PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความรู้สึกผิดนั้นเป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่ในจุดใดจุดหนึ่งของชีวิตเราทุกคนต่างก็เคยมีความรู้สึกแบบนี้เหมือนกันทั้งนั้น และสำหรับหลายๆ คน ความรู้สึกผิดหรือความรู้สึกละอายที่รุนแรงและแก้ไม่หายนั้นสามารถทำให้เกิดความทุกข์ใจอย่างมากได้ ซึ่งความรู้สึกผิดในแบบที่พอดี ก็คือ ความรู้สึกผิดต่อการกระทำ การตัดสินใจ หรือการกระทำอื่นๆ ในทางที่ไม่ถูกต้องที่คุณต้องมีส่วนรับผิดชอบ และเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบต่อคนอื่นในด้านลบ ซึ่งนี่คือความรู้สึกผิดในทางที่ดีที่จะไปกระตุ้นตัวคุณให้แก้ไขความผิดต่างๆ และสร้างความสามัคคีขึ้นในสังคม รวมถึงมีความรู้สึกถึงความรับผิดชอบร่วมกันด้วย ส่วนสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งเหล่านี้ก็คือ ความรู้สึกผิดในแบบที่ไม่พอดี ซึ่งหมายถึงความรู้สึกผิดต่อสิ่งต่างๆ ที่คุณไม่สามารถแสดงความรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ อย่างเช่น การกระทำและชีวิตความเป็นอยู่ของคนอื่น รวมถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ อย่างเช่น ผลลัพธ์ของสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งความรู้สึกผิดประเภทนี้จะทำให้เราไปยึดติดอยู่กับความล้มเหลวต่างๆ ที่เรารู้สึกอยู่ข้างในตัวเอง ก่อให้เกิดความละอายใจและความขุ่นเคืองใจได้ [1] แต่ไม่ว่าความรู้สึกของคุณจะมาจากการกระทำในทางที่ไม่ถูกต้องในอดีตหรือเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ ก็ยังมีหลายวิธีการที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ไขความรู้สึกเหล่านั้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

จัดการกับความรู้สึกผิดในแบบที่พอดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความรู้จักกับความรู้สึกผิดประเภทนี้และจุดประสงค์ของมัน. [2] ความรู้สึกผิดคืออารมณ์ความรู้สึกที่มีประโยชน์ เพราะมันช่วยทำให้เราโตขึ้นและเรียนรู้จากพฤติกรรมที่มีความหยาบคายและอันตรายทั้งต่อตัวเราเองและคนอื่นๆ และเมื่อความรู้สึกผิดเกิดขึ้นมาจากการที่เราทำร้ายคนอื่น หรือการที่เราส่งผลกระทบเชิงลบที่ไม่ควรจะเกิดออกไปยังคนอื่น แสดงว่านี่คือการส่งสัญญาณเตือนให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง (หรือไม่งั้นก็ต้องเสี่ยงกับผลลัพธ์ที่ตามมา) ซึ่งความรู้สึกผิดในแบบที่ “พอดี” จะเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนความรู้สึกของเราให้รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้และอะไรที่ไม่สามารถยอมรับได้
    • ตัวอย่างเช่น หากความรู้สึกผิดของคุณมาจากการที่คุณกระจายข่าวลือเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อที่ตัวคุณจะได้เลื่อนขั้นไปอยู่ในตำแหน่งของพวกเขา นั่นแสดงว่าคุณรู้สึกผิดในแบบที่ พอดี แต่ถ้าหากคุณได้เลื่อนขั้นเพราะคุณมีคุณสมบัติที่เหมาะสมมากขึ้นแต่ว่าคุณก็ ยังรู้สึกผิดอยู่ดี นั่นแสดงว่าคุณกำลังรับมืออยู่กับความรู้สึกผิดในแบบที่ ไม่พอดี อยู่
  2. การให้อภัยอย่างการให้อภัยคนอื่นนั้น บางทีก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ซึ่งวิธีการสำคัญในการให้อภัยตัวเอง มีดังนี้ [3]
    • รับรู้ถึงความเจ็บปวดที่แท้จริงโดยที่ไม่ต้องไปทำให้สิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นดูเวอร์ หรือ ดูเล็กน้อยจนเกินไป
    • จัดการกับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นแค่ในระดับที่อยู่ในความรับผิดชอบของคุณ เพราะว่าบางทีอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่คุณน่าจะทำให้แตกต่างไปจากเดิมได้ แต่คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องไปรับผิดชอบกับทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะถ้าคุณประเมินความรับผิดชอบของตัวเองไว้สูงเกินไป นั่นอาจจะทำให้ความรู้สึกผิดอยู่ติดกับตัวคุณนานเกินควรได้
    • ทำความเข้าใจสภาวะจิตใจของตัวเองในช่วงเวลาของการกระทำแย่ๆ พวกนั้น
    • พูดคุยกับคนอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการกระทำของคุณ ซึ่งการขอโทษจากใจจริงอาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยคุณได้ เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณและคนอื่นๆ จะรู้ว่าคุณมีความตระหนักในสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้น และมีความชัดเจนว่าการกระทำแบบไหนที่ควรจะถูกนำมาชดเชยและเพื่อเป็นการขอโทษ
  3. ทำการชดเชยหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้. การมัวแต่รู้สึกผิดและไม่ทำการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนในสิ่งที่จำเป็นคือวิธีการลงโทษตัวเองดีๆ นี่เอง [4] และที่แย่ไปกว่านั้น พฤติกรรมเหล่านี้มีแต่จะทำให้คุณรู้สึกละอายเกินกว่าจะทำบางสิ่งบางอย่างที่จริงๆ แล้วน่าจะช่วยได้ ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขใหม่อีกครั้งนั้นหมายถึง การเก็บความทะนงตัวของตัวเองเอาไว้ก่อนและเชื่อมั่นว่าคนอื่นๆ จะยินดีในสิ่งที่คุณทำเพื่อแก้ไขต้นตอของความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้น
    • หากการขอโทษคือวิธีการชดเชยสิ่งแย่ๆ ของคุณ ให้คุณพยายามหลีกเลี่ยงการตัดสินในสิ่งที่คุณทำไปแล้ว หรือไปชี้ให้เห็นถึงส่วนต่างๆ ของสถานการณ์ที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของคุณ แค่ให้คุณรับรู้ถึงความเจ็บปวดของคนอื่น โดยที่ไม่ต้อง ชี้แจงเหตุผลอะไรมากมายหรือพยายามไปทบทวนรายระเอียดต่างๆ ของสถานการณ์นั้น
      • มันอาจจะง่ายกว่ามากหากคุณขอโทษสำหรับคำพูดที่คุณได้พูดออกไปโดยไม่คิดไตร่ตรองก่อน ซึ่งอาจจะเป็นคำพูดที่ทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บปวด แต่เมื่อใดที่พฤติกรรมนั้นได้ทอดข้ามผ่านบางช่วงเวลาไปแล้ว คุณอาจจะพูดได้ว่าตัวเองลืมที่จะใส่ใจกับความทุกข์ใจของคนรักของคุณในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวเองมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งต่อไปนี้คุณก็จะให้ความจริงใจและความสุภาพต่ออีกฝ่ายให้มากขึ้นกว่าเดิม
  4. [5] การเขียนไดอารี่เกี่ยวกับรายละเอียด ความรู้สึก และความทรงจำต่างๆ ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถช่วยทำให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและการกระทำต่างๆ ของตัวเองได้ ซึ่งการพยายามปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองในอนาคตคือวิธีที่ดีในการบรรเทาความรู้สึกผิด [6] เพราะสิ่งที่คุณเขียนบันทึกไว้อาจจะตอบคำถามต่อไปนี้ได้ [7]
    • คุณรู้สึกยังไงกับตัวเองและกับทุกคนที่เกี่ยวข้องในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากที่เกิดสถานการณ์แย่ๆ นั้น?
    • อะไรคือความต้องการของคุณในตอนนั้น และคุณได้ความต้องการนั้นหรือไม่? ถ้าไม่ได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ?
    • คุณมีแรงจูงใจให้ตัวเองทำการกระทำแบบนี้หรือเปล่า? อะไรหรือใครที่เป็นแรงกระตุ้นให้คุณทำพฤติกรรมแบบนี้?
    • อะไรคือมาตรฐานการตัดสินใจในสถานการณ์แบบนี้? มาตรฐานพวกนั้นเป็นมาตรฐานของคุณ ของพ่อแม่คุณ เพื่อนๆ ของคุณ คู่สมรสของคุณ หรือมาจากสถาบันบางสถาบันอย่างเช่น สถาบันกฎหมายหรือเปล่า? มาตรฐานการตัดสินเหล่านี้มันเหมาะสมหรือไม่ และถ้าเหมาะสม คุณรู้ได้ยังไงว่ามันเหมาะสม?
  5. เราต่างก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนแปลงอดีต ดังนั้น หลังจากที่ได้ใช้เวลาเรียนรู้จากการกระทำของตัวเอง และทำการชดใช้และแก้ไขเท่าที่ทำได้แล้ว มันเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องไม่ไปยึดติดอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นนานจนเกินไป ดังนั้น ให้คอยเตือนตัวเองไว้ว่ายิ่งคุณเลิกรู้สึกผิดเร็วมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งสามารถเพิ่มโฟกัสไปที่เรื่องอื่นๆ และส่วนต่างๆ ในชีวิตคุณที่เป็นปัจจุบันได้มากขึ้นกว่าเดิม
    • ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการเขียนไดอารี่เพื่อจัดการกับความรู้สึกผิดคือ คุณสามารถติดตามความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองเพื่อแสดงให้ตัวเองเห็นว่าความรู้สึกผิดนั้นสามารถลดลงได้รวดเร็วแค่ไหนเมื่อเราพยายามจัดการกับมัน [8] และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การเขียนโน้ตว่าการชดใช้และแก้ไขสถานการณ์นั้นเปลี่ยนแปลงสถานการณ์แย่ๆ ได้อย่างไรบ้าง จะช่วยทำให้คุณภูมิใจในความก้าวหน้าของตัวเองและภูมิใจในวิถีทางที่ถูกต้อง เพราะคุณได้ใช้ความรู้สึกผิดของตัวเองในทางที่เป็นประโยชน์
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

จัดการกับความรู้สึกผิดในแบบที่ไม่พอดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความรู้จักกับความรู้สึกผิดประเภทนี้และจุดประสงค์ของมัน. [9] ตรงกันข้ามกับความรู้สึกผิดในแบบที่ “พอดี” ที่ส่งสัญญาณให้เราปรับเปลี่ยนแก้ไขในสิ่งที่เราทำผิด ความรู้สึกผิดแบบที่ไม่พอดีนั้นมักจะมาจากหนึ่งในต้นตอต่อไปนี้ [10]
    • การทำบางอย่างได้ดีกว่าคนบางคน (ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต)
    • การรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้พยายามช่วยคนอื่นให้มากเท่าที่ควร
    • บางสิ่งบางอย่างที่คุณคิดแค่ว่าตัวคุณเป็นคนทำ
    • บางสิ่งบางอย่างที่คุณไม่ได้ทำแต่คุณอยากจะทำ
      • ตัวอย่างเช่น คุณรู้สึกผิดเรื่องที่คุณได้เลื่อนขั้น เพราะคุณกระจายข่าวลือแย่ๆ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อที่คุณจะได้เลื่อนตำแหน่ง ซึ่งความรู้สึกผิดแบบนี้คือความรู้สึกที่ถูกต้องหรือ พอดี สำหรับการกระทำแบบนั้น แต่ถ้าหากคุณได้เลื่อนขั้นเพราะคุณมีคุณสมบัติที่เหมาะสมแต่คุณก็ ยังรู้สึกผิดอยู่ดี นั่นแสดงว่าคุณกำลังรับมืออยู่กับความรู้สึกผิดในแบบที่ ไม่พอดี อยู่ ซึ่งความรู้สึกผิดประเภทนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดจุดมุ่งหมายที่มีเหตุผลใดๆ เลย [11]
  2. สำรวจดูสิ่งที่คุณสามารถควบควบได้เทียบกับสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้. [12] ให้คุณเขียนสิ่งต่างๆ ที่คุณสามารควบคุมได้จริงๆ ลงในไดอารี่ รวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณสามารถควบคุมได้แค่บางส่วนเท่านั้น จำไว้ว่าการโทษตัวเองสำหรับความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่คุณสามารถควบคุมได้เพียงบางส่วนนั้นหมายถึงว่า คุณโมโหตัวเองเพราะสิ่งต่างๆ ที่อยู่เกินตัวคุณ
    • นอกจากนี้ สิ่งที่ช่วยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่คุณไม่โทษตัวเองสำหรับสิ่งต่างๆ ที่คุณเสียใจว่าตัวเองไม่ได้ทำ เพราะคุณไม่อาจจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ในตอนนั้น จะเป็นสิ่งที่คุณรับรู้ได้ ในตอนนี้ เพราะในตอนนั้นคุณอาจจะสร้างการตัดสินที่ดีที่สุดแล้วสำหรับช่วงเวลานั้น
    • เตือนตัวเองไว้ว่ามันไม่ใช่ความผิดของคุณที่คุณจะรอดจากเหตุการณ์แย่ๆ ที่คนอื่นหรือแม้แต่คนใกล้ชิดของคุณบางคนไม่สามารถเอาตัวรอดออกมาได้
    • รับรู้เอาไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบเรื่องของคนอื่นไปซะทุกอย่าง แม้ว่าคุณจะรักและเป็นห่วงผู้คนเหล่านั้นในชีวิตคุณมากก็ตาม เพราะพวกเขามีหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองอยู่แล้ว (และตัวคุณเองก็เช่นกัน)
  3. ตรวจสอบมาตรฐานความสำเร็จของตัวเองและมาตรฐานการช่วยเหลือคนอื่น. เมื่อกำลังเขียนไดอารี่ ให้ถามตัวเองว่าคุณตั้งการกระทำในอุดมคติของตัวเองไว้สูงเกินไปหรือเปล่า [13] บ่อยครั้งที่มาตรฐานเหล่านี้มักจะถูกกำหนดมาจากแรงกดดันจากภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้ตั้งแต่วัยเด็ก แต่ถ้าหากมาตรฐานเหล่านั้นถูกทำให้ซีเรียสมากเกินไปและบรรลุผลได้ยาก มันก็อาจจะทำให้เกิดความทุกข์ใจได้มากมาย
    • สิ่งนี้ยังรวมถึงการรับรู้สิทธิในการปกป้องและยืดหยัดในผลประโยชน์ของตัวเองด้วย เพราะเรามักจะรู้สึกผิดต่อการที่เราไม่พยายามทำอะไรเพื่อคนอื่นหรือเสียสละสิ่งที่เราชอบ (เช่น เวลาว่างหรือพื้นที่ส่วนตัว) ซึ่งนี่คือส่วนสำคัญในการเอาชนะความรู้สึกผิด [14] ดังนั้น ให้คุณคอยเตือนตัวเองให้ยอมรับว่าผลประโยชน์ของแต่ละคนนั้นอาจจะขัดแย้งกันเองก็เป็นได้ และนั่นก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีใครผิดเพียงเพราะพวกเขาแสวงหาสิ่งที่จะมาเติมเต็มให้กับความต้องการของตัวเองหรอก
  4. โฟกัสไปที่คุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ เมื่อกำลังจะช่วยเหลือคนอื่น. ความรู้สึกผิดมักจะมาจากความคิดที่ว่าตัวเราเองยังไม่แคร์คนอื่นให้มากพอ [15] และถ้าหากในตัวคุณมีสิ่งต่างๆ มากมายที่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ จำไว้ว่าคุณภาพของความช่วยเหลือของคุณจะลดน้อยลงถ้าหากคุณพยายามที่จะช่วยเหลือคนอื่นมากเกินไป อยู่ตลอดเวลา หรือช่วยเหลือ ทุกๆ คนที่คุณแคร์ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม
    • เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกผิดประเภทนี้ ให้คุณตระหนักถึงสถานการณ์ต่างๆ ให้มากขึ้น หากมันถึงเวลาที่ คุณ จะต้องเข้าไปจัดการจริงๆ การที่คุณรู้และเข้าใจในสิ่งที่คุณเสนอความช่วยเหลือให้กับคนอื่น จะทำให้คุณรับรู้ได้ดีขึ้นว่าคุณต้องมีความรับผิดชอบต่อคนอื่นในระดับเท่าไร และนี่จะทำให้ความรู้สึกผิดของคุณลดลงโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ มันยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของความช่วยเหลือที่คุณทำให้คนอื่นด้วย และช่วยทำให้คุณตระหนักในสิ่งดีๆ ที่ตัวเอง เป็น มากกว่าสิ่งอื่นๆ ที่คุณ น่าจะ ต้องทำ
  5. แสวงหาการยอมรับและความเข้าอกเข้าใจผ่านการเจริญสติ. [16] การเจริญสติและการฝึกทำสมาธิสามารถช่วยทำให้คุณเรียนรู้ที่จะสังเกตกระบวนการทางจิตใจของตัวคุณเอง รวมถึงสังเกตถึงแนวโน้มที่ทำให้ความรู้สึกผิดของคุณยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ อย่างเช่น การโทษตัวเองและการตำหนิตัวเองอย่างรุนแรง [17] และเมื่อใดก็ตามที่คุณได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ คุณก็จะสามารถเริ่มเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจในตัวเองมากขึ้น และรับรู้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปซีเรียสหรือทำตามความคิดพวกนั้น [18]
    • มันอาจจะช่วยได้มากถ้าหากคุณคอยติดต่อกับคนที่คุณรัก ที่ยอมรับในสิ่งที่คุณเป็นและแสดงความเข้าอกเข้าใจในตัวคุณได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งการมองเห็นว่าคนอื่นปฏิบัติในลักษณะนี้ต่อคุณ จะช่วยให้คุณพัฒนาทัศนคตินี้ต่อตัวเองได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณ ก็ต้องแสดงการยอมรับในตัวเองและเข้าอกเข้าใจตัวเองด้วย ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากคนอื่นหรืออาจจะไม่ต้องมีเลยก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเป็นคนที่เน้นความสมบูรณ์แบบในเรื่องความรู้สึกผิดของตัวเองเด็ดขาด! ตราบใดที่คุณยังไม่สามารถข้ามผ่านความรู้สึกเหล่านี้ได้ จำไว้ว่า ความรู้สึกผิดบางอย่างอาจจะช่วยให้คุณเลือกที่จะแสดงออกอย่างจริงใจ ซื่อตรง และแคร์คนอื่นๆ ได้ [19]
  • ให้คิดแต่ในเชิงบวก คุณอาจจะทำอะไรที่น่าเจ็บปวดต่อคนอื่นและต่อตัวคุณเองไปมากมายแล้ว แต่ทางออกทางเดียวก็คือ คุณต้องให้อภัยตัวเองและเดินหน้าต่อไป หากคุณขอโทษพวกเขาแล้ว แต่พวกเขาไม่ยอมรับคำขอโทษของคุณ คุณต้องเว้นช่องว่างให้กับพวกเขาด้วย หากคุณมัวแต่ขอโทษอยู่เรื่อยๆ และพวกเขาก็ไม่ยอมรับคำขอโทษของคุณสักที นั่นจะยิ่งทำให้คุณรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้น ให้คุณเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง และคราวต่อไปถ้าคุณกำลังจะทำอะไรบางอย่างที่อาจจะมีผลเสียต่อคนอื่น ให้คุณคิดให้ดีก่อนที่จะทำสิ่งนั้นด้วย
  • คุณควรจะให้อภัยตัวเองได้เรื่อยๆ เพื่อที่คุณจะได้รู้สึกดีขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ผลกระทบเชิงลบต่างๆ ที่มาจากความรู้สึกผิดนั้นมีทั้งความพึงพอใจในตัวเองต่ำ และการชอบตำหนิตัวเอง รวมถึงกลุ่มอารมณ์แบบอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าหากคุณเจอกับปัญหาเหล่านี้ มันอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณยังจัดการกับความรู้สึกผิดของตัวเองไม่ได้ [20]


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.psychologytoday.com/basics/guilt
  2. http://psychcentral.com/blog/archives/2007/11/27/5-tips-for-dealing-with-guilt/
  3. http://apt.rcpsych.org/content/18/2/137#ref-14
  4. http://www.yorku.ca/dcarveth/guilt.html
  5. http://www.mindbodygreen.com/0-6496/5-Ways-to-Get-Rid-of-Guilt.html
  6. Michael J.A. Wohl, Timothy A. Pychyl, Shannon H. Bennett, I forgive myself, now I can study: How self-forgiveness for procrastinating can reduce future procrastination, Personality and Individual Differences, Volume 48, Issue 7, May 2010, Pages 803-808, http://dx.doi.org/10.1016/j.paid.2010.01.029 .
  7. http://www.whatiscodependency.com/ho-to-overcome-guilt-and-forgive-yourself/
  8. Vangelisti, Anita L., and Rhonda J. Sprague. "Guilt and hurt: Similarities, distinctions, and conversational strategies." (1998).
  9. http://psychcentral.com/blog/archives/2007/11/27/5-tips-for-dealing-with-guilt/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,351 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา