ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากปลาทองของคุณตัวเอียงหรือหงายท้องในขณะว่ายน้ำ นี่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ามันกำลังป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัว ซึ่งความผิดปกติต่างๆ อย่างอาการท้องอืด อวัยวะภายในโต หรือการติดเชื้อ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ถุงลมของปลาทองทำงานผิดปกติได้ หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โรคเสียการทรงตัวที่เกิดขึ้นอาจสามารถรักษาให้หายดีได้และปลาทองของคุณก็จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงอีกครั้ง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาโรคเสียการทรงตัวในปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำเย็นส่งผลให้การทำงานของระบบย่อยอาหารช้าลงและนำไปสู่การเกิดอาการท้องอืดได้ ในช่วงที่คุณกำลังดูแลรักษาปลาทองที่ป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัว พยายามควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ระหว่าง 21-26 องศาเซลเซียสเพื่อช่วยส่งเสริมให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น [1]
    • เลือกใช้แผ่นทำความร้อนสำหรับตู้ปลาขนาดเล็กหรือมองหาฮีตเตอร์แบบแท่งหากคุณเลี้ยงปลาในตู้ปลาขนาดใหญ่ [2]
    • ใส่เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิน้ำในตู้ปลาเพื่อควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลา
  2. เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคเสียการทรงตัวมาจากปัญหาเกี่ยวกับการกินอาหาร ดังนั้นลองเริ่มจากงดให้อาหารปลาสักประมาณ 3 วัน เพราะเมื่อปลากินอาหารมากเกินไป อวัยวะภายในของมันจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อถุงลมได้ การปล่อยให้ปลาอดอาหารจะช่วยให้อาหารที่กินเข้าไปแล้วถูกย่อยจนหมดและทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ และอวัยวะภายในอื่นๆ หดกลับมามีขนาดปกติ [3]
    • การงดให้อาหารปลาเป็นเวลา 3 วันยังคงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อปลา อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยให้ปลาอดอาหารเกินกว่า 3 วัน
    • ในช่วงที่คุณงดให้อาหารปลา ลองสังเกตปลาของคุณอย่างใกล้ชิดว่าการสูญเสียการทรงตัวดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่ หากปลายังคงแสดงอาการผิดปกติต่างๆ ลองดูขั้นตอนถัดไป
  3. ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์อีกทั้งยังมีเนื้อที่แน่น จึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการท้องผูกของปลาได้เป็นอย่างดี หาซื้อถั่วลันเตาแช่แข็งบรรจุถุงและนำมาต้มจนกระทั่งนิ่มได้ที่ (อุ่นในไมโครเวฟหรือนำขึ้นตั้งไฟก็ได้) จากนั้นแกะเปลือกออกให้เรียบร้อยก่อนโรยลงไปในตู้ปลาและปล่อยให้ปลาเข้ามาตอดกิน พยายามให้ปลากินถั่วลันเตาเพียงวันละ 1-2 เมล็ดเท่านั้น [4]
    • อย่าต้มถั่วลันเตานานจนเกินไป เพราะถั่วลันเตาที่มีสัมผัสที่เหลวเละๆ จะจมตัวลงสู่ก้นตู้ก่อนที่ปลาจะเข้ามาตอดกิน
    • การกินอาหารเม็ดอาจทำให้ปลากลืนอากาศเข้าไปในปริมาณมากจนส่งผลให้อาหารไม่ย่อยและอวัยวะภายในขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งคุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการลองให้ปลากินถั่วลันเตาเนื้อแน่นๆ
  4. เนื่องจากถั่วลันเตาที่โรยลงไปในตู้ปลามีเนื้อที่แน่น ถั่วลันเตาจึงอาจจมตัวลงสู่ก้นตู้ได้ ซึ่งปลาที่เป็นโรคสูญเสียการทรงตัวอาจว่ายน้ำลงไปตอดกินถั่วลันเตาที่ก้นตู้ได้ค่อนข้างลำบาก ดังนั้นในกรณีที่จำเป็น ให้คุณถือถั่วลันเตาไว้ในมือใกล้ๆ กับผิวน้ำจนกระทั่งปลาสามารถว่ายเข้ามาใกล้ตอดกินได้ [5]
    • คุณยังสามารถใช้ไม้จิ้มฟันเสียบลงไปบนถั่วลันเตาและจุ่มลงไปในน้ำให้อยู่ในระยะที่ปลาสามารถว่ายเข้ามาได้ หรือลดระดับน้ำในตู้ปลาลงเพื่อให้ปลาสามารถว่ายเข้ามาตอดกินถั่วลันเตาได้ง่ายขึ้น
  5. หลังจากที่คุณให้ปลากินเฉพาะถั่วลันเตาติดต่อกันนาน 2-3 วัน กระบวนการย่อยอาหารของปลาก็จะเริ่มกลับมาเป็นปกติดังเดิมและคุณจะสังเกตเห็นว่ามันสามารถกลับมาว่ายน้ำได้โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ซึ่งหลังจากนี้คุณสามารถกลับมาให้อาหารปลาได้ตามปกติอีกครั้ง [6]
    • หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น ปลาของคุณอาจกำลังป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น ความผิดรูปของอวัยวะหรือความเสียหายของอวัยวะภายใน ลองสังเกตอาการต่ออีกสักระยะหนึ่งเพื่อดูว่าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียการทรงตัวของปลาหายไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากปลาของคุณไม่สามารถกลับมาว่ายน้ำหรือกินอาหารได้ตามปกติอีกต่อไป การตัดสินใจทำการุณยฆาตอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ช่วยให้ปลาหลุดพ้นจากความทรมาน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ป้องกันการเกิดโรคเสียการทรงตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยปกติแล้วอาหารปลาที่โรยลงไปในตู้ปลาจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ดังนั้นเมื่อปลางับปากเพื่อกินอาหารเข้าไป อากาศบางส่วนอาจถูกกลืนลงไปด้วยจนส่งผลให้อวัยวะภายในต่างๆ เริ่มขยายใหญ่ขึ้นและนำไปสู่การเกิดโรคเสียการทรงตัวได้ ลองนำอาหารแช่ไว้ในน้ำสักพักก่อนโรยลงไปในตู้ปลาเพื่อให้อาหารจมลงไปใต้น้ำและช่วยให้ปลาสามารถทานอาหารได้โดยที่ไม่กลืนอากาศเข้าไป [7]
    • คุณยังสามารถหาซื้ออาหารปลาเม็ดจมซึ่งสามารถจมลงสู่ก้นตู้ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องนำไปแช่ในน้ำก่อน
    • หากคุณให้ปลากินอาหารประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารปลาแบบเกล็ดหรือแบบเม็ด ควรแน่ใจว่าอาหารดังกล่าวอุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็นและผ่านการแช่น้ำจนนุ่มก่อนนำไปให้ปลากิน
  2. การกินอาหารในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ปลาเริ่มมีอาการท้องอืดจนอาจนำไปสู่การเกิดการขยายตัวของลำไส้และกระเพาะอาหารรวมทั้งความผิดปกติของถุงลม ให้อาหารปลาในปริมาณที่มันจะสามารถกินหมดได้ภายใน 2 นาที หรือในปริมาณเท่าๆ กับขนาดดวงตาของมันวันละ 2-4 ครั้ง และแม้ว่าปลาของคุณจะดูเหมือนหิวอยู่ตลอดเวลา แต่จำไว้ว่าอาหารในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของมัน [8]
  3. ตู้ปลาที่สกปรกเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและปรสิตซึ่งเป็นสาเหตุให้อาการป่วยของปลาแย่ลงและในบางครั้งอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ ดังนั้นอย่าลืมเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่สัก 25% ของปริมาณน้ำทั้งหมดเป็นประจำทุกๆ 2 สัปดาห์
    • ทั้งนี้เนื่องจากค่ามาตรฐานต่างๆ ของน้ำที่เปลี่ยนอาจไม่ได้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่เคยทำการตรวจสอบน้ำมาก่อนตั้งแต่เริ่มใช้ตู้ปลา [9]
    • ลองใช้ชุดทดสอบคุณภาพน้ำทำการตรวจสอบค่า pH แอมโมเนีย และไนไตรท์ของน้ำ
    • สำหรับค่ามาตรฐานของน้ำที่เหมาะสมสำหรับปลาทอง ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียควรอยู่ที่ 0% ระดับของค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 7.2 - 7.6 และระดับไนไตรท์ควรอยู่ระหว่าง 0 - 0.25 ppm
    • ลองเติมเกลือสำหรับใส่ในตู้ปลาน้ำจืดซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของปลาทอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วินิจฉัยความผิดปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคเสียการทรงตัวเกิดจากการที่ถุงลมของปลาที่ตามปกติแล้วจะโป่งพองและทำให้ปลาสามารถลอยตัวได้เกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมักไม่แตกต่างกันไม่ว่าความผิดปกติของถุงลมจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม หากคุณพบว่าปลาของคุณหงายท้อง อย่าเพิ่งตกใจและคิดว่ามันตายไปแล้ว เพราะหากปลายังคงหายใจอยู่ อาจเป็นไปได้ว่ามันป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัว ลองสังเกตอาการดังต่อไปนี้: [10]
    • ปลาหงายท้องและลอยตัวนิ่งๆ อยู่เหนือผิวน้ำ
    • ปลานอนจมอยู่ก้นตู้ตลอดเวลา
    • ปลายกหางขึ้นสูงกว่าหัวในขณะว่ายน้ำ (หมายเหตุ: ปลาบางสายพันธุ์อาจว่ายน้ำในลักษณะหัวทิ่มเป็นปกติ)
    • ปลามีท้องที่บวมโต
  2. เมื่ออวัยวะภายในเล็กๆ ของปลาเริ่มขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะเหล่านี้จะกดทับถุงลมจนส่งผลให้การทำงานของถุงลมผิดปกติ ซึ่งกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับเป็นอวัยวะภายในที่เสี่ยงต่อการขยายใหญ่ขึ้นมากเป็นพิเศษซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการกินอาหารของปลา สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเสียการทรงตัวมีดังนี้: [11]
    • กลืนอากาศเข้าไปมากในระหว่างกินอาหารจนส่งผลให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ขึ้น
    • กินอาหารคุณภาพต่ำหรือมีอากาศอยู่ข้างในมากจนส่งผลให้ลำไส้อุดตัน
    • กินอาหารมากเกินไปจนเกิดการสะสมของไขมันและส่งผลให้ตับขยายใหญ่ขึ้น
    • เกิดซีสต์ในตับจนส่งผลให้ตับขยายใหญ่ขึ้น
    • อวัยวะภายในเกิดการผิดรูป
  3. สัญญาณเตือนของการติดเชื้อได้แก่ กินอาหารน้อยลง ตัวสั่น ครีบลู่. ในบางกรณีการสูญเสียการทรงตัวอาจเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของปลา หากคุณสงสัยว่าปลาของคุณกำลังติดเชื้อ ให้คุณรีบนำปลาแยกออกมารักษาโดยเร็วเพื่อให้มันกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง [12]
    • นอกเหนือจากอาการต่างๆ จากการสูญเสียการทรงตัวแล้ว ปลาของคุณจะมีครีบและหางที่ลู่ ตัวสั่น และเบื่ออาหารเมื่อมันเกิดการติดเชื้อ
    • เริ่มจากทำความสะอาดตู้ปลาเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียภายในตู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วขั้นตอนนี้จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้อย่างดีเยี่ยม
    • หากการติดเชื้อยังคงไม่ดีขึ้น คุณอาจพิจารณาการรักษาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นด้วยยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotic) ที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายสัตว์เลี้ยงทั้งแบบน้ำสำหรับหยดลงไปในน้ำและแบบอาหารปลาชนิดเม็ด อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาด
  4. ปลาที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัวได้มากที่สุดได้แก่ ปลาทองและปลากัด. ปลาสองชนิดนี้มีขนาดลำตัวที่ค่อนข้างสั้นและกลม จึงส่งผลให้อวัยวะภายในต่างๆ ของพวกมันเบียดดันอวัยวะใกล้เคียงได้ง่ายและทำให้ถุงลมถูกกดทับจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
    • หากคุณเลี้ยงปลาทองสวยงามหรือปลากัด คุณจะต้องเฝ้าระวังและคอยสังเกตสัญญาณของโรคเสียการทรงตัวอย่างใกล้ชิด เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    • ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติที่มีขนาดลำตัวที่ยาวกว่ามีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัวได้น้อยกว่า เนื่องจากลักษณะลำตัวของมันส่งผลให้อวัยวะภายในต่างๆ ไม่กดเบียดกันมากจนเกินไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วางตู้ปลาให้ห่างจากแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ
  • ปลาทองที่ป่วยเป็นโรคเสียการทรงตัวอาจตกเป็นเป้าของการทำร้ายของปลาทองตัวอื่นๆ ที่อาศัยในตู้ปลาเดียวกันได้ ซึ่งคุณสามารถนำปลาที่ป่วยมาไว้ในตู้ปลาสำหรับแยกปลามารักษาโดยเฉพาะและดูว่ามันเริ่มฟื้นตัวจากอาการป่วยหรือไม่
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้ว่าคุณจะคิดอยากให้ปลาลองกินอาหารคนดูบ้าง แต่คุณควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารต่างๆ ที่ไม่ใช่อาหารที่ปลากินตามปกติ เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยหรืออาจถึงขั้นเป็นพิษต่อร่างกายของปลาได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,231 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา