ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

พลังงานนั้นมีอยู่สองแบบ คือ พลังงานศักย์กับพลังงานจลน์ พลังงานศักย์นั้นเป็นพลังงานที่วัตถุนั้นมีสัมพันธ์กับตำแหน่งของวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง [1] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่บนยอดเนิน คุณจะมีพลังงานศักย์มากกว่าที่คุณอยู่ตรงด้านล่างของเนิน ส่วนพลังงานจลน์นั้นเป็นพลังงานที่วัตถุนั้นมีเมื่อมันมีการเคลื่อนที่ [2] พลังงานจลน์นั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากการสั่นไหว การหมุน หรือการเคลื่อนที่ (เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) [3] พลังงานจลน์ของวัตถุใดๆสามารถคำนวณหาได้โดยง่ายจากการใช้สมการที่ต้องมีค่ามวลกับค่าความเร็วของวัตถุนั้นๆ [4]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เข้าใจพลังงานจลน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมการสำหรับคำนวณหาค่าพลังงานจลน์ (KE) ก็คือ KE = 0.5 x mv 2 ซึ่งในที่นี้ m ก็คือมวล หรือค่าที่บอกปริมาณสสารที่มีในวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ หรืออัตราที่วัตถุใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเอง [5]
    • คำตอบของคุณจะต้องมีหน่วยเป็นจูลส์ (joules - J) เสมอ ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานของการวัดค่าพลังงานจลน์ มันมีค่าเท่ากับ 1 กก. * m 2 /s 2
  2. ถ้าคุณกำลังแก้ไขโจทย์ที่ไม่ได้ให้ค่ามวลมา คุณจะต้องทำการหาค่ามวลเองก่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักวัตถุนั้นบนตาชั่งก็จะได้ค่ามวลเป็นกิโลกรัม (kg)
    • ตัดน้ำหนักตาชั่ง ก่อนทำการชั่งวัตถุ คุณต้องตั้งให้มันเริ่มที่ศูนย์ก่อน การตัดน้ำหนักตาชั่งให้เป็นศูนย์ก่อนนี้เรียกว่า taring [6]
    • วางวัตถุลงบนตาชั่ง. วางบนตาชั่งเบาๆ และบันทึกมวลเป็นกิโลกรัม
    • หากจำเป็น ให้แปลงหน่วยภายในระบบเมตริกก่อนจากกรัมเป็นกิโลกรัม สำหรับการคำนวณขั้นสุดท้ายนั้น มวลจะต้องมีหน่วยเป็นกิโลกรัมเท่านั้น
  3. ส่วนใหญ่แล้ว โจทย์ปัญหาจะให้ค่าความเร็วของวัตถุมา ถ้าไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณสามารถคำนวณความเร็วเฉลี่ยได้โดยการใช้ระยะทางที่วัตถุเดินทางไปกับระยะเวลาที่มันใช้กว่าจะไปจนได้ระยะทางเท่านั้น [7] หน่วยของความเร็วคือเมตรต่อวินาที (m/s)
    • ความเร็วนั้นนิยามตามสมการ การเปลี่ยนตำแหน่งหารด้วยเวลา: V = d/t ความเร็วนั้นถือเป็นปริมาณเวกเตอร์ หมายถึงมันมีทั้งขนาดและทิศทาง ขนาดคือจำนวนค่าที่บอกปริมาณของความเร็ว ส่วนทิศทางก็คือทิศทางที่ความเร็วนั้นใช้ไปในระหว่างการเคลื่อนที่
    • เช่น ความเร็วของวัตถุสามารถเป็น 80 m/s หรือ -80 m/s ขึ้นอยู่กับทิศทางของการเคลื่อนที่
    • ในการคำนวณความเร็ว แค่หารระยะทางที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปด้วยระยะเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งที่ว่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

คำนวณพลังงานจลน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมการสำหรับคำนวณหาค่าพลังงานจลน์ (KE) ก็คือ KE = 0.5 x mv 2 ซึ่งในที่นี้ m ก็คือมวล หรือค่าที่บอกปริมาณสสารที่มีในวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ หรืออัตราที่วัตถุใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเอง [8]
    • ของคุณจะต้องมีหน่วยเป็นจูลส์ (joules - J) เสมอ ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานของการวัดค่าพลังงานจลน์ มันมีค่าเท่ากับ 1 กก. * m 2 /s 2
  2. ถ้าคุณไม่ทราบมวลหรือความเร็วของวัตถุ ก็ต้องคำนวณหาค่าเหล่านี้ให้ได้ก่อน แต่สมมติว่าคุณทราบค่าทั้งสองนี้แล้วและกำลังจะแก้โจทย์ปัญหาต่อไปนี้: ให้หาค่าพลังงานจลน์ที่ผู้หญิงน้ำหนักตัว 55 กก. คนหนึ่งวิ่งด้วยความเร็ว 3.87 m/s เนื่องจากคุณทราบมวลกับความเร็วของผู้หญิงคนนี้แล้ว คุณสามารถแทนค่าในสูตรได้เลย: [9]
    • KE = 0.5 x mv 2
    • KE = 0.5 x 55 x (3.87) 2
  3. พอนำค่ามวลกับความเร็วไปแทนในสูตร คุณสามารถหาค่าพลังงานจลน์ได้ ยกกำลังความเร็วแล้วคูณตัวแปรทั้งหมดเข้าด้วยกัน จำไว้ว่าหน่วยในคำตอบต้องเป็นจูลส์ (J) [10]
    • KE = 0.5 x 55 x (3.87) 2
    • KE = 0.5 x 55 x 14.97
    • KE = 411.675 J
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้พลังงานจลน์ในการหาความเร็วหรือมวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมการสำหรับคำนวณหาค่าพลังงานจลน์ (KE) ก็คือ KE = 0.5 x mv 2 ซึ่งในที่นี้ m ก็คือมวล หรือค่าที่บอกปริมาณสสารที่มีในวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ หรืออัตราที่วัตถุใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเอง [11]
    • คำตอบของคุณจะต้องมีหน่วยเป็นจูลส์ (joules - J) เสมอ ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานของการวัดค่าพลังงานจลน์ มันมีค่าเท่ากับ 1 กก. * m 2 /s 2
  2. ในโจทย์บางข้อนั้นอาจทราบค่าพลังงานจลน์กับมวลและบางข้อทราบพลังงานจลน์กับความเร็ว ขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหาเหล่านี้คือการแทนค่าตัวแปรทั้งหมดที่ทราบจากในโจทย์
    • ตัวอย่างที่ 1: ความเร็วของวัตถุที่มีมวล 30 กก. กับพลังงานจลน์ 500 J จะอยู่ที่เท่าใด?
      • KE = 0.5 x mv 2
      • 500 J = 0.5 x 30 x v 2
    • ตัวอย่างที่ 2: มวลของวัตถุที่มีพลังงานจลน์ 100 J และความเร็ว 5 m/s จะอยู่ที่เท่าใด?
      • KE = 0.5 x mv 2
      • 100 J = 0.5 x m x 5 2
  3. ใช้หลักวิชาพีชคณิตก็สามารถแก้ปัญหาตัวแปรที่ไม่ทราบค่าโดยการย้ายตัวแปรที่ทราบค่าทั้งหมดมาไว้ด้านหนึ่งของสมการ
    • ตัวอย่างที่ 1: ความเร็วของวัตถุที่มีมวล 30 กก. กับพลังงานจลน์ 500 J จะอยู่ที่เท่าใด?
      • KE = 0.5 x mv 2
      • 500 J = 0.5 x 30 x v 2
      • คูณมวลด้วย 0.5: 0.5 x 30 = 15
      • หารพลังงานจลน์ด้วยผลลัพธ์ที่ได้: 500/15 = 33.33
      • ถอดรากที่สองเพื่อหาความเร็ว: 5.77 m/s
    • ตัวอย่างที่ 2: มวลของวัตถุที่มีพลังงานจลน์ 100 J และความเร็ว 5 m/s จะอยู่ที่เท่าใด?
      • KE = 0.5 x mv 2
      • 100 J = 0.5 x m x 5 2
      • ยกกำลังสองค่าความเร็ว: 5 2 = 25
      • คูณด้วย 0.5: 0.5 x 25 = 12.5
      • หารค่าพลังงานจลน์ด้วยผลลัพธ์ที่ได้: 100/12.5 = 8 kg
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 79,421 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา