ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเลี้ยงปลาทองเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจ คงจะเศร้าน่าดูถ้าอยู่ๆ มันก็พะงาบๆ เหมือนใกล้ตายขึ้นมา มีหลายสาเหตุด้วยกันที่ทำปลาทองถึงตายได้ ตั้งแต่โรคภัยไข้เจ็บไปจนถึงอาการเครียดหรือหดหู่ ถ้าคุณรู้แต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถช่วยชีวิตน้องปลาของคุณไว้ได้ทันท่วงที ดีไม่ดีอาจอายุยืนยาวถึง 10 - 20 ปี [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าปลาทองตัวหนึ่งป่วย สำคัญมากว่าต้องแยกออกจากปลาทองตัวอื่นทันที จะได้ไม่ติดกันไปทั่ว แต่ถ้าคุณมีปลาทองแค่ตัวเดียว ก็ปล่อยไว้ในตู้เดิมนั่นแหละ
    • เวลาจะย้ายปลาไปตู้ “พยาบาล” ให้เอาใส่ถุงพลาสติกใส แล้วใส่ในถุงกระดาษหรือถุงอะไรที่ทึบๆ อีกที ปลาทองจะได้ไม่กลัวจนเครียด
    • อาจจะต้องเอาน้ำในตู้ปลาเก่ามาเติมในตู้ปลาใหม่ด้วย แต่ถ้าน้ำเก่าคือสาเหตุที่ทำให้ปลาป่วยหรือใกล้ตาย ระวังปลาจะอาการหนักกว่าเดิม [2] ตอนจะเอาปลาลงน้ำใหม่ ให้เอาถุงใส่ปลาแช่ลงไปในน้ำประมาณ 15 - 20 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิไม่ให้ปลาน็อคน้ำ [3]
  2. ปลาใกล้ตายส่วนใหญ่แค่เปลี่ยนน้ำชีวิตก็เปลี่ยน การหมั่นรักษาคุณภาพของน้ำนี่แหละจุดสำคัญที่ทำให้ปลามีความสุขสุขภาพดี ที่สำคัญคือยังมีชีวิตอยู่ [4]
  3. ปลาทองขับถ่ายบ่อย แป๊บเดียวก็น้ำขุ่น เต็มไปด้วยแอมโมเนียหรือแบคทีเรียแล้วก็ตะไคร่ แค่คุณล้างทำความสะอาดตู้ปลาและเปลี่ยนน้ำ ปลาก็สุขภาพดีขึ้นแล้ว
    • แยกปลาทองไปไว้อีกตู้ แล้วค่อยล้างตู้เดิมและเปลี่ยนน้ำ
    • ควรล้างตู้ปลาอาทิตย์ละครั้ง จะได้ไม่มีแบคทีเรียสะสม
    • ถ่ายน้ำออก 15% และกำจัดพวกกรวด ตะไคร่ และสิ่งสกปรกออกให้หมด
    • ห้ามใส่สารเคมีใดๆ ก็ตามในน้ำตู้ปลา แค่ล้างเอาพวกกรวดกับสารตกค้างต่างๆ ที่ระเหยติดตามข้างตู้ออกให้หมดก็พอแล้ว [10] เพราะสารเคมีหรือสบู่แค่นิดเดียวก็ทำปลาตายได้
    • เติมน้ำก๊อกเย็นๆ สะอาดๆ ลงไป อย่าลืมเติม dechlorinator ลงในน้ำใหม่ เพื่อขจัดคลอรีนส่วนเกิน
  4. หลังล้างตู้ปลาและเปลี่ยนน้ำแล้ว ให้จับตาดูปลาทองของคุณอีกสัก 2 - 3 วัน ว่าอาการดีขึ้นไหม จะได้ตัดไปทีละอย่างเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ปลาป่วย
    • วิธีนี้จะเห็นผลทันตา เช่น พอน้ำมีออกซิเจนเยอะแล้วปลาดีขึ้น แต่ก็มักจะใช้เวลา 2 - 3 วันกว่าปลาทองจะปรับตัวเข้ากับตู้ใหม่หรือน้ำใหม่ได้
    • รอสัก 1 - 2 วันก่อน แล้วค่อยลองรักษาวิธีอื่น จะได้ตัดปัญหาเรื่องรักษาไม่ตรงจุด ไม่งั้นเดี๋ยวอาจเป็นอันตราย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กู้ชีพน้องปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปลาทองเจ็บป่วยได้ด้วยหลายโรคด้วยกัน ถ้าคุณระบุสาเหตุได้ตรงจุดรวดเร็ว ปลาก็จะมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น [11]
    • ช่วงเวลาที่สังเกตอาการเจ็บป่วยได้ดีที่สุด ก็คือก่อนให้อาหารนี่แหละ [12]
    • อาการหายใจผิดปกติ: เช่น หายใจพะงาบๆ หายใจหอบถี่ โผล่มาฮุบอากาศแถวผิวน้ำ หรืออีกทีคือดิ่งอยู่ก้นตู้ปลา เหล่านี้อาจเป็นเพราะปลาป่วยจริง หรือเพราะน้ำเสียก็ได้ [13]
    • มีพยาธิ: ปลาทองปกติก็หิวตลอด (มากด้วย) แต่ถ้าอยู่ๆ น้องปลาของคุณเกิดไม่กินอาหารหรือซูบไปถนัดตา เป็นไปได้ว่าอาจมีพยาธิ [14]
    • โรคเสียการทรงตัว (Swim bladder disease): สังเกตซิว่าปลาทองว่ายแปลกๆ หงายท้อง หรือถูตัวกับตู้ปลา ก็เป็นไปได้ว่าปลาเป็นโรคเสียการทรงตัวหรือเป็นที่อาหารการกินก็ได้ [15]
    • มีเชื้อรา: ถ้าปลาทองมีอาการครีบพับหรือฉีกขาด มีจุดด่างตามตัว มีก้อนหรือตุ่มนูน ตาโปน เหงือกซีด หรือตัวบวม แปลว่าน่าจะเป็นเพราะเชื้อราแล้วล่ะ [16]
    • โรคครีบเปื่อย (Fin rot): เป็นโรคจากเชื้อราที่พบบ่อยที่สุดในปลา โดยครีบหรือหางของปลาจะเริ่มซีดขาว ดูเปื่อยๆ ยุ่ยๆ [17]
  2. พอระบุอาการของปลาตัวที่ใกล้ตายได้แล้ว ให้ลองสังเกตอาการของปลาตัวอื่นในตู้เดียวกันด้วย จะได้รู้ว่าอะไรที่ทำให้ปลาป่วยกันไปหมด
  3. เอาเครื่องกรองน้ำในตู้ปลาออก แล้วเปลี่ยนน้ำ. คุณแก้ปัญหาเรื่องโรคจากเชื้อราและโรคครีบเปื่อยได้ โดยเอาเครื่องกรองน้ำในตู้ปลาออก แล้วเปลี่ยนน้ำ แบบนี้ปลาจะอาการดีขึ้นแน่นอน [18]
    • เอาถ่านกรองน้ำ (carbon filters) ออกจากตู้ปลา แล้วใช้ยาแทน อย่าง Maracyn-Two สำหรับโรคครีบเปื่อย หรือ methylene blue สำหรับโรคจากเชื้อรา [19]
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าปลาทองของคุณเป็นโรคไหนกันแน่ ก็อย่าเพิ่งใช้ยา เพราะถ้าใช้ยาผิดโรคหรือปลาไม่ได้ป่วยจริงละก็ ทีนี้อาจถึงตายก็เพราะยานี่เอง [20]
  4. ถ้าคุณสังเกตว่าปลามีจุดด่างขาวๆ ตามตัว แปลว่าปลาน่าจะป่วยด้วยโรคปรสิต ich (Ichthyophthirius Multifiliis) ไม่ก็โรคหนอนสมอ (anchor worms) หรือมีเห็บปลา เกลือกับความร้อนจะช่วยขจัดโรคให้ปลาทองของคุณอาการดีขึ้นได้ [21]
    • ค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิน้ำในตู้ปลาให้ถึง 30 องศา ภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อหยุดการแพร่พันธุ์ของปรสิต ich [22] และให้คงอุณหภูมินี้ไว้ 10 วัน [23]
    • เติมเกลือสำหรับใส่ตู้ปลา หรือ aquarium salt ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 แกลลอน [24]
    • เปลี่ยนน้ำตู้ปลาทุกๆ 2 - 3 วัน [25]
    • ค่อยๆ ลดอุณหภูมิน้ำกลับไปที่ 18 องศา [26]
    • ถ้ามีปลาที่ยังปกติดีอยู่ในตู้ คุณก็ใช้เกลือกับความร้อนได้ จะได้กำจัดปรสิตตกค้างที่ทำเอาปลาปกติป่วยไปด้วย [27]
  5. ถ้าปลาเป็นโรคเสียการทรงตัว แค่เปลี่ยนน้ำก็จะไม่ช่วยอะไร ลองให้ปลากินพวกผัก อย่างถั่วแช่แข็งดู แล้วก็อาหารโปรตีนต่ำ อาจจะช่วยให้ปลาทองหายจากโรคนี้ได้ [28]
    • ถั่วแช่แข็งนี่แหละดี เพราะไฟเบอร์สูง แถมใส่ลงในตู้แล้วจมลงทันที ปลาไม่ต้องผุดขึ้นมาฮุบที่ผิวน้ำให้ลำบาก [29]
    • อย่าให้ปลาป่วยกินมากเกินไป และให้อาหารใหม่ต่อเมื่อปลากินอาหารเก่าหมดแล้วเท่านั้น ไม่งั้นอาจเกิดปัญหาเรื่องแอมโมเนียในตู้ปลา ทีนี้ปลาก็จะป่วยกว่าเดิม [30]
  6. ถ้าสังเกตเห็นว่าปลาทองมีพยาธิหรือปรสิต อย่างหนอนสมอ ก็ให้ใช้แหนบคีบออก แต่ต้องทำแบบเบามือนะ ปลาจะได้ไม่เจ็บตัวหรืออันตรายถึงตาย
    • ปรสิตบางชนิดก็อยู่ลึกลงไปในตัวปลา อาจต้องคีบออกควบคู่ไปกับการใช้ยากำจัด
    • เวลาคีบให้คีบปรสิตชิดติดกับแผลของปลาที่สุด จะได้ดึงออกมาทั้งตัว
    • เอาปลาลงน้ำทุกๆ 1 นาที ปลาจะได้ไม่ขาดอากาศ
    • กว่าปรสิตจะหายเกลี้ยงจากตู้ปลา ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 อาทิตย์
    • วิธีนี้สงวนไว้เฉพาะกรณีที่คุณรู้แน่ว่าปลาทองมีพยาธิหรือปรสิตเท่านั้น และต้องแน่ใจว่าคุณมือเบาพอจะไม่ทำปลาตายซะก่อนตอนคีบ
  7. ถ้าไม่แน่ใจว่าปลาป่วยเพราะอะไร ก็ใช้ยารักษาโรคในปลาโดยเฉพาะเลยดีกว่า รักษาได้ทั้งโรคและปรสิต [31]
    • ยาของปลามีขายตามร้านขายปลาตู้ทั่วไป ตามห้างและตามเน็ตก็มี
    • ยาที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาโรคของปลาได้ บางทีก็มาจากเมืองนอก ไม่ได้รับรองโดยอย. หรือหน่วยงานของไทย ถ้าเป็นแบบนั้นก็ต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดูให้ดี ไม่งั้นอาจรักษาไม่หายหรือเป็นอันตรายต่อปลา แต่ยังไงวิธีที่ดีที่สุด ก็คือต้องหาให้เจอก่อนว่าปลาป่วยด้วยโรคอะไร [32]
  8. ถ้ารักษาเองแล้วปลาไม่ดีขึ้น ก็พาปลาไปหาหมอจะดีกว่า จะได้รู้แน่ชัดกันไปเลยว่าปลาทองของคุณเป็นอะไรกันแน่ จะได้รักษากันถูก
    • เวลาพาปลาไปหาหมอ ให้เอาปลาใส่น้ำในถุงพลาสติก แล้วเอาถุงพลาสติกไปซ้อนในถุงกระดาษทึบๆ อีกที ปลาจะได้ไม่เครียด
    • แต่ก็ต้องทำใจไว้ก่อน ว่าบางทีปลาอาจป่วยหนักเกินเยียวยา ถึงจะพาไปหาหมอก็ไม่ได้แปลว่าจะรักษาได้เสมอไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันโรคในปลาทอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณรู้จักดูแลปลาให้มีความสุขสุขภาพแข็งแรงแต่แรก ก็ไม่ต้องมานั่งเครียดทีหลังเวลาปลาป่วยใกล้ตาย ทำได้ตั้งแต่หมั่นล้างตู้ปลา ไปจนถึงให้อาหารปลาหลากหลายหน่อย ดูแลดีแต่แรกนี่แหละ ที่จะทำให้ปลาของคุณไม่ต้องเสี่ยงชีวิต [33]
  2. รักษาคุณภาพน้ำในตู้ที่น้องปลาแหวกว่ายให้สะอาดอยู่เสมอ นี่แหละกุญแจสำคัญที่จะทำให้ปลาทองของคุณอายุยืนยาว ไม่ใช่แค่รักษาอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสม แต่ออกซิเจนในน้ำก็ต้องเพียงพอด้วย [34]
  3. ถ้าคุณหมั่นล้างทำความสะอาดตู้ปลาเป็นประจำ นอกจากคุณภาพน้ำจะเยี่ยมแล้ว ยังช่วยขจัดแบคทีเรียหรือตะไคร่น้ำที่อาจหมักหมมจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของปลาทองได้ [38] แค่ทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง ก็ป้องกันโรคต่างๆ ได้ในระยะยาวแล้ว [39]
  4. อีกสุดยอดวิธีป้องกันไม่ให้ปลาทองตายก่อนวัยอันควร ก็คือให้กินอาหารที่หลากหลายและสารอาหารครบถ้วน อีกเรื่องที่สำคัญพอกันก็คืออย่าให้อาหารมากไป นอกจากปลาทองจะป่วยแล้วยังทำให้น้ำขุ่นเร็วขึ้นอีกด้วย [44]
  5. ถ้าปลาป่วย (หรืออาการร่อแร่) แค่บางตัวหรือตัวเดียว ให้รีบแยกออกจากตัวที่ปกติดีทันที เพื่อป้องกันปลาสุขภาพดีไม่ให้ติดโรคจนตายขึ้นมา [49]
    • จำเป็นมากว่าคุณต้องมี “ตู้พยาบาล” ไว้สำหรับใส่ปลาป่วยโดยเฉพาะ [50]
    • และจะใส่ปลาคืนตู้เดิมได้เฉพาะตอนที่ปลาหายดีแล้วเท่านั้น [51]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เตรียมใจไว้แต่เนิ่นๆ ว่าบางทีอาการของปลาก็หนักเกินเยียวยา อย่าโทษตัวเองหรือโทษใคร คุณทำดีที่สุดแล้วล่ะ
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามเลี้ยงปลาป่วยรวมกับปลาปกติเด็ดขาด เพราะถ้าเกิดเป็นไวรัสขึ้นมาจะติดกันไปหมดทั้งตู้
โฆษณา
  1. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  2. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  3. http://www.savemysickfish.com/diagnosis/
  4. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  5. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  6. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  7. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  8. http://aquadaily.com/2009/01/26/fin-rot-symptoms-and-treatment/
  9. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  10. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  11. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  12. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  13. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  14. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  15. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  16. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  17. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=16+2160&aid=2421
  18. http://www.cichlid-forum.com/articles/ich.php
  19. http://www.aquahobby.com/articles/e_constipated_fish.php
  20. http://www.aquahobby.com/articles/e_constipated_fish.php
  21. http://www.savemysickfish.com/diseases/
  22. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  23. http://fish.mongabay.com/disease.htm
  24. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  25. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  26. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  27. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  28. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  29. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  30. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  31. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  32. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  33. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  34. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  35. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  36. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  37. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  38. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  39. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/fish-care
  40. http://www.fishlore.com/Articles/SickFish.htm
  41. http://www.fishlore.com/Articles/SickFish.htm
  42. http://www.fishlore.com/Articles/SickFish.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 121,773 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา