PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เราต่างก็ต้องประสบกับความเสียใจกันบ้าง ถึงแม้ว่าความเสียใจจะมีประโยชน์คือทำให้เราเติบโตขึ้นและได้พัฒนาตนเอง แต่การเอาแต่ครุ่นคิดถึงเรื่องที่เราเสียใจนั้นนานก็อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราได้ บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่เราสามารถนำไปทำตามได้ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงความคิดของตนไปจนถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งช่วยเรารับมือกับความเสียใจและก้าวข้ามมันไปได้ในที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงความคิด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเสียใจเป็นความรู้สึกหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก ถ้าอยากรับมือกับความเสียใจได้ดีขึ้น เราต้องทำความเข้าใจความรู้สึกนี้ว่าเป็นอย่างไรก่อน
    • ความเสียใจคือความรู้สึกผิด ความรู้สึกเศร้า หรือความรู้สึกโกรธต่อการตัดสินใจในอดีต เราทุกคนต่างก็ประสบกับความเสียใจกันบ้างในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาว แต่ความเสียใจจะกลายเป็นปัญหาเมื่อเอาแต่ครุ่นคิดถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาจนทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับการดำเนินชีวิต การทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างตนกับผู้อื่นได้ [1]
    • การคิดที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงยิ่งทำให้รู้สึกเสียใจ การเอาแต่นึกถึงผลลัพธ์ที่ดีกว่าและแตกต่างออกไป จะยิ่งทำให้เราเสียใจกับการตัดสินใจ ความเสียใจจะรุนแรงที่สุดเมื่อเราใกล้จะประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต แต่พลาดโอกาสนั้นไปเพราะวางแผนมาไม่ดี หรือการไม่ยอมทำอะไรสักอย่างตอนนั้น ตัวอย่างเช่น เราซื้อลอตเตอรี่เลขเดิมทุกปี แต่พอปีหนึ่งเราไม่ซื้อ ตัวเลขนั้นกลับกลายเป็นตัวเลขรางวัลในปีนั้น [2]
    • ความเสียใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อจิตใจและร่างกาย ความเสียใจอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดเรื้อรังซึ่งเกิดร่วมกับความเสียใจจะทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลและระบบภูมิคุมกันอ่อนแอลง [3]
    • ความเสียใจนั้นแตกต่างกันไปตามเพศ ผู้หญิงจะปล่อยวางความสัมพันธ์ในอดีตมากกว่าและมักจะประสบความเสียใจในเรื่องความรักมากกว่า [4]
  2. การแสดงความรับผิดชอบอย่างไม่สมเหตุสมผลอาจก่อให้ความรู้สึกเสียใจ การเรียนรู้ที่จะลดความคาดหวังและยอมรับว่ามีอะไรในชีวิตมากมายที่เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้จะช่วยป้องกันไม่ให้เรารู้สึกเสียใจได้
    • เมื่อเห็นว่าตนเองจมอยู่กับความเสียใจ และเอาแต่ครุ่นคิดว่าถ้าตนเองเลือกกระทำต่างออกไป คงจะไม่เป็นแบบนี้ จงหยุดเสียใจและเลิกคิดแบบนี้ ถามตนเองว่า “ถ้าเพื่อนหรือครอบครัวบอกเราแบบนี้ เราจะพูดว่าอะไร คิดว่าการยอมรับคำตำหนิเพราะผลจากการกระทำนี้สมเหตุสมผลไหม”
    • ให้พิจารณาสภาพแวดล้อมของสถานการณ์นั้นหรือการตัดสินใจที่ทำให้เรารู้สึกเสียใจมาจนถึงตอนนี้ ปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่อาจควบคุมได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเรา เราถูกกดดันให้ต้องตัดสินใจก่อนเวลาอันเหมาะสมหรือเปล่า เรารู้ไม่พอที่จะตัดสินใจหรือเปล่า มีเรื่องเครียดมากมายรบกวนจิตใจจนทำให้ตัดสินใจได้ไม่ดีหรือเปล่า
    • ขอยกตัวอย่าง สมมติเราเป็นผู้บริหารองค์กรการกุศล เราต้องจองห้องในโรงแรมหรือในภัตตาคารล่วงหน้าเพื่อจัดงานระดมทุนที่กำลังจะมาถึง ผู้จัดการโรงแรมโทรมาหาเราหนึ่งสัปดาห์ก่อนงานระดมทุน แจ้งเราว่ามีคนจองห้องสัปดาห์นั้นไว้แล้ว เราเป็นผู้จองรายที่สอง เขาจึงต้องให้สิทธิผู้ที่จองรายแรกก่อน ถึงแม้จะตกใจ แต่เราก็พยายามหาทางแก้ไข จนกระทั้งเราพบว่ามีห้องโรงแรมหรือภัตตาคารอีกแห่งห่างออกไป 1.6 กิโลเมตรและมีโรงละครอยู่ใกล้ๆ ซึ่งยังไม่มีคนจองในสัปดาห์นั้น เราไม่มีเวลาใคร่ครวญถึงข้อดีข้อเสียมากนัก จึงรีบจองไว้ทันที พอถึงเวลานั้น กลับต้องพบปัญหามากมาย พนักงานโรงแรมก็ไม่สุภาพ อาหารก็รสชาติแย่ พื้นที่ก็ใหญ่ไม่พอจุผู้เข้าร่วม เมื่อเห็นผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ เราอาจเสียใจที่เลือกโรงแรมนี้และอยากให้ตนเองเลือกโรงละครแทน แต่ตอนนั้นเราควบคุมอะไรได้มากแค่ไหนล่ะ เมื่อลองพิจารณาสภาพแวดล้อมตอนนั้นดูแล้ว เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกมากนักและต้องตัดสินใจให้เร็ว ถึงผลจะออกมาไม่ดี แต่ก็ไม่มีเหตุผลให้โทษตนเอง
  3. อย่างที่เอ่ยไปแล้วว่าความเสียใจเกิดจากการคิดที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง เราต้องยอมรับว่าความคิดแบบนี้ไม่เกิดผลดีต่อชีวิตเพื่อจะได้หยุดเสียใจซะที ในชีวิตยังมีอะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้
    • การกระทำทั้งหมดของเราย่อมก่อให้เกิดผลที่หลากหลาย คำพูดนี้หมายความว่ายังมีอิทธิพลบางอย่างอยู่เหนือการตัดสินใจของเรา ต้องใช้เวลาหลายปีถึงจะมองเห็นผลของการตัดสินใจจริงๆ ถึงแม้ตอนนี้ผลที่ออกมาจะดูไม่ดีนัก แต่เราไม่รู้ว่าในอนาคตผลจะเป็นอย่างไร และการตัดสินใจผิดอาจกลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปก็ได้ เมื่อผ่านไปหลายปี
    • จำไว้ว่า ถ้าเราเอาแต่คิดถึงคำว่า “ถ้าหาก” แสดงว่าเรากำลังคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคตอยู่ อยากให้รู้ไว้ว่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เราสามารถหยั่งรู้ได้ การนึกภาพเหตุการณ์โดยใช้คำว่า “ถ้าหาก”เพื่อยอมรับว่าทางเลือกของเราอาจมีผลลัพธ์มากมายนั้นเป็นความคิดที่ดีกว่า ขอยกตัวอย่างเรื่องลอตเตอรี่อีกครั้ง ถ้าหากเราซื้อลอตเตอรี่เลขเดิมในสัปดาห์นั้นแล้วถูกรางวัลใหญ่ล่ะ ถ้าหากเราออกจากงาน แล้วเริ่มรู้สึกเบื่อ ทำให้เราใช้เวลาไปกับการเล่นการพนัน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือติดยาเสพติดล่ะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

คลายความเสียใจ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเสียใจก็เหมือนความรู้สึกอื่นๆ คือใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการอยู่รอด เปิดกว้างยอมรับด้านดีของความเสียใจเพื่อความรู้สึกนี้จะได้ไม่อยู่กับเรานาน
    • ความเสียใจจะทำให้เรามีโอกาสใคร่ครวญการกระทำของตนเองอีกครั้ง เราอาจจะไม่มีทางเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ ถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่บีบบังคับให้เราตัดสินใจผิดพลาด ตัวอย่างเช่น ผู้ติดยาเสพติดกลับตัวกลับใจเลิกยา เมื่อเห็นว่าการใช้ยานั้นก่อให้เกิดแต่ผลเสียต่อชีวิตของตนเอง [5]
    • ปรับความคิดที่มีต่อสถานการณ์หรือการตัดสินใจที่นำมาซึ่งความเสียใจ ให้คิดว่าความผิดพลาดคือโอกาสที่เราจะได้เติบโตและเปลี่ยนแปลง คนหนุ่มสาวมักจะรับมือกับความเสียใจได้ดีกว่า และคนวัยนี้จำนวนมากนั้นถือว่าความรู้สึกนี้ก่อให้เกิดผลดี คนหนุ่มสาวยอมรับว่าความเสียใจเป็นกุญแจสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงและการเติบโต [6]
    • รับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ บ่อยครั้งที่คนเราโทษสิ่งรอบตัวว่าเป็นสาเหตุให้เราทำอย่างนั้น อย่างนี้ การเอาแต่โทษสิ่งรอบตัวยิ่งจะทำให้ตัดสินใจได้แย่ลง และผลคือยิ่งเสียใจมากขึ้นไปอีก ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรามาทำงานสายเพราะเอาแต่ดื่มจนดึกดื่น เราอาจโทษความเครียดจากการทำงานหรือแรงกดดันจากเพื่อนร่วมงานว่าเป็นสาเหตุทำให้เราต้องดื่มคลายเครียดจนดึกดื่น และถึงแม้ต่อมาปัญหาทั้งสองอย่างในที่ทำงานหมดไปแล้ว แต่เราก็ทำพฤติกรรมเดิมอยู่ดี ถ้าเราคิดว่า “การดื่มจนดึกดื่นนั้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดี และเราเห็นผลลัพธ์แล้ว” เราก็น่าจะไม่ทำพฤติกรรมเช่นว่าอีกในอนาคต เราได้ยอมรับว่าเราเป็นคนควบคุมสถานการณ์มากกว่าแรงผลักดันจากภายนอก [7]
  2. บางครั้งเมื่อสถานการณ์ออกมาไม่เป็นไปตามที่หวังไว้เลย คนเราก็ต้องเศร้าเป็นธรรมดา การให้เวลาตนเองยอมรับความผิดหวังนั้นตามสมควรสามารถช่วยเราเติมพลังใจขึ้นมาใหม่ได้ [8]
    • ความเศร้าเหมือนความเสียใจมาก เพราะเป็นความรู้สึกด้านลบเหมือนกัน แต่ความรู้สึกหนึ่งเป็นแบบที่ให้ประโยชน์แก่เรา ความเศร้าจะทำให้จิตใจเราหมกมุ่นอย่างหนัก จึงทำให้เรามีโอกาสประเมินปัญหาต่างๆ และยอมรับความยากลำบากของชีวิต [9]
    • เมื่อพบกับสถานการณ์ที่เลวร้าย เราย่อมต้องเศร้าและทุกข์อยู่แล้ว การไม่ยอมรับความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เรารู้สึกเสียใจและคับข้องใจนานขึ้น หลังจากพบกับความล้มเหลวยิ่งใหญ่ในชีวิตแล้ว ให้เวลาตนเองได้ทุกข์และพบกับความผิดหวังสักหนึ่งสัปดาห์ [10]
  3. บ่อยครั้งที่ความเสียใจของเรามาจากความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับเพื่อน ครอบครัว และคนสำคัญคนอื่นๆ
    • ถ้าเรากำลังประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งนำไปสู่ความเศร้าและความเสียใจ มีเพื่อนมาช่วยเหลือเราไหม ใครที่คอยช่วยเหลือเราและให้ความรักแก่เรา ใครที่หายหน้าหายตาไปเลย [11]
    • ให้หาสิว่าที่ผ่านมาใครไม่เคยให้กำลังใจเราและใครทำให้เราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก การรักษาความสัมพันธ์กับคนพวกนี้อาจทำให้เราต้องเสียใจภายหลัง ตัดสัมพันธ์คนที่ไม่เคยช่วยเหลือเรา และรักษาความสัมพันธ์กับคนที่อยู่เคียงข้างเราเสมอ [12]
  4. อย่างที่เคยเอ่ยไป การมองว่าความเสียใจเป็นโอกาสที่จะทำให้เราเติบโตขึ้นหมายถึงเราได้เลิกจมปลักกับความผิดพลาดเสียที หาสิว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อก้าวผ่านความเสียใจ
    • มีใครเจ็บปวดเพราะการตัดสินใจของเราไหม การตัดสินใจของเรามีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนไหม เราอาจต้องโทรศัพท์หรือเขียนจดหมายไปขอโทษ ถ้าจำเป็น
    • เขียนความรู้สึกทั้งหมดของเราที่มีอยู่ขณะนี้ “ฉันเศร้าเพราะ...” “ฉันโกรธเพราะ...” เมื่อเขียนเสร็จ กลับมาดูสิ่งที่เราเขียนและประเมินว่าอะไรที่ทำให้เราคิดแบบนี้อยู่ เราสามารถทำอะไรอย่างอื่นได้อีกไหม อะไรทำให้เรารู้สึกแบบนี้ และจะจัดการความรู้สึกพวกนี้อย่างไรถึงจะเหมาะสม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สติคือสภาพจิตที่เราตระหนักถึงปัจจุบัน การบำบัดความคิดและพฤติกรรมโดยใช้สติเป็นวิธีการที่ประสบความสำเร็จอยู่บ้างในการรักษาภาวะซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากความเสียใจเรื้อรัง [13]
    • การมีสติหมายถึงการสังเกตความคิดของตนเองจากระยะไกล เราจะสามารถประเมินอดีตและความผิดพลาดของเราอย่างไม่มีอคติใดๆ การมีสติจะทำให้เราเห็นว่าความเสียใจนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตเรา [14]
    • การนั่งสมาธิเบื้องต้นสามารถช่วยฝึกสติเราได้ จดจ่ออยู่กับลมหายใจ คำสักคำ หรือวลีสักวลี ยอมให้ความคิดต่างๆ ผ่านเข้ามาในสมองโดยไม่ตัดสินใดๆ ทั้งสิ้น [15]
    • จดจ่อกับความรู้สึกทางกายเช่น อาการคันและการหายใจ พยายามรับรู้จากประสาทสัมผัสทุกอย่าง เช่น มองเห็นอะไร ได้กลิ่นอะไร ได้ยินอะไร และรู้รสอะไร พยายามรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวและความรู้สึกแต่ละช่วงอย่างเต็มที่ [16]
    • รู้สึกโดยไม่ตัดสิน ปล่อยให้ตนเองรู้สึกเศร้า กลัว โกรธ และเจ็บปวด โดยไม่พยายามขจัดให้หายไป หรือเก็บกดความรู้สึกเหล่านี้ไว้ [17]
    • ถ้าเราทำสำเร็จ สติจะคอยช่วยให้เราจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน การมีสติจดจ่ออยู่กับปัจจุบันจะช่วยป้องกันไม่ให้เราคิดถึงอดีตและคิดถึงการตัดสินใจที่ผ่านมา การมุ่งสนใจแต่สิ่งที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งก็คือการอยู่กับปัจจุบัน จะช่วยลดการตัดสินตนเองในการตัดสินใจหรือเรื่องราวที่ผ่านมา การบำบัดด้วยการฝึกสติช่วยผู้ป่วยสูงอายุซึ่งประสบกับความเสียใจเรื้อรังในชีวิตได้มากทีเดียว [18]
  2. มีหลายครั้งที่ความผิดหวังและความเสียใจเกิดจากการทำตามเป้าหมายบางอย่างไม่สำเร็จ การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเรื่องเป้าหมายและความสำเร็จช่วยเราให้รับมือกับความเสียใจ และยอมรับสภาพปัจจุบันได้มากขึ้น
    • ทำเป้าหมายระยะยาวให้เป็นจริง ให้ตั้งเป้าหมายว่า “ฉันอยากมีความสุขมากกว่าเดิมในห้าปี” ดีกว่าตั้งเป้าหมายว่า “ฉันจะขึ้นไปอยู่จุดสูงสุดของอาชีพในห้าปี” การตั้งเป้าหมายแบบแรกจะทำให้เรารู้สึกว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับความคิดของเราซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ ไม่ใช่ความสำเร็จที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา
    • ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่ารางวัลที่เป็นรูปธรรมทำให้คนเรามีความสุขน้อยกว่ารางวัลที่เป็นนามธรรม ผู้คนที่อยากมีเงิน ชื่อเสียง ความมั่งคั่ง และประสบความสำเร็จด้านการงานอาชีพ มีความสุขโดยรวมน้อยกว่าคนที่ใฝ่หาสิ่งที่เป็นนามธรรมเช่น ความสุข ความสัมพันธ์ที่ดี และความรู้
  3. การมีผู้คอยรับฟังนั้นช่วยเราได้มากทีเดียวเมื่อต้องรับมือกับความผิดหวังซึ่งทำให้เรารู้สึกเสียใจ การพูดถึงความรู้สึกของตนให้คนอื่นฟังช่วยเราให้ประเมินความรู้สึกเหล่านั้นอีกครั้ง และได้เห็นหนทางแก้ไขจากมุมมองของคนอื่นด้วย
    • พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวว่าเราผิดหวังเรื่องอะไร การปล่อยให้ตนเองระทมทุกข์จะทำให้เรื่องราวเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ให้พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์คล้ายกัน และสามารถทำให้เรามองเห็นหนทางแก้ไขได้ [19]
    • ถ้าเราก้าวผ่านความรู้สึกผิดหวังได้ยากลำบาก ลองพบนักบำบัดดู นักบำบัดสามารถให้มุมมองของบุคคลที่สามซึ่งไม่มีอคติใดๆ และให้คำแนะนำว่าเราควรรับมือกับความคิดในแง่ลบอย่างไรได้
  4. บ่อยครั้งที่ความเสียใจมาจากการโหยหาทางเลือกที่ตัดทิ้งไป การประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและยอมรับสิ่งดีๆ ช่วยลดความรู้สึกเสียใจได้
    • ความเสียใจบ่อยครั้งมาจากความไม่สมดุลทางการคิด การยึดวิธีการตัดสินแบบเดียว หรือหลายแบบ การบิดเบือนทำให้ความสามารถในการประเมินความเป็นจริงในชีวิตของเราไม่ดีและทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
    • เขียนสิ่งดีๆ ในชีวิต เช่น การมีครอบครัวที่ดี มีเพื่อนที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี และความสำเร็จที่เรามีมาจนถึงตอนนี้ การรู้ว่าตนเองมีสิ่งดีๆ ในปัจจุบันเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมที่จะลดความรู้สึกเสียใจ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,380 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา