ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในระดับอะตอมอันดับพันธะคือจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่เชื่อมระหว่างอะตอมสองอะตอม ตัวอย่างเช่น ไนโตรเจนแบบอะตอมคู่ (N≡N) มีอันดับพันธะคือ 3 เพราะมีพันธะเคมีแบบพันธะ 3 เชื่อมอะตอมไนโตรเจนสองอะตอม ในทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลยังนิยามอันดับพันธะว่าเป็นครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างจำนวนอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะกับจำนวนอิเล็กตรอนที่ต้านการสร้างพันธะอีกด้วย กล่าวให้ชัดเจนคือเราต้องใช้สูตร อันดับพันธะ = [(จำนวนอิเล็กตรอนในโมเลกุลที่สร้างพันธะ) - (จำนวนอิเล็กตรอนในโมเลกุลที่ต้านการสร้างพันธะ)]/2 เพื่อคำนวณอันดับพันธะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาอันดับพันธะโดยใช้สูตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลนิยามอันดับพันธะว่าเป็นครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างจำนวนอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะกับจำนวนอิเล็กตรอนที่ต้านการสร้างพันธะ ฉะนั้น อันดับพันธะ = [(จำนวนอิเล็กตรอนในโมเลกุลที่สร้างพันธะ) - (จำนวนอิเล็กตรอนในโมเลกุลที่ต้านการสร้างพันธะ)]/2
  2. รู้ว่ายิ่งอันดับพันธะมีค่าสูง โมเลกุลก็จะยิ่งเสถียรมาก. อะตอมแต่ละตัวที่เข้าสู่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบสร้างพันธะจะช่วยทำให้โมเลกุลใหม่เสถียร อะตอมแต่ละตัวที่เข้าสู่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบต้านการสร้างพันธะจะทำให้โมเลกุลใหม่ไม่เสถียร อันดับพันธะมีผลต่อความเสถียรของโมเลกุล
    • ถ้าอันดับพันธะเป็นศูนย์ โมเลกุลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อันดับพันธะที่สูงบ่งบอกว่าโมเลกุลใหม่นั้นมีความเสถียรมาก
  3. อะตอมไฮโดรเจนมีอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน s และระดับพลังงาน s สามารถมีอิเล็กตรอนได้สองตัว เมื่ออะตอมไฮโดรเจนสองอะตอมเชื่อมกัน แต่ละอะตอมต่างทำให้ระดับพลังงาน s ของกันและกันสมบูรณ์ ออร์บิทัลแบบสร้างพันธะสองออร์บิทัลเกิดขึ้น ไม่มีอิเล็กตรอนถูกดันย้ายไปอยู่ออร์บิทัลถัดไปที่สูงขึ้นซึ่งก็คือ ระดับพลังงาน p ฉะนั้นไม่มีออร์บิทัลแบบต้านการสร้างพันธะเกิดขึ้น เมื่อคำนวณอันดับพันธะ ก็จะได้เป็น คำตอบที่ได้เท่ากับ 1 อะตอมสองอะตอมนี้เชื่อมกันทำให้เกิดโมเลกุล H 2 หรือก๊าซไฮโดรเจนที่เรารู้จักกันดี
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วาดภาพเพื่อหาอันดับพันธะพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พันธะโคเวเลนต์แบบเดี่ยวมีอันดับพันธะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์แบบคู่มีอันดับพันธะสอง พันธะโคเวเลนต์แบบสามมีอันดับพันธะสาม เป็นต้น [1] ในรูปแบบพื้นฐานโดยส่วนใหญ่อันดับพันธะคือจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่เชื่อมกัน ยึดทั้งสองอะตอมไว้ด้วยกัน
    • ตรวจดูตารางธาตุเพื่อจะได้รู้ว่าพันธะของอะตอมที่เรากำลังจะคำนวณเป็นพันธะแบบใด
  2. ในโมเลกุลใดๆ ที่ให้มาอะตอมที่เป็นองค์ประกอบเชื่อมกันด้วยคู่อิเล็กตรอนที่เชื่อมกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้โคจรรอบนิวเคลียสของอะตอมใน "ออร์บิทัล" แต่ละออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนได้แค่สองตัว ถ้าออร์บิทัลยังไม่ "เต็ม" แสดงว่ามีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวหรือไม่มีอิเล็กตรอนเลย อิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่สามารถเชื่อมกับอิเล็กตรอนอิสระที่ไม่มีคู่แบบเดียวกันของอะตอมอีกอะตอมได้
    • อะตอมอาจมีเพียงออร์บิทัลเดียวหรืออาจมีออร์บิทัลมากถึงสี่ออร์บิทัล จำนวนออร์บิทัลขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของอะตอมนั้น
    • เมื่อออร์บิทัลเชลล์ที่อยู่ใกล้ที่สุดเต็ม อิเล็กตรอนตัวใหม่จะเริ่มสะสมในออร์บิทัลเชลล์ถัดไปซึ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสและสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าเชลล์นั้นจะเต็มเช่นกัน กลุ่มอิเล็กตรอนจะสะสมในออร์บิทัลเชลล์ถัดไปเรื่อยๆ เพราะอะตอมที่มีขนาดใหญ่มีอิเล็กตรอนมากกว่าอะตอมที่มีขนาดเล็ก [2]
  3. การวาดโครงสร้างแบบจุดจะทำให้เราเห็นภาพอะตอมในโมเลกุลหนึ่งเชื่อมกับอีกอะตอมหนึ่งได้อย่างชัดเจนวาดรูปตัวอักษรเป็นตัวแทนของอะตอม (ตัวอย่างเช่น H แทนไฮโดรเจน Cl แทนคลอรีน) วาดเส้นแทนพันธะ (ตัวอย่างเช่น – คือพันธะเดี่ยว = คือพันธะคู่ และ ≡ คือพันธะสาม) ทำเครื่องหมายจุด (ตัวอย่างเช่น :C:) เพื่อแทนอิเล็กตรอนที่ไม่เชื่อมกันและคู่อิเล็กตรอน พอเราได้วาดโครงสร้างแบบจุดของลิวอิสเสร็จแล้ว นับจำนวนพันธะ เราก็จะได้อันดับพันธะออกมา
    • ไนโตรเจนแบบอะตอมคู่มีโครงสร้างแบบจุดของลิวอิสเป็น N≡N อะตอมไนโตรเจนแต่ละอะตอมมีคู่อิเล็กตรอนหนึ่งคู่และอิเล็กตรอนที่ไม่เชื่อมกันสามตัว เมื่ออะตอมไนโตรเจนสองอะตอมมาพบกัน อิเล็กตรอนที่ไม่เชื่อมกันหกตัวก็จะผสานกันเป็นพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะสามที่แข็งแรง [3]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

คำนวณอันดับพันธะตามทฤษฎีออร์บิทัล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะสังเกตเห็นว่าวงแต่ละวงอยู่ห่างจากนิวเคลียสของอะตอมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามคุณสมบัติของเอนโทรปี พลังงานจะแสวงหาสถานะของอันดับที่ต่ำที่สุดเสมอ อิเล็กตรอนเองก็จะแสวงหาวงโคจรที่ต่ำที่สุดที่มีอยู่เช่นกัน
  2. รู้ความแตกต่างระหว่างออร์บิทัลแบบสร้างพันธะกับออร์บิทัลแบบต้านการสร้างพันธะ. เมื่ออะตอมสองตัวเชื่อมกันเพื่อสร้างโมเลกุล อะตอมทั้งสองพยายามใช้อิเล็กตรอนของกันและกันเพื่อเติมสถานะที่ต่ำที่สุดในวงโคจรอิเล็กตรอนให้เต็ม อิเล็กตรอนที่สร้างพันธะโดยหลักแล้วคืออิเล็กตรอนที่เชื่อมติดกันและตกลงสู่สถานะที่ต่ำที่สุด อิเล็กตรอนที่ต้านการสร้างพันธะเป็นอิเล็กตรอน "อิสระ" หรืออิเล็กตรอนที่ไม่เชื่อมกัน ถูกดันไปสู่สถานะพลังงานที่สูงกว่า [4]
    • อิเล็กตรอนที่สร้างพันธะ: เราสามารถรู้จำนวนอิเล็กตรอนในสถานะพลังงานสูงกว่าที่เติมลงไปในวงที่มีสถานะพลังงานต่ำกว่าของอะตอมเดียวกันว่ามีกี่ตัวโดยดูจากความหนาแน่นของวงโคจรของแต่ละอะตอม "อิเล็กตรอนที่เติมเข้าไป"เหล่านี้เรียกว่าอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะ
    • อิเล็กตรอนที่ต้านการสร้างพันธะ: เมื่ออะตอมสองตัวพยายามสร้างโมเลกุลด้วยการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน อิเล็กตรอนบางตัวจะถูกขับไปสู่วงโคจรที่มีสถานะพลังงานสูงกว่า เพราะวงโคจรที่มีสถานะพลังงานต่ำกว่าเต็ม อิเล็กตรอนเหล่านี้เรียกว่าอิเล็กตรอนที่ต้านการสร้างพันธะ [5]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,150 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา