ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณเป็นคนรักการฟังเพลง แล้วบังเอิญไปได้ยินเพลงที่เกิดชอบขึ้นมามากๆ แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออกเลยว่า คุณจะรู้จักเพลงนั้นได้อย่างไร ใจเย็นค่ะ ทุกวันนี้ทั้งในโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ของคุณได้มีซอฟท์แวร์ที่จะสามารถทำการวิเคราะห์ทำนองของเพลงนั้นๆและแสดงผลออกมาเป็นชื่อเพลงที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดให้คุณได้เลือก นอกจากนี้คุณยังสามารถหาเพลงจากในเว็บไซต์ ซึ่งจะแสดงผลรายการเพลงที่เป็นไปได้ มาให้คุณเลือกอีกเช่นกัน ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เรามีขั้นตอนง่ายๆที่จะช่วยให้คุณรู้จักและมีความสุขกับการฟังเพลงที่คุณชอบมากขึ้นอีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การค้นหาเพลงโดยโทรศัพท์มือถือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นแอพพลิเคชั่นยอดฮิตสำหรับการค้นหาเพลงจากฐานข้อมูลเพลง เพียงแค่คุณโหลดแอพ Shazam ติดไว้บนโทรศัพท์ พอได้ยินเพลงที่อยากรู้จัก คุณสามารถเปิดแอพขึ้นมา แตะปุ่มเพื่อให้แอพเริ่มทำการค้นหา ให้คุณถือโทรศัพท์ให้หันไปทางที่มาของเสียง และเพียงแปปเดียวผลก็จะขึ้นมาให้คุณก็จะได้รู้จักเพลงที่คุณอยากจะรู้จักแล้ว [1]
    • แอพพลิเคชั่น Shazam สามารถใช้ได้บน ไอโฟน แบล็คเบอรี่ แอนดรอยด์ และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออื่นๆ อีกทั้งยังสามารถใช้ได้บนไอแพด และไอพอดทัชด้วยก็ได้เช่นกัน ส่วนสำหรับ MusicID เป็นแอพพลิเคชั่นที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการโหลด สามารถใช้ได้บนไอโฟน และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออื่นๆ
    • แอพพลิเคชั่นเหล่านี้อาจจะใช้ไม่เหมาะกับการแสดงสดสักเท่าไหร่ อย่างเช่นหากคุณอยากรู้จักเพลงที่มีวงกำลังเล่นโคฟเวอร์อยู่ เสียงของเพลงอาจจะไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นคุณอาจจะต้องใช้วิธีอื่นในการหาข้อมูลของเพลงนั้น
  2. ถึงแม้จะเป็นท่อนสั้นๆก็เพียงพอ หลังจากนั้นนำมาอัพโหลดบนโปรแกรม AudioTag บนคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อทำการค้นหาจากฐานข้อมูลเพลงของโปรแกรม
    • อย่างน้อยที่สุด คุณก็จะมีเสียงอัดของเพลงนั้นเอาไว้ไปถามเพื่อนๆหรือเหล่าคนรักเสียงเพลง เผื่อพวกเขาอาจจะรู้จักเพลงนั้นก็เป็นได้
  3. นอกจากนี้ คุณยังสามารถฮัมทำนองเพลงใส่แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่โหลดได้ฟรีอย่าง SoundHound ก็ยังได้. แอพจะทำการวิเคราะห์ทำนอง และทำการค้นหารายการเพลงที่มีความใกล้เคียงกับทำนองมากที่สุดออกมา ส่วนถ้าเป็นบนคอมพิวเตอร์ละก็ คุณสามารถใช้แอพพลิเคชั่น Midomi ซึ่งจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ SoundHound เลยค่ะ
    • ทั้งสองแอพนี้ สามารถใช้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดกับเพลงร่วมสมัย ถ้าหากคุณต้องการจะค้นหาเพลงยุคสมัยก่อน สองแอพนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นๆที่คุณสามารถใช้เพื่อจะรู้จักเพลงนั้นได้นะคะ
    • NameMyTune และ WatZatSong ก็เป็นอีกสองทางเลือกที่ผู้คนมากมายได้เลือกใช้ บนสองเว็บไซต์นี้คุณสามารถอัพโหลดคลิปเพลง (หรือคลิปที่คุณร้องและอธิบายเพลง) แล้วจะมีคนมาตอบคุณพร้อมรายละเอียดของเพลงที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดกับเพลงที่คุณต้องการค้นหา
  4. ถ้าคุณมีความสามารถเล็กน้อยในการเล่นเครื่องเล่นคีย์บอร์ด และฟังทำนองได้เป๊ะในระดับนึง คุณสามารถเล่นทำนองลงบนเครื่องเล่นคีย์บอร์ดเสมือน แล้วใส่ทำนองไปในเว็บไซต์ Musipedia หรือ MelodyCatcher เพื่อทำการค้นหาเพลงตามทำนองที่ใส่ไป [2]
    • เว็บไซต์สองอันนี้จะใช้ได้ดีกับเพลงคลาสสิกที่ไม่มีคำร้อง และเพลงนอกกระแสอื่นๆ เพราะทั้งสองเว็บไซต์นี้จะใช้ฐานข้อมูลสำหรับการค้นหาที่มีความแตกต่างนิดหน่อยจากแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์อื่นๆที่ใช้ในการค้นหาเพลง
    โฆษณา


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การหาค้นหาเพลงอย่างง่ายๆที่ได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พิมพ์ค้นหาเนื้อเพลงสักท่อนหนึ่งที่คุณจำได้ ลงไปในกูเกิ้ลเซิร์ช โดยพิมพ์เนื้อเพลงในระหว่างเครื่องหมายคำพูด เพื่อจำกัดให้กูเกิ้ลทำการค้นหาแบบเป็นประโยค เพราะฉะนั้นถึงแม้คุณจะจำเนื้อเพลงได้เพียงแค่ท่อนสั้นๆ ตัวอย่างเช่น "she said you would be mine" คุณก็จะยังสามารถทำการค้นหาเพลงนั้นได้อยู่ดี
  2. เพื่อทำให้การค้นหานั้นแคบลง. อย่างเช่นถ้าคุณต้องการรู้ว่า เพลงที่เล่นตอนจบของซีรีส์เรื่องหนึ่งนั้น คือเพลงอะไร คุณสามารถทำการค้นหาว่า "เพลงที่เล่นตอนจบของซีรีส์ โซปราโน ตอนที่ 6 ของ ซีซั่น 5" หรือไม่ว่าจะเป็น "เพลงในโฆษณามาสด้า" ก็ได้ด้วยเช่นกัน
    • I ถ้าคุณคิดว่าคุณใกล้จะเจอเพลงที่คุณต้องการจะรู้จักแล้ว ให้คุณลองใช้ iTunes เพื่อทำการค้นหาเพลงประกอบซีรีส์ หรือภาพยนต์จากใน iTunes. พอค้นหาเจอ คุณสามารถเล่นตัวอย่างของเพลงจากในอัลบั้มโดยการเลื่อนเมาส์ไปบนตัวเลขลำดับเพลง และคลิกบนเครื่องหมายเล่นสีฟ้าที่ปรากฏขึ้น
    • และเมื่อคุณเจาะจงการค้นหาได้มากในระดับนึงแล้ว คุณสามารถเข้าไปใน YouTube เพื่อทำการค้นหาเพิ่มเติมได้อีกด้วย.
  3. และมากไปกว่านั้นคุณยังสามารถค้นหาเพลงโดยการใส่รายละเอียดเกี่ยวกับศิลปิน. อย่างเช่น เป็นศิลปินชาย ศิลปินหญิง ศิลปินกลุ่ม หรือรายละเอียดอื่นๆที่คุณสามารถจำได้ ลองนึกดูค่ะ ว่าเพลงนี้ฟังคุ้นๆหูหรือเปล่า เสียงของศิลปินคนนี้มีความเป็นเอกลัษณ์อะไรไหม ที่บางครั้งคุณอาจจะเคยได้ยินที่ไหน หรืออาจจะเคยชอบอยู่แล้วก็เป็นได้ ถ้าหากคิดว่าเป็นเสียงของศิลปินหรือวงดนตรีที่คุณเคยได้ยินแล้วละก็ ลองเข้าไปดูในเว็บไซต์หรือแฟนเพจของศิลปินนั้นๆ เพื่อที่จะดูว่าช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ ศิลปินคนนั้นได้ปล่อยผลงานเพลงอะไรใหม่ๆออกมาหรือเปล่า แล้วก็จะได้ลองฟังดูค่ะ
  4. นอกจากนี้คุณก็สามารถที่จะรู้จักเพลงได้ผ่านทางดีเจรายการวิทยุได้อีกด้วย. ถ้าคุณกำลังได้ยินเพลงที่คุณอยากรู้จักออกวิทยุอยู่ คุณควรจะฟังวิทยุต่อไปอีกนิดนึง เผื่อดีเจจะพูดชื่อเพลงนั้นๆออกมา หรือไม่เช่นนั้นคุณก็สามารถที่จะโทรไปที่สถานีวิทยุ หรือ เข้าไปในเว็บไซต์ของสถานี เพื่อที่จะหารายละเอียดเกี่ยวกับเพลงที่เพิ่งได้ออกอากาศไป
    โฆษณา

คำแนะนำ

  • ควรจะพิมพ์ค้นหาท่อนเนื้อเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงนั้นๆ และหลีกเลี่ยงการใช้คำทั่วๆไป เช่น "the", "and", "or", "but" ฯลฯ


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,068 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา