ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แรงโน้มถ่วงเป็นแรงพื้นฐานอย่างหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ แง่มุมที่สำคัญที่สุดของแรงโน้มถ่วงก็คือมันมีอยู่ทุกหนแห่ง วัตถุทุกสิ่งล้วนมีแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดวัตถุอื่นเข้าหามัน [1] แรงโน้มถ่วงบนวัตถุใดๆ ขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุทั้งสองและระยะห่างระหว่างมัน [2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

คำนวณแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุสองชิ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นิยามสมการสำหรับแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดวัตถุ, F grav = (Gm 1 m 2 )/d 2 . [3] เพื่อที่จะคำนวณแรงโน้มถ่วงบนวัตถุได้อย่างถูกต้องนั้น สมการนี้จะต้องคำนึงถึงมวลของวัตถุทั้งสองและระยะห่างระหว่างวัตถุสองชิ้นนั้น ตัวแปรแต่ละตัวมีความหมายดังต่อไปนี้
    • F grav คือแรงที่เกิดจากการดึงดูด
    • G เป็นค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากลอยู่ที่ 6.673 x 10 -11 Nm 2 /kg 2 [4]
    • m 1 คือมวลของวัตถุชิ้นแรก
    • m 2 คือมวลของวัตถุชิ้นที่สอง
    • d คือระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางของวัตถุสองชิ้นนี้
    • บางครั้งเราจะเห็นตัว r แทนที่จะเป็นตัว d สัญลักษณ์ทั้งคู่ต่างเป็นตัวแปรแสดงระยะห่างระหว่างวัตถุสองชิ้น
  2. สำหรับสมการนี้ คุณจะต้องใช้หน่วยในระบบเมทริกเท่านั้น มวลของวัตถุจำเป็นต้องวัดเป็นหน่วยกิโลกรัม (kg) และระยะทางจำเป็นต้องวัดมีหน่วยเป็นเมตร (m) คุณจะต้องแปลงหน่วยทั้งหมดให้เป็นหน่วยเหล่านี้ก่อนจะทำการคำนวณต่อ
  3. สำหรับวัตถุที่มีขนาดเล็ก คุณสามารถชั่งบนตาชั่งเพื่อหามวลเป็นหน่วยกิโลกรัม (kg) ส่วนวัตถุขนาดใหญ่ คุณอาจต้องมองหาค่ามวลโดยประมาณในตารางหรือจากในอินเทอร์เน็ต ในโจทย์ฟิสิกส์นั้นมักจะบอกมวลของวัตถุมาให้
  4. หากคุณจะคำนวณแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุกับโลก คุณจำต้องหาว่าวัตถุชิ้นนั้นอยู่ห่างจากใจกลางโลกเป็นระยะทางเท่าไหร่ [5]
    • ระยะทางจากบนพื้นผิวโลกไปจนถึงใจกลางโลกนั้นมีค่าประมาณ 6.38 x 10 6 เมตร [6]
    • คุณสามารถหาตารางและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตที่จะบอกระยะห่างโดยประมาณจากใจกลางโลกไปถึงวัตถุที่อยู่ตามระดับความสูงที่แตกต่างกันบนพื้นผิวโลกได้ [7]
  5. พอทราบตัวแปรในสมการแล้ว คุณก็แทนค่าลงไปแล้วแก้โจทย์ได้ ให้แน่ใจว่าทุกตัวมีหน่วยในระบบเมทริกและอยู่ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง มวลควรเป็นกิโลกรัมและระยะทางเป็นเมตร แก้สมการตามลำดับการแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง
    • ตัวอย่าง: ให้หาแรงโน้มถ่วงบนชายที่มีน้ำหนัก 68 กก. ที่อยู่บนผิวโลก มวลของโลกคือ 5.98 x 10 24 กก. [8]
    • ให้แน่ใจว่าตัวแปรทั้งหมดมีหน่วยที่ถูกต้อง m 1 = 5.98 x 10 24 kg, m 2 = 68 kg, G = 6.673 x 10 -11 Nm 2 /kg 2 , และ d = 6.38 x 10 6 m
    • เขียนสมการ: F grav = (Gm 1 m 2 )/d 2 = [(6.67 x 10 -11 ) x 68 x (5.98 x 10 24 )]/(6.38 x 10 6 ) 2
    • คูณมวลของวัตถุทั้งสองเข้าด้วยกัน 68 x (5.98 x 10 24 ) = 4.06 x 10 26
    • คูณผลลัพธ์ของ m 1 กับ m 2 ด้วยค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล G (4.06 x 10 26 ) x (6.67 x 10 -11 ) = 2.708 x 10 16
    • ยกกำลังสองระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง (6.38 x 10 6 ) 2 = 4.07 x 10 13
    • หารผลลัพธ์ที่ได้ของ G x m 1 x m 2 ด้วยระยะห่างยกกำลังสองเพื่อหาแรงโน้มถ่วงเป็นหน่วยนิวตัน (N) 2.708 x 10 16 /4.07 x 10 13 = 665 N
    • แรงโน้มถ่วงเท่ากับ 665 N
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

คำนวณแรงโน้มถ่วงบนโลก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน, F = ma . กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตันระบุไว้ว่าวัตถุใดๆ จะมีความเร่งเมื่อมีแรงลัพธ์หรือแรงที่ไม่สมดุลมากระทำ [9] พูดอีกอย่างก็คือ หากมีแรงมากระทำต่อวัตถุที่สูงกว่าแรงที่กระทำในทิศทางตรงข้าม วัตถุจะเกิดความเร่งไปในทิศทางของแรงที่มากกว่า
    • กฎข้อนี้สามารถสรุปด้วยสมการ F = ma , โดยที่ F คือแรง, m คือมวลของวัตถุ, และ a คือความเร่ง
    • โดยการใช้กฎข้อนี้ เราสามารถคำนวณแรงโน้มถ่วงของวัตถุใดๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ความเร่งที่ทราบเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วง
  2. บนโลกนั้นแรงโน้มถ่วงทำให้วัตถุมีความเร่งในอัตรา 9.8 m/s 2 บนพื้นผิวโลกนั้น เราสามารถใช้สมการที่ทอนให้ง่ายลงได้เป็น F grav = mg เพื่อคำนวณแรงโน้มถ่วง
    • หากคุณต้องการค่าที่แม่นยำมากกว่านั้น คุณยังคงใช้สมการด้านบน, F grav = (GM earth m)/d 2 เพื่อหาแรงโน้มถ่วงก็ได้
  3. สำหรับสมการนี้ คุณจะต้องใช้หน่วยเมทริกเท่านั้น มวลของวัตถุจะต้องมีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) และความเร่งจะต้องมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง(m/s 2 ) คุณจะต้องแปลงมันให้เป็นหน่วยเหล่านี้ก่อนถึงจะคำนวณต่อได้
  4. สำหรับวัตถุที่มีขนาดเล็ก คุณสามารถชั่งบนตาชั่งเพื่อหามวลเป็นหน่วยกิโลกรัม (kg) ส่วนวัตถุขนาดใหญ่ คุณอาจต้องมองหาค่ามวลโดยประมาณในตารางหรือจากในอินเทอร์เน็ต ในโจทย์ฟิสิกส์นั้นมักจะบอกมวลของวัตถุมาให้
  5. พอคุณทราบค่าของตัวแปรทั้งหมดในสมการแล้ว ก็สามารถแทนค่าลงไปแล้วแก้สมการได้เลย ให้แน่ใจว่าหน่วยทุกตัวเป็นระบบเมทริกและมีอัตราส่วนที่ถูกต้อง มวลควรจะเป็นกิโลกรัมและระยะทางเป็นเมตร แก้สมการโดยใช้ลำดับทางคณิตศาสตร์
    • สมมติว่าเราใช้สมการเดิมจากด้านบนและดูว่าค่าประมาณการที่ได้จะใกล้เคียงขนาดไหน มาหาแรงโน้มถ่วงบนคนที่หนัก 68 กก. บนพื้นผิวโลก
    • ให้แน่ใจว่าตัวแปรทั้งหมดมีหน่วยถูกต้อง: m = 68 kg, g = 9.8 m/s 2
    • เขียนสมการ F grav = mg = 68*9.8 = 666 N
    • เมื่อใช้สมการ F = mg แรงโน้มถ่วงเท่ากับ 666 N, ในขณะที่เมื่อใช้สมการที่แม่นยำกว่าจะได้แรงโน้มถ่วงเท่ากับ 665 N ก็อย่างที่คุณเห็น ค่าที่ได้ทั้งสองแทบจะไม่มีความแตกต่างกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สูตรทั้งสองนี้ควรให้ค่าเท่ากัน แต่สูตรที่สั้นกว่านั้นใช้ง่ายกว่าเวลาพูดถึงวัตถุที่อยู่บนพื้นผิวโลก
  • ใช้สูตรแรกหากคุณไม่ทราบความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงบนโลกหรือคุณต้องการหาแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุที่มีขนาดใหญ่โตมากทั้งสองชิ้น เช่น ดวงจันทร์กับโลก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 68,452 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา