ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

พิธีกร หรือที่รู้จักกันว่าเอ็มซี (Master of ceremony; MC) คือผู้ดำเนินกิจกรรม การแสดง หรืองานสังสรรค์บนเวที โดยปกติแล้วพิธีกรจะเป็นผู้แนะนำวิทยากร ประกาศข่าวสาร หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าการเป็นพิธีกรอาจจะเป็นงานที่ยุ่งยาก แต่ก็มีวิธีที่ช่วยให้คุณรับผิดชอบกับการเป็นพิธีกรได้ และเสริมสร้างความมั่นใจและเสน่ห์ในตัวคุณเพื่อให้ทุกคนสนุกสนานไปกับบรรยากาศในงาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวก่อนเริ่มงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้ถึงงานที่คุณจะต้องเป็นพิธีกรเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน พิธีสำเร็จการศึกษา พิธีฉลองเด็กอายุ 13 ปี (Bar mitzvah) หรืองานเลี้ยงของเหล่าดาราก็ตาม โดยประเภทของงานจะกำหนดลักษณะบรรยากาศของงานที่ผู้เป็นพิธีกรอย่างคุณต้องสร้างขึ้นมา การรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อะไรที่ควรจะพูดถึง และอะไรที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นพิธีกรที่ประสบความสำเร็จ
    • ลองพบกับผู้จัดงานและศึกษาโครงสร้างแผนการดำเนินงานและรายละเอียดกิจกรรมโดยละเอียด [1]
  2. หน้าที่รับผิดชอบของพิธีกรคือสร้างและรักษาบรรยากาศตลอดทั้งงาน ซึ่งบรรยากาศที่ต้องการอาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่จัดขึ้นมา แม้ว่างานส่วนใหญ่จะจ้างพิธีรมาเพื่อสร้างความสนุกสนานและทำให้งานคึกคัก แต่ในฐานะพิธีกร หน้าที่รับผิดชอบหลักของคุณมีดังนี้ [2]
    • คอยดูแลให้งานดำเนินได้อย่างราบรื่นและเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกๆ ส่วน
    • คอยดึงดูดความสนใจของผู้ร่วมงานและช่วยให้พวกเขาสนุกไปกับงาน
    • ช่วยให้ผู้ร่วมงานรู้สึกว่ามีตนส่วนร่วมในงานและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาระหว่างดำเนินงาน
    • ช่วยให้วิทยากรรู้สึกมีคุณค่า
    • รักษาเวลาของงาน
    • คอยช่วยให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้รับข้อมูลใหม่ๆ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในงานบ้าง
  3. การเป็นพิธีกรหมายถึงคุณจะต้องมีอารมณ์ขัน คุณต้องสามารถทำงานร่วมกับคนหมู่มาก และคุณเป็นนักพูดในที่ประชุมชนที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว [3] ซึ่งหมายถึงคุณต้องเตรียมตัวที่จะแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า ดังนั้น คุณจะต้องรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะต้องสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมงานในระหว่างที่รอวิทยากรคนถัดไปเป็นเวลานานหรือรอให้ไมโครโฟนตัวใหม่มาแทนที่
    • จำไว้ว่าให้ยิ้มอยู่เสมอ การยิ้มช่วยนำพาความสนุกสนานและทำให้บรรยากาศของงานดูผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังทำให้คุณดูเป็นพิธีกรที่มีความกระตือรือร้น
    • จำไว้ว่าคุณเป็นเพียงพิธีกร ไม่ใช่ดารา คุณควรจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่าพวกเขาโดดเด่นในงาน
  4. ติดต่อกับวิทยากรหลักเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องลึกของพวกเขา แล้วใช้ข้อมูลนั้นมาเพื่อเตรียมคำแนะนำตัวให้กับวิทยากร การศึกษาข้อมูลเบื้องลึกจะช่วยให้คุณสร้างคำแนะนำตัวให้ดูเป็นบุคคลและดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
    • ลองดูว่ามีผู้เข้าร่วมงานคนพิเศษที่ควรจะพูดถึงระหว่างการดำเนินงานหรือไม่ [4]
    • ตรวจสอบชื่อและตำแหน่งของทุกคนให้ดี เพื่อให้รู้วิธีอ่านชื่อบนเวทีเมื่อถึงเวลาประกาศ [5]
  5. สร้างหรือตรวจสอบวาระของงาน และวางแผนตารางงานแบบนาทีต่อนาที ลองพิจารณาแบ่งเวลาในการขึ้นและลงเวที กล่าวแนะนำแขก และคำปราศรัยหรือคำขอบคุณจากแขก [6]
    • ลองทำบทพูดถึงสิ่งที่คุณต้องการจะพูดโดยคร่าวๆ บทพูดจะเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้ ซึ่งอาจจะมีแผ่นข้อความสั้นๆ เพื่อให้รู้ถึงหน้าที่ของคุณหรือมีโครงร่างของงานทั้งหมดเพื่อให้คุณตามข้อมูลได้ทัน . [7]
    • การบอกหัวหน้าผู้จัดงานว่าคุณต้องการพูดคุยกับผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียวเท่านั้นเป็นอีกวิธีที่ช่วยคุณได้ ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมา วิธีเดียวที่คุณจะต้องทำคือปล่อยให้มันเกิดขึ้นถ้าผู้รับผิดชอบการจัดงานยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะช่วยลดการติดขัดหรือการสื่อสารที่ผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานได้ และช่วยให้งานนั้นดำเนินไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ระหว่างการดำเนินงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเป็นพิธีกรมีแรงกดดันค่อนข้างมาก เพราะความสำเร็จของงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับว่าพิธีกรสามารถจัดการงานได้ดีมากแค่ไหน จำไว้ว่าระหว่างที่งานกำลังดำเนินอยู่อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องใจเย็นและรักษาความเป็นพิธีกรของตัวเองให้ได้ โดยการทำใจให้เย็นลงนั้น ให้ลองทำตามนี้
    • ถ้าทำพลาดก็ให้ก้าวต่อไป การหยุดมีแต่จะทำให้ความผิดพลาดของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น พยายามแก้ปัญหาและดำเนินต่อจากสิ่งที่ทำพลาดเอาไว้ ถ้าคุณทำได้ ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ก็จะลืมข้อผิดพลาดไป
    • หาจุดที่จะมองในขณะที่พูด การมองไปที่ผู้ร่วมงานคนใดคนหนึ่งอาจจะทำให้คุณประหม่าระหว่างการพูด ให้ลองมองเหนือหัวของผู้ร่วมงานเพื่อลดความใกล้ชิดจากการสบตา
    • พูดให้ช้าลง ไม่มีอะไรบ่งบอกว่าคุณกำลังประหม่าได้มากไปกว่าการพูดเร็วเกินไป การพูดเร็วเกินไปจะทำให้คุณออกเสียงผิดและตะกุกตะกัก ซึ่งจะทำให้คนอื่นเข้าใจได้ว่าคุณประหม่า ให้ลองผ่อนความเร็วลงและหยุดระหว่างประโยคเล็กน้อย
  2. แนะนำตัวเองและกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน มองหากลุ่มผู้ร่วมงานที่เป็นคนพิเศษ และแล้วกล่าวต้อนรับพวกเขาโดยเฉพาะ การกล่าวต้อนรับไม่จำเป็นต้องยืดยาว แต่ต้องมีความน่าเชื่อถือ
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดประมาณว่า “ขอกล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่นให้กับแฟนคลับแพ็คเกอร์ที่เป็นเจ้าของฟาร์มโคนม ที่สละเวลาเดินทางมาจากวิสคอนซินและขับรถผ่านเขตอาศัยของหมีเพื่อมาถึงที่นี่” [9]
  3. งานหลักของพิธีกรคือการกล่าวแนะนำวิทยากรและบุคคลสำคัญที่จะขึ้นมาบนเวที ยิ่งแขกคนนั้นสำคัญมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องกล่าวแนะนำโดยละเอียดและใช้คำสวยงามให้สมเกียรติมากขึ้นเท่านั้น [10] เมื่อคุณกล่าวแนะนำวิทยากรเสร็จแล้ว ก็ช่วยกล่าวนำผู้ร่วมงานปรบมือให้กับวิทยากรจนกว่าพวกเขาจะเดินไปถึงไมโครโฟน เมื่อวิทยากรพูดจบ ก็นำผู้ร่วมงานปรบมือให้อีกครั้งหนึ่งจนกว่าวิทยากรจะเดินลงเวทีแล้วนั่งที่ของพวกเขา
    • เนื่องจากความรับผิดชอบหลักของพิธีกรคือการดำเนินงานให้ตรงเวลา ดังนั้น อย่าเกรงใจวิทยากรถ้าจะเตือนว่าพวกเขาพูดเกินเวลาที่กำหนด คุณอาจจะส่งข้อความหรือสัญญาณ เช่น วนนิ้วมือชี้ขึ้นด้านบนเพื่อบอกว่า “รีบพูดให้จบ”
    • ก่อนที่คุณจะข้ามไปยังขั้นตอนต่อไปของงาน ให้กล่าวขอบคุณวิทยากร และพูดสิ่งที่พวกเขากล่าวถึงบนเวที การกล่าวถึงสิ่งที่พวกเขาพูดเป็นสิ่งที่สนุก น่าสนใจ และน่าติดตาม [11] ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นพิธีกรที่น่าสนใจ และช่วยยืนยันคุณค่าของสิ่งที่วิทยากรพูดอีกด้วย
  4. การเชื่อมต่องานส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งอาจจะทำได้ง่ายด้วยการใช้อารมณ์ขันเล็กน้อยในการเชื่อมทั้งสองส่วน โดยก่อนที่งานจะเริ่มนั้น [12] นอกจากนี้ ให้แสดงความเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย พยายามและค้นหาสิ่งที่น่าสนุกและมีความหมายของวิทยากรหรือการแสดงที่ผ่านมา และเชื่อมต่อจากจุดนั้นไปยังวิทยากรหรือการแสดงต่อจากนี้
    • ถ้าคุณพบจุดที่ติดขัด ให้ลองถามคำถามกับผู้ร่วมงาน คำถามควรจะถามให้เน้นตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ในการถามคำถามนั้น คุณสามารถทำให้ผู้ร่วมงานมีส่วนรวมและสนใจกับงานในขณะที่ควบคุงานในฐานะพิธีกรได้
    • ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการที่พิธีกรไม่รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนเวที และอาจจะทำให้คนอื่นคิดว่าพิธีกรไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    • ถ้างานนั้นมีความยาวประมาณ 2-3 ชั่วโมง การสรุปการแสดงหรือการนำเสนอที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาพักก็ช่วยได้มาก และคุณยังควรที่บอกผู้ร่วมงานว่าจะมีอะไรต่อไป [13]
  5. ดังที่กล่าวไปข้างต้น พิธีกรที่ดีจะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ งานสดนั้นมักมีการสะดุดเล็กน้อย เช่น เด็กเสิร์ฟอาจจะทำน้ำหก เพลงอาจจะเปิดผิด หรือตารงางงานอาจจะล่าช้ากว่ากำหนด พยายามควบคุมงานด้วยการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานให้ราบรื่นแม้จะมีข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่มาขัดจังหวะ เพื่อรักษาบรรยากาศของงาน . [14]
    • ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือมีใครที่มีพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ คนเป็นพิธีกรต้องมองโลกในแง่ดีเสมอ
    • จำไว้ว่าคุณไม่ได้มีหน้าที่ดุด่าว่ากล่าวคนอื่น หน้าที่ของคุณคือทำทุกอย่างให้ราบรื่น แม้ว่า จะมีอะไรผิดพลาดก็ตาม พิธีกรที่มีทัศนคติไม่ดีเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
  6. การกล่าวปิดงานควรจะมีความน่าตื่นเต้นและจริงใจเหมือนตอนที่เปิดงาน การกล่าวปิดงานโดยทั่วไปนั้น พิธีกรจะกล่าวของคุณผู้ร่วมงาน วิทยากร และผู้ดำเนินงาน การกล่าวขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลืองานนี้เป็นมารยาทที่ดี นอกจากนี้ การกล่าวสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในงานและสิ่งที่เราได้เรียนรู้โดยขึ้นอยู่กับประเภทของงานจะช่วยให้ผู้ร่วมงานนำสิ่งที่พูดกลับไปใช้ได้ [15]
    • การกล่าวปิดงานอาจจะเป็นการกล่าวเชิญชวนให้เข้าร่วมงานอีกครั้งในภายหลัง บริจาคเงิน และเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าอะไรก็ตาม การพูดแบบนี้จะช่วยให้ผู้ร่วมงานเข้าร่วมได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มั่นใจในตัวเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับคนหมู่มากเข้าไว้
  • ยิ้ม ทำตัวให้ดูเหมือนว่าคุณมีความสุขที่ได้มาร่วมงานนี้
  • เตรียมตัวให้ดี แต่อย่าทำเหมือนกับคุณมายืนอ่านบทพูด
  • ถ้าตารางงานล่าช้ากว่ากำหนด ให้พูดถึงข้อมูล เล่นมุกตลก เล่าเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือพูดคุยด้วยหัวข้ออื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเงียบในงาน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 98,285 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา