ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปัญหาการทำงานของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา บางปัญหาก็เล็กน้อย แก้ไขได้ง่าย แต่ก็ต้องเช็คให้ชัวร์ซะก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการค้นหาและแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยของคอมพิวเตอร์ Windows ให้คุณเอง

  1. เช็คสายและชิ้นส่วนต่างๆ ว่าเชื่อมต่อแน่นหนาดี. ถ้าเพิ่งอัพเกรดคอมไปไม่นาน ยิ่งต้องเช็คให้ดี ลองเปิดเคสคอมแล้วสำรวจดูว่าสายไฟ แท่ง RAM การ์ดจอ การ์ดเสียง เน็ตเวิร์กการ์ด และชิ้นส่วนต่างๆ ติดอยู่กับเมนบอร์ดแน่นหนาดี
  2. POST ย่อมาจาก "Power On Self Test" เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม startup ของคอม ใช้เช็คปัญหาคีย์บอร์ด RAM (random access memory) ดิสก์ไดรฟ์ และ hardware อื่นๆ ว่าทำงานตามปกติ ถ้า POST เจอ error ใน hardware ไหน จะขึ้นข้อความ error ขึ้นมาที่หน้าจอ หรือมีเสียงตี๊ดสั้นและยาวเป็นชุด
    • ถ้าข้อความ error โผล่มาตอนบูทเครื่อง ให้ลองพิมพ์ข้อความตามที่เห็นเป๊ะๆ ใน Google เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ error นั้น จะใช้มือถือหรือคอมอีกเครื่องก็ได้ ถ้ามีเสียงตี๊ดเป็นชุดตอนคอมบูทเครื่อง ให้จำรูปแบบไว้ แล้วเข้าเว็บ https://www.computerhope.com/beep.htm ไปเช็คว่าเสียงนั้นบอก error อะไร [1]
  3. คอมจะบูทเครื่องเข้าระบบปฏิบัติการนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ hardware ที่คอมใช้ ถ้าสังเกตว่าระบบปฏิบัติการใช้เวลาโหลดนานกว่าที่ควร แสดงว่าฮาร์ดไดรฟ์มีปัญหาสักอย่าง ทำให้คอมดึงข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์ไม่ได้หรือได้ช้า
  4. ถ้าคอมบูทเครื่องได้ตามปกติ แต่มีปัญหาเรื่องภาพ (graphics) เป็นไปได้ว่าไดรฟ์เวอร์หรือ hardware ล่ม การ์ดจอมีปัญหา ถ้าสงสัยว่าเป็นที่การ์ดจอ ให้ลอง อัพเดทไดรฟ์เวอร์การ์ดจอ ดู ถ้ายังมีปัญหา ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมทดสอบการ์ดจอ
  5. ปัญหาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจาก hardware ทำงานผิดปกติ หรือไดรฟ์เวอร์ของ hardware มีปัญหา ปกติ Windows จะแจ้งเตือนว่าอุปกรณ์ไหนมีปัญหา แต่จะเช็คสถานะ hardware ต่างๆ ใน Device Manager ก็ได้ ให้ดับเบิลคลิก category หรือหมวดหมู่ ใน Device Manager แล้วจะเห็นอุปกรณ์ทั้งหมดในหมวดหมู่นั้น เสร็จแล้วดับเบิลคลิกอุปกรณ์ ถ้ามี error จะแสดงในช่อง "Device Status" ของ tab "General" ให้ลองเช็คข้อมูลของทุกอุปกรณ์ คุณเปิด Device Manager ได้ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
    • คลิกเมนู Windows Start ที่มุมซ้ายล่าง
    • พิมพ์ Control Panel
    • ดับเบิลคลิก Control Panel ในเมนู Windows Start
    • คลิก Hardware and Sound
    • คลิก Device Manager ล่าง "Devices and Printers"
  6. บางโปรแกรมก็ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าที่ระบบคอมคุณมี ถ้าสังเกตว่ามีปัญหาหลังเปิดโปรแกรม ก็น่าจะเป็นที่โปรแกรมนั้น ถ้าเกิดปัญหาทันทีหลังเปิดเครื่อง โปรแกรมนั้นอาจเริ่มทำงานอัตโนมัติตอนบูทเครื่อง ให้ถอนการติดตั้งโปรแกรมที่เพิ่งติดตั้งไปล่าสุด แล้วดูว่ายังมีปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้แนะนำให้จำกัดจำนวนโปรแกรม startup ที่เริ่มทำงานพร้อมการบูทเครื่อง
  7. ถ้าคอมกระตุกหรืออืด แนะนำให้เช็คว่ามีโปรแกรมไหนเปลืองทรัพยากร เกินกว่าที่คอมจะให้ได้ คุณเช็คได้ง่ายๆ ใน Task Manager โดยคลิกขวาที่ taskbar ล่างหน้าจอ แล้วคลิก Task Manager คลิก tab Processes คลิก CPU แล้วจะเห็นกราฟการใช้ CPU ณ ขณะนั้น เสร็จแล้วคลิก Memory จะเห็น RAM ที่ใช้ไป
    • ถ้ากราฟ CPU ของคอมอยู่ที่ 80% - 100% แทบจะตลอดเวลา แนะนำให้ อัพเกรด processor ของคอม
    • ถ้าคอมใช้ความจำมากเกินไป ให้ปิดโปรแกรมและ tab ของเบราว์เซอร์ ที่ตอนนี้ไม่ได้ใช้งานอยู่ ไปทั้งหมด จากนั้นเช็คดูอีกที ว่าคอมทำงานลื่นไหลขึ้นหรือยัง พยายามเปิดและใช้งานเฉพาะอะไรที่จำเป็น ณ ขณะนั้นดีกว่า ถ้าคอมมีความจำไม่พอกระทั่งจะใช้งานเบื้องต้น อาจจะต้องซื้อ RAM มาติดตั้งเพิ่มเติมเอง แต่คอมเครื่องนั้นต้องรองรับด้วย
  8. ถ้าฮาร์ดไดรฟ์มีเสียงขูดขีดหรือเสียงดัง ให้ปิดคอมแล้วเอาไปให้ช่างเช็คฮาร์ดไดรฟ์จะดีกว่า นอกจากนี้ให้สังเกตเสียงพัดลม CPU ถ้าหมุนดัง เป็นไปได้ว่า CPU เริ่มร้อน เพราะทำงานหนักเกินไป
    • ถ้าสันนิษฐานว่าฮาร์ดไดรฟ์จะเสียในเร็ววัน แนะนำให้ backup ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจากไดรฟ์โดยด่วน แล้วปิดคอม เพราะทุกครั้งที่บูทเครื่องโดยที่ฮาร์ดไดรฟ์เสื่อมหรือเสียหายอยู่ จะยิ่งทำให้ไดรฟ์เสียหายหนักกว่าเดิม แต่ถ้า backup ข้อมูลไม่ได้ ให้ถอดฮาร์ดไดรฟ์เอาไปให้ช่างช่วยกู้ข้อมูลให้
  9. ที่คอมมีปัญหา อาจเป็นเพราะมีมัลแวร์ติดมา ถ้าเปิดใช้โปรแกรมสแกนไวรัส ก็น่าจะบอกได้ว่ามีไวรัสหรือมัลแวร์หรือเปล่า ให้เลือกใช้โปรแกรม antivirus ดังๆ ที่คนนิยมใช้กัน และเป็นโปรแกรมที่อัพเดทเรื่อยๆ อย่าง Norton, McAfee และ Malwarebytes
  10. เช็คปัญหาใน safe mode . ถ้าทำอะไรก็ไม่ได้ผล ให้เช็คข้อผิดพลาดใน safe mode ดู ถ้าใช้ safe mode แล้วยังเกิดปัญหา แสดงว่าเป็นที่ระบบปฏิบัติการ แบบนี้คงต้องลง Windows ใหม่เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ากังวลหรือไม่มั่นใจเรื่องการค้นหาและแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ยกเครื่องไปให้ช่างหรือร้านรับซ่อมดูและแก้ไขให้จะปลอดภัยที่สุด ลองเช็คราคาและเลือกร้านที่ช่างมีความรู้และประสบการณ์ดู
  • ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วจะช่วยตีวงให้แคบขึ้น ว่าจริงๆ แล้วปัญหาแบบเฉพาะเจาะจงคืออะไร ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยเครื่องมือหรือเทคนิคเฉพาะ
โฆษณา

คำเตือน

  • จริงๆ แล้วแนะนำให้ปรึกษาช่างหรือคนที่เก่งคอม ไม่ว่าจะลงมือซ่อมเองคนเดียว หรือมีใครช่วยก็ตาม
  • ถ้าไม่เชี่ยวชาญหรือมั่นใจจริงๆ ว่าทำถูกต้อง ไม่แนะนำให้ลงมือแก้ไขซ่อมแซมคอมพิวเตอร์เอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,543 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา