเองฝ่ายเดียว ความเสียใจแบบนี้อาจสร้างความเครียดเรื้อรังซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
    • เราอาจเสียใจในสิ่งที่ทำไปลงแล้ว หรือสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ตัวอย่างเช่น เราอาจเสียใจที่ทำตัวไม่ดีระหว่างที่เกิดการโต้เถียง หรือเสียใจที่ปฏิเสธงานหนึ่งไป
  2. ความรู้สึกเสียใจอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ความรู้สึกเสียใจได้แก่ ความเศร้า ความสูญเสีย ความสำนึกผิด ความโกรธ ความอับอาย และความวิตกกังวล [2] ให้หาว่าความเสียใจของเราเป็นแบบใด ตัวอย่างเช่น เราอาจคิดถึงการกระทำหนึ่งในอดีต และคิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำนั้นเกือบทั้งวัน การทำแบบนั้นอาจทำให้เรารู้สึกพ่ายแพ้และสิ้นหวัง เราอาจคิดถึงอะไรที่เราทำหรือพูดไปแล้ว หรืออาจคิดถึงอะไรที่เราน่าจะทำต่างออกไปเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่
    • การเอาแต่คิดและเสียใจอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ถ้าเรามัวแต่เป็นแบบนี้ ความวิตกกังวลก็จะมีผลต่อการตัดสินใจเรื่องอนาคต อาจทำให้ตัดสินใจพลาดและต้องเสียใจภายหลัง
  3. คิดว่าอะไรทำให้เราเสียใจ คนเรารู้สึกเสียใจได้หลายเหตุผล ตัวอย่างประสบการณ์ที่ทำให้คนเราเสียใจได้แก่ [3]
    • รูปแบบการดำเนินชีวิต มีหลายคนเสียใจที่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หรืออาจคิดว่าไม่ควรย้ายบ้านมาเลย ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราย้ายจากประเทศแคนาดาไปที่ออสเตรเลีย เพราะต้องการอยู่ในที่ที่อบอุ่นขึ้น แต่หลายเดือนต่อมาก็พบว่าหางานไม่ได้ ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ข้างถนน และรู้สึกคิดถึงบ้านทุกวัน จึงคิดว่าตอนนั้นตนเองไม่ควรจะย้ายบ้านเลย
    • งาน หลายคนอาจเสียใจที่ไม่ได้ทำอาชีพที่ต่างออกไปและไล่ตามความฝัน หรืออาจเสียใจที่ปฏิเสธงานหรือการเลื่อนตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น ไม่อยากไปทำงานทุกวันเลย และเอาแต่คิดว่าไม่น่าทิ้งโอกาสที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกับใครสักคน
    • ครอบครัว หลายคนอาจเสียใจที่ไม่ยอมไกล่เกลี่ยเรื่องที่หมางใจกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน โดยเฉพาะถ้าอีกฝ่ายได้เสียชีวิตไปแล้ว หรืออาจเสียใจที่ไม่ใช้เวลาอยู่กับปู่ย่าตายายให้มากกว่านี้ ตัวอย่างเช่น เราต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่น เพราะสามีทำงานอยู่ที่นั่น เราไม่ค่อยพยายามที่จะติดต่อคุณยายด้วยการโทรศัพท์ไปหาหรือเยี่ยมเยียนท่านเท่าไร ตอนนี้คุณยายได้เสียชีวิตไป เราจึงเสียใจที่ไม่พยายามพูดคุยกับท่านให้มากกว่านี้
    • ลูก หลายคนเสียใจที่เริ่มมีครอบครัว ตัวอย่างเช่น เราอาจเริ่มชีวิตครอบครัวเพราะเราอยากให้ความฝันของคู่ชีวิตเป็นความจริง 1 ปีต่อมา เราเริ่มไม่มีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ และความสัมพันธ์กับคู่ชีวิตก็มีแต่ความทุกข์เพราะเรื่องนี้ ทุกวันเราเอาแต่เฝ้าฝันอยากเป็นคนรับฝากเลี้ยงสุนัข อย่างไรก็ตามจำไว้ว่าพ่อแม่หลายคนประสบปัญหาโรคซึมเศร้าหลังคลอดซึ่งเกิดขึ้นตามมาหลังจากคลอดบุตร ควรให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือ ถ้าคิดว่ากำลังมีปัญหานี้
    • การแต่งงาน หลายคนอาจเสียใจที่เลือกแต่งงานผิดเวลาหรือเลือกคู่ครองผิด บางคนอาจเสียใจแม้แต่เริ่มแต่งงานเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น เราแต่งงานกับคนคนหนึ่งเพราะครอบครัวเห็นชอบ แต่หลังจากนั้น 5 ปี ก็พบว่าเราไม่ชอบเขาเลย จึงเกิดคิดขึ้นมาบ่อยๆ ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าได้แต่งงานกับคนที่คบกันมานานแต่พ่อแม่ไม่ชอบ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้วิธีบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้วิธีการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT). วิธีนี้สอนให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแบบแผนความคิด ในไม่ช้าเราจะเริ่มเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเสียใจ อับอาย และความโกรธไป เราจะมุ่งทำให้ความคิดที่เป็นโทษและไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ หายไป
    • การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมจะช่วยลดความเสียใจและความวิตกกังวล อีกทั้งหาอะไรมาทดแทนความรู้สึกทั้งสองนี้ แทนที่จะบอกให้เราหยุดคิดเรื่องอดีตเท่านั้น [4]
  2. เมื่อรู้สึกเสียใจ คนเรามักจะสงสัยบ่อยๆ ว่า “ทำไม” พวกเขาทำหรือไม่ทำแบบนี้ และคำถามนี้จะติดอยู่ในใจบ่อยๆ [5] เขียนว่าเสียใจเรื่องอะไรบ้างและคำถามใดที่เราเอาแต่ถามตนเองอยู่ตลอด ตัวอย่างเช่น เราอาจสงสัยว่าทำไมเราถึงทำตัวแบบนั้น [6] อ่านสิ่งที่เราเขียนและเปลี่ยนคำถามว่า “ทำไม”เป็น “จะทำอย่างไร” การทำแบบนี้จะช่วยเราเอาชนะความรู้สึกค้างคาใจ
    • ตัวอย่างเช่น อาจถามตนเองว่า “สัปดาห์ที่แล้วทำไมฉันถึงตะคอกใส่ลูกไปมากนัก” สำหรับคำถาม “จะทำอย่างไร” เราอาจกล่าวว่าเรารู้ตัวว่าหลังจากเลิกงาน เราจะเหนื่อยมาก ความอดทนจึงต่ำ คราวหน้าเราจะพักสัก 5 นาทีก่อนมาพูดคุยกับลูก
  3. ความเสียใจเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับอนาคต ลองมองหาบทเรียนที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว และยอมรับเสียเถอะว่าบทเรียนชีวิตนั้นทำให้เราฉลาดขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเสียใจที่ไม่ทำตัวเคารพคู่ครองของตน เราก็ได้เรียนรู้แล้วว่าการไม่เคารพคู่ครองนั้นทำให้เรารู้สึกแย่แค่ไหน เมื่อรู้แบบนี้เราก็ย่อมทำตัวดีขึ้นเพื่อจะได้เป็นคู่ครองที่ดี [7]
  4. เรื่องที่เราเสียใจนั้นยังทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น การได้รู้ว่าทำแบบนี้แล้วต้องมาเสียใจภายหลังจะลดโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในอนาคต เราต้องใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้นี้ให้เกิดประโยชน์
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้เรียนรู้แล้วว่าการไม่เคารพคู่ครองจะทำให้คู่ชีวิตเรารู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจ เพราะฉะนั้นอย่าทำอีกในอนาคต
  5. ถึงเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตแล้วนำบทเรียนที่ได้มาทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้
    • ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องที่เราเคยเป็นคนดื่มหนักและดื่มบ่อยตอนเรียนมหาวิทยาลัยได้ แต่เราเลือกได้ว่าจะไม่ปล่อยให้ความเสียใจนั้นมาทำให้เรารู้สึกผิดตอนนี้หรือมีผลต่อการเลือกเส้นทางในอนาคต
  6. รู้ว่าความเสียใจที่เป็นผลดีต่อชีวิตเป็นอย่างไร. การทำร้ายตัวเองเพื่อเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ถือว่าเป็นการแสดงความเสียใจแบบไม่มีผลใดๆ ต่อชีวิต แต่ความเสียใจที่เป็นผลดีต่อชีวิตจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ถ้าเรายอมปรับปรุงตนเองและไล่ตามโอกาส พอเรารู้ตัวว่าพลาดโอกาสอะไรไป ไม่วาจะเป็นโอกาสทางการศึกษา ทางการเงิน หรือการมีความรู้สึกที่ดี เราก็จะไม่พลาดซ้ำอีกในอนาคต [8]
    • ถ้าเราลังเลว่าจะเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ดีไหม ก็ให้ถามตนเองว่าแล้วเรากังวลว่าจะสูญเสียโอกาสหรือได้โอกาสมากกว่า ถ้าลองทำอะไรใหม่ๆ เราอาจไม่ต้องมาเสียใจภายหลังก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ก้าวผ่านความเสียใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกเสียใจกับบางสิ่งที่เกิดขึ้น ให้คิดว่าคนอื่นก็เป็นเช่นเดียวกัน จงจำไว้ว่าความเห็นใจช่วยเราให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น เราอาจต้องลดอคติของตนเอง และรับฟังคนอื่นอย่างจริงจังเพื่อจะได้รู้จักเห็นใจผู้อื่น [9]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเสียใจที่เคยเป็นคนดื่มหนักตอนเรียนมหาวิทยาลัย เราอาจเข้าใจว่าลูกชายรู้สึกอย่างไรเมื่อต้องพบเจอกับคืนวันอันไม่น่าภาคภูมิใจ
  2. เวลาเราเสียใจก็อาจจะใช้คำพูดว่า [10] “ฉันควรจะ...” “ฉันน่าจะ...” “ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่า...” “ทำไมฉันถึงไม่...” เปลี่ยนถ้อยคำเหล่านี้ให้เป็นถ้อยคำที่ให้กำลังใจเรา เราจะได้คิดถึงอดีตในมุมที่ต่างออกไป และความเสียใจจะเริ่มเบาบางลง เมื่อเราเกิดคิดถึงถ้อยคำที่ทำให้เสียใจ ให้เปลี่ยนถ้อยคำเหล่านั้นเป็นถ้อยคำที่ให้กำลังใจ วิธีนี้ช่วยให้เราคิดถึงอดีตในแบบที่มีความหวังมากขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น เปลี่ยน“ฉันน่าจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย”เป็น “ฉันดีใจที่ยังไม่สายเกินไปที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย” หรือเปลี่ยน “ฉันน่าจะพยายามลดการดื่มให้มากกว่านี้” เป็น “ฉันดีใจที่ตอนนี้พยายามลดการดื่มได้มากขึ้น”
  3. ความเสียใจอาจก่อให้เกิดความโกรธแค้นตนเองและผู้อื่น [11] เรียนรู้ที่จะให้อภัยตนเองเถอะ วิธีนี้ไม่เพียงลดความรู้สึกเสียใจเท่านั้น แต่ช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองได้ การมีความภาคภูมิใจในตนเองนั้นสำคัญต่อชีวิตด้านอื่นๆ อย่างเช่น ความสัมพันธ์
  4. การฝึกเขียนจดหมายจะช่วยฝึกเราให้อภัยตนเอง [13] การเขียนแสดงความคิดและความรู้สึกจะเริ่มทำให้ความรู้สึกเสียใจคลายลงไป เขียนจดหมายถึงตัวเราตอนที่เด็กกว่านี้หรือตัวเราในอดีต และในจดหมายให้พูดคุยกับตัวเราคนนั้นเหมือนพูดกับลูกหรือเพื่อนสนิท วิธีนี้จะช่วยให้เราเห็นใจตนเองขึ้นมาบ้าง
    • ย้ำตัวเราที่เด็กกว่านี้ว่าเราสมควรได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ถึงแม้เราทำสิ่งที่ผิดพลาดไปบ้าง เพราะเรานั้นเป็นมนุษย์ และไม่เป็นไร ถ้าหากทำผิดพลาดไปบ้าง
  5. การตอกย้ำคือการใช้ถ้อยคำดีๆ มาช่วยให้กำลังใจ เพิ่มพลังใจ และทำให้รู้สึกเห็นใจตนเองมากขึ้น [14] การเห็นใจตนเองทำให้รู้สึกสงสารและให้อภัยตัวเองในอดีตง่ายขึ้น จึงคลายความเสียใจลงไปได้ บอก เขียน หรือตอกย้ำตนเอง ตัวอย่างการตอกย้ำตนเองเช่น
    • ฉันเป็นคนดี และสมควรได้รับสิ่งที่ดีที่สุดไม่ว่าในอดีตจะเป็นอย่างไรก็ตาม
    • ฉันเป็นมนุษย์และมีโอกาสทำผิดพลาดได้ ถึงทำผิดพลาดไปบ้างก็ไม่เป็นไร
    • ฉันได้เรียนรู้อะไรมากมายจากอดีต และฉันสมควรมีอนาคตที่สดใส
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เราเปลี่ยนอะไรที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้อดีตมากำหนดปัจจุบันและอนาคตอย่างไร
  • จำไว้ว่าบางครั้งคนเราก็โหดร้ายกับตัวเองเหลือเกิน
  • จงนึกภาพตนเองลงมือทำสิ่งต่างๆ ขณะที่เดินหน้าต่อไปและทิ้งความเสียใจไว้เบื้องหลัง
  • หาคนช่วยหรือหรือที่ปรึกษาเพื่อจะได้รู้วิธีการทำให้ความเสียใจคลายลงไป
  • ช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยการไปเป็นอาสาสมัคร หรือช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ เราจะได้ผละจากชีวิตของตนเองไปสักพัก
  • เขียนลงไปว่ารู้สึกกับคนที่เกลียดอย่างไร ขยำกระดาษและปาทิ้งถังขยะไปแรงๆ
  • จำไว้ว่าทุกคนทำผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เราคนเดียว
  • ทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อมมีเหตุผล ฉะนั้นเดินหน้าต่อไปและลืมอดีตเสีย การคิดถึงแต่อดีตไม่ได้ให้อะไรดีๆ แก่เรา
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าหากความเสียใจของเราทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง การถอนตัวออกจากสังคม การทำร้ายตนเอง หรือการคิดฆ่าตัวตาย ให้ติดต่อแพทย์ นักจิตวิทยา นักให้คำปรึกษา จิตแพทย์ สายด่วนให้คำปรึกษาสำหรับคนที่อยากปลิดชีพตัวเอง สายด่วนสุขภาพจิต หรือใครสักคนที่เราไว้วางใจจริงๆ เพราะเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลกนี้
  • ถ้าเรารู้สึกเสียใจเพราะมีใครกระทำทารุณเรา หรือละเมิดทางเพศเรา จงรู้ไว้ว่าเราไม่ใช่คนที่จะถูกกล่าวโทษ แต่ต้องแจ้งตำรวจ (และบอกพ่อแม่ของตนเองถ้าเรายังเป็นผู้เยาว์) คนที่ทำร้ายเราจะได้หยุดทำร้ายเราและคนอื่น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,107 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา